ที่มาของโครงการ
หลังจากที่นักวิชาการและองค์กรเอกชนต่างๆ ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์และเคลื่อนไหวคัดค้าน พ.ต.ท.
ทักษิณ ชินวัตร กรณีการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยมาตรการแบ่งโซนพื้นที่เป็นสีแดง
เหลือง เขียว และจะตัดงบฯเอสเอ็มแอลในพื้นที่สีแดงที่ไม่ให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหานั้น ก็ได้มีข่าวออกมา
ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ออกมาตอบโต้นักวิชาการและองค์กรเอกชนดังกล่าว ว่าอย่าเอาแต่
ติเพียงด้านเดียว แต่ควรเสนอแนวทางการแก้ปัญหาด้วย ซึ่งข่าวการออกมาตอบโต้ของนายกรัฐมนตรีในกรณี
ดังกล่าว ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์กันในวงกว้างว่ามีการใช้ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม และไม่ควรเผยแพร่ต่อสาธารณะชน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์
จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงประเด็นความคิดเห็นกรณีดังกล่าว รวมทั้งข้อเสนอแนะ
ของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการจัดส่ง
อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัย
ทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อนายกรัฐมนตรีในการ
ออกมาตอบโต้นักวิชาการและองค์กรเอกชนที่คัดค้านมาตรการแบ่งโซนพื้นที่ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2. เพื่อค้นหาข้อเสนอแนะของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “วาทะ
เด็ดของนายกรัฐมนตรีในความรู้สึกของประชาชนต่อกลุ่มนักวิชาการที่คัดค้านแนวทางแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ
ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจาก
การทำ สำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,595 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.7 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 22.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี
ร้อยละ 20.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 8.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 60.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 33.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 5.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.1 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 20.8 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 15.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 9.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 9.7 เป็นนักศึกษา ในขณะที่ร้อยละ 2.1 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ “วาทะ” ของนายกรัฐมนตรีกรณีมีบางคน
คัดค้านแนวทางการแก้ปัญหาภาคใต้ของนายกรัฐมนตรี
ถ้อยคำและวาทะของนายกรัฐมนตรี เหมาะสม ไม่เหมาะสม ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. ผมประเมินผลทุกระยะ อะไรไม่ดี ผมเลี้ยวเปลี่ยนตัวเอง
ได้ถ้าทำไปสักพักไม่ดี ไม่ต้องห่วง ผมเป็นคนพร้อมเปลี่ยน
ถ้ามีข้อแนะนำดีๆ 75.6 15.8 8.6 100.0
2. ต้องเห็นใจคนปฏิบัติบ้าง และทำอะไรสร้างสรรค์หน่อย
จิตสำนึกแห่งความเป็นชาติต้องมีด้วย ไม่ใช่ว่ามีแต่
มนุษยธรรมแล้วชาติอยู่ไหน 74.5 15.1 10.4 100.0
3. ทุกวันนี้มีแต่คนติ พอจะทำอะไร คิดอะไร ก็ติ
ช่วยแนะนำหน่อยว่าควรทำอย่างไร 64.7 24.0 11.3 100.0
4. ไม่เห็นด้วยก็ดีแล้ว จะได้ช่วยแนะนำว่าวิธีที่ดีที่สุด
ควรทำอย่างไร 58.0 21.7 20.3 100.0
5. นายสิบผมยังฟัง ชาวบ้านผมก็ฟัง ทำไมผมจะไม่ฟังด็อกเตอร์
แต่ด็อกเตอร์ต้องสร้างสรรค์หน่อย 57.8 29.6 12.6 100.0
6. ไอ้พวกนี้ไม่ต้องทำอะไร มันติทั้งวัน ผมยังไม่เคย
ทำอะไรถูกเลย 25.0 63.1 11.9 100.0
7. อาจารย์มหาวิทยาลัยบางคน แม่ง…. ออกมาติอยู่นั่นแหละ
ติแล้วไม่มีแนวคิด 24.9 64.9 10.2 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกโดยภาพรวมต่อถ้อยคำที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ตอบโต้นักวิชาการบางกลุ่มที่คัดค้านการแบ่งโซนสีพื้นที่และแนวทางแก้ปัญหาความไม่สงบใน
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ ความรู้สึกโดยภาพรวม ค่าร้อยละ
1 พอใจมาก 16.9
2 พอใจบ้าง แต่ควรปรับปรุงคำพูดบางคำ 68.4
3 ไม่พอใจ 14.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อนายกรัฐมนตรีที่ออกมาตอบโต้นักวิชาการ
บางกลุ่มที่คัดค้านวิธีการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 47.3
2 ไม่เห็นด้วย 32.9
3 ไม่มีความเห็น 19.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรีในการแก้ปัญหาความไม่สงบ
ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรีในการแก้ปัญหาความไม่สงบ ค่าร้อยละ
ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
1 นายกรัฐมนตรีควรระมัดระวังในการใช้คำพูดและมีความอดทนอดกลั้นให้มากกว่านี้
มิเช่นนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาบานปลายจากคำพูดของนายกฯเอง 33.3
2 ควรเอาจริงเอาจังในการทำงานมากกว่านี้ /อยากให้แก้ปัญหาให้เรียบร้อยโดยเร็ว 17.9
3 นายกรัฐมนตรีควรรับฟังแนวทางการแก้ไขปัญหาจากคนอื่นบ้าง 17.1
4 นายกรัฐมนตรีควรร่วมมือกับฝ่ายค้านในการแก้ไขปัญหา 16.7
5 อยากให้แก้ปัญหาด้วยสันติวิธี/ประนีประนอม 13.6
6 นายกรัฐมนตรีควรลงพื้นที่พบปะประชาชนบ่อยๆ/เข้าถึงประชาชนให้มากกว่านี้ 9.2
7 ควรใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดในการแก้ปัญหา 7.9
8 อื่นๆ อาทิ นายกฯควรรวบรวมข้อมูลให้มากกว่านี้ /ตั้งรางวัลนำจับผู้ก่อความไม่สงบ /
โยกย้ายข้าราชการที่มีปัญหาออกจากพื้นที่ เป็นต้น 3.2
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผล
สำรวจภาคสนาม เรื่อง “วาทะเด็ดของนายกรัฐมนตรีในความรู้สึกของประชาชนต่อกลุ่มนักวิชาการที่คัดค้านแนวทาง
แก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั่ว
ไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,595 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่
22-23 กุมภาพันธ์ 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็น ต่อความเหมาะสมของวาทะหรือถ้อยคำต่างๆ
ของนายกรัฐมนตรีที่ออกมาตอบโต้นักวิชาการและองค์กรเอกชน กรณีการใช้มาตรการแบ่งโซนพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาใน
ภาคใต้นั้น พบว่า วาทะที่ตัวอย่างระบุว่า “เหมาะสม” 3 อันดับแรก คือ
- ผมประเมินผลทุกระยะ อะไรไม่ดี ผมเลี้ยวเปลี่ยนตัวเองได้ ถ้าทำไปสักพักไม่ดี ไม่ต้องห่วง ผมเป็น
คนพร้อมเปลี่ยนถ้ามีข้อแนะนำดีๆ (ร้อยละ 75.6)
- ต้องเห็นใจคนปฏิบัติบ้าง และทำอะไรสร้างสรรค์หน่อย จิตสำนึกแห่งความเป็นชาติต้องมีด้วย ไม่ใช่ว่า
มีแต่มนุษยธรรม แล้วชาติอยู่ไหน (ร้อยละ 74.5)
- ทุกวันนี้มีแต่คนติ พอจะทำอะไร คิดอะไร ก็ติ ช่วยแนะนำหน่อยว่าควรทำอย่างไร
(ร้อยละ 64.7)
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อวาทะที่ “ไม่เหมาะสม” 3 อันดับแรกได้แก่
- อาจารย์มหาวิทยาลัยบางคน แม่ง…ออกมาติอยู่นั่นแหละ ติแล้วไม่มีแนวคิด (ร้อยละ 64.9)
- ไอ้พวกนี้ไม่ต้องทำอะไร มันติทั้งวัน ผมยังไม่เคยอะไรถูกเลย (ร้อยละ 63.1)
- นายสิบผมยังฟัง ชาวบ้านผมก็ฟัง ทำไมผมจะไม่ฟังด็อกเตอร์แต่ด็อกเตอร์ต้อง
สร้างสรรค์หน่อย (ร้อยละ 29.6)
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความรู้สึกโดยภาพรวมของตัวอย่างต่อถ้อยคำที่ พ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร ออกมาตอบโต้นักวิชาการบางกลุ่มที่คัดค้านการแบ่งโซนสีพื้นที่และแนวทางแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 68.4 ระบุพอใจแต่ควรปรับปรุงในคำพูดบางคำ ในขณะที่ ร้อยละ
16.9 ระบุพอใจมาก และร้อยละ 14.7 ระบุไม่พอใจ
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อนายกรัฐมนตรีในการออกมาตอบโต้
นักวิชาการบางกลุ่มที่ออกมาคัดค้านวิธีการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อย
ละ 47.3 ระบุเห็นด้วยกับการตอบโต้ดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 32.9 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 19.8 ไม่ระบุ
ความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้าย เป็นสิ่งที่ประชาชนได้ฝากถึงนายกรัฐมนตรี นั่นคือข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาความ
ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งพบว่าตัวอย่างร้อยละ 33.3 ระบุว่าต้องการให้นายกรัฐมนตรีระมัดระวังใน
การใช้คำพูดและมีความอดทนอดกลั้นให้มากกว่านี้ มิเช่นนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาบานปลายจาก คำพูดของนายกฯ
เอง รองลงมาคือร้อยละ 17.9 ระบุควรเอาจริงเอาจังในการทำงานมากกว่านี้/อยากให้ แก้ปัญหาให้
เรียบร้อยโดยเร็ว ร้อยละ 17.1 ระบุนายกรัฐมนตรีควรรับฟังแนวทางการแก้ไขปัญหาจากคนอื่นบ้าง ร้อยละ
16.7 ระบุนายกรัฐมนตรีควรร่วมมือกับฝ่ายค้านในการแก้ไขปัญหา และร้อยละ 13.6 ระบุอยากให้แก้ปัญหาด้วย
สันติวิธีและประนีประนอม ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-พห-
หลังจากที่นักวิชาการและองค์กรเอกชนต่างๆ ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์และเคลื่อนไหวคัดค้าน พ.ต.ท.
ทักษิณ ชินวัตร กรณีการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยมาตรการแบ่งโซนพื้นที่เป็นสีแดง
เหลือง เขียว และจะตัดงบฯเอสเอ็มแอลในพื้นที่สีแดงที่ไม่ให้ความร่วมมือในการแก้ปัญหานั้น ก็ได้มีข่าวออกมา
ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ออกมาตอบโต้นักวิชาการและองค์กรเอกชนดังกล่าว ว่าอย่าเอาแต่
ติเพียงด้านเดียว แต่ควรเสนอแนวทางการแก้ปัญหาด้วย ซึ่งข่าวการออกมาตอบโต้ของนายกรัฐมนตรีในกรณี
ดังกล่าว ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์กันในวงกว้างว่ามีการใช้ถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม และไม่ควรเผยแพร่ต่อสาธารณะชน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์
จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงประเด็นความคิดเห็นกรณีดังกล่าว รวมทั้งข้อเสนอแนะ
ของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการจัดส่ง
อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัย
ทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อนายกรัฐมนตรีในการ
ออกมาตอบโต้นักวิชาการและองค์กรเอกชนที่คัดค้านมาตรการแบ่งโซนพื้นที่ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
2. เพื่อค้นหาข้อเสนอแนะของประชาชนต่อนายกรัฐมนตรีในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “วาทะ
เด็ดของนายกรัฐมนตรีในความรู้สึกของประชาชนต่อกลุ่มนักวิชาการที่คัดค้านแนวทางแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้: กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ
ระหว่างวันที่ 22-23 กุมภาพันธ์ 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจาก
การทำ สำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,595 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 51.2 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.8 ระบุเป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.7 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 22.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี
ร้อยละ 20.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 8.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 60.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 33.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 5.6 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 24.1 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 20.8 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 19.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 15.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 9.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 9.7 เป็นนักศึกษา ในขณะที่ร้อยละ 2.1 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อ “วาทะ” ของนายกรัฐมนตรีกรณีมีบางคน
คัดค้านแนวทางการแก้ปัญหาภาคใต้ของนายกรัฐมนตรี
ถ้อยคำและวาทะของนายกรัฐมนตรี เหมาะสม ไม่เหมาะสม ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. ผมประเมินผลทุกระยะ อะไรไม่ดี ผมเลี้ยวเปลี่ยนตัวเอง
ได้ถ้าทำไปสักพักไม่ดี ไม่ต้องห่วง ผมเป็นคนพร้อมเปลี่ยน
ถ้ามีข้อแนะนำดีๆ 75.6 15.8 8.6 100.0
2. ต้องเห็นใจคนปฏิบัติบ้าง และทำอะไรสร้างสรรค์หน่อย
จิตสำนึกแห่งความเป็นชาติต้องมีด้วย ไม่ใช่ว่ามีแต่
มนุษยธรรมแล้วชาติอยู่ไหน 74.5 15.1 10.4 100.0
3. ทุกวันนี้มีแต่คนติ พอจะทำอะไร คิดอะไร ก็ติ
ช่วยแนะนำหน่อยว่าควรทำอย่างไร 64.7 24.0 11.3 100.0
4. ไม่เห็นด้วยก็ดีแล้ว จะได้ช่วยแนะนำว่าวิธีที่ดีที่สุด
ควรทำอย่างไร 58.0 21.7 20.3 100.0
5. นายสิบผมยังฟัง ชาวบ้านผมก็ฟัง ทำไมผมจะไม่ฟังด็อกเตอร์
แต่ด็อกเตอร์ต้องสร้างสรรค์หน่อย 57.8 29.6 12.6 100.0
6. ไอ้พวกนี้ไม่ต้องทำอะไร มันติทั้งวัน ผมยังไม่เคย
ทำอะไรถูกเลย 25.0 63.1 11.9 100.0
7. อาจารย์มหาวิทยาลัยบางคน แม่ง…. ออกมาติอยู่นั่นแหละ
ติแล้วไม่มีแนวคิด 24.9 64.9 10.2 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกโดยภาพรวมต่อถ้อยคำที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ตอบโต้นักวิชาการบางกลุ่มที่คัดค้านการแบ่งโซนสีพื้นที่และแนวทางแก้ปัญหาความไม่สงบใน
3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ ความรู้สึกโดยภาพรวม ค่าร้อยละ
1 พอใจมาก 16.9
2 พอใจบ้าง แต่ควรปรับปรุงคำพูดบางคำ 68.4
3 ไม่พอใจ 14.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อนายกรัฐมนตรีที่ออกมาตอบโต้นักวิชาการ
บางกลุ่มที่คัดค้านวิธีการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 47.3
2 ไม่เห็นด้วย 32.9
3 ไม่มีความเห็น 19.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรีในการแก้ปัญหาความไม่สงบ
ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรีในการแก้ปัญหาความไม่สงบ ค่าร้อยละ
ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
1 นายกรัฐมนตรีควรระมัดระวังในการใช้คำพูดและมีความอดทนอดกลั้นให้มากกว่านี้
มิเช่นนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาบานปลายจากคำพูดของนายกฯเอง 33.3
2 ควรเอาจริงเอาจังในการทำงานมากกว่านี้ /อยากให้แก้ปัญหาให้เรียบร้อยโดยเร็ว 17.9
3 นายกรัฐมนตรีควรรับฟังแนวทางการแก้ไขปัญหาจากคนอื่นบ้าง 17.1
4 นายกรัฐมนตรีควรร่วมมือกับฝ่ายค้านในการแก้ไขปัญหา 16.7
5 อยากให้แก้ปัญหาด้วยสันติวิธี/ประนีประนอม 13.6
6 นายกรัฐมนตรีควรลงพื้นที่พบปะประชาชนบ่อยๆ/เข้าถึงประชาชนให้มากกว่านี้ 9.2
7 ควรใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดในการแก้ปัญหา 7.9
8 อื่นๆ อาทิ นายกฯควรรวบรวมข้อมูลให้มากกว่านี้ /ตั้งรางวัลนำจับผู้ก่อความไม่สงบ /
โยกย้ายข้าราชการที่มีปัญหาออกจากพื้นที่ เป็นต้น 3.2
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผล
สำรวจภาคสนาม เรื่อง “วาทะเด็ดของนายกรัฐมนตรีในความรู้สึกของประชาชนต่อกลุ่มนักวิชาการที่คัดค้านแนวทาง
แก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั่ว
ไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,595 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่
22-23 กุมภาพันธ์ 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็น ต่อความเหมาะสมของวาทะหรือถ้อยคำต่างๆ
ของนายกรัฐมนตรีที่ออกมาตอบโต้นักวิชาการและองค์กรเอกชน กรณีการใช้มาตรการแบ่งโซนพื้นที่ในการแก้ไขปัญหาใน
ภาคใต้นั้น พบว่า วาทะที่ตัวอย่างระบุว่า “เหมาะสม” 3 อันดับแรก คือ
- ผมประเมินผลทุกระยะ อะไรไม่ดี ผมเลี้ยวเปลี่ยนตัวเองได้ ถ้าทำไปสักพักไม่ดี ไม่ต้องห่วง ผมเป็น
คนพร้อมเปลี่ยนถ้ามีข้อแนะนำดีๆ (ร้อยละ 75.6)
- ต้องเห็นใจคนปฏิบัติบ้าง และทำอะไรสร้างสรรค์หน่อย จิตสำนึกแห่งความเป็นชาติต้องมีด้วย ไม่ใช่ว่า
มีแต่มนุษยธรรม แล้วชาติอยู่ไหน (ร้อยละ 74.5)
- ทุกวันนี้มีแต่คนติ พอจะทำอะไร คิดอะไร ก็ติ ช่วยแนะนำหน่อยว่าควรทำอย่างไร
(ร้อยละ 64.7)
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อวาทะที่ “ไม่เหมาะสม” 3 อันดับแรกได้แก่
- อาจารย์มหาวิทยาลัยบางคน แม่ง…ออกมาติอยู่นั่นแหละ ติแล้วไม่มีแนวคิด (ร้อยละ 64.9)
- ไอ้พวกนี้ไม่ต้องทำอะไร มันติทั้งวัน ผมยังไม่เคยอะไรถูกเลย (ร้อยละ 63.1)
- นายสิบผมยังฟัง ชาวบ้านผมก็ฟัง ทำไมผมจะไม่ฟังด็อกเตอร์แต่ด็อกเตอร์ต้อง
สร้างสรรค์หน่อย (ร้อยละ 29.6)
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความรู้สึกโดยภาพรวมของตัวอย่างต่อถ้อยคำที่ พ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร ออกมาตอบโต้นักวิชาการบางกลุ่มที่คัดค้านการแบ่งโซนสีพื้นที่และแนวทางแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 68.4 ระบุพอใจแต่ควรปรับปรุงในคำพูดบางคำ ในขณะที่ ร้อยละ
16.9 ระบุพอใจมาก และร้อยละ 14.7 ระบุไม่พอใจ
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นต่อนายกรัฐมนตรีในการออกมาตอบโต้
นักวิชาการบางกลุ่มที่ออกมาคัดค้านวิธีการแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อย
ละ 47.3 ระบุเห็นด้วยกับการตอบโต้ดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 32.9 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 19.8 ไม่ระบุ
ความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้าย เป็นสิ่งที่ประชาชนได้ฝากถึงนายกรัฐมนตรี นั่นคือข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาความ
ไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งพบว่าตัวอย่างร้อยละ 33.3 ระบุว่าต้องการให้นายกรัฐมนตรีระมัดระวังใน
การใช้คำพูดและมีความอดทนอดกลั้นให้มากกว่านี้ มิเช่นนั้นอาจทำให้เกิดปัญหาบานปลายจาก คำพูดของนายกฯ
เอง รองลงมาคือร้อยละ 17.9 ระบุควรเอาจริงเอาจังในการทำงานมากกว่านี้/อยากให้ แก้ปัญหาให้
เรียบร้อยโดยเร็ว ร้อยละ 17.1 ระบุนายกรัฐมนตรีควรรับฟังแนวทางการแก้ไขปัญหาจากคนอื่นบ้าง ร้อยละ
16.7 ระบุนายกรัฐมนตรีควรร่วมมือกับฝ่ายค้านในการแก้ไขปัญหา และร้อยละ 13.6 ระบุอยากให้แก้ปัญหาด้วย
สันติวิธีและประนีประนอม ตามลำดับ
--เอแบคโพลล์--
-พห-