ตามที่รัฐบาลได้ดำเนินการจดทะเบียนประชาชนเพื่อแก้ปัญหาความยากจนเชิงบูรณาการ โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานรับผิดชอบออกแบบการจดทะเบียน และการรับจดทะเบียนใน 7 ปัญหาคือ ปัญหาที่ดินทำกิน ปัญหาคนเร่ร่อน ปัญหาผู้ประกอบอาชีพผิดกฎหมาย ปัญหาการให้ความช่วยเหลือนักเรียน/นักศึกษาให้มีรายได้จากการประกอบอาชีพที่เหมาะสม ปัญหาการถูกหลอกลวง ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน และปัญหาที่อยู่อาศัย เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและ มาตรการแก้ไขปัญหา
ทั้งนี้การจดทะเบียนได้สิ้นสุดแล้วเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2547 มีประชาชนลงทะเบียนปัญหาทั้งสิ้น 8,771,715 ราย มีปัญหาสังคมและความยากจนทั้งสิ้น 11,986,846 ปัญหา และปัญหาอื่นๆ 1,376,865 ปัญหา โดยจำแนกปัญหาแต่ละกลุ่มปัญหาได้ดังนี้
1. ด้านหนี้สินภาคประชาชนจำนวน 5,292,800 ราย
2.ด้านปัญหาที่ดินทำกินจำนวน 4,304,292 ราย
3. ด้านที่อยู่อาศัยของคนจนจำนวน 2,037,943 ราย
4. ด้านนักเรียน/นักศึกษาต้องการมีรายได้จากอาชีพที่เหมาะสมจำนวน 247,762 ราย
5. ด้านการถูกหลอกลวงจำนวน 91,042 ราย
6.ด้านคนเร่ร่อนจำนวน 6,521 ราย และ
7. ด้านผู้ประกอบอาชีพผิดกฎหมายจำนวน 6,486 ราย ตามลำดับ
ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน เป็นปัญหาสำคัญที่รัฐบาลถือเป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะแก้ไข เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ไขปัญหาทั้งระบบที่มีความเกี่ยวโยงสัมพันธ์กัน สำนักวิจัยเอแบค — เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ (เอแบคโพลล์) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบขึ้น เพื่อประเมินผลการทำงาน ความพึงพอใจ และความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน เพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการ และแนวทางมาตรการ แก้ไขปัญหาความยากจนโดยเฉพาะปัญหาหนี้นอกระบบของภาคประชาชนต่อไป
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง "ความคิดเห็นต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชน 19 จังหวัดจากทั่วประเทศ และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง" ดำเนินการสำรวจภาคสนามระหว่างวันที่ 24 กันยายน — 19 ตุลาคม 2547 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาครั้งนี้คณะผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิหลายขั้น (Stratified Multi-stage Sampling) ซึ่งเป็นวิธีการสุ่มที่คำนึงถึงความเป็นไปได้ทางสถิติ โดยทำการแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาคของกลุ่มประชากร เป้าหมายทั้งประเทศเป็น 6 ภูมิภาค และใช้เทคนิค Proportional Allocation ในการจัดสรรขนาดตัวอย่างของแต่ละภูมิภาค จากนั้นทำการแบ่งพื้นที่ในแต่ละ ภูมิภาคออกตาม จังหวัด อำเภอ ตำบล โดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบความน่าจะเป็นไม่เท่ากัน (Unequal Probability Sampling) ในการเลือกจังหวัด อำเภอ และตำบล ตัวอย่าง ตามลำดับ ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ ประชาชนจำนวน 5197 ตัวอย่าง เจ้าหน้าที่จำนวน 1197 ตัวอย่าง พบว่า
1. การรับรู้ข่าวสารการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ ผลการสำรวจพบว่าตัวอย่างประชาชนที่ลงทะเบียนหนี้สินนอกระบบส่วนใหญ่ร้อยละ 75.1 รับทราบว่ารัฐบาลประกาศแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบเป็นนโยบายเร่งด่วน และร้อยละ 76.6 ทราบว่าได้มีการจัดตั้งคณะทำงานเจรจาหนี้สินนอกระบบในระดับอำเภอ
2. ความพึงพอใจต่อการทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ ตัวอย่างประชาชนที่ผ่านกระบวนการเจรจาแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบส่วนใหญ่ร้อยละ 83.5 พอใจต่อกระบวนการในการเจรจาแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ความรวดเร็วในการดำเนินงาน การเอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่ ความเป็นธรรม และผลของการเจรจา
ทั้งนี้ประชาชนที่ผ่านกระบวนการเจรจาให้คะแนนผลการดำเนินงานเฉลี่ยเท่ากับ 7.76 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) ทั้งนี้เมื่อจำแนกเป็นรายภาคพบว่าประชาชนในภาคตะวันออกให้คะแนนความพอใจสูงที่สุด 8.17 คะแนน รองลงมาคือภาคเหนือ 8.16 คะแนน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8.04 คะแนน ภาคใต้ 7.63 คะแนน ภาคกลาง 6.85 คะแนน และกรุงเทพมหานคร 6.63 คะแนน
3. การคาดการณ์แนวโน้มปัญหาหนี้สินในทรรศนะของประชาชน จากการคาดการณ์ของประชาชนที่มีปัญหาหนี้สินส่วนใหญ่เชื่อว่า ภายหลังการแก้ไขเรื่องหนี้สินนอกระบบของรัฐบาลแล้วปัญหาหนี้สินจะ “ลดลง” โดยร้อยละ 71.6 เชื่อว่าในอีก 1-2 ปีข้างหน้า จำนวนหนี้สินของตนเองจะลดลง ร้อยละ 54.2 เชื่อว่าใน 1-2 ปีข้างหน้าจะสามารถหาแหล่งเงินกู้ได้สะดวกขึ้น และ ร้อยละ 51.9 เชื่อว่าจะสามารถหาแหล่งเงินกู้ที่ได้ดอกเบี้ยถูกลง
4. ผลของการทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ สำหรับผลจากการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ พบว่าตัวอย่างประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 89.9 เห็นว่าผลจากการทำงานเรื่องนี้ทำให้คนในสังคมหันมาสนใจปัญหาหนี้สินนอกระบบมากขึ้น ร้อยละ 84.3 เห็นว่าเจ้าหน้าที่หันมาเอาใจใส่ในการแก้ไขปัญหา ร้อยละ 64.0 เห็นว่ามีผลทำให้ลดการเอาเปรียบของเจ้าหนี้ลง
5. ความมั่นใจต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของรัฐบาล ผลปรากฎว่าตัวอย่างประชาชนที่มีปัญหาหนี้สินเหล่านี้ร้อยละ 73.0 มั่นใจว่ารัฐบาลจะดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบอย่างต่อเนื่อง (ที่เหลือคือคนที่ไม่มั่นใจ) ร้อยละ 73.7 มั่นใจว่า เจ้าหน้าที่จะตั้งใจทุ่มเทแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 71.2 มั่นใจว่าเจ้าหนี้จะให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
6. สาเหตุของปัญหาหนี้สิน จากการสำรวจสาเหตุของการกู้ยืม ที่ทำให้เกิดหนี้สินของกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่ลงทะเบียนปัญหา หนี้สินเหล่านี้พบว่าร้อยละ 67.4 มีการกู้ยืมเพื่อนำมาลงทุนในการทำมาหากิน ร้อยละ 41.9 กู้ยืมมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 33.0 ใช้ส่งลูกหลานเรียนหนังสือ ร้อยละ 20.2 ใช้สร้าง/ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย
7. ความเข้าใจเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้สินของรัฐบาล จากการสอบถามประชาชนพบว่าเกือบครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 49.6 ที่มีความเข้าใจ (ที่ผิด) ว่ารัฐบาลจะเข้ามารับผิดชอบชำระหนี้แทนประชาชน
8. จุดเด่นจุดด้อยของโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ ในส่วนจุดเด่นที่สำคัญของโครงการนี้ประชาชนระบุเรียงตามลำดับดังนี้ คือการดำเนินงานในโครงการนี้ทำให้หน่วยงานของรัฐหันมาเอาใจใส่ช่วยเหลือประชาชนมากขึ้น รัฐบาลได้ช่วยให้มีการผ่อนปรนประนอมหนี้ได้มากขึ้น ช่วยลดภาระดอกเบี้ยให้ประชาชนทำให้ประชาชนสามารถกู้ยืมเงินได้สะดวกขึ้น และทำให้ความกังวลเรื่องปัญหาหนี้สินลดลง ส่วนในด้านจุดด้อยหรือข้อควรปรับปรุงพบว่า ประชาชนบางส่วนยังเห็นว่ารัฐบาลยังไม่ได้สนใจแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบอย่างจริงจัง การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินยังมีความยุ่งยาก การประชาสัมพันธ์เรื่องการแก้ปัญหาหนี้สินนอกระบบยังไม่ชัดเจน และเจ้าหน้าที่บางส่วนยังปล่อยให้เจ้าหนี้หรือนายทุนใช้อิทธิพลข่มขู่ลูกหนี้
9. การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ ในด้านการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ (ระดับอำเภอ) พบว่าเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชน โดยมีการรับรู้บทบาทของตนเองมาก ได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา และมีการร่วมมือช่วยเหลือกันในทีมงานในระดับ “มาก” อย่างไรก็ตามในส่วนของความเชื่อมั่นต่อแนวทางการทำงานของรัฐบาล(ว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบได้อย่างบรรลุผล) เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นในระดับ “ปานกลาง”
ทั้งนี้ในส่วนการทำงานพบว่าเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.8 จะมีปัญหาอุปสรรคในการทำงาน (ร้อยละ 31.2 ไม่มีปัญหาอุปสรรค) โดยปัญหาอุปสรรคที่พบมากที่สุดคือการไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะจากเจ้าหนี้ และจากลูกหนี้ ประชาชนยังไม่เข้าใจโครงการและนโยบายอย่างชัดเจนพอ มีปัญหาในการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหนี้และลูกหนี้ และการทำงานในเรื่องนี้มีผลกระทบต่อการทำงานประจำ ส่วนในด้านข้อมูลข่าวสารที่ทางเจ้าหน้าที่ต้องการเพื่อใช้ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบนั้น พบว่า ต้องการทราบข้อมูลเรื่องแนวคิดแนวทางการดำเนินนโยบายของรัฐบาลมากที่สุด รองลงมาคือ ความคิดเห็น/ความคาดหวังของประชาชนในพื้นที่ กฎหมาย/กฎระเบียบที่จะใช้ในการทำงาน แผนงาน/กำหนดเวลาในการทำงาน และข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สินนอกระบบ สำหรับคะแนนความพอใจต่อผลการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ พบว่าเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ให้คะแนน 5.53 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ทั้งนี้การจดทะเบียนได้สิ้นสุดแล้วเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2547 มีประชาชนลงทะเบียนปัญหาทั้งสิ้น 8,771,715 ราย มีปัญหาสังคมและความยากจนทั้งสิ้น 11,986,846 ปัญหา และปัญหาอื่นๆ 1,376,865 ปัญหา โดยจำแนกปัญหาแต่ละกลุ่มปัญหาได้ดังนี้
1. ด้านหนี้สินภาคประชาชนจำนวน 5,292,800 ราย
2.ด้านปัญหาที่ดินทำกินจำนวน 4,304,292 ราย
3. ด้านที่อยู่อาศัยของคนจนจำนวน 2,037,943 ราย
4. ด้านนักเรียน/นักศึกษาต้องการมีรายได้จากอาชีพที่เหมาะสมจำนวน 247,762 ราย
5. ด้านการถูกหลอกลวงจำนวน 91,042 ราย
6.ด้านคนเร่ร่อนจำนวน 6,521 ราย และ
7. ด้านผู้ประกอบอาชีพผิดกฎหมายจำนวน 6,486 ราย ตามลำดับ
ปัญหาหนี้สินภาคประชาชน เป็นปัญหาสำคัญที่รัฐบาลถือเป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะแก้ไข เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการแก้ไขปัญหาทั้งระบบที่มีความเกี่ยวโยงสัมพันธ์กัน สำนักวิจัยเอแบค — เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ (เอแบคโพลล์) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบขึ้น เพื่อประเมินผลการทำงาน ความพึงพอใจ และความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน เพื่อปรับปรุงการบริหารจัดการ และแนวทางมาตรการ แก้ไขปัญหาความยากจนโดยเฉพาะปัญหาหนี้นอกระบบของภาคประชาชนต่อไป
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง "ความคิดเห็นต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชน 19 จังหวัดจากทั่วประเทศ และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง" ดำเนินการสำรวจภาคสนามระหว่างวันที่ 24 กันยายน — 19 ตุลาคม 2547 ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาครั้งนี้คณะผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิหลายขั้น (Stratified Multi-stage Sampling) ซึ่งเป็นวิธีการสุ่มที่คำนึงถึงความเป็นไปได้ทางสถิติ โดยทำการแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาคของกลุ่มประชากร เป้าหมายทั้งประเทศเป็น 6 ภูมิภาค และใช้เทคนิค Proportional Allocation ในการจัดสรรขนาดตัวอย่างของแต่ละภูมิภาค จากนั้นทำการแบ่งพื้นที่ในแต่ละ ภูมิภาคออกตาม จังหวัด อำเภอ ตำบล โดยใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างแบบความน่าจะเป็นไม่เท่ากัน (Unequal Probability Sampling) ในการเลือกจังหวัด อำเภอ และตำบล ตัวอย่าง ตามลำดับ ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ ประชาชนจำนวน 5197 ตัวอย่าง เจ้าหน้าที่จำนวน 1197 ตัวอย่าง พบว่า
1. การรับรู้ข่าวสารการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ ผลการสำรวจพบว่าตัวอย่างประชาชนที่ลงทะเบียนหนี้สินนอกระบบส่วนใหญ่ร้อยละ 75.1 รับทราบว่ารัฐบาลประกาศแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบเป็นนโยบายเร่งด่วน และร้อยละ 76.6 ทราบว่าได้มีการจัดตั้งคณะทำงานเจรจาหนี้สินนอกระบบในระดับอำเภอ
2. ความพึงพอใจต่อการทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ ตัวอย่างประชาชนที่ผ่านกระบวนการเจรจาแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบส่วนใหญ่ร้อยละ 83.5 พอใจต่อกระบวนการในการเจรจาแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ ในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ความรวดเร็วในการดำเนินงาน การเอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่ ความเป็นธรรม และผลของการเจรจา
ทั้งนี้ประชาชนที่ผ่านกระบวนการเจรจาให้คะแนนผลการดำเนินงานเฉลี่ยเท่ากับ 7.76 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) ทั้งนี้เมื่อจำแนกเป็นรายภาคพบว่าประชาชนในภาคตะวันออกให้คะแนนความพอใจสูงที่สุด 8.17 คะแนน รองลงมาคือภาคเหนือ 8.16 คะแนน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8.04 คะแนน ภาคใต้ 7.63 คะแนน ภาคกลาง 6.85 คะแนน และกรุงเทพมหานคร 6.63 คะแนน
3. การคาดการณ์แนวโน้มปัญหาหนี้สินในทรรศนะของประชาชน จากการคาดการณ์ของประชาชนที่มีปัญหาหนี้สินส่วนใหญ่เชื่อว่า ภายหลังการแก้ไขเรื่องหนี้สินนอกระบบของรัฐบาลแล้วปัญหาหนี้สินจะ “ลดลง” โดยร้อยละ 71.6 เชื่อว่าในอีก 1-2 ปีข้างหน้า จำนวนหนี้สินของตนเองจะลดลง ร้อยละ 54.2 เชื่อว่าใน 1-2 ปีข้างหน้าจะสามารถหาแหล่งเงินกู้ได้สะดวกขึ้น และ ร้อยละ 51.9 เชื่อว่าจะสามารถหาแหล่งเงินกู้ที่ได้ดอกเบี้ยถูกลง
4. ผลของการทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ สำหรับผลจากการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ พบว่าตัวอย่างประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 89.9 เห็นว่าผลจากการทำงานเรื่องนี้ทำให้คนในสังคมหันมาสนใจปัญหาหนี้สินนอกระบบมากขึ้น ร้อยละ 84.3 เห็นว่าเจ้าหน้าที่หันมาเอาใจใส่ในการแก้ไขปัญหา ร้อยละ 64.0 เห็นว่ามีผลทำให้ลดการเอาเปรียบของเจ้าหนี้ลง
5. ความมั่นใจต่อการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบของรัฐบาล ผลปรากฎว่าตัวอย่างประชาชนที่มีปัญหาหนี้สินเหล่านี้ร้อยละ 73.0 มั่นใจว่ารัฐบาลจะดำเนินนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบอย่างต่อเนื่อง (ที่เหลือคือคนที่ไม่มั่นใจ) ร้อยละ 73.7 มั่นใจว่า เจ้าหน้าที่จะตั้งใจทุ่มเทแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 71.2 มั่นใจว่าเจ้าหนี้จะให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง
6. สาเหตุของปัญหาหนี้สิน จากการสำรวจสาเหตุของการกู้ยืม ที่ทำให้เกิดหนี้สินของกลุ่มตัวอย่างประชาชนที่ลงทะเบียนปัญหา หนี้สินเหล่านี้พบว่าร้อยละ 67.4 มีการกู้ยืมเพื่อนำมาลงทุนในการทำมาหากิน ร้อยละ 41.9 กู้ยืมมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 33.0 ใช้ส่งลูกหลานเรียนหนังสือ ร้อยละ 20.2 ใช้สร้าง/ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย
7. ความเข้าใจเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้สินของรัฐบาล จากการสอบถามประชาชนพบว่าเกือบครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 49.6 ที่มีความเข้าใจ (ที่ผิด) ว่ารัฐบาลจะเข้ามารับผิดชอบชำระหนี้แทนประชาชน
8. จุดเด่นจุดด้อยของโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ ในส่วนจุดเด่นที่สำคัญของโครงการนี้ประชาชนระบุเรียงตามลำดับดังนี้ คือการดำเนินงานในโครงการนี้ทำให้หน่วยงานของรัฐหันมาเอาใจใส่ช่วยเหลือประชาชนมากขึ้น รัฐบาลได้ช่วยให้มีการผ่อนปรนประนอมหนี้ได้มากขึ้น ช่วยลดภาระดอกเบี้ยให้ประชาชนทำให้ประชาชนสามารถกู้ยืมเงินได้สะดวกขึ้น และทำให้ความกังวลเรื่องปัญหาหนี้สินลดลง ส่วนในด้านจุดด้อยหรือข้อควรปรับปรุงพบว่า ประชาชนบางส่วนยังเห็นว่ารัฐบาลยังไม่ได้สนใจแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบอย่างจริงจัง การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินยังมีความยุ่งยาก การประชาสัมพันธ์เรื่องการแก้ปัญหาหนี้สินนอกระบบยังไม่ชัดเจน และเจ้าหน้าที่บางส่วนยังปล่อยให้เจ้าหนี้หรือนายทุนใช้อิทธิพลข่มขู่ลูกหนี้
9. การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ ในด้านการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ (ระดับอำเภอ) พบว่าเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ได้มีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขปัญหาหนี้สินของประชาชน โดยมีการรับรู้บทบาทของตนเองมาก ได้รับการสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา และมีการร่วมมือช่วยเหลือกันในทีมงานในระดับ “มาก” อย่างไรก็ตามในส่วนของความเชื่อมั่นต่อแนวทางการทำงานของรัฐบาล(ว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบได้อย่างบรรลุผล) เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นในระดับ “ปานกลาง”
ทั้งนี้ในส่วนการทำงานพบว่าเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.8 จะมีปัญหาอุปสรรคในการทำงาน (ร้อยละ 31.2 ไม่มีปัญหาอุปสรรค) โดยปัญหาอุปสรรคที่พบมากที่สุดคือการไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะจากเจ้าหนี้ และจากลูกหนี้ ประชาชนยังไม่เข้าใจโครงการและนโยบายอย่างชัดเจนพอ มีปัญหาในการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหนี้และลูกหนี้ และการทำงานในเรื่องนี้มีผลกระทบต่อการทำงานประจำ ส่วนในด้านข้อมูลข่าวสารที่ทางเจ้าหน้าที่ต้องการเพื่อใช้ในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบนั้น พบว่า ต้องการทราบข้อมูลเรื่องแนวคิดแนวทางการดำเนินนโยบายของรัฐบาลมากที่สุด รองลงมาคือ ความคิดเห็น/ความคาดหวังของประชาชนในพื้นที่ กฎหมาย/กฎระเบียบที่จะใช้ในการทำงาน แผนงาน/กำหนดเวลาในการทำงาน และข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สินนอกระบบ สำหรับคะแนนความพอใจต่อผลการดำเนินงานโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ พบว่าเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ให้คะแนน 5.53 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)
--เอแบคโพลล์--
-พห-