สำรวจลักษณะเด่นหรือ โปรไฟลิงก์ (Profiling) ของกลุ่มคนที่ยังเปลี่ยนใจเลือกคนอื่นได้ แต่ถ้าเลือกจะเลือกใคร : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร
ดร. นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สำรวจลักษณะเด่นหรือโปรไฟลิงก์ (Profiling) ของกลุ่มคนที่ยังเปลี่ยนใจเลือกคนอื่นได้ แต่ถ้าเลือกจะเลือกใคร กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 2,498 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการและวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างวันที่ 15-20 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้นเลือกเขต แขวง ชุมชน และลงสัมภาษณ์แบบเคาะประตูบ้านในระดับครัวเรือน ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า
ยังคงมีความเป็นไปได้ว่า ผลสำรวจกับผลการเลือกตั้งจริงไม่ตรงกันอาจพลิกได้ เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพิ่มเติมในกลุ่มที่อาจเปลี่ยนใจได้ โดยพบว่า ในกลุ่มตัวอย่างที่อาจเปลี่ยนใจได้ร้อยละ 25.6 ระบุ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ แต่ร้อยละ 24.8 ระบุ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร นั่นหมายความว่าห่างกันเพียงไม่ถึง 1 จุดเท่านั้น โอกาสที่จะพลิกจึงยังคงมีอยู่ถ้าประชาชนผู้อาจเปลี่ยนใจได้มีเพิ่มมากขึ้นและไปใช้สิทธิเลือกตั้งกันมากกว่ากลุ่มคนที่บอกว่าไม่เปลี่ยนใจแล้วในผลโพลล์ แต่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ยิ่งไปกว่านั้น ในกลุ่มที่อาจเปลี่ยนใจได้อีกสูงถึงร้อยละ 21.3 ระบุ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส นั่นก็หมายความว่า พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ก็มีลุ้นเช่นกันเพราะคะแนนที่ทิ้งห่างกันไม่เกิน 7 จุด ในการสำรวจครั้งนี้ และยังมีเวลาอีกประมาณ 10 วันก่อนถึงวันเลือกตั้งอะไรก็อาจเกิดขึ้นได้
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า เมื่อดึงข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่อาจเปลี่ยนใจได้อีกมาวิเคราะห์ลักษณะเด่น หรือทำโปรไฟลิงก์ (Profiling) พบว่า ในกลุ่มที่อาจเปลี่ยนใจได้ร้อยละ 55.6 เป็นหญิง ร้อยละ 49.6 อายุ 40 ปีขึ้นไป ร้อยละ 48.0 รายได้เกิน 10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 80.4 ของกลุ่มคนที่อาจเปลี่ยนใจได้นี้มีสิทธิเลือกตั้งและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของกรุงเทพมหานครมากกว่า 15 ปีและเป็นกลุ่มที่อยู่กรุงเทพมหานครมาตั้งแต่เกิด อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 48.5 ของคนกลุ่มนี้ “ไม่แน่ใจ” ว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 3 มีนาคมที่จะถึงนี้หรือไม่
ที่น่าเป็นห่วงคือ ผลสำรวจพบแนวโน้มของประชาชนที่รับรู้การซื้อขายเสียงเพิ่มขึ้นในชุมชนที่พักอาศัยจากร้อยละ 12.2 ในช่วง วันที่ 8 — 13 ก.พ. มาอยู่ที่ร้อยละ 15.7 ในช่วงวันที่ 15 — 20 ก.พ. ที่ผ่านมา
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 54.1 เป็นหญิง ร้อยละ 45.9 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 3.4 อายุ น้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 17.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 21.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อยละ 34.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 71.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 28.7 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 33.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 31.5 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 7.1 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 4.2 เป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 7.8 รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป ร้อยละ 10.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 5.0 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ ผู้สมัครที่ตั้งใจจะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่เปลี่ยนใจแล้ว อาจเปลี่ยนใจได้ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ 1 พล.ต.อ. พงศพัศ พงษ์เจริญ พรรคเพื่อไทย 50.9 25.6 2 ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร พรรคประชาธิปัตย์ 30.8 24.8 3 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผู้สมัครอิสระ 8.8 21.3 4 อื่นๆ เช่น นายสุหฤท สยามวาลา นายโฆสิต สุวินิจจิต เป็นต้น 4.9 9.8 5 ยังไม่ตัดสินใจ 4.6 18.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่อาจเปลี่ยนใจไปเลือกคนอื่นที่ตอบมาในโพลล์ได้อีก จำแนกตามลักษณะเด่นของผู้ตอบแบบสอบถาม ลำดับที่ ลักษณะเด่น (Profiling) ของคนที่อาจเปลี่ยนใจเลือกคนอื่นได้อีก ร้อยละ 1 เพศหญิง 55.6 2 อายุ 40 ปีขึ้นไป 49.6 3 รายได้เกิน 10,000 บาทต่อเดือน 48.0 4 มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านมากกว่า 15 ปีและกลุ่มคนที่อยู่กรุงเทพฯ มาตั้งแต่เกิด 80.4 5 ไม่แน่ใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือไม่ 48.5 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ แนวโน้มการรับรู้การซื้อขายเสียงในชุมชนที่พักอาศัยอยู่ จำแนกตามช่วงเวลาทำสำรวจ ลำดับที่ การซื้อขายเสียง 8 — 13 ก.พ. 15 — 20 ก.พ. ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ 1 มีการซื้อขายเสียงแล้ว 12.2 15.7 2 ไม่มี 87.8 84.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
--เอแบคโพลล์--