เอแบคโพลล์: เสียงสะท้อนของสาธารณชนคนไทย ต่อนโยบายรัฐบาลว่าด้วยการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างชาติ

ข่าวผลสำรวจ Friday December 14, 2012 11:30 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยนโยบายสาธารณะเพื่อกิจการอาเซียน (เอแบคโพลล์) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง เสียงสะท้อนของสาธารณชนคนไทยต่อนโยบายรัฐบาลว่าด้วยการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างชาติ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนคนไทยใน 17 จังหวัดและกลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ จำนวน 2,125 ตัวอย่างและกลุ่มผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานต่างชาติทั่วประเทศจำนวน 454 ตัวอย่าง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย อุบลราชธานี สุรินทร์ นครราชสีมา นครศรีธรรมราช และสงขลา ดำเนินการสำรวจในระหว่างวันที่ 11—13 ธันวาคม พ.ศ. 2555 ที่ผ่านมา ใช้การเลือกตัวอย่างแบบเชิงระบบจากบัญชีรายชื่อสถานประกอบการทั่วประเทศ พบว่า

เมื่อสอบถามถึงการทำงานด้านความมั่นคงตามแนวชายแดน เช่น กองทัพ กระทรวงมหาดไทย ตำรวจ ในเรื่องแรงงานต่างชาติ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.6 ไม่พอใจ เพราะ ปล่อยปละละเลยให้แรงงานต่างชาติเข้าออกประเทศได้ง่ายเกินไป แรงงานต่างชาติกำลังเข้ามาตั้งแหล่งที่อยู่จำนวนมากทั่วประเทศ เกิดปัญหาอาชญากรรมจากกลุ่มแรงงานต่างชาติมากขึ้น รู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 19.4 พอใจ

อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.7 พอใจต่อนโยบายรัฐบาลในความเข้มงวดเรื่องการพิสูจน์สัญชาติของแรงงานต่างชาติให้อยู่ในระบบทะเบียนตรวจสอบตัวตนแท้จริงได้ ในขณะที่ร้อยละ 18.3 ไม่พอใจ

เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อกลุ่มคัดค้านนโยบายรัฐบาลในความเข้มงวดเรื่องการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างชาติให้อยู่ในระบบทะเบียนตรวจสอบตัวตนแท้จริงได้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.4 ระบุเป็นกลุ่มที่เสียผลประโยชน์ในธุรกิจของตนเอง ในขณะที่ร้อยละ 15.6 ระบุเป็นกลุ่มที่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมแท้จริง

ในขณะที่ผลการสอบถามกลุ่มผู้ประกอบการถึงการรับรู้ต่อนโยบายรัฐบาลในเรื่องการผ่อนผันพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างชาติ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.9 ทราบมาล่วงหน้าแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 13.1 ยังไม่ทราบ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.9 ไม่ค่อยเข้าใจถึงไม่เข้าใจเกี่ยวกับข้อกฎหมายแรงงานต่างชาติที่ทำงานที่โรงงานต่างๆ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.3 ไม่ค่อยเข้าใจถึงไม่เข้าใจต่อข้อปฏิบัติต่างๆ ที่ต้องดำเนินการเกี่ยวกับการใช้แรงงานต่างชาติ ที่น่าพิจารณาคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.0 เคยใช้บริการนายหน้าติดต่อจัดหาแรงงานต่างชาติ

ที่น่าพิจารณาคือ เกินครึ่งหรือร้อยละ 54.9 เห็นด้วยต่อนโยบายรัฐบาลว่าด้วยแรงงานต่างชาติที่ให้มีการทำข้อตกลงร่วมกัน หรือ MOU ความต้องการแรงงานต่างชาติโดยตรงระหว่างผู้ประกอบการกับประเทศแหล่งป้อนแรงงานต่างชาติ ร้อยละ 38.2 ไม่แน่ใจ และร้อยละ 6.9 ไม่เห็นด้วย นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงความต้องการใช้แรงงานต่างชาติเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ชุมชนเศรษฐกิจอาเซียน พบว่า ร้อยละ 47.2 ระบุเพิ่มขึ้น ร้อยละ 41.1 ระบุเท่าเดิม และร้อยละ 11.7 ระบุลดลง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 39.2 มีสิทธิเลือกตั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ร้อยละ 22.1 มีสิทธิเลือกตั้งในภาคกลาง

ร้อยละ 18.9 มีสิทธิเลือกตั้งในภาคเหนือ

ร้อยละ 10.2 มีสิทธิเลือกตั้งในภาคใต้

ร้อยละ 9.6 มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร

และตัวอย่าง ร้อยละ 47.2 เป็นชาย ร้อยละ 52.8 เป็นหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 6.8 อายุน้อยกว่า 20 ปี

ร้อยละ 19.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี

ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี

ร้อยละ 20.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี

และร้อยละ 29.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 68.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี

ร้อยละ 31.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 31.8 ระบุอาชีพเกษตรกร/ประมง

ร้อยละ 25.5 ระบุอาชีพธุรกิจส่วนตัว ค้าขาย

ร้อยละ 11.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ

ร้อยละ 12.7 ระบุอาชีพพนักงานบริษัท

ร้อยละ 6.6 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ร้อยละ 8.9 ระบุเป็นแม่บ้าน พ่อบ้าน เกษียณอายุ

ร้อยละ 3.4 ระบุว่างงาน ไม่ได้ประกอบอาชีพ

นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างผู้ประกอบการส่วนใหญ่หรือ ร้อยละ 90.9 เป็นผู้บริหาร เช่น เจ้าของโรงงาน ผู้จัดการ และหัวหน้างานของแรงงานต่างชาติ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 9.1 เป็นเจ้าหน้าที่คนไทยที่ดูแลเรื่องแรงงานต่างชาติของบริษัท โรงงาน และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.3 เป็นโรงงานในเขตกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี ในขณะที่ร้อยละ 34.7 เป็นโรงงานในต่างภูมิภาค

โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุ ความพอใจต่อการทำงานด้านความมั่นคงตามแนวชายแดนเช่น กองทัพ
กระทรวงมหาดไทยตำรวจ ในเรื่องแรงงานต่างชาติ
ลำดับที่          ความพอใจของประชาชนต่อหน่วยงานด้านความมั่นคงตามแนวชายแดน                          ค่าร้อยละ
1          ไม่พอใจ เพราะ....ปล่อยปละละเลยให้แรงงานต่างชาติเข้าออกประเทศได้ง่ายเกินไป แรงงาน

ต่างชาติกำลังเข้ามาตั้งแหล่งที่อยู่จำนวนมากทั่วประเทศ เกิดปัญหา

อาชญากรรมจากกลุ่มแรงงานต่างชาติมากขึ้น รู้สึกไม่ปลอดภัยในชีวิตและ

                           ทรัพย์สินมากขึ้น เป็นต้น                                                 80.6
2          พอใจ                                                                              19.4
          รวมทั้งสิ้น                                                                           100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุ ความพอใจต่อนโยบายรัฐบาลในความเข้มงวดเรื่องการพิสูจน์สัญชาติของ
แรงงานต่างชาติให้อยู่ในระบบทะเบียนตรวจสอบตัวตนแท้จริงได้
ลำดับที่          ความพอใจของประชาชนต่อนโยบายรัฐบาล          ค่าร้อยละ
1          พอใจ                                          81.7
2          ไม่พอใจ                                        18.3
          รวมทั้งสิ้น                                       100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างประชาชนที่ระบุ ความคิดเห็นต่อกลุ่มที่คัดค้านนโยบายของรัฐบาลในความเข้มงวดเรื่องการ
พิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างชาติให้อยู่ในระบบทะเบียนตรวจสอบตัวตนแท้จริงได้
ลำดับที่         ความคิดเห็นต่อกลุ่มคัดค้าน                ค่าร้อยละ
1          กลุ่มที่เสียผลประโยชน์ในธุรกิจของตนเอง          85.4
2          กลุ่มที่คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมแท้จริง          15.6
          รวมทั้งสิ้น                                 100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างผู้ประกอบการที่ระบุการรับรู้ต่อนโยบายรัฐบาลในเรื่องการผ่อนผันพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างชาติ
ลำดับที่          การรับรู้                ค่าร้อยละ
1          ทราบมาล่วงหน้าแล้ว            86.9
2          ไม่ทราบ                     13.1
          รวมทั้งสิ้น                    100.0

ตารางที่ 5  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างผู้ประกอบการที่ระบุความเข้าใจต่อข้อกฎหมายแรงงานต่างชาติที่ทำงานที่ โรงงานต่างๆ
ลำดับที่          ความเข้าใจต่อข้อกฎหมายแรงงานต่างชาติที่ทำงานที่โรงงานต่างๆ        ค่าร้อยละ
1          เข้าใจ                                                         32.1
2          ไม่ค่อยเข้าใจถึงไม่เข้าใจ                                           67.9
          รวมทั้งสิ้น                                                       100.0

ตารางที่ 6  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างผู้ประกอบการที่ระบุความเข้าใจต่อข้อปฏิบัติต่างๆ ที่ต้องดำเนินการเกี่ยวกับการใช้แรงงานต่างชาติ
ลำดับที่          ความเข้าใจต่อข้อปฏิบัติต่างๆ ที่ต้องดำเนินการเกี่ยวกับการใช้แรงงานต่างชาติ      ค่าร้อยละ
1          เข้าใจ                                                                37.7
2          ไม่ค่อยเข้าใจถึงไม่เข้าใจ                                                  62.3
          รวมทั้งสิ้น                                                              100.0

ตารางที่ 7  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างผู้ประกอบการที่ระบุ ประสบการณ์ใช้บริการ นายหน้า ติดต่อจัดหาแรงงานต่างชาติ
ลำดับที่          ประสบการณ์ใช้บริการ นายหน้า ติดต่อจัดหาแรงงานต่างชาติ       ค่าร้อยละ
1          เคยใช้                                                    83.0
2          ไม่เคยใช้                                                  17.0
          รวมทั้งสิ้น                                                  100.0

ตารางที่ 8  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างผู้ประกอบการที่ระบุ ความคิดเห็นต่อนโยบายรัฐบาลว่าด้วยแรงงานต่างชาติที่ให้มีการทำ

ข้อตกลงร่วมกันหรือ MOU ความต้องการแรงงานต่างชาติโดยตรงระหว่างผู้ประกอบการกับประเทศแหล่งป้อนแรงงานต่างชาติ

ลำดับที่          ความคิดเห็น             ค่าร้อยละ
1          เห็นด้วย                     54.9
2          ไม่แน่ใจ                     38.2
3          ไม่เห็นด้วย                    6.9
          รวมทั้งสิ้น                    100.0

ตารางที่ 9  แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความต้องการใช้แรงงานต่างชาติเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ชุมชนเศรษฐกิจอาเซียน
ลำดับที่          ความต้องการใช้แรงงานต่างชาติเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ชุมชนเศรษฐกิจอาเซียน     ค่าร้อยละ
1          เพิ่มขึ้น                                                               47.2
2          เท่าเดิม                                                              41.1
3          ลดลง                                                                11.7
          รวมทั้งสิ้น                                                             100.0

--เอแบคโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ