แท็ก
เอแบคโพลล์
ที่มาของโครงการ
องค์กรตำรวจถือเป็นกลไกสำคัญที่สุดประการหนึ่งในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคม มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อำนวยความยุติธรรมในคดีความ การบริการสังคม และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในหลายด้าน
บทบาทของตำรวจมักจะเกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชน เพราะตำรวจคือผู้ช่วยเหลือพึ่งพาเมื่อประชาชนมีเหตุทุกข์ภัย ในขณะเดียวกันลักษณะงานของตำรวจก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิเสรีภาพในการดำเนินชีวิตของประชาชน เนื่องจากตำรวจคือผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่จะต้องดูแลบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
ที่ผ่านมาการทำงานของตำรวจถูกวิจารณ์ในทิศทางทั้งในแง่บวก และแง่ลบ การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับการทำงานของตำรวจจะทำให้เกิดความเข้าใจตำรวจในมุมมองต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อประชาชนและต่อฝ่ายตำรวจเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เกิดการพัฒนาปรับปรุง และช่วยกันคิดหาวิธีปฏิบัติต่อกันอย่างสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต
วันที่ 13 ตุลาคม 2547 เป็นวันตำรวจแห่งชาติ และเนื่องในโอกาสการเข้ารับตำแหน่งของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คนใหม่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2547 ที่ผ่านมา ดังนั้นจึงควรที่จะมีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของตำรวจ เพื่อประเมินผลการทำงาน และพิจารณาปัญหาการทำงานในสายตาของประชาชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการทำงานของตำรวจต่อไป
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนจากกรุงเทพมหานคร และจังหวัดหัวเมืองในภูมิภาคได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา ชลบุรี และสงขลา ทั้งที่อยู่ในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล ต่อประเด็นดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ซึ่งการเสนอผลสำรวจในตอนที่ 1 จะนำเสนอความคิดเห็นของผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับตำรวจโดยตรงคือผู้ต้องหา และผู้เสียหายในคดีต่าง ๆ
วัตถุประสงค์การสำรวจ
1. เพื่อสำรวจปัญหาของ "ผู้ต้องหา" ที่ถูกตำรวจจับกุมคุมขัง
2. เพื่อสำรวจปัญหาของ "ผู้เสียหาย" ที่เคยขอการช่วยเหลือจากตำรวจ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้เข้าใจถึงปัญหาของผู้ต้องหา และผู้เสียหายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของตำรวจ
2. เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจของสถาบันทางสังคมที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง "ความคิดเห็นและประสบการณ์ของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของตำรวจ ( ตอนที่ 1) : กรณีศึกษาตัวอย่างกลุ่มผู้ต้องหา และ ผู้เสียหายในเขตกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา ชลบุรี และสงขลา" ดำเนิน โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1 - 9 ตุลาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา ชลบุรี และสงขลา ทั้งที่อยู่ในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่างประชาชนแต่ละจังหวัดที่เป็นหัวเมืองในภูมิภาค
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจประชาชนทั่วไป 2,600 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างประชาชนเฉพาะที่ "ตนเองหรือคนในครอบครัว" เคยมีประสบการณ์ตกเป็นผู้ต้องหา และผู้เสียหายในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีจำนวน 372 ราย จำแนกเป็นผู้ต้องหา (ที่เคยถูกตำรวจจับกุมคุมขังในคดีความต่าง ๆ) ร้อยละ 38.7 และเป็นผู้เสียหาย(ที่เคยขอความช่วยเหลือจากตำรวจเนื่องจากถูกกระทำหรือตกเป็นผู้เสียหายในคดีความต่าง ๆ) ร้อยละ 61.3
พิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวพบว่าตัวอย่างร้อยละ 56.9 ระบุเป็นชาย ในขณะที่ร้อยละ 43.1 ระบุเป็นหญิง ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 33.1 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 26.9 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 22.5 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 12.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 4.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 50.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับม.ต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 25.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับม.ปลาย/ ปวช. ร้อยละ 14.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 8.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา และร้อยละ 0.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 33.6 ประกอบอาชีพค้าขาย/กิจการย่อย ร้อยละ 20.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 12.9 ระบุอาชีพพนักงาน/ ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 8.9 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 6.7 ระบุเป็นผู้ประกอบการ/ เจ้าของธุรกิจ ร้อยละ 6.2 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ ร้อยละ 11.5 ระบุอาชีพอื่นๆ เช่น ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ เกษตรกร และว่างงาน เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตอนที่ 1 ปัญหาของผู้ต้องหา
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาที่เคยประสบจากการถูกดำเนินการในขั้นตอนของตำรวจ
(เฉพาะตัวอย่างที่ตนเองหรือคนในครอบครัวเคยตกเป็นผู้ต้องหา และระบุได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ลักษณะปัญหาที่ผู้ต้องหาประสบ ร้อยละ
1 ถูกข่มขู่ / คุกคามจากเจ้าพนักงาน 25.7
2 ถูกเรียกสินบน / สิ่งตอบแทนเพื่อแลกไม่ให้ถูกจับกุมหรือดำเนินคดี 18.8
3 ถูกยัดเยียดข้อหา / ล่อลวงให้รับผิดเกินความจริง 18.1
4 เจ้าพนักงานไม่แสดงตัวหรือไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาก่อนจับกุม 16.0
5 ถูกเจ้าพนักงานซ้อม / ทำร้ายร่างกายเพื่อให้สารภาพผิด 16.0
6 มีการใช้กำลังรุนแรง / ทำร้ายร่างกายเกินกว่าเหตุ 13.2
7 ถูกถ่วงเวลาควบคุม / กักขังไว้นานโดยไม่มีเหตุผล 11.8
8 ถูกคุมขังโดยที่ยังไม่รู้ข้อหาความผิด 9.0
9 ถูกนำตัวไปสอบสวนในสถานที่ที่ไม่เหมาะสม 9.0
10 อื่นๆ เช่นถูกกีดกันไม่ให้พบญาติ / ทนายความ / หรือคนภายนอก,
ทรัพย์สินข้าวของเสียหาย / สูญหายระหว่างจับกุมคุมขัง,
ไม่ให้กินอาหาร / สภาพการกินอยู่ย่ำแย่ 21.7
11 ไม่มีปัญหาใดๆ เกี่ยวกับการจับกุมหรือการเป็นผู้ต้องหา 39.6
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติของตำรวจต่อผู้ต้องหา"
(เฉพาะตัวอย่างที่ตนเองหรือคนในครอบครัวเคยเป็นผู้ต้องหา)
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติของตำรวจต่อผู้ต้องหา ร้อยละ
1 ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม 45.3
2 ไม่เป็นธรรม 30.2
3 ไม่มีความเห็น 24.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ กลุ่มตัวอย่าง ที่ระบุว่า "ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม" ให้เหตุผลว่า
1. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามหน้าที่ / มีความเที่ยงตรง ร้อยละ 51.9
2. ได้รับการบริการ / ดูแลเป็นอย่างดี ร้อยละ 23.1
3. เจ้าหน้าที่เป็นคนกลางคอยไกล่เกลี่ยให้ ร้อยละ 13.5
4. ตนเองได้กระทำผิดจริง ร้อยละ 11.5
กลุ่มตัวอย่าง ที่ระบุว่า "ไม่เป็นธรรม" ให้เหตุผลว่า
1. เจ้าหน้าที่เลือกปฏิบัติ / เข้าข้างคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง ร้อยละ 36.2
2. ถูกยัดเยียดข้อหา / บังคับให้สารภาพ ร้อยละ 27.3
3. เจ้าหน้าที่ไม่รับฟังคำชี้แจง / ข้อเท็จจริง /ไม่รับฟังเหตุผล ร้อยละ 24.2
4. อื่นๆ เช่น ถูกเรียกรับเงินจากเจ้าหน้าที่, แจ้งข้อหารุนแรงเกินจริง ร้อยละ 12.3
ตอนที่ 2 ปัญหาของผู้เสียหาย
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาที่เคยประสบจากการตกเป็นผู้เสียหาย
(เฉพาะตัวอย่างที่เคยเป็นผู้เสียหาย และระบุได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ลักษณะปัญหาที่ผู้เสียหายประสบ ร้อยละ
1 เจ้าพนักงานมาถึงที่เกิดเหตุล่าช้าเกินไป 26.2
2 เจ้าพนักงานไม่รับแจ้งเหตุ / ไม่สนใจ / บ่ายเบี่ยง 20.9
3 เจ้าพนักงานแสดงมารยาทไม่เหมาะสมต่อผู้เสียหาย 18.4
4 เจ้าพนักงานลำเอียง / เจตนาเข้าข้างผู้ต้องหา 17.2
5 เจ้าพนักงานบิดเบือนข้อเท็จจริง / พยานหลักฐาน 11.9
6 ถูกเรียกสินบน / สิ่งตอบแทนเพื่อแลกกับการทำคดี 8.6
7 เจ้าพนักงานเจตนาไม่จับกุมผู้ต้องหาขณะเกิดเหตุ 7.0
8 อื่นๆ เช่น เจ้าพนักงานให้ชี้ตัวผู้ต้องหาในลักษณะที่ไม่ปลอดภัย,
ไม่ได้รับความปลอดภัย / ไม่มีการคุ้มครองผู้เสียหายหรือพยาน 16.8
9 ไม่มีปัญหาใดๆ เกี่ยวกับการเป็นผู้เสียหาย 43.9
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "ความรู้สึกได้รับความเป็นธรรมจากการปฏิบัติของตำรวจ"
(เฉพาะตัวอย่างที่ตนเองหรือคนในครอบครัวเคยเป็นผู้เสียหาย)
ลำดับที่ ความรู้สึกได้รับความเป็นธรรมจากการปฏิบัติของตำรวจ ร้อยละ
1 ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม 43.8
2 ไม่เป็นธรรม 31.9
3 ไม่มีความเห็น 24.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ กลุ่มตัวอย่าง ที่ระบุว่า "ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม" ให้เหตุผลว่า
1. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามหน้าที่ / มีความเที่ยงตรง ร้อยละ 44.0
2. เจ้าหน้าที่ติดตามผู้กระทำผิดให้ ร้อยละ 22.6
3. ได้รับการบริการดูแลอย่างดี ร้อยละ 21.5
4. เจ้าหน้าที่เป็นคนกลางคอยไกล่เกลี่ยให้ ร้อยละ 11.9
กลุ่มตัวอย่าง ที่ระบุว่า "ไม่เป็นธรรม" ให้เหตุผลว่า
1. เจ้าหน้าที่ไม่เอาใจใส่ติดตามคดี ร้อยละ 44.6
2. เจ้าหน้าที่เลือกปฏิบัติ / เข้าข้าง / ช่วยเหลือคู่กรณี ร้อยละ 36.9
3. เจ้าหน้าที่ไม่รับฟังคำชี้แจง / ข้อเท็จจริง / เหตุผล ร้อยละ 9.2
4. อื่นๆ เช่น เรียกรับเงิน , กล่อมให้ยอมความ ร้อยละ 9.3
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง "ความคิดเห็นและประสบการณ์ของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของตำรวจ ( ตอนที่ 1) : กรณีศึกษาตัวอย่างกลุ่ม ผู้ต้องหา และผู้เสียหายในเขตกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา ชลบุรี และสงขลา" ได้ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 1 - 9 ตุลาคม 2547 ในการนำเสนอผลในตอนที่ 1 ได้เลือกตัวอย่างเฉพาะ ประชาชนที่ตนเองหรือคนในครอบครัวเคยมีประสบการณ์เป็นผู้ต้องหาหรือผู้เสียหายจำนวน 372 ตัวอย่าง ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจ มีดังต่อไปนี้
1. ปัญหาที่ผู้ต้องหาประสบ
ปัญหาของ "ผู้ต้องหา" ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของตำรวจ พบว่าปัญหาที่ผู้ต้องหาประสบมากที่สุดอันดับแรก คือ ปัญหาถูกข่มขู่ / คุกคามจากเจ้าพนักงาน มีสูงถึงร้อยละ 25.7 อันดับที่สอง คือ ปัญหาถูกเรียกสินบน / สิ่งตอบแทนเพื่อแลกไม่ให้ถูกจับกุมหรือดำเนินคดี มีร้อยละ 18.8 อันดับที่สาม คือ ปัญหาถูกยัดเยียดข้อหา / ล่อลวงให้รับผิดเกินความจริง มีร้อยละ18.1 อันดับที่สี่ คือ ปัญหาเจ้าพนักงานไม่แสดงตัวหรือไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาก่อน จับกุม มีร้อยละ 16.0 ซึ่งเท่ากับปัญหาถูกเจ้าพนักงานซ้อม / ทำร้ายร่างกายเพื่อให้สารภาพผิด มีร้อยละ 16.0
ทั้งนี้พบว่าคนที่มีประสบการณ์เป็นผู้ต้องหาถึงร้อยละ 45.3 ที่ระบุว่าได้รับการปฏิบัติที่ "เป็นธรรม" จากตำรวจ โดยผู้ต้องหาให้เหตุผลสำคัญคือ อันดับแรก คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามหน้าที่ / มีความเที่ยงตรง อันดับที่สอง คือ ได้รับการบริการ / ดูแลเป็นอย่างดี อันดับที่สาม เจ้าหน้าที่เป็นคนกลางคอยไกล่เกลี่ยให้
ในขณะที่ผู้ต้องหาร้อยละ 30.2 ระบุว่าได้รับการปฏิบัติที่ "ไม่เป็นธรรม" จากตำรวจ โดยให้เหตุผลสำคัญคือ อันดับแรก คือ เจ้าหน้าที่เลือกปฏิบัติ / เข้าข้างคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง อันดับที่สอง คือ ถูกยัดเยียดข้อหา/ บังคับให้สารภาพ อันดับที่สาม คือ เจ้าหน้าที่ไม่รับฟังคำชี้แจง / ข้อเท็จจริง / เหตุผล
และ ผู้ต้องหาร้อยละ 24.5 ระบุไม่มีความเห็น
2. ปัญหาที่ผู้เสียหายประสบ
ปัญหาของ "ผู้เสียหาย" ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของตำรวจ พบว่าปัญหาที่ผู้เสียหายประสบมากที่สุดอันดับแรก คือ ปัญหาเจ้าพนักงานมาถึงที่เกิดเหตุล่าช้าเกินไป มีสูงถึงร้อยละ 26.2 อันดับที่สอง คือ ปัญหา เจ้าพนักงานไม่รับแจ้งเหตุ / ไม่สนใจ / บ่ายเบี่ยง มีร้อยละ 20.9 อันดับที่สามคือปัญหาเจ้าพนักงานแสดงมารยาทไม่เหมาะสมต่อผู้เสียหาย มีร้อยละ18.4 อันดับที่สี่คือปัญหาเจ้าพนักงานลำเอียง / เจตนาเข้าข้างผู้ต้องหา มีร้อยละ17.2 อันดับที่ห้าคือปัญหาเจ้าพนักงานบิดเบือนข้อเท็จจริง / พยานหลักฐาน มีร้อยละ 11.9
ทั้งนี้พบว่าคนที่มีประสบการณ์เป็นผู้เสียหายถึงร้อยละ 43.8 ที่ระบุว่าได้รับการปฏิบัติที่ "เป็นธรรม" จากตำรวจ โดยผู้เสียหายให้เหตุผลสำคัญคือ อันดับแรก คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามหน้าที่ / มีความเที่ยงตรง อันดับที่สอง คือ เจ้าหน้าที่ติดตามผู้กระทำผิดให้ อันดับที่สาม คือ ได้รับการบริการดูแลอย่างดี
ในขณะที่ผู้เสียหายร้อยละ 31.9 ระบุว่าได้รับการปฏิบัติที่ "ไม่เป็นธรรม" จากตำรวจ โดยให้เหตุผลสำคัญคือ อันดับแรก คือ เจ้าหน้าที่ไม่เอาใจใส่ติดตามคดี อันดับที่สอง คือ เจ้าหน้าที่เลือกปฏิบัติ / เข้าข้าง / ช่วยเหลือ คู่กรณี อันดับที่สาม คือ เจ้าหน้าที่ไม่รับฟังคำชี้แจง / ข้อเท็จจริง / เหตุผล
และผู้เสียหายร้อยละ 24.3 ระบุไม่มีความเห็น
--เอแบคโพลล์--
-พห-
องค์กรตำรวจถือเป็นกลไกสำคัญที่สุดประการหนึ่งในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคม มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อำนวยความยุติธรรมในคดีความ การบริการสังคม และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในหลายด้าน
บทบาทของตำรวจมักจะเกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชน เพราะตำรวจคือผู้ช่วยเหลือพึ่งพาเมื่อประชาชนมีเหตุทุกข์ภัย ในขณะเดียวกันลักษณะงานของตำรวจก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิเสรีภาพในการดำเนินชีวิตของประชาชน เนื่องจากตำรวจคือผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่จะต้องดูแลบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
ที่ผ่านมาการทำงานของตำรวจถูกวิจารณ์ในทิศทางทั้งในแง่บวก และแง่ลบ การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับการทำงานของตำรวจจะทำให้เกิดความเข้าใจตำรวจในมุมมองต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อประชาชนและต่อฝ่ายตำรวจเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เกิดการพัฒนาปรับปรุง และช่วยกันคิดหาวิธีปฏิบัติต่อกันอย่างสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อไปในอนาคต
วันที่ 13 ตุลาคม 2547 เป็นวันตำรวจแห่งชาติ และเนื่องในโอกาสการเข้ารับตำแหน่งของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คนใหม่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2547 ที่ผ่านมา ดังนั้นจึงควรที่จะมีการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของตำรวจ เพื่อประเมินผลการทำงาน และพิจารณาปัญหาการทำงานในสายตาของประชาชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการทำงานของตำรวจต่อไป
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนจากกรุงเทพมหานคร และจังหวัดหัวเมืองในภูมิภาคได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา ชลบุรี และสงขลา ทั้งที่อยู่ในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล ต่อประเด็นดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ซึ่งการเสนอผลสำรวจในตอนที่ 1 จะนำเสนอความคิดเห็นของผู้ที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับตำรวจโดยตรงคือผู้ต้องหา และผู้เสียหายในคดีต่าง ๆ
วัตถุประสงค์การสำรวจ
1. เพื่อสำรวจปัญหาของ "ผู้ต้องหา" ที่ถูกตำรวจจับกุมคุมขัง
2. เพื่อสำรวจปัญหาของ "ผู้เสียหาย" ที่เคยขอการช่วยเหลือจากตำรวจ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้เข้าใจถึงปัญหาของผู้ต้องหา และผู้เสียหายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของตำรวจ
2. เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจของสถาบันทางสังคมที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง "ความคิดเห็นและประสบการณ์ของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของตำรวจ ( ตอนที่ 1) : กรณีศึกษาตัวอย่างกลุ่มผู้ต้องหา และ ผู้เสียหายในเขตกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา ชลบุรี และสงขลา" ดำเนิน โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1 - 9 ตุลาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา ชลบุรี และสงขลา ทั้งที่อยู่ในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่างประชาชนแต่ละจังหวัดที่เป็นหัวเมืองในภูมิภาค
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจประชาชนทั่วไป 2,600 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างประชาชนเฉพาะที่ "ตนเองหรือคนในครอบครัว" เคยมีประสบการณ์ตกเป็นผู้ต้องหา และผู้เสียหายในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีจำนวน 372 ราย จำแนกเป็นผู้ต้องหา (ที่เคยถูกตำรวจจับกุมคุมขังในคดีความต่าง ๆ) ร้อยละ 38.7 และเป็นผู้เสียหาย(ที่เคยขอความช่วยเหลือจากตำรวจเนื่องจากถูกกระทำหรือตกเป็นผู้เสียหายในคดีความต่าง ๆ) ร้อยละ 61.3
พิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวพบว่าตัวอย่างร้อยละ 56.9 ระบุเป็นชาย ในขณะที่ร้อยละ 43.1 ระบุเป็นหญิง ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 33.1 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 26.9 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 22.5 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 12.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 4.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 50.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับม.ต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 25.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับม.ปลาย/ ปวช. ร้อยละ 14.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 8.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา และร้อยละ 0.8 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 33.6 ประกอบอาชีพค้าขาย/กิจการย่อย ร้อยละ 20.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 12.9 ระบุอาชีพพนักงาน/ ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 8.9 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 6.7 ระบุเป็นผู้ประกอบการ/ เจ้าของธุรกิจ ร้อยละ 6.2 ระบุแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ ร้อยละ 11.5 ระบุอาชีพอื่นๆ เช่น ข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ เกษตรกร และว่างงาน เป็นต้น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตอนที่ 1 ปัญหาของผู้ต้องหา
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาที่เคยประสบจากการถูกดำเนินการในขั้นตอนของตำรวจ
(เฉพาะตัวอย่างที่ตนเองหรือคนในครอบครัวเคยตกเป็นผู้ต้องหา และระบุได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ลักษณะปัญหาที่ผู้ต้องหาประสบ ร้อยละ
1 ถูกข่มขู่ / คุกคามจากเจ้าพนักงาน 25.7
2 ถูกเรียกสินบน / สิ่งตอบแทนเพื่อแลกไม่ให้ถูกจับกุมหรือดำเนินคดี 18.8
3 ถูกยัดเยียดข้อหา / ล่อลวงให้รับผิดเกินความจริง 18.1
4 เจ้าพนักงานไม่แสดงตัวหรือไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาก่อนจับกุม 16.0
5 ถูกเจ้าพนักงานซ้อม / ทำร้ายร่างกายเพื่อให้สารภาพผิด 16.0
6 มีการใช้กำลังรุนแรง / ทำร้ายร่างกายเกินกว่าเหตุ 13.2
7 ถูกถ่วงเวลาควบคุม / กักขังไว้นานโดยไม่มีเหตุผล 11.8
8 ถูกคุมขังโดยที่ยังไม่รู้ข้อหาความผิด 9.0
9 ถูกนำตัวไปสอบสวนในสถานที่ที่ไม่เหมาะสม 9.0
10 อื่นๆ เช่นถูกกีดกันไม่ให้พบญาติ / ทนายความ / หรือคนภายนอก,
ทรัพย์สินข้าวของเสียหาย / สูญหายระหว่างจับกุมคุมขัง,
ไม่ให้กินอาหาร / สภาพการกินอยู่ย่ำแย่ 21.7
11 ไม่มีปัญหาใดๆ เกี่ยวกับการจับกุมหรือการเป็นผู้ต้องหา 39.6
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติของตำรวจต่อผู้ต้องหา"
(เฉพาะตัวอย่างที่ตนเองหรือคนในครอบครัวเคยเป็นผู้ต้องหา)
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติของตำรวจต่อผู้ต้องหา ร้อยละ
1 ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม 45.3
2 ไม่เป็นธรรม 30.2
3 ไม่มีความเห็น 24.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ กลุ่มตัวอย่าง ที่ระบุว่า "ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม" ให้เหตุผลว่า
1. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามหน้าที่ / มีความเที่ยงตรง ร้อยละ 51.9
2. ได้รับการบริการ / ดูแลเป็นอย่างดี ร้อยละ 23.1
3. เจ้าหน้าที่เป็นคนกลางคอยไกล่เกลี่ยให้ ร้อยละ 13.5
4. ตนเองได้กระทำผิดจริง ร้อยละ 11.5
กลุ่มตัวอย่าง ที่ระบุว่า "ไม่เป็นธรรม" ให้เหตุผลว่า
1. เจ้าหน้าที่เลือกปฏิบัติ / เข้าข้างคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง ร้อยละ 36.2
2. ถูกยัดเยียดข้อหา / บังคับให้สารภาพ ร้อยละ 27.3
3. เจ้าหน้าที่ไม่รับฟังคำชี้แจง / ข้อเท็จจริง /ไม่รับฟังเหตุผล ร้อยละ 24.2
4. อื่นๆ เช่น ถูกเรียกรับเงินจากเจ้าหน้าที่, แจ้งข้อหารุนแรงเกินจริง ร้อยละ 12.3
ตอนที่ 2 ปัญหาของผู้เสียหาย
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาที่เคยประสบจากการตกเป็นผู้เสียหาย
(เฉพาะตัวอย่างที่เคยเป็นผู้เสียหาย และระบุได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ลักษณะปัญหาที่ผู้เสียหายประสบ ร้อยละ
1 เจ้าพนักงานมาถึงที่เกิดเหตุล่าช้าเกินไป 26.2
2 เจ้าพนักงานไม่รับแจ้งเหตุ / ไม่สนใจ / บ่ายเบี่ยง 20.9
3 เจ้าพนักงานแสดงมารยาทไม่เหมาะสมต่อผู้เสียหาย 18.4
4 เจ้าพนักงานลำเอียง / เจตนาเข้าข้างผู้ต้องหา 17.2
5 เจ้าพนักงานบิดเบือนข้อเท็จจริง / พยานหลักฐาน 11.9
6 ถูกเรียกสินบน / สิ่งตอบแทนเพื่อแลกกับการทำคดี 8.6
7 เจ้าพนักงานเจตนาไม่จับกุมผู้ต้องหาขณะเกิดเหตุ 7.0
8 อื่นๆ เช่น เจ้าพนักงานให้ชี้ตัวผู้ต้องหาในลักษณะที่ไม่ปลอดภัย,
ไม่ได้รับความปลอดภัย / ไม่มีการคุ้มครองผู้เสียหายหรือพยาน 16.8
9 ไม่มีปัญหาใดๆ เกี่ยวกับการเป็นผู้เสียหาย 43.9
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "ความรู้สึกได้รับความเป็นธรรมจากการปฏิบัติของตำรวจ"
(เฉพาะตัวอย่างที่ตนเองหรือคนในครอบครัวเคยเป็นผู้เสียหาย)
ลำดับที่ ความรู้สึกได้รับความเป็นธรรมจากการปฏิบัติของตำรวจ ร้อยละ
1 ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม 43.8
2 ไม่เป็นธรรม 31.9
3 ไม่มีความเห็น 24.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ กลุ่มตัวอย่าง ที่ระบุว่า "ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม" ให้เหตุผลว่า
1. เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามหน้าที่ / มีความเที่ยงตรง ร้อยละ 44.0
2. เจ้าหน้าที่ติดตามผู้กระทำผิดให้ ร้อยละ 22.6
3. ได้รับการบริการดูแลอย่างดี ร้อยละ 21.5
4. เจ้าหน้าที่เป็นคนกลางคอยไกล่เกลี่ยให้ ร้อยละ 11.9
กลุ่มตัวอย่าง ที่ระบุว่า "ไม่เป็นธรรม" ให้เหตุผลว่า
1. เจ้าหน้าที่ไม่เอาใจใส่ติดตามคดี ร้อยละ 44.6
2. เจ้าหน้าที่เลือกปฏิบัติ / เข้าข้าง / ช่วยเหลือคู่กรณี ร้อยละ 36.9
3. เจ้าหน้าที่ไม่รับฟังคำชี้แจง / ข้อเท็จจริง / เหตุผล ร้อยละ 9.2
4. อื่นๆ เช่น เรียกรับเงิน , กล่อมให้ยอมความ ร้อยละ 9.3
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง "ความคิดเห็นและประสบการณ์ของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของตำรวจ ( ตอนที่ 1) : กรณีศึกษาตัวอย่างกลุ่ม ผู้ต้องหา และผู้เสียหายในเขตกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา ชลบุรี และสงขลา" ได้ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 1 - 9 ตุลาคม 2547 ในการนำเสนอผลในตอนที่ 1 ได้เลือกตัวอย่างเฉพาะ ประชาชนที่ตนเองหรือคนในครอบครัวเคยมีประสบการณ์เป็นผู้ต้องหาหรือผู้เสียหายจำนวน 372 ตัวอย่าง ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจ มีดังต่อไปนี้
1. ปัญหาที่ผู้ต้องหาประสบ
ปัญหาของ "ผู้ต้องหา" ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของตำรวจ พบว่าปัญหาที่ผู้ต้องหาประสบมากที่สุดอันดับแรก คือ ปัญหาถูกข่มขู่ / คุกคามจากเจ้าพนักงาน มีสูงถึงร้อยละ 25.7 อันดับที่สอง คือ ปัญหาถูกเรียกสินบน / สิ่งตอบแทนเพื่อแลกไม่ให้ถูกจับกุมหรือดำเนินคดี มีร้อยละ 18.8 อันดับที่สาม คือ ปัญหาถูกยัดเยียดข้อหา / ล่อลวงให้รับผิดเกินความจริง มีร้อยละ18.1 อันดับที่สี่ คือ ปัญหาเจ้าพนักงานไม่แสดงตัวหรือไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาก่อน จับกุม มีร้อยละ 16.0 ซึ่งเท่ากับปัญหาถูกเจ้าพนักงานซ้อม / ทำร้ายร่างกายเพื่อให้สารภาพผิด มีร้อยละ 16.0
ทั้งนี้พบว่าคนที่มีประสบการณ์เป็นผู้ต้องหาถึงร้อยละ 45.3 ที่ระบุว่าได้รับการปฏิบัติที่ "เป็นธรรม" จากตำรวจ โดยผู้ต้องหาให้เหตุผลสำคัญคือ อันดับแรก คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามหน้าที่ / มีความเที่ยงตรง อันดับที่สอง คือ ได้รับการบริการ / ดูแลเป็นอย่างดี อันดับที่สาม เจ้าหน้าที่เป็นคนกลางคอยไกล่เกลี่ยให้
ในขณะที่ผู้ต้องหาร้อยละ 30.2 ระบุว่าได้รับการปฏิบัติที่ "ไม่เป็นธรรม" จากตำรวจ โดยให้เหตุผลสำคัญคือ อันดับแรก คือ เจ้าหน้าที่เลือกปฏิบัติ / เข้าข้างคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง อันดับที่สอง คือ ถูกยัดเยียดข้อหา/ บังคับให้สารภาพ อันดับที่สาม คือ เจ้าหน้าที่ไม่รับฟังคำชี้แจง / ข้อเท็จจริง / เหตุผล
และ ผู้ต้องหาร้อยละ 24.5 ระบุไม่มีความเห็น
2. ปัญหาที่ผู้เสียหายประสบ
ปัญหาของ "ผู้เสียหาย" ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของตำรวจ พบว่าปัญหาที่ผู้เสียหายประสบมากที่สุดอันดับแรก คือ ปัญหาเจ้าพนักงานมาถึงที่เกิดเหตุล่าช้าเกินไป มีสูงถึงร้อยละ 26.2 อันดับที่สอง คือ ปัญหา เจ้าพนักงานไม่รับแจ้งเหตุ / ไม่สนใจ / บ่ายเบี่ยง มีร้อยละ 20.9 อันดับที่สามคือปัญหาเจ้าพนักงานแสดงมารยาทไม่เหมาะสมต่อผู้เสียหาย มีร้อยละ18.4 อันดับที่สี่คือปัญหาเจ้าพนักงานลำเอียง / เจตนาเข้าข้างผู้ต้องหา มีร้อยละ17.2 อันดับที่ห้าคือปัญหาเจ้าพนักงานบิดเบือนข้อเท็จจริง / พยานหลักฐาน มีร้อยละ 11.9
ทั้งนี้พบว่าคนที่มีประสบการณ์เป็นผู้เสียหายถึงร้อยละ 43.8 ที่ระบุว่าได้รับการปฏิบัติที่ "เป็นธรรม" จากตำรวจ โดยผู้เสียหายให้เหตุผลสำคัญคือ อันดับแรก คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามหน้าที่ / มีความเที่ยงตรง อันดับที่สอง คือ เจ้าหน้าที่ติดตามผู้กระทำผิดให้ อันดับที่สาม คือ ได้รับการบริการดูแลอย่างดี
ในขณะที่ผู้เสียหายร้อยละ 31.9 ระบุว่าได้รับการปฏิบัติที่ "ไม่เป็นธรรม" จากตำรวจ โดยให้เหตุผลสำคัญคือ อันดับแรก คือ เจ้าหน้าที่ไม่เอาใจใส่ติดตามคดี อันดับที่สอง คือ เจ้าหน้าที่เลือกปฏิบัติ / เข้าข้าง / ช่วยเหลือ คู่กรณี อันดับที่สาม คือ เจ้าหน้าที่ไม่รับฟังคำชี้แจง / ข้อเท็จจริง / เหตุผล
และผู้เสียหายร้อยละ 24.3 ระบุไม่มีความเห็น
--เอแบคโพลล์--
-พห-