เมื่อถามว่า ถ้าแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วความวุ่นวาย ความขัดแย้งจะจบลงหรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.4 ระบุว่า “ไม่จบ” ในขณะที่ ร้อยละ 14.6 เชื่อว่าจะจบ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 87.8 เห็นว่าถ้าต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องเป็นเรื่องผลประโยชน์ของคนไทยทั้งประเทศมากกว่า ช่วยเหลือคนใดคนหนึ่ง ในขณะที่ร้อยละ 12.2 ระบุไม่เห็นด้วย
ที่น่าเป็นห่วงคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 86.6 คิดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะทำให้เกิดความขัดแย้ง แตกความสามัคคีกันในหมู่ประชาชน ในขณะที่ร้อยละ 13.4 ไม่คิดว่าจะเกิด
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.9 ระบุรัฐบาลควรเดินหน้าแก้ปัญหาค่าครองชีพ ปัญหาปากท้องให้กับคนในชาติ ก่อนที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ร้อยละ 84.2 ระบุรัฐบาลควรเอาจริงเอาจังกับการแก้ปัญหาของประเทศ แก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ปัญหาความรุนแรงในหมู่เด็กและเยาวชน ก่อนที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 89.6 ระบุควรแก้นิสัยและพฤติกรรมที่ไม่ดีของนักการเมืองก่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในขณะที่ร้อยละ 10.4 ระบุควรแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน
ยิ่งไปกว่านั้นเกือบสามในสี่ของกลุ่มตัวอย่างหรือร้อยละ 73.1 ระบุยังไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มเคลื่อนไหวแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะจะเพิ่มความขัดแย้งขึ้นในหมู่ประชาชน จะทำให้เกิดความแตกแยก แตกความสามัคคีกัน จะทำให้รัฐบาลอายุสั้น ควรเร่งแก้ปัญหาปากท้อง ปัญหาเศรษฐกิจก่อน เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 26.9 ระบุช่วงเวลานี้เหมาะสมแล้วที่จะเริ่มเคลื่อนไหวแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะ จะช่วยลดปัญหาขัดแย้งในหมู่ประชาชน เป็นหนทางหนึ่งสร้างความปรองดอง รัฐบาลจะทำตามที่หาเสียงไว้ รัฐบาลอยู่นานยิ่งทำให้คะแนนนิยมลด และปล่อยเนิ่นนานไป ปัญหาประเทศจะยิ่งมีมาก เสถียรภาพรัฐบาลจะสั่นคลอน จะแก้ไขรัฐธรรมนูญยิ่งยากมากขึ้น เป็นต้น
ที่น่าพิจารณาคือ ข้อเสนอแนะที่จะช่วยลดความแตกแยกในหมู่ประชาชนและ “รวมทุกคนในชาติเป็นหนึ่ง” สำหรับประเทศไทย พบว่า จำนวนมากที่สุดหรือร้อยละ 41.9 ระบุ ทุกคนช่วยกันแสดงออกซึ่งความรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เช่น เข้าวัดทำบุญ สวดมนต์ ตักบาตร ถวายพระพร ปกป้องสถาบัน ส่งความช่วยเหลือไปยังชายแดน ช่วยสร้างความเป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และสนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และรักษาผืนแผ่นดินไทยไว้ เป็นต้น รองลงมาคือ ร้อยละ 23.7 ระบุ แสดงความกตัญญูรู้คุณต่อผู้เสียสละเลือดเนื้อและชีวิตให้กับความสงบสุขและปกป้องประเทศ เช่น ทำหน้าที่ของการเป็นพลเมืองที่ดี ซื่อสัตย์สุจริต รักษาผืนป่า รักษาแหล่งน้ำ ไม่ใช่จ่ายฟุ่มเฟือย ไม่ทำลายทรัพยากรทางธรรมชาติ เป็นต้น ในขณะที่ ร้อยละ 17.2 ระบุ มีน้ำใจ เมตตา กรุณา รู้จักให้อภัยต่อกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ร้อยละ 13.5 ระบุ มีวินัย เคารพกฎหมาย ไม่ใช้กฎหมู่เหนือกฎหมาย ไม่ทำอะไรตามใจตามอารมณ์ ทุกอย่างให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรม และร้อยละ 3.7 ระบุให้ยินดีจ่ายภาษี ไม่หลีกเลี่ยง รักษาทรัพย์สินสาธารณะ และยินดีเสียสละเงินส่วนตัวหรือทรัพย์สินเพื่อช่วยเหลือชุมชน เป็นต้น
ผู้ช่วย ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า รัฐบาลกำลังตกอยู่ในห้วงเวลาสำคัญตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2556 นี้เป็นต้นไป เพราะแกนนำกลุ่มสำคัญในพรรคร่วมรัฐบาลมีความพยายามให้เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อรัฐบาลเข้าสู่ปีที่สองของการบริหารแผ่นดินซึ่งโดยทั่วไปผู้นำประเทศและรัฐบาลมักจะเริ่มสูญเสียความนิยมศรัทธาลงไปเรื่อยๆ จนกล่าวได้ว่า หากเกิดความเคลือบแคลงสงสัยในหมู่ประชาชนในเรื่องใดๆ ก็มักจะมีกระแสต่อต้านหรือแรงเสียดทานโดยดึงรัฐบาลเข้ามาเกี่ยวข้องให้ร่วมรับผิดชอบ และความนิยมก็จะค่อยๆ ลดลงไปอีก โดยจะเห็นได้ว่าในช่วงสองถึงสามวันที่ผ่านมา มีสองกรณีที่มีแรงเขย่าจนน่าจะทำให้รัฐบาลแกว่งตัวได้แก่ กรณีเขาพระวิหาร และละครช่อง 3 “เหนือเมฆ 2” ที่สะท้อนให้เห็นว่ามวลหมู่ประชานกำลังวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างหนักในเวลานี้
นางสาวปุณฑรีก์ กล่าวต่อว่า คณะวิจัยเอแบคโพลล์เสนอแนะให้นายกรัฐมนตรีหรือคณะที่ปรึกษาอ่านหนังสือสองเล่ม ได้แก่ Arena of Power และ Women and Leadership ซึ่งน่าจะช่วยให้ทราบว่าในปีแรกหลังการเลือกตั้งน่าจะมุ่งเน้นไปที่ “ยุทธศาสตร์แห่งการปรับปรุงและออกกฎหมาย” เพราะในปีแรกของรัฐบาลที่เพิ่งผ่านการเลือกตั้งมักจะมีฐานสนับสนุนทั้งในและนอกสภาเพื่อผ่านกฎหมายต่างๆ ได้ไม่ยาก เพื่อเปิดคลังของทรัพยากรและอำนาจที่ใช้บริหารจัดการประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปีที่สองจะเป็นเรื่องของ “ยุทธศาสตร์แห่งการกระจายทรัพยากร” ทำให้ประชาชนได้รับทรัพยากรและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างกว้างขวาง เพื่อรักษาคะแนนนิยมและฐานสนับสนุนของสาธารณชนต่อรัฐบาล
“อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทย พบว่า ปีแรกกลายเป็น “ยุทธศาสตร์มั่วนิ่มและสร้างความสับสน” จนถูกวิพากษ์วิจารณ์ถามรัฐบาลว่า ใครคือนายกรัฐมนตรีตัวจริง และยิ่งช่วงปลายปีแรกของรัฐบาลมีภาพของการ “แก้แค้น” มากกว่า “แก้ไข” ซึ่งตรงกันข้ามกับ วาทกรรมของนายกรัฐมนตรีตอนรับตำแหน่งใหม่ๆ ว่า “จะแก้ไข ไม่แก้แค้น” ผลที่ตามมาคือ ในห้วงเวลานี้รัฐบาลพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลกำลังเผชิญสิ่งท้าทายที่เป็นอารมณ์ความรู้สึกของสาธารณชนเพราะเดินผิดขั้นสลับตอนของการทำยุทธศาสตร์ของอำนาจบริหารราชการแผ่นดิน จึงต้องรอลุ้นกันว่า ปีที่สองของรัฐบาลนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์จะสามารถรักษาฐานที่มั่นของความนิยมศรัทธาในหมู่ประชาชนเอาไว้ได้หรือจะเกิดอาการแกว่งตัวจนยากจะอยู่ต่อ” นางสาว ปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา กล่าว
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.4 เป็นชาย ร้อยละ 52.6 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 4.9 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 20.3 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 19.2 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อยละ 34.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 73.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 22.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในขณะที่ร้อยละ 4.0 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 33.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 31.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 8.7 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 8.6 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.4 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 7.1 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 3.3 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 จบ 14.6 2 ไม่จบ 85.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องเป็นเรื่องผลประโยชน์ของคนไทยทั้งประเทศมากกว่า ช่วยเหลือคนใดคนหนึ่ง ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วยว่าต้องเป็นเรื่องผลประโยชน์ของคนไทยทั้งประเทศมากกว่า ช่วยเหลือคนใดคนหนึ่ง 87.8 2 ไม่เห็นด้วย 12.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะทำให้เกิดความขัดแย้ง แตกความสามัคคีกันในหมู่ประชาชน ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่าจะทำให้เกิดความขัดแย้ง แตกความสามัคคีกันในหมู่ประชาชน 86.6 2 ไม่คิดว่าจะเกิด 13.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รัฐบาลควรเดินหน้าแก้ปัญหาค่าครองชีพ ปัญหาปากท้อง ให้กับคนในชาติก่อนที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 รัฐบาลควรแก้ปัญหาค่าครองชีพ ปัญหาปากท้อง ก่อน 85.9 2 แก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน 14.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รัฐบาลควรเอาจริงเอาจังกับการแก้ปัญหาของประเทศ แก้ไขปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ปัญหาความรุนแรงในหมู่เด็กและเยาวชน ก่อนที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 รัฐบาลควรเอาจริงเอาจังกับการแก้ปัญหาของประเทศ เช่น ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ปัญหาความรุนแรงในหมู่เด็กและเยาวชน ก่อน 84.2 2 แก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน 15.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญกับการแก้นิสัยและพฤติกรรมที่ไม่ดีของนักการเมือง ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ควรแก้นิสัยและพฤติกรรมที่ไม่ดีของนักการเมืองก่อน 89.6 2 ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน 10.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มเคลื่อนไหวแก้ไขรัฐธรรมนูญ ลำดับที่ ความเหมาะสมของช่วงเวลา ค่าร้อยละ 1 ช่วงเวลานี้เหมาะสมแล้วที่จะเริ่มเคลื่อนไหวแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะ จะช่วยลดปัญหาขัดแย้ง
ในหมู่ประชาชน เป็นหนทางหนึ่งสร้างความปรองดอง รัฐบาลจะทำตามที่หาเสียงไว้ รัฐบาลอยู่นาน
ยิ่งทำให้คะแนนนิยมลด และปล่อยเนิ่นนานไปปัญหาประเทศจะยิ่งมีมาก เสถียรภาพรัฐบาลจะสั่นคลอน
จะแก้ไขรัฐธรรมนูญยิ่งยากมากขึ้น เป็นต้น 26.9 2 ยังไม่เหมาะ เพราะจะเพิ่มความขัดแย้งขึ้นในหมู่ประชาชน จะทำให้เกิดความแตกแยก แตกความสามัคคีกัน จะทำให้รัฐบาลอายุสั้น ควรเร่งแก้ปัญหาปากท้อง ปัญหาเศรษฐกิจก่อน เป็นต้น 73.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข้อเสนอแนะที่จะช่วยลดความแตกแยกในหมู่ประชาชนและ “รวมทุกคนในชาติ” เป็นหนึ่งสำหรับประเทศไทย ลำดับที่ ข้อเสนอแนะ ค่าร้อยละ 1 ทุกคนช่วยกันแสดงออกซึ่งความรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เช่น เข้าวัดทำบุญ
สวดมนต์ ตักบาตร ถวายพระพร ปกป้องสถาบัน ส่งความช่วยเหลือไปยังชายแดน ช่วยสร้างความเป็นธรรม
ไม่เลือกปฏิบัติ สนับสนุนเจ้าหน้าที่รัฐในพื้นที่ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และรักษาผืนแผ่นดินไทยไว้ เป็นต้น 41.9
2 แสดงความกตัญญูรู้คุณต่อผู้เสียสละเลือดเนื้อและชีวิตให้กับความสงบสุขและปกป้องประเทศ เช่น
ทำหน้าที่ของการเป็นพลเมืองที่ดี ซื่อสัตย์สุจริต รักษาพื้นป่า รักษาแหล่งน้ำ ไม่ใช่จ่ายฟุ่มเฟือย ไม่ทำลาย
ทรัพยากรทางธรรมชาติ เป็นต้น 23.7 3 มีน้ำใจ เมตตา กรุณา รู้จักให้อภัยต่อกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 17.2 4 มีวินัย เคารพกฎหมาย ไม่ใช้กฎหมู่เหนือกฎหมาย ไม่ทำอะไรตามใจตามอารมณ์ ทุกอย่างให้เป็นไปตาม กระบวนการยุติธรรม 13.5 5 ยินดีจ่ายภาษี ไม่หลีกเลี่ยง รักษาทรัพย์สินสาธารณะ และยินดีเสียสละเงินส่วนตัวหรือทรัพย์สินเพื่อช่วยเหลือชุมชน เป็นต้น 3.7 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--