ที่น่าพิจารณา คือ ข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.7 ระบุภาพโรงพัก 396 แห่งที่ถูกทิ้งงาน ทำให้นึกถึงภาพการทิ้งงานก่อสร้างโฮบเวลเลียบถนนวิภาวดีรังสิต ในขณะที่ร้อยละ 38.3 ไม่คิดเช่นนั้น อย่างไรก็ตาม ตำรวจส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.9 คิดว่า การทิ้งงานการก่อสร้างโรงพัก 396 แห่งทั่วประเทศนั้นจะสามารถนำคนผิดมาลงโทษได้ ในขณะที่ร้อยละ 40.1 ไม่คิดว่าได้นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.0 ไม่คิดว่า การทิ้งงานก่อสร้างโรงพัก 396 แห่งทั่วประเทศนั้นสุดท้ายแล้วเรื่องจะเงียบหายไปเอง ในขณะที่ร้อยละ 39.0 คิดว่าเรื่องจะเงียบหายไป
ที่น่าสนใจคือ ปัญหาต่างๆ ในสถานีตำรวจ ตั้งแต่ยุคของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พบว่า ข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่ระบุว่า มีปัญหาน้อยถึงไม่พบเจอปัญหาเลย โดยร้อยละ 91.7 ระบุปัญหาผู้บังคับบัญชาใช้ให้ทำงานส่วนตัวน้อยถึงไม่พบเจอเลย ร้อยละ 88.8 ระบุมีการแทรกแซงการทำงานจากกลุ่มผู้มีอิทธิพลในพื้นที่น้อยถึงไม่พบเจอเลย ร้อยละ 87.2 ระบุผู้บังคับบัญชาก้าวก่ายการทำงานน้อยถึงไม่เคยพบเจอเลย ร้อยละ 86.8 ระบุการวิ่งเต้นซื้อขายตำแหน่งน้อยถึง ไม่พบเจอเลย นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 84.3 ระบุมีการแทรกแซงการทำงานจากฝ่ายการเมืองน้อยถึงไม่พบเจอเลย ร้อยละ 81.9 ระบุการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้กับผู้บังคับบัญชาน้อยถึงไม่เคยพบเจอเลย ร้อยละ 81.2 ระบุผู้บังคับบัญชามอบหมายงาน ไม่ชัดเจนก็มีน้อยถึงไม่เคยพบเจอเลย และร้อยละ 77.0 ระบุผู้บังคับบัญชาเลือกปฏิบัติก็มีน้อยถึงไม่เคยพบเจอเลย
ที่น่าพิจารณาคือ ข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่หรือร้อยละ 83.4 เชื่อมั่นต่อตัว พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมากถึงมากที่สุด ในขณะที่ร้อยละ 10.8 เชื่อมั่นปานกลาง และร้อยละ 5.8 เชื่อมั่นน้อยถึงไม่เชื่อมั่นเลย โดยคะแนนเฉลี่ยความเชื่อมั่นของข้าราชการตำรวจต่อ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เท่ากับ 8.08 คะแนน เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่หรือร้อยละ 54.8 ระบุว่า ภาพลักษณ์ของตำรวจในสายตาประชาชนดีขึ้น และส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.0 ระบุภาพลักษณ์ของตำรวจในสายตาของตำรวจด้วยกันเองดีขึ้นเช่นกัน
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความดีความชอบให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจในหน่วยงานยุคของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว พบว่า ข้าราชการตำรวจที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 45.4 ระบุตำรวจในยุคของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ใช้ระบบคุณธรรมมากกว่า เช่น การพิจารณาตามความรู้ความสามารถและระบบอาวุโส ในขณะที่ร้อยละ 41.9 ใช้ทั้งสองระบบร่วมกัน อย่างไรก็ตาม มีเพียงร้อยละ 12.7 ที่ใช้ระบบอุปถัมภ์มากกว่า เช่น เส้นสาย การเอาใจฝ่ายการเมือง การเอาใจผู้บังคับบัญชา พวกพ้อง และการซื้อขายตำแหน่ง เป็นต้น
ที่น่าสนใจคือ ข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่เกือบร้อยละร้อยต้องการให้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รักษาคุณสมบัติจำเป็นดังต่อไปนี้ เป็นนักพัฒนาระบบงานตำรวจเพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนทั่วไป ปกป้องสถาบันสูงสุดของประเทศ รู้จักประนีประนอมแก้ปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติได้ ซื่อสัตย์สุจริต กล้าคิดกล้าทำ ทำให้ระบบงานตำรวจมีความโปร่งใสมากขึ้น เป็นนักพัฒนาระบบงานตำรวจเพื่อตำรวจ มีผลงานเป็นที่ประทับใจประชาชน ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างทั่วถึง เป็นกลางไม่ฝักใฝ่ทางการเมือง แก้ปัญหาการซื้อขายตำแหน่งในองค์กรตำรวจ ไม่ยอมให้ฝ่ายการเมืองเข้าแทรกแซง และไม่ก้าวก่ายการแต่งตั้งโยกย้ายที่เป็นอำนาจของผู้บัญชาการระดับภาค เป็นต้น
และเมื่อสอบถามข้าราชการตำรวจที่ถูกศึกษาครั้งนี้ต่อความพึงพอใจต่อชีวิตการรับราชการตำรวจในยุคของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.4 พึงพอใจมากถึงมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ยความพอใจสูงถึง 8.55 คะแนน
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า จากผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า ข้าราชการตำรวจยุคของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ในช่วง 5 - 6 เดือนแรกนี้กำลังมีทิศทางของการพัฒนาที่ดีขึ้น ถ้าหากผู้บริหารระดับสูงทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการประจำช่วยกันรักษาไว้และทำให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผลที่น่าจะตามมาคือ ความวางใจ (TRUST) ของสาธารณชนต่อระบบงานตำรวจที่ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และความเชื่อมั่นศรัทธาต่อระบบงานตำรวจในมวลหมู่ข้าราชการตำรวจด้วยกันเองย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญสุดที่น่าพิจารณาคือ “งานด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณของตำรวจ” ที่จำเป็นต้องเร่งรณรงค์ให้ข้าราชการตำรวจทุกนายมีความเคร่งครัดจริงจังต่องานด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณตำรวจอย่างต่อเนื่อง โดยมีข้อเสนอแนะบางประการดังต่อไปนี้
ประการแรก นำจริยธรรมของตำรวจในข้อ 7 มาปฏิบัติอย่างจริงจังต่อเนื่อง ได้แก่ ข้าราชการตำรวจต้องเคารพ ศรัทธา และยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ดังนั้น ความรวดเร็วฉับไวในทางปฏิบัติต่อจริยธรรมตำรวจในข้อนี้น่าจะเป็นเรื่องจำเป็นทันทีที่พบเห็นหรือมีผู้แจ้งเหตุการณ์ใดๆ ที่จะทำลายเสาหลักของประเทศชาตินี้ต้องรีบสกัดกั้นดำเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดพฤติกรรมหรือพฤติการณ์ทำตามๆ กัน ตามทฤษฎีหน้าต่างแตก (Broken Window Theory)
ประการที่สอง ข้าราชการตำรวจต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายอื่นโดยเคร่งครัด ไม่เลือกปฏิบัติ เพราะเหตุผลที่ว่า ปัญหาขัดแย้งในหมู่ประชาชนทุกวันนี้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางเพราะความไม่เป็นธรรมที่แต่ละคนนิยามกันขึ้นมาแตกต่างกัน ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องทำให้สาธารณชนนิยามความเป็นธรรม สิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบอย่างเห็นพ้องต้องกันให้มากที่สุด มิฉะนั้นแล้ว ถ้ากลุ่มประชาชนเล็งเห็นว่าเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น พวกเขาจะจัดการกันเอง และมันจะทำให้สถานการณ์บ้านเมืองและปัญหาสังคมทวีความรุนแรงเกินขอบเขตของอำนาจตำรวจจะควบคุมไว้ได้
ประการที่สาม ข้าราชการตำรวจต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและเกิดประโยชน์ส่วนรวมสูงสุด โดยคำนึงถึงประเทศชาติ องค์กรชุมชน ประชาชนและตนเอง ดังนั้น ความรวดเร็ว กระตือรือร้น ความมุมานะขยันหมั่นเพียรในการทำงานเพื่อประเทศชาติ ชุมชน ประชาชนผู้เดือดร้อน และตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นต้องคำนึงถึงต้นทุนที่ใช้กับประโยชน์สูงสุดที่สังคมและตัวเองได้รับ
สุดท้ายคือ การทำให้สาธารณชนเกิดความศรัทธา เกิดความเชื่อมั่น และเกิดความวางใจต่อข้าราชการตำรวจที่มีจิตสำนึกของความเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์อย่างแท้จริง ในขณะที่ ผู้บังคับบัญชาที่ใกล้ตัวและผู้บังคับบัญชาระดับสูงต้องดูแลปกป้องผู้ใต้บังคับบัญชาที่เคร่งครัดปฏิบัติตามจริยธรรมและจรรยาบรรณตำรวจ ไม่ทอดทิ้งพวกเขาเหล่านั้นให้ต่อสู้กับอำนาจมืดเพียงลำพัง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตำรวจ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.4 เป็นหญิง
ร้อยละ 91.6 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 4.3 อายุต่ำกว่า 30 ปี
ร้อยละ 16.2 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 47.9 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 31.6 อายุ 50ขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 72.8 ระบุเป็นตำรวจชั้นประทวน
และร้อยละ 27.2 ระบุเป็นตำรวจชั้นสัญญาบัตร
ตัวอย่าง ร้อยละ 11.4 ระบุปฏิบัติหน้าที่ในสายงานสืบสวน/สอบสวน
ร้อยละ 44.5 ระบุปฏิบัติหน้าที่ในสายงานปราบปราม
ร้อยละ 1.3 ระบุปฏิบัติหน้าที่ในสายงานจราจร
ร้อยละ 1.0 ระบุปฏิบัติหน้าที่เป็นตำรวจท่องเที่ยว
ร้อยละ23.6 ระบุปฏิบัติหน้าที่ในสายงานธุรการ
และร้อยละ 18.2 ระบุปฏิบัติหน้าที่ในสายงานอื่น ๆ อาทิ
ฝ่ายอำนวยการ พนักงานวิทยุสื่อสาร ฝ่ายประชาสัมพันธ์
รักษาความมั่นคงภายใน กองประวัติทะเบียนอาชญากร เป็นต้น
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ได้ยิน 97.7 2 ไม่ได้ยิน 2.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นที่ว่า ภาพโรงพัก 396 แห่งที่ถูกทิ้งงาน ทำให้นึกถึงภาพการทิ้งงานก่อสร้าง โฮบเวล เลียบถนนวิภาวดีรังสิต ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ภาพโรงพักที่ถูกทิ้งงานไป ทำให้นึกถึงภาพการทิ้งงานก่อสร้างโฮบเวล 61.7 2 ไม่คิดเช่นนั้น 38.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทิ้งงานการก่อสร้างโรงพัก 396 แห่งทั่วประเทศนั้นจะสามารถนำคนผิดมาลงโทษได้ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่าได้ 59.9 2 ไม่คิดว่าได้ 40.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทิ้งงานก่อสร้างโรงพัก 396 แห่งทั่วประเทศนั้นสุดท้ายแล้วเรื่องจะเงียบไปเอง ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่าเรื่องจะเงียบหายไป 39.0 2 ไม่คิดว่าเรื่องจะเงียบหายไป 61.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการพบเจอปัญหาต่างๆ ในสถานีตำรวจ ตั้งแต่ยุคของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ลำดับที่ ปัญหาที่พบเจอ น้อย-ไม่พบเจอเลย ปานกลาง พบเจอมาก-มากที่สุด 1 ผู้บังคับบัญชาใช้ให้ทำงานส่วนตัว 91.7 5.3 3.0 2 มีการแทรกแซงแทรกการทำงานจากกลุ่มผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ 88.8 4.8 6.4 3 ผู้บังคับบัญชาก้าวก่ายการทำงาน 87.2 7.4 5.4 4 การวิ่งเต้นซื้อขายตำแหน่ง 86.8 4.5 8.7 5 มีการแทรกแซงแทรกการทำงานจากฝ่ายการเมือง 84.3 6.0 9.7 6 การเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้กับผู้บังคับบัญชา 81.9 7.8 10.3 7 ผู้บังคับบัญชามอบหมายงานไม่ชัดเจน 81.2 8.7 10.1 8 ผู้บังคับบัญชาเลือกปฏิบัติ 77.0 10.1 12.9 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อตัว พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อ ผบ.ตร. ค่าร้อยละ 1 น้อย-ไม่เชื่อมั่นเลย 5.8 2 ปานกลาง 10.8 3 เชื่อมั่นมาก-มากที่สุด 83.4 รวมทั้งสิ้น 100.0
ค่าคะแนนเฉลี่ยความเชื่อมั่นต่อ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เท่ากับ 8.08 คะแนน เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ของตำรวจ ภาพลักษณ์ที่ดีขึ้น ภาพลักษณ์ที่ไม่ดีขึ้น พอๆ กัน รวมทั้งสิ้น 1 ในสายตาของประชาชน 54.8 14.0 31.2 100.0 2 ในสายตาของตำรวจ 80.0 3.6 16.4 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความดีความชอบให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจในหน่วยงาน ลำดับที่ หลักเกณฑ์ ค่าร้อยละ 1 ใช้ระบบอุปถัมภ์มากกว่า(อาทิ เส้นสาย การเอาใจฝ่ายการเมือง การเอาใจผู้บังคับบัญชา พวกพ้อง และการซื้อขายตำแหน่ง) 12.7 2 ใช้ระบบคุณธรรมมากกว่า เช่นการพิจารณาตามความรู้ความสามารถ และระบบอาวุโส 45.4 3 ใช้ทั้งสองระบบร่วมกัน 41.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คุณสมบัติที่ต้องการให้ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว จำเป็นต้องรักษาไว้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ คุณสมบัติที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จำเป็นต้องรักษาไว้ ค่าร้อยละ 1 เป็นนักพัฒนาระบบงานตำรวจเพื่ออำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนทั่วไป 99.9 2 ปกป้องสถาบันสูงสุดของประเทศ 99.8 3 รู้จักประนีประนอม แก้ปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติได้ 99.6 4 ซื่อสัตย์สุจริต 99.6 5 กล้าคิดกล้าทำ 99.5 6 ทำให้ระบบงานตำรวจมีความโปร่งใสมากขึ้น 99.5 7 เป็นนักพัฒนาระบบงานตำรวจเพื่อตำรวจ 98.9 8 มีผลงานเป็นที่ประทับใจของประชาชน 98.9 9 ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างทั่วถึง 98.5 10 เป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายการเมือง 97.4 11 แก้ปัญหาการซื้อขายตำแหน่งในองค์กรตำรวจ 96.0 12 ไม่ยอมให้ฝ่ายการเมืองเข้าแทรกแซง 95.6 13 ไม่ก้าวก่ายการแต่งตั้งโยกย้ายที่เป็นอำนาจของผู้บัญชาการระดับภาค 93.3 ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อชีวิตการรับราชการตำรวจในยุคของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ลำดับที่ ความพึงพอใจ ค่าร้อยละ 1 น้อย-ไม่พึงพอใจเลย 1.7 2 ปานกลาง 6.9 3 พึงพอใจมาก-มากที่สุด 91.4 รวมทั้งสิ้น 100.0
ค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่ในปัจจุบัน เท่ากับ 8.55 คะแนน เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน
--เอแบคโพลล์--