ที่มาของโครงการ
"ปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น" ถือเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ส่งทั้งผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อม การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงปรารถนา โรคทางเพศสัมพันธ์ การทำแท้ง รวมถึงปัญหาเด็กถูกทอดทิ้ง ฯลฯ ล้วนเป็นผลพวงจากพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมที่วัยรุ่นไทยกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ข้อมูลจากการสำรวจของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์เรื่อง "ความคิดเห็นเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์และพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น" ซึ่งทำการสำรวจในช่วงต้นปี ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ถึง 6 กุมภาพันธ์ 2547 ชี้ให้เห็นว่าตัวอย่างที่สำรวจซึ่งเป็นเยาวชนในระบบการศึกษา(ระดับมัธยมปลายทั้งสายสามัญและอาชีพ) จำนวนไม่น้อยบริโภคข้อมูลทางเพศที่ไม่เหมาะสมจากสื่อต่างๆ อาทิดูวีดีโอ/วีซีดีโป๊ (ร้อยละ 38.3) หรือดูเว็ปโป๊ทางอินเตอร์เน็ต (ร้อยละ 24.3) ที่น่าสนใจกว่านั้นข้อมูลจากการสำรวจยังพบว่าถึงร้อยละ 27.2 ที่ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจเรื่อง "ประสบการณ์และทรรศนะของวัยรุ่นต่อปัญหาพฤติกรรมทางเพศในปัจจุบัน" โดยได้ส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อแสวงหาข้อมูลสำคัญข้างต้น
วัตถุประสงค์ของโครงการสำรวจ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและประสบการณ์ด้านเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น
2. เพื่อสำรวจถึงพฤติกรรมการบริโภคข้อมูล ข่าวสารทางเพศที่ไม่เหมาะสม
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจากเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมในกลุ่มวัยรุ่น
5. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น
6. เพื่อสำรวจถึงประเด็นสำคัญอื่นๆ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อทราบถึงทรรศนะและประสบการณ์ด้านเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น
2. เพื่อทราบถึงสถานการณ์ปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น
3. เพื่อปัจจัยที่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดปัญหารวมถึงแนวทางแก้ไขปัญหาในทรรศนะของวัยรุ่น
4. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาสำหรับบุคคล หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง
5. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการศึกษาของผู้ที่สนใจต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้เรื่อง "ประสบการณ์และทรรศนะของวัยรุ่นต่อปัญหาพฤติกรรมทางเพศในปัจจุบัน" ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 9 - 17 ต.ค. 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมายคือ ประชาชนที่มีอายุระหว่าง 15 -25 ปีที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (stratified cluster sampling) เพื่อเลือกพื้นที่เป้าหมาย จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบและใช้วิธีการกำหนดขนาดตัวอย่างตามสัดส่วน ประชากร (Probability Proportionate to Size Sampling ) เพื่อเข้าถึงตัวอย่างตามคุณลักษณะและสัดส่วนที่กำหนดในแต่ละพื้นที่
ขนาดตัวอย่าง 1,627 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างร้อยละ ฑ 3
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ ให้ผู้ตอบเป็นผู้ตอบแบบสอบถามด้วยตัวเอง
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณที่ใช้เป็นของมหาวิทยาลัย
ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง ร้อยละ 52.2 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 47.8 เป็นเพศชาย โดย ร้อยละ 55.3 ระบุช่วงอายุระหว่าง 20-25 ปี ขณะที่ร้อยละ 44.7 ระบุช่วงอายุระหว่าง 15-19 ปี นอกจากนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 58.8 ระบุกำลังศึกษา ขณะที่ร้อยละ 41.2 ระบุทำงานแล้ว
ด้านสถานสภาพสมรสส่วนใหญ่คือร้อยละ 90.2 ระบุโสด ร้อยละ 9.4 ระบุแต่งงาน / มีครอบครัวแล้ว และร้อยละ 0.4 ระบุว่าม่าย / หย่าร้าง สำหรับลักษณะการพักอาศัยครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 50.9 พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา ร้อยละ 12.7 พักอยู่กับญาติผู้ใหญ่ ที่เหลือร้อยละ 36.4 พักอยู่กับคนอื่นๆ เช่นพี่น้อง อยู่คนเดียว อยู่กับแฟน / คนรัก เป็นต้น
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนแฟน/คนรักที่เคยมีทั้งหมด (รวมคนปัจจุบัน)
ลำดับที่ จำนวนแฟน/คนรัก ร้อยละ
1 ไม่เคยมีแฟน/คนรัก 38.3
2 มีแฟน 1 คน (รวมคนปัจจุบัน) 24.2
3 มีแฟน 2 คน (รวมคนปัจจุบัน) 11.4
4 มีแฟน 3 คน (รวมคนปัจจุบัน) 9.0
5 มีแฟน 4 คน (รวมคนปัจจุบัน) 5.9
6 มีแฟน/คนรักตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป (รวมคนปัจจุบัน) 11.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยอมรับพฤติกรรมต่างๆของวัยรุ่นในการแสดงออกต่อ"บุคคลกลุ่มต่าง"
พฤติกรรม กับคนที่เพิ่งรู้จักตามสถานที่ต่างๆ กับคนรัก / แฟน
เช่นผับ / เธค / ห้างสรรพสินค้า กับเพื่อน (ยังไม่แต่งงาน)
ยอมรับได้ ยอมรับไม่ได้ ยอมรับได้ ยอมรับไม่ได้ ยอมรับได้ ยอมรับไม่ได้
จับมือ 52.9 47.1 90.9 9.1 91.6 8.4
ควงแขน 40.2 59.8 82.8 17.2 86.2 13.8
การโอบ
(ไหล่ / เอว) 26.3 73.7 64.9 35.1 71.5 28.5
การกอดจูบ 11.7 88.3 16.9 83.1 46.9 53.1
การลูบคลำ /
สัมผัสของสงวน 13.9 86.1 10.3 89.7 32.4 67.6
การมีเพศสัมพันธ์ 8.5 91.5 9.9 90.1 29.0 71.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยอมรับพฤติกรรมด้านเพศสัมพันธ์ในลักษณะต่างๆ
ลำดับที่ พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ ยอมรับได้ ยอมรับไม่ได้ รวม
1 การแต่งงานกับผู้ที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาก่อน 51.2 48.8 100.0
2 มีเพศสัมพันธ์กับกิ๊ก/คนอื่น(กรณีที่มีแฟน/คนรักแล้ว) 17.6 82.4 100.0
3 การซื้อบริการทางเพศของผู้หญิง 13.9 86.1 100.0
4 การซื้อบริการทางเพศของผู้ชาย 10.2 89.8 100.0
5 ความสัมพันธ์แบบแลกเปลี่ยนคู่นอน 4.7 95.3 100.0
6 มีเพศสัมพันธ์กับญาติ 2.2 97.8 100.0
7 มีเพศสัมพันธ์กับพี่/น้อง 1.8 98.2 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์ด้านการบริโภคข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องเพศด้านต่างๆ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประสบการณ์ด้านการบริโภคข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องเพศ ร้อยละ
1 ดูหนังโป๊จากวีดีโอ/วีซีดี 60.4
2 ดู/อ่านหนังสือโป๊ 45.9
3 ดูเว็บโป๊ทางอินเทอร์เนต 31.7
4 ดูหนังโป๊ในโรงภาพยนตร์ 12.5
5 รับ/ส่งต่อภาพโป๊ทางอินเทอร์เนต 11.3
6 พูดคุยเรื่องทางเพศกับคนอื่นที่ไม่รู้จักทางอินเทอร์เนต 9.7
7 ดูคนอื่นมีเพศสัมพันธ์กัน 7.6
8 ใช้บริการพูดคุยเรื่องเพศสัมพันธ์ทางโทรศัพท์ 3.9
9 ไม่เคยมีประสบการณ์เลย (ทั้ง 8 ด้าน) 8.5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีเพศสัมพันธ์
ลำดับที่ การมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ
1 เคยมีเพศสัมพันธ์ 42.4
2 ไม่เคยมี 57.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ด้วย
(เฉพาะคนที่ระบุเคยมีเพศสัมพันธ์) จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ จำนวนคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ด้วย ชาย หญิง ภาพรวม
1 1 คน 33.5 44.9 39.2
2 2 คน 18.0 19.2 18.6
3 3 คน 14.2 15.0 14.6
4 4 คน 12.0 7.2 9.6
5 ตั้งแต่ 5 คน ขึ้นไป 22.3 13.7 18.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลมีเพศสัมพันธ์ด้วยในครั้งแรก
(เฉพาะคนที่ระบุเคยมีเพศสัมพันธ์)
ลำดับที่ บุคคลมีเพศสัมพันธ์ด้วยในครั้งแรก ร้อยละ
1 แฟน/คนรักที่ยังไม่แต่งงาน 83.6
2 เพื่อนที่รู้จักในสถานบันเทิง 7.0
3 ผู้ที่รู้จักตามสถานบันเทิง 3.2
4 ผู้ที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต 0.7
5 ผู้ขายบริการ 1.7
6 อื่นๆกับสามี / ภรรยา / เพื่อนบ้าน 3.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ตนเองเคยประสบ
(เฉพาะคนที่ระบุเคยมีเพศสัมพันธ์)
ลำดับที่ ปัญหาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ตนเองเคยประสบ ค่าร้อยละของการเคยประสบปัญหา
เคยประสบ ไม่เคยประสบ รวม
1 ถูกแฟน/คนรักทอดทิ้ง 54.5 45.5 100.0
2 ถูกใช้ความรุนแรงอันเนื่องจากความหึงหวง 23.7 76.3 100.0
3 การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของท่าน/คนที่ท่านมีเพศสัมพันธ์ด้วย 16.1 83.9 100.0
4 ถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ 11.2 88.8 100.0
5 พยายามฆ่าตัวตาย/ทำร้ายร่างกายตัวเอง 10.1 89.9 100.0
6 ถูกให้ออกจากสถาบันการศึกษา 6.8 93.2 100.0
7 ถูกตัดขาดจากครอบครัว (พ่อ แม่ ) 4.4 95.6 100.0
8 การติดโรคทางเพศสัมพันธ์ 3.1 96.9 100.0
9 ขายบริการเนื่องจากถูกทอดทิ้ง 1.6 98.4 100.0
10 ถูกบังคับให้ขายบริการ 1.3 98.7 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่ปรึกษาเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่ปรึกษาเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ ร้อยละ
1 เพื่อน 61.2
2 แฟน / คนรัก 48.9
3 พ่อ / แม่ 28.0
4 พี่น้อง 21.6
5 ญาติ 10.3
6 ครู / อาจารย์ 10.1
7 ศูนย์ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ 6.4
8 ไม่ปรึกษาใคร 4.4
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริม/กระตุ้นให้วัยรุ่นไทยมีพฤติกรรม
ทางเพศที่ไม่เหมาะสม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริม/กระตุ้นให้วัยรุ่นไทยมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ร้อยละ
1 วีซีดี/ดีวีดีหนังลามกหาซื้อได้ง่าย 70.8
2 การลงรูป/ภาพโป๊(นุ่งน้อยห่มน้อย/ชุดว่ายน้ำฯลฯ)ของสื่อสาธารณะต่างๆ
เช่นหนังสือพิมพ์นิตยสาร ฯลฯ 62.3
3 เว็ปไซด์ลามก 59.0
4 การเที่ยวผับ/เธคตอนกลางคืน 58.9
5 เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ 55.6
6 การแต่งตัวในแบบรัดรูป /เปิดเผยรูปร่าง 47.1
7 การ์ตูนที่มีรูป /ภาพสื่อในเรื่องเพศ 44.0
8 สิ่งเสพติด 43.0
9 ความห่างไกลพ่อแม่ผู้ปกครอง (เช่น เช่าหอพักอยู่เอง) 41.5
10 หนัง/ละครทีวีที่นำเสนอภาพการนุ่งน้อยห่อน้อยหรือเนื้อหาการมีเพศสัมพันธ์ 35.3
11 ความห่างไกลวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของไทย 23.6
12 ไม่มีที่/แหล่งให้คำปรึกษาเมื่อเกิดปัญหาเรื่องเพศ 20.1
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวทาง / มาตรการต่างๆ ในการลดปัญหา
เพศสัมพันธ็ก่อนวัยอันควร และการยอมรับหากมีการกำหนดเป็นข้อบังคับ / กฎหมาย
แนวทาง / มาตรการ ช่วยลดปัญหาเพศสัมพันธ์ หากกำหนดเป็นข้อบังคับ/
ก่อนวัยอันควรได้หรือไม่ ก.ม.ยอมรับได้หรือไม่
ช่วยลดปัญหา ไม่ช่วย ยอมรับ ไม่ยอมรับ
กำหนดระเบียบการแต่งกายของนักเรียน
/ นักศึกษาให้รัดกุมขึ้น (เช่นต้องใส่
กระโปรงยาว / ห้ามใส่เสื้อรัดรูป) 66.4 33.6 77.2 22.8
การออกกฎ ระเบียบเพื่อควบคุม
ความสัมพันธ์ทางเพศของนักเรียน /
นักศึกษาในสถาบันการศึกษา 65.5 34.5 73.7 26.3
ควบคุมเวลาการออกนอกบ้านของวัยรุ่น 64.2 35.8 73.2 26.8
ควบคุม / ดูแลด้านการแต่งกาย
ในที่สาธารณะของวัยรุ่น 61.9 38.1 63.0 37.0
การสร้างระบบควบคุมการใช้
อินเทอร์เนตของวัยรุ่น 57.6 42.4 58.6 41.4
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ ภาคสนาม เรื่อง "ประสบการณ์และทรรศนะของวัยรุ่นต่อปัญหาพฤติกรรมทางเพศในปัจจุบัน กรณีศึกษาตัวอย่างเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล " ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 9 - 17 ตุลาคม 2547 จำนวนทั้งสิ้น 1,627 ตัวอย่าง ระดับความคาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 3
ผลสำรวจพบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 61.7 มีประสบการณ์ด้านการมีแฟน / คนรัก โดยร้อยละ 37.5 เคยมีแฟน / คนรักมากกว่า 1 คน ประเด็นที่น่าสนใจคือตัวอย่างถึงร้อยละ 11.2 มีแฟน / คนรักมากกว่า 4 คน (5 คนขึ้นไป) เมื่อสอบถามความคิดเห็น เกี่ยวกับการยอมรับพฤติกรรมเชิงชู้สาวต่างๆ เริ่มจากการจับมือถือแขน จนถึง ขั้นมีเพศสัมพันธ์ พบว่า ตัวอย่างที่สำรวจให้การยอมรับการจับมือถือแขน การควงแขน และการโอบไหล่หรือเอว กับแฟน / คนรัก และเพื่อนอย่างชัดเจน ส่วนผู้ที่เพิ่งรู้จักตามสถานที่ต่างๆ เช่นผับ เธค และ ห้างสรรพสินค้า พบว่าประมาณครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 52.9 ให้การยอมรับการจับมือ ขณะที่ร้อยละ 40.2 ยอมรับการควงแขน
เมื่อพิจารณาพฤติกรรมตั้งแต่ระดับการกอดจูบไปจนถึงมีเพศสัมพันธ์ ตัวอย่างจำนวนไม่น้อยมีทรรศนะ ยอมรับการกอดจูบ การลูบคลำ / สัมผัสของสงวน และการมีเพศสัมพันธ์กับแฟนหรือคนรัก โดยคิดเป็นร้อยละ 29.0 32.4 และร้อยละ 46.9 ตามลำดับ ที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือร้อยละ 13.9 ระบุว่ายอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ กับผู้ที่เพิ่งรู้จักตามสถานที่ต่างๆ เช่นผับ เธค และห้างสรรพสินค้า
สำหรับความเห็นเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ในลักษณะต่างๆ พบว่า ตัวอย่างถึงร้อยละ 17.6 ระบุว่ายอมรับได้กับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์กับกิ๊ก / คนอื่น (ในขณะที่มีแฟน / คนรัก) ขณะที่ร้อยละ 4.7 ระบุยอมรับได้กับความสัมพันธ์แบบแลกเปลี่ยนคู่นอน
เมื่อพิจารณาต่อไปถึงประสบการณ์ด้านการบริโภคข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องเพศในด้านต่างๆ (สอบถามรวม 8 ด้าน) พบว่าส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 91.5 เคยมีประสบการณ์ ทั้งนี้ร้อยละ 60.4 ระบุว่าเคยดูหนังโป๊จากวีดีโอ / วีซีดี ขณะที่ร้อยละ 45.9 เคยดู / อ่านหนังสือโป๊ ร้อยละ 31.7 เคยดูเว็บโป๊ทางอินเทอร์เนต ที่น่าสนใจกว่านั้นตัวอย่างร้อยละ 7.6 เคยดูผู้อื่นมีเพศสัมพันธ์กัน และร้อยละ 3.9 เคยใช้บริการพูดคุยเรื่องเพศสัมพันธ์ทางโทรศัพท์
ผลการสำรวจยังพบว่าตัวอย่างร้อยละ 42.4 เคยมีประสบการณ์ด้านเพศสัมพันธ์ โดยกลุ่มดังกล่าวถึงร้อยละ 60.8 เคยมีเพศสัมพันธ์มากกว่า 1 คน และเพศชายมีแนวโน้มมีเพศสัมพันธ์กับคนจำนวนมากกว่าเพศหญิง ส่วนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ส่วนใหญ่คือร้อยละ 83.6 ระบุว่ามีเพศสัมพันธ์กับแฟน / คนรัก (ยังไม่แต่งงาน) ด้านปัญหาที่เคยประสบ ร้อยละ 54.5 ถูกแฟน / คนรักทอดทิ้ง รองลงมาร้อยละ 23.7 ถูกใช้ความรุนแรงอันเนื่องจากความหึงหวง และร้อยละ 16.1 ประสบปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ เมื่อสอบถามต่อไปถึงผู้ที่ปรึกษาเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ ร้อยละ 61.2 ปรึกษาเพื่อน ร้อยละ 48.9 ปรึกษาแฟน / คนรัก ขณะที่ร้อยละ 28.0 ปรึกษาพ่อ / แม่
ด้านทรรศนะต่อ "ปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริม / กระตุ้นให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม (เช่นการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร / ส่ำส่อนทางเพศ) " ร้อยละ 70.8 ระบุว่าวีซีดี/ดีวีดีหนังลามกหาซื้อได้ง่าย รองลงมาร้อยละ 62.3 ระบุถึงการลงรูป / ภาพโป๊ (นุ่งน้อยห่มน้อย / ชุดว่ายน้ำ ฯลฯ) ของสื่อสาธารณะต่างๆ เช่นหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฯลฯ และร้อยละ 59.0 ระบุว่าเว็บไซด์ลามก นอกจากนี้ยังมีการระบุถึงปัจจัยที่น่าพิจารณาอีกหลายประการ อาทิ หนัง/ละครทีวีที่นำเสนอภาพการนุ่งน้อยห่มน้อยหรือเนื้อหาการมีเพศสัมพันธ์ ความห่างไกลวัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามของไทย และไม่มีที่/แหล่งให้คำปรึกษาเมื่อเกิดปัญหาเรื่องเพศด้านความคิดเห็นต่อมาตรการ / แนวทางที่จะช่วยลดพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ร้อยละ 66.4 คิดว่าการสร้างระบบควบคุมการใช้อินเทอร์เนตของวัยรุ่นจะช่วยลดพฤติกรรมดังกล่าวได้ รองลงมาใกล้เคียงกันคือร้อยละ 65.5 และ 64.2 เห็นว่าการออกกฎ ระเบียบ เพื่อควบคุมความสัมพันธ์ทางเพศของนักเรียน/นักศึกษาในสถาบันการศึกษา และกำหนดระเบียบการแต่งกายของนักเรียน/นักศึกษาให้รัดกุมขึ้น(เช่นต้องใส่กระโปรงยาว/ห้ามใส่เสื้อรัดรูป)
ผลสำรวจข้างต้นสะท้อนถึงสถานการณ์ที่น่าห่วงใยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นทรรศนะของวัยรุ่นที่ดูเหมือนจะเปิดกว้างมากยิ่งขึ้นสำหรับพฤติกรรมทางเพศ การเข้าสู่กระบวนการของข้อมูลข่าวสารทางเพศซึ่งมีอยู่อย่างหลากหลาย ช่องทางการหาที่ปรึกษาเมื่อเกิดปัญหาที่ห่างไกลจากผู้ใหญ่หรือผู้มีประสบการณ์ ที่น่าสนใจคือแนวโน้มเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันรวมถึงจำนวนผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ด้วย สถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่สังคมโดยรวมตั้งแต่ระดับครอบครัว สถาบันการศึกษา ฯลฯ ต้องช่วยเหลือเพื่อกันแสวงหาแนวทางป้องกัน แก้ไขทั้งในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว ไม่ใช่เพียงการเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพียงบางส่วนเข้ามาดูแลแก้ไขเหมือนในอดีตที่ผ่านมาอีกต่อไป
--เอแบคโพลล์--
-พห-
--เอแบคโพลล์--
-พห-
"ปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น" ถือเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ส่งทั้งผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อม การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงปรารถนา โรคทางเพศสัมพันธ์ การทำแท้ง รวมถึงปัญหาเด็กถูกทอดทิ้ง ฯลฯ ล้วนเป็นผลพวงจากพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมที่วัยรุ่นไทยกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน ข้อมูลจากการสำรวจของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์เรื่อง "ความคิดเห็นเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์และพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น" ซึ่งทำการสำรวจในช่วงต้นปี ระหว่างวันที่ 30 มกราคม ถึง 6 กุมภาพันธ์ 2547 ชี้ให้เห็นว่าตัวอย่างที่สำรวจซึ่งเป็นเยาวชนในระบบการศึกษา(ระดับมัธยมปลายทั้งสายสามัญและอาชีพ) จำนวนไม่น้อยบริโภคข้อมูลทางเพศที่ไม่เหมาะสมจากสื่อต่างๆ อาทิดูวีดีโอ/วีซีดีโป๊ (ร้อยละ 38.3) หรือดูเว็ปโป๊ทางอินเตอร์เน็ต (ร้อยละ 24.3) ที่น่าสนใจกว่านั้นข้อมูลจากการสำรวจยังพบว่าถึงร้อยละ 27.2 ที่ระบุว่าเคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจเรื่อง "ประสบการณ์และทรรศนะของวัยรุ่นต่อปัญหาพฤติกรรมทางเพศในปัจจุบัน" โดยได้ส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อแสวงหาข้อมูลสำคัญข้างต้น
วัตถุประสงค์ของโครงการสำรวจ
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและประสบการณ์ด้านเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น
2. เพื่อสำรวจถึงพฤติกรรมการบริโภคข้อมูล ข่าวสารทางเพศที่ไม่เหมาะสม
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหาที่เกิดจากเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมในกลุ่มวัยรุ่น
5. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น
6. เพื่อสำรวจถึงประเด็นสำคัญอื่นๆ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อทราบถึงทรรศนะและประสบการณ์ด้านเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น
2. เพื่อทราบถึงสถานการณ์ปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น
3. เพื่อปัจจัยที่มีส่วนกระตุ้นให้เกิดปัญหารวมถึงแนวทางแก้ไขปัญหาในทรรศนะของวัยรุ่น
4. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาสำหรับบุคคล หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง
5. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการศึกษาของผู้ที่สนใจต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้เรื่อง "ประสบการณ์และทรรศนะของวัยรุ่นต่อปัญหาพฤติกรรมทางเพศในปัจจุบัน" ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 9 - 17 ต.ค. 2547
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมายคือ ประชาชนที่มีอายุระหว่าง 15 -25 ปีที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (stratified cluster sampling) เพื่อเลือกพื้นที่เป้าหมาย จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบและใช้วิธีการกำหนดขนาดตัวอย่างตามสัดส่วน ประชากร (Probability Proportionate to Size Sampling ) เพื่อเข้าถึงตัวอย่างตามคุณลักษณะและสัดส่วนที่กำหนดในแต่ละพื้นที่
ขนาดตัวอย่าง 1,627 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างร้อยละ ฑ 3
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ ให้ผู้ตอบเป็นผู้ตอบแบบสอบถามด้วยตัวเอง
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณที่ใช้เป็นของมหาวิทยาลัย
ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง ร้อยละ 52.2 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 47.8 เป็นเพศชาย โดย ร้อยละ 55.3 ระบุช่วงอายุระหว่าง 20-25 ปี ขณะที่ร้อยละ 44.7 ระบุช่วงอายุระหว่าง 15-19 ปี นอกจากนี้ตัวอย่าง ร้อยละ 58.8 ระบุกำลังศึกษา ขณะที่ร้อยละ 41.2 ระบุทำงานแล้ว
ด้านสถานสภาพสมรสส่วนใหญ่คือร้อยละ 90.2 ระบุโสด ร้อยละ 9.4 ระบุแต่งงาน / มีครอบครัวแล้ว และร้อยละ 0.4 ระบุว่าม่าย / หย่าร้าง สำหรับลักษณะการพักอาศัยครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 50.9 พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา ร้อยละ 12.7 พักอยู่กับญาติผู้ใหญ่ ที่เหลือร้อยละ 36.4 พักอยู่กับคนอื่นๆ เช่นพี่น้อง อยู่คนเดียว อยู่กับแฟน / คนรัก เป็นต้น
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนแฟน/คนรักที่เคยมีทั้งหมด (รวมคนปัจจุบัน)
ลำดับที่ จำนวนแฟน/คนรัก ร้อยละ
1 ไม่เคยมีแฟน/คนรัก 38.3
2 มีแฟน 1 คน (รวมคนปัจจุบัน) 24.2
3 มีแฟน 2 คน (รวมคนปัจจุบัน) 11.4
4 มีแฟน 3 คน (รวมคนปัจจุบัน) 9.0
5 มีแฟน 4 คน (รวมคนปัจจุบัน) 5.9
6 มีแฟน/คนรักตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป (รวมคนปัจจุบัน) 11.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยอมรับพฤติกรรมต่างๆของวัยรุ่นในการแสดงออกต่อ"บุคคลกลุ่มต่าง"
พฤติกรรม กับคนที่เพิ่งรู้จักตามสถานที่ต่างๆ กับคนรัก / แฟน
เช่นผับ / เธค / ห้างสรรพสินค้า กับเพื่อน (ยังไม่แต่งงาน)
ยอมรับได้ ยอมรับไม่ได้ ยอมรับได้ ยอมรับไม่ได้ ยอมรับได้ ยอมรับไม่ได้
จับมือ 52.9 47.1 90.9 9.1 91.6 8.4
ควงแขน 40.2 59.8 82.8 17.2 86.2 13.8
การโอบ
(ไหล่ / เอว) 26.3 73.7 64.9 35.1 71.5 28.5
การกอดจูบ 11.7 88.3 16.9 83.1 46.9 53.1
การลูบคลำ /
สัมผัสของสงวน 13.9 86.1 10.3 89.7 32.4 67.6
การมีเพศสัมพันธ์ 8.5 91.5 9.9 90.1 29.0 71.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยอมรับพฤติกรรมด้านเพศสัมพันธ์ในลักษณะต่างๆ
ลำดับที่ พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ ยอมรับได้ ยอมรับไม่ได้ รวม
1 การแต่งงานกับผู้ที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาก่อน 51.2 48.8 100.0
2 มีเพศสัมพันธ์กับกิ๊ก/คนอื่น(กรณีที่มีแฟน/คนรักแล้ว) 17.6 82.4 100.0
3 การซื้อบริการทางเพศของผู้หญิง 13.9 86.1 100.0
4 การซื้อบริการทางเพศของผู้ชาย 10.2 89.8 100.0
5 ความสัมพันธ์แบบแลกเปลี่ยนคู่นอน 4.7 95.3 100.0
6 มีเพศสัมพันธ์กับญาติ 2.2 97.8 100.0
7 มีเพศสัมพันธ์กับพี่/น้อง 1.8 98.2 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบการณ์ด้านการบริโภคข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องเพศด้านต่างๆ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประสบการณ์ด้านการบริโภคข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องเพศ ร้อยละ
1 ดูหนังโป๊จากวีดีโอ/วีซีดี 60.4
2 ดู/อ่านหนังสือโป๊ 45.9
3 ดูเว็บโป๊ทางอินเทอร์เนต 31.7
4 ดูหนังโป๊ในโรงภาพยนตร์ 12.5
5 รับ/ส่งต่อภาพโป๊ทางอินเทอร์เนต 11.3
6 พูดคุยเรื่องทางเพศกับคนอื่นที่ไม่รู้จักทางอินเทอร์เนต 9.7
7 ดูคนอื่นมีเพศสัมพันธ์กัน 7.6
8 ใช้บริการพูดคุยเรื่องเพศสัมพันธ์ทางโทรศัพท์ 3.9
9 ไม่เคยมีประสบการณ์เลย (ทั้ง 8 ด้าน) 8.5
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการมีเพศสัมพันธ์
ลำดับที่ การมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ
1 เคยมีเพศสัมพันธ์ 42.4
2 ไม่เคยมี 57.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจำนวนคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ด้วย
(เฉพาะคนที่ระบุเคยมีเพศสัมพันธ์) จำแนกตามเพศ
ลำดับที่ จำนวนคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ด้วย ชาย หญิง ภาพรวม
1 1 คน 33.5 44.9 39.2
2 2 คน 18.0 19.2 18.6
3 3 คน 14.2 15.0 14.6
4 4 คน 12.0 7.2 9.6
5 ตั้งแต่ 5 คน ขึ้นไป 22.3 13.7 18.0
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลมีเพศสัมพันธ์ด้วยในครั้งแรก
(เฉพาะคนที่ระบุเคยมีเพศสัมพันธ์)
ลำดับที่ บุคคลมีเพศสัมพันธ์ด้วยในครั้งแรก ร้อยละ
1 แฟน/คนรักที่ยังไม่แต่งงาน 83.6
2 เพื่อนที่รู้จักในสถานบันเทิง 7.0
3 ผู้ที่รู้จักตามสถานบันเทิง 3.2
4 ผู้ที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต 0.7
5 ผู้ขายบริการ 1.7
6 อื่นๆกับสามี / ภรรยา / เพื่อนบ้าน 3.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัญหาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ตนเองเคยประสบ
(เฉพาะคนที่ระบุเคยมีเพศสัมพันธ์)
ลำดับที่ ปัญหาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ตนเองเคยประสบ ค่าร้อยละของการเคยประสบปัญหา
เคยประสบ ไม่เคยประสบ รวม
1 ถูกแฟน/คนรักทอดทิ้ง 54.5 45.5 100.0
2 ถูกใช้ความรุนแรงอันเนื่องจากความหึงหวง 23.7 76.3 100.0
3 การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของท่าน/คนที่ท่านมีเพศสัมพันธ์ด้วย 16.1 83.9 100.0
4 ถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ 11.2 88.8 100.0
5 พยายามฆ่าตัวตาย/ทำร้ายร่างกายตัวเอง 10.1 89.9 100.0
6 ถูกให้ออกจากสถาบันการศึกษา 6.8 93.2 100.0
7 ถูกตัดขาดจากครอบครัว (พ่อ แม่ ) 4.4 95.6 100.0
8 การติดโรคทางเพศสัมพันธ์ 3.1 96.9 100.0
9 ขายบริการเนื่องจากถูกทอดทิ้ง 1.6 98.4 100.0
10 ถูกบังคับให้ขายบริการ 1.3 98.7 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลที่ปรึกษาเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลที่ปรึกษาเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ ร้อยละ
1 เพื่อน 61.2
2 แฟน / คนรัก 48.9
3 พ่อ / แม่ 28.0
4 พี่น้อง 21.6
5 ญาติ 10.3
6 ครู / อาจารย์ 10.1
7 ศูนย์ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ 6.4
8 ไม่ปรึกษาใคร 4.4
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริม/กระตุ้นให้วัยรุ่นไทยมีพฤติกรรม
ทางเพศที่ไม่เหมาะสม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริม/กระตุ้นให้วัยรุ่นไทยมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ร้อยละ
1 วีซีดี/ดีวีดีหนังลามกหาซื้อได้ง่าย 70.8
2 การลงรูป/ภาพโป๊(นุ่งน้อยห่มน้อย/ชุดว่ายน้ำฯลฯ)ของสื่อสาธารณะต่างๆ
เช่นหนังสือพิมพ์นิตยสาร ฯลฯ 62.3
3 เว็ปไซด์ลามก 59.0
4 การเที่ยวผับ/เธคตอนกลางคืน 58.9
5 เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ 55.6
6 การแต่งตัวในแบบรัดรูป /เปิดเผยรูปร่าง 47.1
7 การ์ตูนที่มีรูป /ภาพสื่อในเรื่องเพศ 44.0
8 สิ่งเสพติด 43.0
9 ความห่างไกลพ่อแม่ผู้ปกครอง (เช่น เช่าหอพักอยู่เอง) 41.5
10 หนัง/ละครทีวีที่นำเสนอภาพการนุ่งน้อยห่อน้อยหรือเนื้อหาการมีเพศสัมพันธ์ 35.3
11 ความห่างไกลวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของไทย 23.6
12 ไม่มีที่/แหล่งให้คำปรึกษาเมื่อเกิดปัญหาเรื่องเพศ 20.1
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อแนวทาง / มาตรการต่างๆ ในการลดปัญหา
เพศสัมพันธ็ก่อนวัยอันควร และการยอมรับหากมีการกำหนดเป็นข้อบังคับ / กฎหมาย
แนวทาง / มาตรการ ช่วยลดปัญหาเพศสัมพันธ์ หากกำหนดเป็นข้อบังคับ/
ก่อนวัยอันควรได้หรือไม่ ก.ม.ยอมรับได้หรือไม่
ช่วยลดปัญหา ไม่ช่วย ยอมรับ ไม่ยอมรับ
กำหนดระเบียบการแต่งกายของนักเรียน
/ นักศึกษาให้รัดกุมขึ้น (เช่นต้องใส่
กระโปรงยาว / ห้ามใส่เสื้อรัดรูป) 66.4 33.6 77.2 22.8
การออกกฎ ระเบียบเพื่อควบคุม
ความสัมพันธ์ทางเพศของนักเรียน /
นักศึกษาในสถาบันการศึกษา 65.5 34.5 73.7 26.3
ควบคุมเวลาการออกนอกบ้านของวัยรุ่น 64.2 35.8 73.2 26.8
ควบคุม / ดูแลด้านการแต่งกาย
ในที่สาธารณะของวัยรุ่น 61.9 38.1 63.0 37.0
การสร้างระบบควบคุมการใช้
อินเทอร์เนตของวัยรุ่น 57.6 42.4 58.6 41.4
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลสำรวจ ภาคสนาม เรื่อง "ประสบการณ์และทรรศนะของวัยรุ่นต่อปัญหาพฤติกรรมทางเพศในปัจจุบัน กรณีศึกษาตัวอย่างเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15-25 ปีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล " ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 9 - 17 ตุลาคม 2547 จำนวนทั้งสิ้น 1,627 ตัวอย่าง ระดับความคาดเคลื่อน +/- ร้อยละ 3
ผลสำรวจพบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 61.7 มีประสบการณ์ด้านการมีแฟน / คนรัก โดยร้อยละ 37.5 เคยมีแฟน / คนรักมากกว่า 1 คน ประเด็นที่น่าสนใจคือตัวอย่างถึงร้อยละ 11.2 มีแฟน / คนรักมากกว่า 4 คน (5 คนขึ้นไป) เมื่อสอบถามความคิดเห็น เกี่ยวกับการยอมรับพฤติกรรมเชิงชู้สาวต่างๆ เริ่มจากการจับมือถือแขน จนถึง ขั้นมีเพศสัมพันธ์ พบว่า ตัวอย่างที่สำรวจให้การยอมรับการจับมือถือแขน การควงแขน และการโอบไหล่หรือเอว กับแฟน / คนรัก และเพื่อนอย่างชัดเจน ส่วนผู้ที่เพิ่งรู้จักตามสถานที่ต่างๆ เช่นผับ เธค และ ห้างสรรพสินค้า พบว่าประมาณครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 52.9 ให้การยอมรับการจับมือ ขณะที่ร้อยละ 40.2 ยอมรับการควงแขน
เมื่อพิจารณาพฤติกรรมตั้งแต่ระดับการกอดจูบไปจนถึงมีเพศสัมพันธ์ ตัวอย่างจำนวนไม่น้อยมีทรรศนะ ยอมรับการกอดจูบ การลูบคลำ / สัมผัสของสงวน และการมีเพศสัมพันธ์กับแฟนหรือคนรัก โดยคิดเป็นร้อยละ 29.0 32.4 และร้อยละ 46.9 ตามลำดับ ที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือร้อยละ 13.9 ระบุว่ายอมรับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ กับผู้ที่เพิ่งรู้จักตามสถานที่ต่างๆ เช่นผับ เธค และห้างสรรพสินค้า
สำหรับความเห็นเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ในลักษณะต่างๆ พบว่า ตัวอย่างถึงร้อยละ 17.6 ระบุว่ายอมรับได้กับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์กับกิ๊ก / คนอื่น (ในขณะที่มีแฟน / คนรัก) ขณะที่ร้อยละ 4.7 ระบุยอมรับได้กับความสัมพันธ์แบบแลกเปลี่ยนคู่นอน
เมื่อพิจารณาต่อไปถึงประสบการณ์ด้านการบริโภคข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องเพศในด้านต่างๆ (สอบถามรวม 8 ด้าน) พบว่าส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 91.5 เคยมีประสบการณ์ ทั้งนี้ร้อยละ 60.4 ระบุว่าเคยดูหนังโป๊จากวีดีโอ / วีซีดี ขณะที่ร้อยละ 45.9 เคยดู / อ่านหนังสือโป๊ ร้อยละ 31.7 เคยดูเว็บโป๊ทางอินเทอร์เนต ที่น่าสนใจกว่านั้นตัวอย่างร้อยละ 7.6 เคยดูผู้อื่นมีเพศสัมพันธ์กัน และร้อยละ 3.9 เคยใช้บริการพูดคุยเรื่องเพศสัมพันธ์ทางโทรศัพท์
ผลการสำรวจยังพบว่าตัวอย่างร้อยละ 42.4 เคยมีประสบการณ์ด้านเพศสัมพันธ์ โดยกลุ่มดังกล่าวถึงร้อยละ 60.8 เคยมีเพศสัมพันธ์มากกว่า 1 คน และเพศชายมีแนวโน้มมีเพศสัมพันธ์กับคนจำนวนมากกว่าเพศหญิง ส่วนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ส่วนใหญ่คือร้อยละ 83.6 ระบุว่ามีเพศสัมพันธ์กับแฟน / คนรัก (ยังไม่แต่งงาน) ด้านปัญหาที่เคยประสบ ร้อยละ 54.5 ถูกแฟน / คนรักทอดทิ้ง รองลงมาร้อยละ 23.7 ถูกใช้ความรุนแรงอันเนื่องจากความหึงหวง และร้อยละ 16.1 ประสบปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ เมื่อสอบถามต่อไปถึงผู้ที่ปรึกษาเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ ร้อยละ 61.2 ปรึกษาเพื่อน ร้อยละ 48.9 ปรึกษาแฟน / คนรัก ขณะที่ร้อยละ 28.0 ปรึกษาพ่อ / แม่
ด้านทรรศนะต่อ "ปัจจัยที่มีส่วนส่งเสริม / กระตุ้นให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม (เช่นการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร / ส่ำส่อนทางเพศ) " ร้อยละ 70.8 ระบุว่าวีซีดี/ดีวีดีหนังลามกหาซื้อได้ง่าย รองลงมาร้อยละ 62.3 ระบุถึงการลงรูป / ภาพโป๊ (นุ่งน้อยห่มน้อย / ชุดว่ายน้ำ ฯลฯ) ของสื่อสาธารณะต่างๆ เช่นหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ฯลฯ และร้อยละ 59.0 ระบุว่าเว็บไซด์ลามก นอกจากนี้ยังมีการระบุถึงปัจจัยที่น่าพิจารณาอีกหลายประการ อาทิ หนัง/ละครทีวีที่นำเสนอภาพการนุ่งน้อยห่มน้อยหรือเนื้อหาการมีเพศสัมพันธ์ ความห่างไกลวัฒนธรรม และประเพณีอันดีงามของไทย และไม่มีที่/แหล่งให้คำปรึกษาเมื่อเกิดปัญหาเรื่องเพศด้านความคิดเห็นต่อมาตรการ / แนวทางที่จะช่วยลดพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ร้อยละ 66.4 คิดว่าการสร้างระบบควบคุมการใช้อินเทอร์เนตของวัยรุ่นจะช่วยลดพฤติกรรมดังกล่าวได้ รองลงมาใกล้เคียงกันคือร้อยละ 65.5 และ 64.2 เห็นว่าการออกกฎ ระเบียบ เพื่อควบคุมความสัมพันธ์ทางเพศของนักเรียน/นักศึกษาในสถาบันการศึกษา และกำหนดระเบียบการแต่งกายของนักเรียน/นักศึกษาให้รัดกุมขึ้น(เช่นต้องใส่กระโปรงยาว/ห้ามใส่เสื้อรัดรูป)
ผลสำรวจข้างต้นสะท้อนถึงสถานการณ์ที่น่าห่วงใยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นทรรศนะของวัยรุ่นที่ดูเหมือนจะเปิดกว้างมากยิ่งขึ้นสำหรับพฤติกรรมทางเพศ การเข้าสู่กระบวนการของข้อมูลข่าวสารทางเพศซึ่งมีอยู่อย่างหลากหลาย ช่องทางการหาที่ปรึกษาเมื่อเกิดปัญหาที่ห่างไกลจากผู้ใหญ่หรือผู้มีประสบการณ์ ที่น่าสนใจคือแนวโน้มเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันรวมถึงจำนวนผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ด้วย สถานการณ์ต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่สังคมโดยรวมตั้งแต่ระดับครอบครัว สถาบันการศึกษา ฯลฯ ต้องช่วยเหลือเพื่อกันแสวงหาแนวทางป้องกัน แก้ไขทั้งในระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว ไม่ใช่เพียงการเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพียงบางส่วนเข้ามาดูแลแก้ไขเหมือนในอดีตที่ผ่านมาอีกต่อไป
--เอแบคโพลล์--
-พห-
--เอแบคโพลล์--
-พห-