ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้เปิดเผยผลการศึกษาความเป็นไปได้ของผลสำรวจคะแนนเสียง หลังวิเคราะห์กลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงคำตอบและกลุ่มที่อาจเปลี่ยนใจในการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. 56 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 2,498 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการและวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างวันที่ 15-22 กุมภาพันธ์ 2556 โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้นเลือกเขต แขวง ชุมชน และลงสัมภาษณ์แบบเคาะประตูบ้านในระดับครัวเรือน ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า
จากผลวิจัยครั้งนี้ได้ค้นพบความเป็นไปได้ที่ประชาชนคนกรุงเทพมหานครจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556 อยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 52.7 ถึงร้อยละ 66.7
ที่น่าพิจารณาคือ ผลการวิเคราะห์กลุ่มคนที่เข้าไม่ถึงคำตอบและกลุ่มที่อาจเปลี่ยนใจในการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ปี พ.ศ. 2556 ด้วยช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง พบว่า ความเป็นไปได้ที่ผลการเลือกตั้งจริงสำหรับ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ พรรคเพื่อไทยจะตกอยู่ในช่วงร้อยละ 36.8 ถึงร้อยละ 50.8 ในขณะที่ความเป็นไปได้ที่ผลการเลือกตั้งจริงสำหรับ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร พรรคประชาธิปัตย์จะตกอยู่ในช่วงร้อยละ 27.2 ถึงร้อยละ 41.2 (ส่วนผู้สมัครท่านอื่นๆ ดูในตาราง) ดังนั้น ผู้สมัครทั้งสองท่านนี้ยังมีโอกาสพลิกสลับกันได้ในผลการเลือกตั้งจริงถ้า พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ได้ต่ำสุดของช่วงคือร้อยละ 36.8 และ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ได้สูงสุดของช่วงคือร้อยละ 41.2 จึงสรุปได้ว่า “โอกาสพลิก” ยังมีอยู่จริงตามตัวเลขทางสถิติที่ค้นพบในการวิจัยครั้งนี้
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ที่น่าสนใจคือประเด็นนโยบายที่จำเป็นสำหรับคนกรุงเทพมหานครคือ ร้อยละ 54.8 ระบุ การสร้างรถไฟฟ้า และปรับปรุงระบบขนส่งมวลชน ในขณะที่ร้อยละ 40.2 ระบุ ป้องกันการก่อการร้าย ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน แก้ปัญหายาเสพติด ร้อยละ 27.5 ระบุ ส่งเสริมอาชีพ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย ร้อยละ 26.4 ระบุ มลพิษสิ่งแวดล้อม ขยะเน่าเหม็นในชุมชนแออัด ร้อยละ 12.4 ระบุ การจัดระเบียบผังเมืองและบริการของ กทม. ร้อยละ 9.6 ระบุคุณภาพการศึกษา และร้อยละ 16.5 ระบุอื่นๆ ได้แก่ สุขภาพ ระบบสาธารณสุข การท่องเที่ยว ความโปร่งใสในการทำงาน และการแก้ปัญหาน้ำท่วม เป็นต้น
ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจชิ้นนี้หวังว่าจะเป็นข้อมูลสำคัญต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะเข้าสู่บรรยากาศของความเงียบสงบเพื่อให้ประชาชนคนกรุงเทพมหานครมีเวลาไตร่ตรองอย่างรอบครอบด้วยความเป็นตัวของตัวเองตามกฎหมายที่อยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ห้ามเปิดเผยผลสำรวจในช่วง 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง และจะได้พบกับผลสำรวจของเอแบคโพลล์อีกครั้งหนึ่งทันทีหลังปิดหีบเลือกตั้งเวลา 15.00 น. ในวันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม นี้
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 54.1 เป็นหญิง
ร้อยละ 45.9 เป็นชาย
ตัวอย่างร้อยละ 3.4 อายุน้อยกว่า 20 ปี
ร้อยละ 17.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 21.5 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 34.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 71.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 28.7 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 33.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 31.5 ระบุเป็นพนักงานเอกชน
ร้อยละ 7.1 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 4.2 เป็นนักเรียนนักศึกษา
ร้อยละ 7.8 รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป
ร้อยละ 10.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.0 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ตารางที่ 1 แสดงความเป็นไปได้ของผลสำรวจจำนวนผู้ตั้งใจจะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในวันที่ 3 มีนาคม ปีพ.ศ. 2556
ช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 ถ้าเลือกตั้งวันนี้
ลำดับที่ ความตั้งใจจะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ถ้าเลือกตั้งวันนี้ช่วงความเป็นไปได้ของคะแนนเสียง(+/- 7%) 1 ไปอย่างแน่นอน 52.7 - 66.7 2 ไม่แน่ใจถึงไม่ไปใช้สิทธิ 33.3 - 47.3
รวมทั้งสิ้น
ลำดับที่ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ค่าร้อยละเป็นจุดประมาณการ ถ้าเลือกตั้งวันนี้ช่วงความเป็นไปได้ (Estimated Points) ของคะแนนเสียง(+/- 7%) 1 พล.ต.อ. พงศพัศ พงษ์เจริญ พรรคเพื่อไทย 43.8 36.8 - 50.8 2 ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร พรรคประชาธิปัตย์ 34.2 27.2 — 41.2 3 พล.ต.อ.เสรีพิสุทธิ์ เตมียาเวส ผู้สมัครอิสระ 10.7 3.7 — 17.7 4 อื่นๆ เช่น นายสุหฤท สยามวาลา นายโฆสิต สุวินิจจิตเป็นต้น 8.7 1.7 — 15.7 5 ไม่ระบุ ไม่ตัดสินใจ 2.6 0.0 — 9.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 - ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ นโยบายที่จำเป็นสำหรับคนกรุงเทพมหานคร ลำดับที่ นโยบายที่จำเป็นสำหรับคนกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 1 การสร้างรถไฟฟ้า และปรับปรุงระบบขนส่งมวลชน 54.8 2 ป้องกันการก่อการร้าย ความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน แก้ปัญหายาเสพติด 40.2 3 ส่งเสริมอาชีพ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย 27.5 4 มลพิษสิ่งแวดล้อม ขยะเน่าเหม็นในชุมชนแออัด 26.4 5 การจัดระเบียบผังเมืองและบริการของ กทม. 12.4 6 คุณภาพการศึกษา 9.6 7 อื่นๆ เช่น สุขภาพ ระบบสาธารณสุข การท่องเที่ยว ความโปร่งใสในการทำงาน แก้ปัญหาน้ำท่วม เป็นต้น 16.5
--เอแบคโพลล์--