แท็ก
เอแบคโพลล์
ที่มาของโครงการ
องค์กรตำรวจถือเป็นกลไกสำคัญที่สุดประการหนึ่งในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคม มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อำนวยความยุติธรรมในคดีความ การบริการสังคม และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในหลายด้าน
บทบาทของตำรวจมักจะเกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชน เพราะตำรวจคือผู้ช่วยเหลือ พึ่งพาเมื่อประชาชนมีเหตุทุกข์ภัย ในขณะเดียวกันลักษณะงานของตำรวจก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิเสรีภาพในการดำเนินชีวิตของประชาชน เนื่องจากตำรวจคือผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่จะต้องดูแลบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
ที่ผ่านมาการทำงานของตำรวจถูกวิจารณ์ทั้งในแง่บวก และแง่ลบ การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับการทำงานของตำรวจจะทำให้เกิดความเข้าใจตำรวจในมุมมองต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อประชาชนและต่อฝ่ายตำรวจเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เกิดการพัฒนาปรับปรุง และช่วยกันคิดหาวิธีปฏิบัติต่อกันอย่างสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ร่วมกันต่อไปในอนาคต
วันที่ 13 ตุลาคม 2547 เป็นวันตำรวจแห่งชาติ และเนื่องในโอกาสการเข้ารับตำแหน่งของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คนใหม่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2547 ที่ผ่านมา ดังนั้นจึงควรที่จะมีการสำรวจความ คิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของตำรวจ เพื่อประเมินผลการทำงาน และพิจารณาปัญหาการทำงาน ในสายตาของประชาชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการทำงานของตำรวจต่อไป
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนจากกรุงเทพมหานคร และจังหวัดหัวเมืองในภูมิภาคในประเด็นดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทาง สังคมศาสตร์
ซึ่งการเสนอผลสำรวจในที่นี้ จะนำเสนอความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานของตำรวจในมุมมองด้านต่าง ๆ ได้แก่ ประสบการณ์ปัญหาที่พบเจอเกี่ยวกับตำรวจ การทำความดีและความเสื่อมเสียของตำรวจ ความประทับใจในบทบาทการทำงานแต่ละด้าน ความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานในพื้นที่ ความมั่นใจต่อผู้บัญชาการตำรวจคนใหม่ ความมั่นใจว่าต่อการที่รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในวงการตำรวจอย่างได้ผล และข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะต่อการทำงานของตำรวจต่อไป
วัตถุประสงค์การสำรวจ
1. เพื่อสำรวจสภาพปัญหาของประชาชนที่เกิดจากการปฏิบัติงานของตำรวจ
2. เพื่อสำรวจความประทับใจต่อการปฏิบัติงานของตำรวจในแต่ละด้าน
3. เพื่อสำรวจความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของตำรวจโดยรวม
4. เพื่อสำรวจข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงงานตำรวจในทัศนะของประชาชน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้เข้าใจถึงมุมมองปัญหาการทำงานของตำรวจจากสายตาประชาชน
2. ทำให้ทราบความคิดเห็น และความคาดหวังของประชาชนต่อการปรับปรุงการทำงานของตำรวจ
3. เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจของสถาบันทางสังคมที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง "การสำรวจภาพลักษณ์ตำรวจไทยในสายตาประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ นครราชสีมา ชลบุรี และสงขลา" ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1 - 9 ตุลาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา ชลบุรี และสงขลา ทั้งที่อยู่ในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่างประชาชนแต่ละจังหวัดที่เป็นหัวเมืองในภูมิภาค
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจประชาชนทั่วไป 2,600 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
พิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.7 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 47.3 ระบุเป็นชาย ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 28.7 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 27.3 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 15.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 6.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 54.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับม.ต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 25.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับม.ปลาย/ ปวช. ร้อยละ 12.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 7.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา และร้อยละ 0.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 31.5 ประกอบอาชีพค้าขาย/กิจการย่อย ร้อยละ 24.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 12.2 ระบุอาชีพพนักงาน/ ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 9.4 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 6.1 ระบุแม่บ้าน / เกษียณ ร้อยละ 4.5 ระบุเป็นเกษตรกร และร้อยละ 12.3 ระบุอาชีพอื่นๆ เช่น ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ, อิสระ, ว่างงาน เป็นต้นร้อยละ 45.1 อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 16.5 อยู่ในเขตเทศบาลหัวเมืองในภูมิภาค และ ร้อยละ 38.4 อยู่นอกเขตเทศบาลหัวเมืองในภูมิภาค
เมื่อจำแนกประสบการณ์การเกี่ยวข้องกับตำรวจในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า ร้อยละ 38.1 เคยมีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับตำรวจโดยตรง (เช่นเกี่ยวข้องกับผู้ต้องหา ผู้เสียหาย การเป็นพยาน การเคยถูกปรับ การเคยแจ้งความร้องทุกข์ การทำงานร่วมกับตำรวจ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 61.9 ไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวข้องโดยตรง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาที่เคยพบเจอจากการเกี่ยวข้องกับตำรวจ (เฉพาะคนที่เคย
มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับตำรวจในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา)
ลำดับที่ ลักษณะปัญหาของตำรวจที่ประชาชนเคยพบเจอ ร้อยละ ลักษณะเหตุการณ์ที่เจอบ่อย
1 เคยถูกตำรวจเรียกสินบนหรือสิ่งตอบแทน 22.1 - ตั้งด่านตรวจจับ/เรียกเงินจากผู้ขับขี่
- จับกุม/เรียกเงินจากผู้เล่นการพนัน
- เรียกเงิน/ยัดเยียดข้อหายาเสพติด
2 เคยถูกตำรวจแสดงท่าทีข่มขู่คุกคาม 10.9 - ข่มขู่จะจับกุม
- ข่มขู่จะรีดไถเงิน
- ข่มขู่ให้ยอมรับสารภาพ
3 เคยได้รับความเดือดร้อน/เสียหาย
อันเกิดจากการปฏิบัติงานของตำรวจ 7.8 - โดนปรับ/จับกุมโดยไม่มีความผิด
- ไม่สนใจติดตามจับกุมคนร้าย
- หว่านล้อม/ล่อลวงให้ไม่เอาความ
4 มีปัญหาความขัดแย้งส่วนตัวกับตำรวจ 3.7 - เรื่องตำรวจเจ้าชู้เกี้ยวพาราสี
- เบ่ง/วางอำนาจ / ใช้อภิสิทธิ์เหนือ ประชาชน
- ไม่วางตัวเป็นกลาง/ไม่เป็นธรรม
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่เคยถูกตำรวจเรียกรับสินบน ระบุ "การเคยจ่ายค่าสินบนตามที่ถูก
เรียกร้อง" (เฉพาะตัวอย่างที่เคยถูกตำรวจเรียกสินบน จำนวน 212 ตัวอย่าง)
ลำดับที่ การได้จ่ายค่าสินบน (เมื่อถูกตำรวจเรียกร้อง) ร้อยละ
1 จ่าย 88.8
2 ไม่จ่าย 11.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "การได้รับปฏิบัติอย่างเป็นธรรม" เมื่อมีปัญหาความขัดแย้ง
ส่วนตัวกับตำรวจ (เฉพาะตัวอย่างที่เคยมีปัญหาความขัดแย้งส่วนตัวกับตำรวจ จำนวน 35 ตัวอย่าง)
ลำดับที่ การได้รับปฏิบัติอย่างเป็นธรรมเมื่อมีปัญหาความขัดแย้งส่วนตัวกับตำรวจ ร้อยละ
1 เป็นธรรม 12.0
2 ไม่เป็นธรรม 76.0
3 ไม่แน่ใจ 12.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเคยพบเห็น "การทำความดีของตำรวจ" นอกเหนือจากการ
ปฏิบัติหน้าที่ปกติ ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา (สอบถามกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด)
ลำดับที่ การเคยพบเห็นการทำความดีของตำรวจ (นอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ปกติ) ร้อยละ
1 เคยพบเห็น 23.4
2 ไม่เคยพบเห็น 58.0
3 ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ 18.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ กลุ่มตัวอย่าง ที่ระบุว่า "เคยพบเห็น" ระบุเหตุการณ์ที่พบเห็นดังนี้
1. มีน้ำใจช่วยเหลือประชาชน ร้อยละ 68.4
2. ขยัน / ปฏิบัติหน้าที่อย่าจริงจัง / ดูแลตรวจตราอย่างสม่ำเสมอ ร้อยละ 18.3
3. ช่วยพัฒนาชุมชน / เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ร้อยละ 5.9
4. ให้คำปรึกษาแนะนำต่าง ๆ ร้อยละ 4.4
5. อื่นๆ เช่น ช่วยไกล่เกลี่ยคดีความ , วางตัวเป็นกลาง, ไม่ก่อความเดือดร้อนให้ ร้อยละ 3.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเคยพบเห็น "การกระทำความเสื่อมเสียของตำรวจ"
นอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ปกติ ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา (สอบถามกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด)
ลำดับที่ การเคยพบเห็นการกระทำความเสื่อมเสียของตำรวจ ร้อยละ
1 เคยพบเห็น 28.5
2 ไม่เคยพบเห็น 57.8
3 ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ 13.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ กลุ่มตัวอย่าง ที่ระบุว่า "เคยพบเห็น" ระบุเหตุการณ์ที่พบเห็นดังนี้
1. รีดไถประชาชน / ทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 46.0
2. เบ่งวางอำนาจ ใช้อภิสิทธิ์เหนือประชาชน ร้อยละ 13.4
3. ดื่มสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่ ร้อยละ 9.2
4. เล่นการพนัน ร้อยละ 8.2
5. อื่นๆ เช่น ยัดเยียดข้อหา, จับกุมผิดคน ,ขายยาบ้า , ค้าของเถื่อน, ร้อยละ 23.2
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความประทับใจต่อผลการทำงานของตำรวจในพื้นที่ของตนเอง
ลำดับที่ บทบาท/การกระทำ ประทับใจ ไม่ประทับใจ ไม่มีความเห็น รวม
1 ด้านการอำนวยความสะดวกในงานจราจร 60.3 26.0 13.7 100.0
2 ด้านการให้บริการประชาชน 58.6 25.7 15.7 100.0
3 ด้านการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม 48.5 24.9 26.6 100.0
4 ด้านบุคลิก/การวางตัวเป็นแบบอย่างแก่ประชาชน 41.9 33.3 24.8 100.0
5 ด้านการให้ความเป็นธรรมในการดำเนินคดีความ 35.2 27.3 37.5 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "ความพึงพอใจโดยรวมต่อการปฏิบัติงานของตำรวจในพื้นที่"
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของตำรวจในพื้นที่ ร้อยละ
1 พอใจ 51.2
2 ไม่พอใจ 23.9
3 ไม่มีความเห็น 24.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ กลุ่มตัวอย่าง ที่ตอบว่า "พอใจ" ระบุเหตุผลเรียงตามลำดับดังนี้
1. ขยัน / ปฏิบัติหน้าที่อย่าจริงจัง / ดูแลตรวจตราอย่างสม่ำเสมอ ร้อยละ 82.4
2. มีน้ำใจช่วยเหลือประชาชน ร้อยละ 11.8
3. วางตัวเป็นกลาง ร้อยละ 3.0
4. อื่นๆ เช่น ช่วยพัฒนาชุมชน / เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมให้คำปรึกษาแนะนำต่างๆ ร้อยละ 2.8
กลุ่มตัวอย่าง ที่ตอบว่า "ไม่พอใจ" ระบุเหตุผลเรียงตามลำดับดังนี้
1. เจ้าหน้าที่ดูแลไม่ทั่วถึง ร้อยละ 26.4
2. ไม่วางตัวเป็นกลาง ร้อยละ 17.1
3. มาถึงที่เกิดเหตุช้า / ไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาคนอื่น ร้อยละ 12.1
4. รีดไถประชาชน / ทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 11.2
5. อื่นๆ เช่น เบ่ง/วางตัวอำนาจ ใช้อภิสิทธิ์เหนือประชาชน, ไม่รับผิดชอบงานในหน้าที่ ร้อยละ 33.2
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "คะแนนความพอใจต่อผลการทำงานของตำรวจในพื้นที่"
(ให้คะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่ ระดับคะแนนความพอใจ ร้อยละ
1 0 - 2 คะแนน (พอใจต่ำมาก) 6.1
2 3 - 4 คะแนน (พอใจต่ำ) 8.9
3 5 - 6 คะแนน (พอใจปานกลาง) 39.5
4 7 - 8 คะแนน (พอใจสูง) 34.8
5 9 - 10 คะแนน (พอใจสูงมาก) 10.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ คะแนนเฉลี่ยความพอใจ 6.09 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.16 คะแนน)
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "ความมั่นใจต่อการทำงานของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
คนใหม่ (ผบ.ตร.)" (เฉพาะคนที่รู้จักผบ.ตร.คนใหม่)
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อการทำงานของผบ.ตร.คนใหม่ ร้อยละ
1 มั่นใจ 42.9
2 ไม่มั่นใจ 22.5
3 ไม่มีความเห็น 34.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "ความมั่นใจว่ารัฐบาลจะแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นใน
วงการตำรวจอย่างได้ผล"
ลำดับที่ ความมั่นใจ ร้อยละ
1 มั่นใจ 25.8
2 ไม่มั่นใจ 51.4
3 ไม่มีความเห็น 22.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ กลุ่มตัวอย่าง ที่ตอบว่า "มั่นใจ" ระบุเหตุผลเรียงตามลำดับดังนี้
1. เชื่อมั่นในการทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 40.2
2. เชื่อมั่นในตัวนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 29.0
3. รัฐบาลเข้มงวด / เอาจริงเอาจังในการทำงาน ร้อยละ 14.1
4. เห็นผลงานต่าง ๆ ที่ผ่านมา ร้อยละ 11.2
5. อื่นๆ เช่น รัฐบาลมีความเด็ดขาด , มีอำนาจอย่างเต็มที่ ร้อยละ 5.5
กลุ่มตัวอย่าง ที่ตอบว่า "ไม่มั่นใจ" ระบุเหตุผลเรียงตามลำดับดังนี้
1. เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก / ไม่สามารถแก้ไขได้ ร้อยละ 61.8
2. ในรัฐบาลเองก็ยังมีการทุจริตคอรัปชั่นอยู่ ร้อยละ 10.1
3. มีนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ / ผู้มีอิทธิพลคุ้มครองอยู่ ร้อยละ 6.3
4. ตำรวจมักจะช่วยเหลือพวกพ้องเดียวกัน ร้อยละ 4.8
5. อื่นๆ เช่น มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ,
ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือแจ้งเบาะแส ร้อยละ 17.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "ความเห็นว่าภาคประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างเพียงพอ
หรือไม่ในการพัฒนาปรับปรุงการทำงานของตำรวจ"
ลำดับที่ ความเพียงพอในการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ร้อยละ
1 มีส่วนร่วมเพียงพอ 18.5
2 ไม่เพียงพอ 63.9
3 ไม่มีความเห็น 17.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการทำงานของตำรวจ
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะ ร้อยละ
1 ขยัน / ปฏิบัติหน้าที่อย่าจริงจัง / ดูแลตรวจตราอย่างสม่ำเสมอ 30.3
2 ซื่อสัตย์สุจริต / ไม่คอรัปชั่น / รีดไถประชาชน 14.7
3 ให้เกียรติ / เป็นมิตรกับประชาชน 14.2
4 วางตัวเป็นกลาง /ให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย 7.1
5 ดูแล / อำนวยความสะดวกด้านการจราจร 6.7
6 ให้ความสำคัญกับคดีต่าง ๆ / เร่งติดตามคนร้ายมาดำเนินคดี 5.3
7 เข้มงวดในการปราบปรามยาเสพติด 4.5
8 อื่น ๆ เช่น ไม่เบ่งวางอำนาจ ใช้อภิสิทธิ์เหนือประชาชน,
ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำงานกับตำรวจ,
ไม่ดื่มสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่, ปรับปรุงเรื่องความรู้
ความสามารถของตำรวจ 17.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผลสำรวจเรื่อง "การสำรวจภาพลักษณ์ตำรวจไทยในสายตาประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ นครราชสีมา ชลบุรี และสงขลา" ได้ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 1 - 9 ตุลาคม 2547 ทั้งที่อยู่ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล จำนวน 2,600 ตัวอย่าง ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจ มีดังต่อไปนี้
1. ความพึงพอใจของประชาชนต่อการทำงานของตำรวจ
ผลการสำรวจพบว่าตัวอย่างประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 51.2 พอใจต่อการทำงานของตำรวจในพื้นที่ เนื่องจากเหตุผลสำคัญอันดับแรก คือ ขยัน/ปฏิบัติหน้าที่อย่าจริงจัง/ดูแลตรวจตราอย่างสม่ำเสมอ อันดับที่สอง คือ มีน้ำใจช่วยเหลือประชาชน อันดับที่สาม คือ วางตัวเป็นกลาง ในขณะที่ร้อยละ 23.9 ไม่พอใจ เนื่องจาก เหตุผลสำคัญอันดับแรก คือ เจ้าหน้าที่ดูแลไม่ทั่วถึง อันดับที่สอง คือ เจ้าหน้าที่ไม่วางตัวเป็นกลาง อันดับที่สาม คือ เจ้าหน้าที่มาถึงที่เกิดเหตุช้า/ไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาความเดือดร้อนของคนอื่น และร้อยละ 24.9 ไม่มีความคิดเห็น
เมื่อให้คะแนนความพึงพอใจในการทำงาน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) พบว่าประชาชนให้คะแนน ผลการทำงานของตำรวจในพื้นที่เฉลี่ยเท่ากับ 6.09 คะแนน
2. ประสบการณ์ถูกเรียกสินบนจากตำรวจ
สำหรับในกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับตำรวจ พบว่าร้อยละ 22.1 เคยถูกตำรวจเรียกรับสินบน โดยในจำนวนคนที่ถูกเรียกสินบนส่วนใหญ่ร้อยละ 88.8 จะยินยอมจ่ายให้กับตำรวจ
นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างประชาชน(ที่เคยเกี่ยวข้องกับตำรวจ) ได้ประสบปัญหาอื่น ๆ ที่สำคัญคือ ร้อยละ 10.9 เคยถูกตำรวจข่มขู่คุกคาม ร้อยละ 7.8 เคยได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการปฏิบัติงานของตำรวจ และร้อยละ 3.7 เคยมีปัญหาความขัดแย้งส่วนตัวกับตำรวจ
3. ความเป็นธรรมที่ได้รับเมื่อมีปัญหาขัดแย้งกับตำรวจ
ผลการสำรวจข้อมูลในกลุ่มคนที่เคยมีปัญหาขัดแย้งกับตำรวจ พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 12.0 จะได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ในขณะที่ร้อยละ 76.0 ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม และร้อยละ 12.0 ไม่แน่ใจ
4. พบเจอตำรวจ "ทำความดี" หรือ "กระทำความเสื่อมเสีย" มากกว่ากัน
ในประเด็นการปฏิบัติที่นอกเหนือจากการทำหน้าที่ปกติ (การทำดีหรือทำความเสื่อมเสียเกินกว่าหน้าที่ปกติที่ควรทำ) พบว่ามีตัวอย่างประชาชน พบเห็น "ตำรวจกระทำความเสื่อมเสีย" มากกว่า "การกระทำความดี" เนื่องจากผลการสำรวจพบว่ามีประชาชนร้อยละ 23.4 ที่พบเห็นการกระทำความดี (นอกเหนือจากหน้าที่ปกติ)ของตำรวจ โดยเหตุการณ์ที่พบเห็นบ่อย ได้แก่ มีน้ำใจช่วยเหลือประชาชน ,ขยัน / ปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง และช่วยพัฒนาชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
ในขณะที่มีตัวอย่างประชาชนถึงร้อยละ 28.5 ที่เคยพบเห็นการกระทำความเสื่อมเสียของตำรวจ (นอกเหนือจากการทำหน้าที่ปกติ) โดยเหตุการณ์ที่พบเห็นบ่อยคือรีดไถประชาชน/ทุจริตคอรัปชั่น, เบ่งวางอำนาจใช้อภิสิทธิ์เหนือประชาชน , ดื่มสุราขณะปฏิบัติหน้าที่ และเล่นการพนัน
5. ความประทับใจต่อผลการทำงานของตำรวจในแต่ละด้าน
เมื่อสอบถามความประทับใจในการปฏิบัติหน้าที่หรือการกระทำของตำรวจในพื้นที่ในแต่ละด้านปรากฏผลดังต่อไปนี้
- ด้านการอำนายความสะดวกในงานจราจร ประทับใจร้อยละ 60.3 ไม่ประทับใจร้อยละ 26.0และไม่มีความเห็นร้อยละ 13.7
- ด้านการให้บริการประชาชน ประทับใจร้อยละ 58.6 ไม่ประทับใจร้อยละ 25.7 และไม่มีความเห็นร้อยละ 15.7
- ด้านการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ประทับใจร้อยละ 48.5 ไม่ประทับใจร้อยละ 24.9 และไม่มีความเห็นร้อยละ 26.6
- ด้านบุคลิก/การวางตัวที่เป็นแบบอย่างแก่ประชาชน ประทับใจร้อยละ 41.9 ไม่ประทับใจ ร้อยละ 33.3 และไม่มีความเห็นร้อยละ 24.8
- ด้านการให้ความเป็นธรรมในการดำเนินคดีความ ประทับใจร้อยละ 35.2 ไม่ประทับใจร้อยละ 27.3 และไม่มีความเห็นร้อยละ 37.5
6. ความมั่นใจต่อการที่รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในวงการตำรวจ
เมื่อสอบถามความมั่นใจต่อการที่รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในวงการตำรวจ พบว่า ร้อยละ 25.8 มั่นใจว่าจะแก้ไขปัญหาได้ ร้อยละ 51.4 ไม่มั่นใจ และ ร้อยละ 22.8 ไม่มีความเห็น
7. ความมั่นใจต่อผบ.ตร.คนใหม่
นอกจากนี้เมื่อสอบถามความมั่นใจต่อการทำงานของผู้บัญชาการตำรวจคนใหม่ (ในกลุ่มคนที่รู้จัก ผบ.ตร.คนใหม่) พบว่า ร้อยละ 42.9 มั่นใจต่อการทำงานของผบ.ตร.คนใหม่ ร้อยละ 22.5 ไม่มั่นใจ และ ร้อยละ 34.6 ไม่มีความเห็น
--เอแบคโพลล์--
-พห-
องค์กรตำรวจถือเป็นกลไกสำคัญที่สุดประการหนึ่งในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคม มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรม ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อำนวยความยุติธรรมในคดีความ การบริการสังคม และอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในหลายด้าน
บทบาทของตำรวจมักจะเกี่ยวข้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชน เพราะตำรวจคือผู้ช่วยเหลือ พึ่งพาเมื่อประชาชนมีเหตุทุกข์ภัย ในขณะเดียวกันลักษณะงานของตำรวจก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องสิทธิเสรีภาพในการดำเนินชีวิตของประชาชน เนื่องจากตำรวจคือผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ที่จะต้องดูแลบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
ที่ผ่านมาการทำงานของตำรวจถูกวิจารณ์ทั้งในแง่บวก และแง่ลบ การศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับการทำงานของตำรวจจะทำให้เกิดความเข้าใจตำรวจในมุมมองต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อประชาชนและต่อฝ่ายตำรวจเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เกิดการพัฒนาปรับปรุง และช่วยกันคิดหาวิธีปฏิบัติต่อกันอย่างสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ร่วมกันต่อไปในอนาคต
วันที่ 13 ตุลาคม 2547 เป็นวันตำรวจแห่งชาติ และเนื่องในโอกาสการเข้ารับตำแหน่งของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) คนใหม่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2547 ที่ผ่านมา ดังนั้นจึงควรที่จะมีการสำรวจความ คิดเห็นของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของตำรวจ เพื่อประเมินผลการทำงาน และพิจารณาปัญหาการทำงาน ในสายตาของประชาชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการทำงานของตำรวจต่อไป
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนจากกรุงเทพมหานคร และจังหวัดหัวเมืองในภูมิภาคในประเด็นดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทาง สังคมศาสตร์
ซึ่งการเสนอผลสำรวจในที่นี้ จะนำเสนอความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการปฏิบัติงานของตำรวจในมุมมองด้านต่าง ๆ ได้แก่ ประสบการณ์ปัญหาที่พบเจอเกี่ยวกับตำรวจ การทำความดีและความเสื่อมเสียของตำรวจ ความประทับใจในบทบาทการทำงานแต่ละด้าน ความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานในพื้นที่ ความมั่นใจต่อผู้บัญชาการตำรวจคนใหม่ ความมั่นใจว่าต่อการที่รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นในวงการตำรวจอย่างได้ผล และข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะต่อการทำงานของตำรวจต่อไป
วัตถุประสงค์การสำรวจ
1. เพื่อสำรวจสภาพปัญหาของประชาชนที่เกิดจากการปฏิบัติงานของตำรวจ
2. เพื่อสำรวจความประทับใจต่อการปฏิบัติงานของตำรวจในแต่ละด้าน
3. เพื่อสำรวจความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของตำรวจโดยรวม
4. เพื่อสำรวจข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงงานตำรวจในทัศนะของประชาชน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้เข้าใจถึงมุมมองปัญหาการทำงานของตำรวจจากสายตาประชาชน
2. ทำให้ทราบความคิดเห็น และความคาดหวังของประชาชนต่อการปรับปรุงการทำงานของตำรวจ
3. เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจของสถาบันทางสังคมที่เกี่ยวข้อง
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง "การสำรวจภาพลักษณ์ตำรวจไทยในสายตาประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ นครราชสีมา ชลบุรี และสงขลา" ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1 - 9 ตุลาคม 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา ชลบุรี และสงขลา ทั้งที่อยู่ในเขตเทศบาล และนอกเขตเทศบาล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่างประชาชนแต่ละจังหวัดที่เป็นหัวเมืองในภูมิภาค
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจประชาชนทั่วไป 2,600 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
พิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างประชาชนทั่วไปพบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.7 ระบุเป็นหญิง ในขณะที่ร้อยละ 47.3 ระบุเป็นชาย ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 28.7 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 27.3 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 21.3 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 15.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 6.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 54.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับม.ต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 25.0 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับม.ปลาย/ ปวช. ร้อยละ 12.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 7.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา และร้อยละ 0.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่างร้อยละ 31.5 ประกอบอาชีพค้าขาย/กิจการย่อย ร้อยละ 24.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 12.2 ระบุอาชีพพนักงาน/ ลูกจ้างเอกชน ร้อยละ 9.4 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 6.1 ระบุแม่บ้าน / เกษียณ ร้อยละ 4.5 ระบุเป็นเกษตรกร และร้อยละ 12.3 ระบุอาชีพอื่นๆ เช่น ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ, อิสระ, ว่างงาน เป็นต้นร้อยละ 45.1 อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 16.5 อยู่ในเขตเทศบาลหัวเมืองในภูมิภาค และ ร้อยละ 38.4 อยู่นอกเขตเทศบาลหัวเมืองในภูมิภาค
เมื่อจำแนกประสบการณ์การเกี่ยวข้องกับตำรวจในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า ร้อยละ 38.1 เคยมีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับตำรวจโดยตรง (เช่นเกี่ยวข้องกับผู้ต้องหา ผู้เสียหาย การเป็นพยาน การเคยถูกปรับ การเคยแจ้งความร้องทุกข์ การทำงานร่วมกับตำรวจ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 61.9 ไม่เคยมีประสบการณ์เกี่ยวข้องโดยตรง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาที่เคยพบเจอจากการเกี่ยวข้องกับตำรวจ (เฉพาะคนที่เคย
มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับตำรวจในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา)
ลำดับที่ ลักษณะปัญหาของตำรวจที่ประชาชนเคยพบเจอ ร้อยละ ลักษณะเหตุการณ์ที่เจอบ่อย
1 เคยถูกตำรวจเรียกสินบนหรือสิ่งตอบแทน 22.1 - ตั้งด่านตรวจจับ/เรียกเงินจากผู้ขับขี่
- จับกุม/เรียกเงินจากผู้เล่นการพนัน
- เรียกเงิน/ยัดเยียดข้อหายาเสพติด
2 เคยถูกตำรวจแสดงท่าทีข่มขู่คุกคาม 10.9 - ข่มขู่จะจับกุม
- ข่มขู่จะรีดไถเงิน
- ข่มขู่ให้ยอมรับสารภาพ
3 เคยได้รับความเดือดร้อน/เสียหาย
อันเกิดจากการปฏิบัติงานของตำรวจ 7.8 - โดนปรับ/จับกุมโดยไม่มีความผิด
- ไม่สนใจติดตามจับกุมคนร้าย
- หว่านล้อม/ล่อลวงให้ไม่เอาความ
4 มีปัญหาความขัดแย้งส่วนตัวกับตำรวจ 3.7 - เรื่องตำรวจเจ้าชู้เกี้ยวพาราสี
- เบ่ง/วางอำนาจ / ใช้อภิสิทธิ์เหนือ ประชาชน
- ไม่วางตัวเป็นกลาง/ไม่เป็นธรรม
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่เคยถูกตำรวจเรียกรับสินบน ระบุ "การเคยจ่ายค่าสินบนตามที่ถูก
เรียกร้อง" (เฉพาะตัวอย่างที่เคยถูกตำรวจเรียกสินบน จำนวน 212 ตัวอย่าง)
ลำดับที่ การได้จ่ายค่าสินบน (เมื่อถูกตำรวจเรียกร้อง) ร้อยละ
1 จ่าย 88.8
2 ไม่จ่าย 11.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "การได้รับปฏิบัติอย่างเป็นธรรม" เมื่อมีปัญหาความขัดแย้ง
ส่วนตัวกับตำรวจ (เฉพาะตัวอย่างที่เคยมีปัญหาความขัดแย้งส่วนตัวกับตำรวจ จำนวน 35 ตัวอย่าง)
ลำดับที่ การได้รับปฏิบัติอย่างเป็นธรรมเมื่อมีปัญหาความขัดแย้งส่วนตัวกับตำรวจ ร้อยละ
1 เป็นธรรม 12.0
2 ไม่เป็นธรรม 76.0
3 ไม่แน่ใจ 12.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเคยพบเห็น "การทำความดีของตำรวจ" นอกเหนือจากการ
ปฏิบัติหน้าที่ปกติ ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา (สอบถามกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด)
ลำดับที่ การเคยพบเห็นการทำความดีของตำรวจ (นอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ปกติ) ร้อยละ
1 เคยพบเห็น 23.4
2 ไม่เคยพบเห็น 58.0
3 ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ 18.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ กลุ่มตัวอย่าง ที่ระบุว่า "เคยพบเห็น" ระบุเหตุการณ์ที่พบเห็นดังนี้
1. มีน้ำใจช่วยเหลือประชาชน ร้อยละ 68.4
2. ขยัน / ปฏิบัติหน้าที่อย่าจริงจัง / ดูแลตรวจตราอย่างสม่ำเสมอ ร้อยละ 18.3
3. ช่วยพัฒนาชุมชน / เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม ร้อยละ 5.9
4. ให้คำปรึกษาแนะนำต่าง ๆ ร้อยละ 4.4
5. อื่นๆ เช่น ช่วยไกล่เกลี่ยคดีความ , วางตัวเป็นกลาง, ไม่ก่อความเดือดร้อนให้ ร้อยละ 3.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเคยพบเห็น "การกระทำความเสื่อมเสียของตำรวจ"
นอกเหนือจากการปฏิบัติหน้าที่ปกติ ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา (สอบถามกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด)
ลำดับที่ การเคยพบเห็นการกระทำความเสื่อมเสียของตำรวจ ร้อยละ
1 เคยพบเห็น 28.5
2 ไม่เคยพบเห็น 57.8
3 ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบ 13.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ กลุ่มตัวอย่าง ที่ระบุว่า "เคยพบเห็น" ระบุเหตุการณ์ที่พบเห็นดังนี้
1. รีดไถประชาชน / ทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 46.0
2. เบ่งวางอำนาจ ใช้อภิสิทธิ์เหนือประชาชน ร้อยละ 13.4
3. ดื่มสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่ ร้อยละ 9.2
4. เล่นการพนัน ร้อยละ 8.2
5. อื่นๆ เช่น ยัดเยียดข้อหา, จับกุมผิดคน ,ขายยาบ้า , ค้าของเถื่อน, ร้อยละ 23.2
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความประทับใจต่อผลการทำงานของตำรวจในพื้นที่ของตนเอง
ลำดับที่ บทบาท/การกระทำ ประทับใจ ไม่ประทับใจ ไม่มีความเห็น รวม
1 ด้านการอำนวยความสะดวกในงานจราจร 60.3 26.0 13.7 100.0
2 ด้านการให้บริการประชาชน 58.6 25.7 15.7 100.0
3 ด้านการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม 48.5 24.9 26.6 100.0
4 ด้านบุคลิก/การวางตัวเป็นแบบอย่างแก่ประชาชน 41.9 33.3 24.8 100.0
5 ด้านการให้ความเป็นธรรมในการดำเนินคดีความ 35.2 27.3 37.5 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "ความพึงพอใจโดยรวมต่อการปฏิบัติงานของตำรวจในพื้นที่"
ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของตำรวจในพื้นที่ ร้อยละ
1 พอใจ 51.2
2 ไม่พอใจ 23.9
3 ไม่มีความเห็น 24.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ กลุ่มตัวอย่าง ที่ตอบว่า "พอใจ" ระบุเหตุผลเรียงตามลำดับดังนี้
1. ขยัน / ปฏิบัติหน้าที่อย่าจริงจัง / ดูแลตรวจตราอย่างสม่ำเสมอ ร้อยละ 82.4
2. มีน้ำใจช่วยเหลือประชาชน ร้อยละ 11.8
3. วางตัวเป็นกลาง ร้อยละ 3.0
4. อื่นๆ เช่น ช่วยพัฒนาชุมชน / เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมให้คำปรึกษาแนะนำต่างๆ ร้อยละ 2.8
กลุ่มตัวอย่าง ที่ตอบว่า "ไม่พอใจ" ระบุเหตุผลเรียงตามลำดับดังนี้
1. เจ้าหน้าที่ดูแลไม่ทั่วถึง ร้อยละ 26.4
2. ไม่วางตัวเป็นกลาง ร้อยละ 17.1
3. มาถึงที่เกิดเหตุช้า / ไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาคนอื่น ร้อยละ 12.1
4. รีดไถประชาชน / ทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 11.2
5. อื่นๆ เช่น เบ่ง/วางตัวอำนาจ ใช้อภิสิทธิ์เหนือประชาชน, ไม่รับผิดชอบงานในหน้าที่ ร้อยละ 33.2
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "คะแนนความพอใจต่อผลการทำงานของตำรวจในพื้นที่"
(ให้คะแนนเต็ม 10 คะแนน)
ลำดับที่ ระดับคะแนนความพอใจ ร้อยละ
1 0 - 2 คะแนน (พอใจต่ำมาก) 6.1
2 3 - 4 คะแนน (พอใจต่ำ) 8.9
3 5 - 6 คะแนน (พอใจปานกลาง) 39.5
4 7 - 8 คะแนน (พอใจสูง) 34.8
5 9 - 10 คะแนน (พอใจสูงมาก) 10.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ คะแนนเฉลี่ยความพอใจ 6.09 คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.16 คะแนน)
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "ความมั่นใจต่อการทำงานของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
คนใหม่ (ผบ.ตร.)" (เฉพาะคนที่รู้จักผบ.ตร.คนใหม่)
ลำดับที่ ความมั่นใจต่อการทำงานของผบ.ตร.คนใหม่ ร้อยละ
1 มั่นใจ 42.9
2 ไม่มั่นใจ 22.5
3 ไม่มีความเห็น 34.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "ความมั่นใจว่ารัฐบาลจะแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นใน
วงการตำรวจอย่างได้ผล"
ลำดับที่ ความมั่นใจ ร้อยละ
1 มั่นใจ 25.8
2 ไม่มั่นใจ 51.4
3 ไม่มีความเห็น 22.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ กลุ่มตัวอย่าง ที่ตอบว่า "มั่นใจ" ระบุเหตุผลเรียงตามลำดับดังนี้
1. เชื่อมั่นในการทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 40.2
2. เชื่อมั่นในตัวนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 29.0
3. รัฐบาลเข้มงวด / เอาจริงเอาจังในการทำงาน ร้อยละ 14.1
4. เห็นผลงานต่าง ๆ ที่ผ่านมา ร้อยละ 11.2
5. อื่นๆ เช่น รัฐบาลมีความเด็ดขาด , มีอำนาจอย่างเต็มที่ ร้อยละ 5.5
กลุ่มตัวอย่าง ที่ตอบว่า "ไม่มั่นใจ" ระบุเหตุผลเรียงตามลำดับดังนี้
1. เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก / ไม่สามารถแก้ไขได้ ร้อยละ 61.8
2. ในรัฐบาลเองก็ยังมีการทุจริตคอรัปชั่นอยู่ ร้อยละ 10.1
3. มีนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ / ผู้มีอิทธิพลคุ้มครองอยู่ ร้อยละ 6.3
4. ตำรวจมักจะช่วยเหลือพวกพ้องเดียวกัน ร้อยละ 4.8
5. อื่นๆ เช่น มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ,
ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือแจ้งเบาะแส ร้อยละ 17.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ "ความเห็นว่าภาคประชาชนได้เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างเพียงพอ
หรือไม่ในการพัฒนาปรับปรุงการทำงานของตำรวจ"
ลำดับที่ ความเพียงพอในการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ร้อยละ
1 มีส่วนร่วมเพียงพอ 18.5
2 ไม่เพียงพอ 63.9
3 ไม่มีความเห็น 17.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการทำงานของตำรวจ
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะ ร้อยละ
1 ขยัน / ปฏิบัติหน้าที่อย่าจริงจัง / ดูแลตรวจตราอย่างสม่ำเสมอ 30.3
2 ซื่อสัตย์สุจริต / ไม่คอรัปชั่น / รีดไถประชาชน 14.7
3 ให้เกียรติ / เป็นมิตรกับประชาชน 14.2
4 วางตัวเป็นกลาง /ให้ความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย 7.1
5 ดูแล / อำนวยความสะดวกด้านการจราจร 6.7
6 ให้ความสำคัญกับคดีต่าง ๆ / เร่งติดตามคนร้ายมาดำเนินคดี 5.3
7 เข้มงวดในการปราบปรามยาเสพติด 4.5
8 อื่น ๆ เช่น ไม่เบ่งวางอำนาจ ใช้อภิสิทธิ์เหนือประชาชน,
ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำงานกับตำรวจ,
ไม่ดื่มสุราในขณะปฏิบัติหน้าที่, ปรับปรุงเรื่องความรู้
ความสามารถของตำรวจ 17.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผลสำรวจเรื่อง "การสำรวจภาพลักษณ์ตำรวจไทยในสายตาประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ นครราชสีมา ชลบุรี และสงขลา" ได้ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 1 - 9 ตุลาคม 2547 ทั้งที่อยู่ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล จำนวน 2,600 ตัวอย่าง ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจ มีดังต่อไปนี้
1. ความพึงพอใจของประชาชนต่อการทำงานของตำรวจ
ผลการสำรวจพบว่าตัวอย่างประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 51.2 พอใจต่อการทำงานของตำรวจในพื้นที่ เนื่องจากเหตุผลสำคัญอันดับแรก คือ ขยัน/ปฏิบัติหน้าที่อย่าจริงจัง/ดูแลตรวจตราอย่างสม่ำเสมอ อันดับที่สอง คือ มีน้ำใจช่วยเหลือประชาชน อันดับที่สาม คือ วางตัวเป็นกลาง ในขณะที่ร้อยละ 23.9 ไม่พอใจ เนื่องจาก เหตุผลสำคัญอันดับแรก คือ เจ้าหน้าที่ดูแลไม่ทั่วถึง อันดับที่สอง คือ เจ้าหน้าที่ไม่วางตัวเป็นกลาง อันดับที่สาม คือ เจ้าหน้าที่มาถึงที่เกิดเหตุช้า/ไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาความเดือดร้อนของคนอื่น และร้อยละ 24.9 ไม่มีความคิดเห็น
เมื่อให้คะแนนความพึงพอใจในการทำงาน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) พบว่าประชาชนให้คะแนน ผลการทำงานของตำรวจในพื้นที่เฉลี่ยเท่ากับ 6.09 คะแนน
2. ประสบการณ์ถูกเรียกสินบนจากตำรวจ
สำหรับในกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับตำรวจ พบว่าร้อยละ 22.1 เคยถูกตำรวจเรียกรับสินบน โดยในจำนวนคนที่ถูกเรียกสินบนส่วนใหญ่ร้อยละ 88.8 จะยินยอมจ่ายให้กับตำรวจ
นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างประชาชน(ที่เคยเกี่ยวข้องกับตำรวจ) ได้ประสบปัญหาอื่น ๆ ที่สำคัญคือ ร้อยละ 10.9 เคยถูกตำรวจข่มขู่คุกคาม ร้อยละ 7.8 เคยได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการปฏิบัติงานของตำรวจ และร้อยละ 3.7 เคยมีปัญหาความขัดแย้งส่วนตัวกับตำรวจ
3. ความเป็นธรรมที่ได้รับเมื่อมีปัญหาขัดแย้งกับตำรวจ
ผลการสำรวจข้อมูลในกลุ่มคนที่เคยมีปัญหาขัดแย้งกับตำรวจ พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 12.0 จะได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม ในขณะที่ร้อยละ 76.0 ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม และร้อยละ 12.0 ไม่แน่ใจ
4. พบเจอตำรวจ "ทำความดี" หรือ "กระทำความเสื่อมเสีย" มากกว่ากัน
ในประเด็นการปฏิบัติที่นอกเหนือจากการทำหน้าที่ปกติ (การทำดีหรือทำความเสื่อมเสียเกินกว่าหน้าที่ปกติที่ควรทำ) พบว่ามีตัวอย่างประชาชน พบเห็น "ตำรวจกระทำความเสื่อมเสีย" มากกว่า "การกระทำความดี" เนื่องจากผลการสำรวจพบว่ามีประชาชนร้อยละ 23.4 ที่พบเห็นการกระทำความดี (นอกเหนือจากหน้าที่ปกติ)ของตำรวจ โดยเหตุการณ์ที่พบเห็นบ่อย ได้แก่ มีน้ำใจช่วยเหลือประชาชน ,ขยัน / ปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง และช่วยพัฒนาชุมชน เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
ในขณะที่มีตัวอย่างประชาชนถึงร้อยละ 28.5 ที่เคยพบเห็นการกระทำความเสื่อมเสียของตำรวจ (นอกเหนือจากการทำหน้าที่ปกติ) โดยเหตุการณ์ที่พบเห็นบ่อยคือรีดไถประชาชน/ทุจริตคอรัปชั่น, เบ่งวางอำนาจใช้อภิสิทธิ์เหนือประชาชน , ดื่มสุราขณะปฏิบัติหน้าที่ และเล่นการพนัน
5. ความประทับใจต่อผลการทำงานของตำรวจในแต่ละด้าน
เมื่อสอบถามความประทับใจในการปฏิบัติหน้าที่หรือการกระทำของตำรวจในพื้นที่ในแต่ละด้านปรากฏผลดังต่อไปนี้
- ด้านการอำนายความสะดวกในงานจราจร ประทับใจร้อยละ 60.3 ไม่ประทับใจร้อยละ 26.0และไม่มีความเห็นร้อยละ 13.7
- ด้านการให้บริการประชาชน ประทับใจร้อยละ 58.6 ไม่ประทับใจร้อยละ 25.7 และไม่มีความเห็นร้อยละ 15.7
- ด้านการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ประทับใจร้อยละ 48.5 ไม่ประทับใจร้อยละ 24.9 และไม่มีความเห็นร้อยละ 26.6
- ด้านบุคลิก/การวางตัวที่เป็นแบบอย่างแก่ประชาชน ประทับใจร้อยละ 41.9 ไม่ประทับใจ ร้อยละ 33.3 และไม่มีความเห็นร้อยละ 24.8
- ด้านการให้ความเป็นธรรมในการดำเนินคดีความ ประทับใจร้อยละ 35.2 ไม่ประทับใจร้อยละ 27.3 และไม่มีความเห็นร้อยละ 37.5
6. ความมั่นใจต่อการที่รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในวงการตำรวจ
เมื่อสอบถามความมั่นใจต่อการที่รัฐบาลจะแก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในวงการตำรวจ พบว่า ร้อยละ 25.8 มั่นใจว่าจะแก้ไขปัญหาได้ ร้อยละ 51.4 ไม่มั่นใจ และ ร้อยละ 22.8 ไม่มีความเห็น
7. ความมั่นใจต่อผบ.ตร.คนใหม่
นอกจากนี้เมื่อสอบถามความมั่นใจต่อการทำงานของผู้บัญชาการตำรวจคนใหม่ (ในกลุ่มคนที่รู้จัก ผบ.ตร.คนใหม่) พบว่า ร้อยละ 42.9 มั่นใจต่อการทำงานของผบ.ตร.คนใหม่ ร้อยละ 22.5 ไม่มั่นใจ และ ร้อยละ 34.6 ไม่มีความเห็น
--เอแบคโพลล์--
-พห-