เอแบคโพลล์: ผลการจัดอันดับจังหวัดแห่งความสุขของประเทศไทย

ข่าวผลสำรวจ Wednesday March 20, 2013 09:07 —เอแบคโพลล์

เนื่องด้วยองค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้วันที่ 20 มีนาคมนี้เป็น “วันความสุขสากล” ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือ
ข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือศูนย์วิจัยความสุขชุมชน (Academic Network for Community Happiness
Observation and Research, ANCHOR) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้เปิดเผยผลวิจัย เรื่อง ผลการจัดอันดับจังหวัด แห่งความสุขของประเทศ
ไทย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 77 จังหวัดทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 12,429 ตัวอย่างดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1—19
มีนาคม พ.ศ. 2556 โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกเขต/อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือนและประชาชนที่ตอบแบบ
สอบถามระดับครัวเรือน โดยมีความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7

เมื่อวิเคราะห์ “ความสุข” เป็นความรู้สึกที่มากกว่าความพึงพอใจของประชาชนภายในประเทศต่อดัชนีความสุข 17 ตัวชี้วัด เมื่อคะแนน เต็ม 10 คะแนน พบว่า แนวโน้มลดลงจาก 7.61 ในเดือนธันวาคมปี 2555 มาอยู่ที่ 6.58 ในผลวิจัยครั้งล่าสุด อย่างไรก็ตาม ดัชนีความสุขที่มีค่าสูง สุดหรือ 9.23 คะแนนยังคงอยู่ที่การได้เห็นความเป็นหนึ่งเดียวกันของคนในชาติแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ รองลง มาคือ บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวอยู่ที่ 7.28 ในขณะที่ หน้าที่การงาน การประกอบอาชีพที่ทำอยู่ปัจจุบันอยู่ที่ 7.20 สุขภาพกายอยู่ที่ 7.18 สุขภาพใจอยู่ที่ 7.14 วัฒนธรรมประเพณีในปัจจุบัน อยู่ที่ 7.07 บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชนอยู่ที่ 6.75 สาธารณูปโภคที่พักอาศัยอยู่ ที่ 6.56 การเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่ดีอยู่ที่ 6.51 ฐานะทางการงาน เรื่องค่าครองชีพของคนในครอบครัวอยู่ที่ 6.18 การศึกษาอยู่ที่ 6.11 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอยู่ที่ 6.08 ความเป็นธรรมในสังคมอยู่ที่ 5.39 สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น พื้นที่ป่า สัตว์ป่า และแหล่ง น้ำ อยู่ที่ 5.36

อย่างไรก็ตาม ดัชนีความสุขที่สอบตกเพราะต่ำกว่าเกณฑ์ครึ่งหนึ่ง ได้แก่ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ของรัฐบาลและการปกครองท้องถิ่นมี อยู่เพียง 4.08 คะแนน รวมถึง สถานการณ์การเมืองโดยภาพรวม อยู่ที่ 4.02 คะแนนและคุณภาพนักการเมืองและจริยธรรมทางการเมืองที่มีอยู่ เพียง 3.04 คะแนนเท่านั้น

ที่น่าสนใจคือ ผลการจัดอันดับค่าร้อยละของประชาชนที่อยู่อาศัยในแต่ละจังหวัด พบว่า จังหวัดที่ประชาชนอยู่แล้วมีความสุขมากที่สุดอันดับ หนึ่งได้แก่ แม่ฮ่องสอน ได้ร้อยละ 60.9 อันดับสองได้แก่ พังงา ได้ร้อยละ 60.7 อันดับสามได้แก่ ชัยภูมิ ได้ร้อยละ 60.0 อันดับสี่ได้แก่ ปราจีนบุรี ได้ร้อยละ 57.0 อันดับห้าได้แก่ อุทัยธานี ได้ร้อยละ 56.6 อันดับหกมีสองจังหวัดได้แก่ จันทบุรีและสุโขทัย ได้ร้อยละ 56.3 อันดับเจ็ดมีสองจังหวัด ได้แก่ พะเยาและแพร่ ได้ร้อยละ 55.6 อันดับแปดได้แก่ น่าน ได้ร้อยละ 54.8 อันดับเก้าได้แก่ หนองคาย ได้ร้อยละ 54.3 และอันดับสิบได้แก่ ลำปาง ได้ร้อยละ 53.9 (ดูรายละเอียดค่าความสุขมวลรวมของประชาชนในทุกจังหวัดได้ที่ตารางหมายเลข 3)

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชาชนอยู่ในจังหวัดแห่งความสุขของประเทศไทย 10 อันดับแรก ได้แก่ ปัจจัยด้านสิ่งแวด ล้อมทางธรรมชาติเป็นหลัก วิถีชีวิตชาวบ้าน เป็นเมืองที่สงบ เป็นสังคมขนาดเล็ก มีความสัมพันธ์ที่ดีของคนในครอบครัวและชุมชน ผู้คนมีความช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสูง คดีอาชญากรรมต่ำ มีความภูมิใจในประวัติศาสตร์ของคนท้องถิ่น มีความเป็นเมืองและลักษณะวัตถุนิยม ระดับน้อยถึงปานกลาง และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ คนในพื้นที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ เพื่อเสริมสร้างความเป็นหนึ่ง เดียวกันในหมู่ประชาชน

ที่น่าพิจารณาคือ จังหวัดที่อยู่ในอันดับสุดท้ายคืออันดับที่ 77 ของประเทศคือ กรุงเทพมหานคร ได้เพียงร้อยละ 20.8 อันดับที่ 76 ได้แก่ สมุทรปราการ ได้ร้อยละ 22.0 และอันดับที่ 75 ได้แก่ ภูเก็ต ได้ร้อยละ 24.2

นอกจากนี้ อันดับที่ 74 ได้แก่ ลพบุรี อันดับที่ 73 ได้แก่ นราธิวาส อันดับที่ 72 ได้แก่ นครศรีธรรมราช อันดับที่ 71 ได้แก่ สิงห์บุรี อันดับที่ 70 ได้แก่ ระยอง อันดับที่ 69 ได้แก่ ยะลา และอันดับที่ 68 ได้แก่ สงขลา

สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้จังหวัดเหล่านี้รั้งท้ายในเรื่องความสุขของคนในพื้นที่ได้แก่ ความเป็นเมืองและมีลักษณะวัตถุนิยมระดับมากถึงมาก ที่สุด มีคดีอาชญากรรมสูง ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและชุมชนอยู่ในขั้นวิกฤต มีปัญหายาเสพติด มีพฤติกรรมดื่มสุรามาก เป็นพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง รุนแรงแตกแยก มีอคติต่อกันสูง มีอารมณ์ร้อน หงุดหงิดง่าย ผู้คนไม่สามัคคี ไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่มีความโปร่งใสในการพัฒนาท้องถิ่นมากเพียงพอ ไม่ มีความวางใจของสาธารณชนต่อรัฐบาลและการเมืองท้องถิ่นที่มากเพียงพอเพราะประชาชนไม่สามารถแกะรอยการใช้จ่ายงบประมาณได้ มีปัญหามลพิษ สิ่งแวดล้อม เช่น โรงงานปล่อยมลพิษทางอากาศทางน้ำ สารพิษปนเปื้อน สุขภาพกายและสุขภาพใจของประชาชนอยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วง

ดร.นพดล กล่าวว่า สถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้กำลังมีความเสี่ยงสูงที่จะลดทอนความสุขของประชาชน แต่เพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่ ของประเทศสามารถอยู่เป็นสุขได้ทุกสถานการณ์จึงขอเสนอ “โรดแมปความสุขประเทศไทย” ดังนี้

ประการแรก ได้แก่ ช่วยกันกระตุ้นจิตสำนึก “กตัญญูรู้คุณแผ่นดิน” ให้เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางเพื่อรักษา “ค่านิยมร่วม” (Common Values) ในเอกลักษณ์แห่งความเป็นคนไทยหรือ DNA ของความเป็นคนไทยเพราะเป็นคุณค่าที่หล่อหลอมคนไทยมาหลายร้อยปีในการแสดงออกซึ่งความ จงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และประชาชนทุกคนที่มาอาศัยพักพิงในผืนแผ่นดินไทยต้องไม่ยอมให้ใครมาดัดแปลง DNA ของ ความเป็นคนไทยเพราะนี่เป็นหนทางหนึ่งในการรวมทุกคนในชาติเข้าด้วยกันบนผืนธงไตรรงค์ด้วยสันติวิธี

ประการที่สอง ได้แก่ ทำให้เกิดความวางใจของสาธารณชนต่อรัฐบาล (Trust in the Government) โดยรัฐบาลต้องเปิดเผยราย ละเอียดของงบประมาณบนเว็บไซต์ของรัฐบาลที่ทำให้สาธารณชนสามารถแกะรอยตรวจสอบได้ตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำของทุกเม็ดเงินที่ รัฐบาลใช้จ่ายไป

ประการที่สาม ได้แก่ หนุนเสริมความวางใจของสาธารณชนต่อเจ้าหน้าที่รัฐ (Trust in the Public Officials) โดยเปิดเผย รายละเอียดในใบเสร็จรับเงินค่าปรับ ค่าธรรมเนียมต่างๆ ว่านำเงินไปใช้จ่ายด้านใดบ้างเช่น ส่งให้รัฐบาลพัฒนาประเทศ ให้การปกครองส่วนท้องถิ่น พัฒนาชุมชน ให้ห้องสมุดประชาชน ให้หน่วยงานต้นสังกัดและที่เกี่ยวข้อง

ประการที่สี่ ได้แก่ กำหนดเป้าหมายของชาติและผลประโยชน์ร่วมกัน (Common Goals) เช่น ประเทศไทยจะเป็นผู้นำของชุมชน เศรษฐกิจอาเซียน ในการกำหนดนโยบายสาธารณะและทิศทางการพัฒนาระหว่างประเทศในภูมิภาคอาเซียนเพื่อประโยชน์ของทุกคนในชาติจึงจำเป็นที่ คนไทยส่วนใหญ่ต้องสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อทำงานร่วมกับชาวต่างชาติทั่วโลกที่มาประเทศไทยได้ดี และการที่ประเทศไทยจะกลายเป็นผู้นำด้าน การผลิตอาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น ข้าว และการส่งออกจะทำให้ชาวนาเกษตรกรทุกคนและผู้ประกอบการโรงงานด้านการเกษตรทำงาน หนักร่วมกันเพื่อเพิ่มคุณภาพและปริมาณ นอกจากนี้ การทำให้ประเทศไทยกลายเป็นผู้นำด้านการเงินและเทคโนโลยีจะทำให้กลุ่มคนทำงานประจำสำนัก งานมีพลังทำหน้าที่ของพวกเขาให้ดีที่สุดในอุตสาหกรรมและธุรกิจของพวกเขา เป็นต้น

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 48.4 เป็นชาย ร้อยละ 51.6 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 4.0 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 19.8 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี ร้อยละ 22.0 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และ ร้อยละ 32.4 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 71.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 25.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และ ร้อยละ 3.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 32.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 30.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 9.2 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 10.5 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ อายุ ร้อยละ 6.2 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ในขณะที่ร้อยละ 3.3 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ

ตารางที่ 1 แสดงแนวโน้มค่าคะแนนเฉลี่ยความสุขมวลรวมของคนไทยตั้งแต่ เดือนมกราคม 2553 จนถึงปัจจุบัน เมื่อคะแนนเต็ม 10
                      ม.ค.53   พ.ย.53    ธ.ค.53    ม.ค.54   ก.ค.54  ม.ค.55   มี.ค.55  ก.ย.55  ต.ค.55   พ.ย.55   ธ.ค.55   มี.ค.56
ความสุขมวลรวมของคนไทย    6.52     5.42      8.37      5.28     7.55    6.66     6.18    5.79    7.40     7.53     7.61     6.58

ตารางที่ 2 แสดงค่าเฉลี่ยของค่าดัชนีความสุขมวลรวมของประชาชนในด้านต่างๆ จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
ลำดับที่          ดัชนีความสุขคนไทย                               ค่าเฉลี่ยความสุข
1          ความเป็นหนึ่งเดียวกันของคนในชาติแสดงความจงรักภักดี            9.23
2          บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว                      7.28
3          หน้าที่การงาน การประกอบอาชีพ ที่ทำอยู่ในปัจจุบัน                7.20
4          สุขภาพกาย                                             7.18
5          สุขภาพใจ                                              7.14
6          วัฒนธรรมประเพณีไทยในปัจจุบัน                              7.07
7          บรรยากาศความสัมพันธ์ของคนในชุมชน                         6.75
8          สาธารณูปโภคที่พักอาศัย เช่น ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา โทรศัพท์        6.56
9          การเข้าถึงการบริการทางการแพทย์ที่ดีที่ท่านได้รับ                 6.51
10          เมื่อนึกถึงฐานะทางการเงิน เรื่องค่าครองชีพของคนในครอบครัว     6.18
11          การศึกษา                                             6.11
12          ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน                            6.08
13          ความเป็นธรรมในสังคม                                   5.39
14          สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เช่น พื้นที่ป่า สัตว์ป่า และแหล่งน้ำ เป็นต้น  5.36
15          ความโปร่งใสตรวจสอบได้ของรัฐบาลและการปกครองท้องถิ่น        4.08
16          สถานการณ์การเมืองโดยภาพรวม                            4.02
17          เมื่อนึกถึงคุณภาพนักการเมืองไทย จริยธรรมทางการเมือง          3.04
          ความสุขประเทศไทยโดยรวม                                 6.58

ตารางที่ 3 แสดงการจัดอันดับค่าร้อยละของประชาชนผู้อยู่อาศัยในแต่ละจังหวัดที่มีความสุขมากถึงมากที่สุด ใน 77 จังหวัดของประเทศ
   อันดับ     จังหวัด                %
    1     แม่ฮ่องสอน             60.9
    2     พังงา                 60.7
    3     ชัยภูมิ                  60
    4     ปราจีนบุรี               57
    5     อุทัยธานี               56.6
    6     จันทบุรี                56.3
    7     สุโขทัย                56.3
    8     พะเยา                55.6
    9     แพร่                  55.6
    10    น่าน                  54.8
    11    หนองคาย              54.3
    12    ลำปาง                53.9
    13    พิษณุโลก               53.4
    14    มหาสารคาม            53.1
    15    สระแก้ว               52.6
    16    เพชรบูรณ์              52.6
    17    ลำพูน                 52.2
    18    สุพรรณบุรี              51.4
    19    ชัยนาท                50.4
    20    อุตรดิตถ์               50.3
    21    ประจวบคีรีขันธ์           50
    22    เชียงราย              49.4
    23    ราชบุรี                49.4
    24    เลย                  48.7
    25    ระนอง                48.3
    26    ฉะเชิงเทรา            48.2
    27    สระบุรี                47.3
    28    ยโสธร                47.3
    29    ตราด                 47
    30    อำนาจเจริญ            46.7
    31    บุรีรัมย์                46.6
    32    สตูล                  46.3
    33    นครราชสีมา            46.2
    34    สุราษฎร์ธานี            46
    35    นครนายก              45.8
    36    กาฬสินธุ์               45.2
    37    กระบี่                 45.1
    38    เพชรบุรี               44.5
    39    อุดรธานี               44.4
    40    นครสวรรค์             44.2
    41    กำแพงเพชร            43.7
    42    ตาก                  43
    43    สกลนคร               41.9
    44    หนองบัวลำภู            41.4
    45    ชุมพร                 41.3
    46    มุกดาหาร              41.2
    47    ขอนแก่น               40.7
    48    ชลบุรี                 40
    49    ปัตตานี                38.5
    50    ร้อยเอ็ด               38.5
    51    เชียงใหม่              38.4
    52    นครพนม               37.9
    53    พัทลุง                 37.6
    54    พิจิตร                 37
    55    อุบลราชธานี            36.8
    56    กาญจนบุรี              36.6
    57    พระนครศรีอยุธยา        35.1
    58    นนทบุรี                34.7
    59    ศรีสะเกษ              34.4
    60    นครปฐม               34.3
    61    ตรัง                  34.3
    62    ปทุมธานี               34.2
    63    สุรินทร์                33.9
    64    สมุทรสงคราม           33.6
    65    บึงกาฬ                33.3
    66    สมุทรสาคร             32.9
    67    อ่างทอง               32.8
    68    สงขลา                32.8
    69    ยะลา                 32.7
    70    ระยอง                32.3
    71    สิงห์บุรี                32.1
    72    นครศรีธรรมราช         31.1
    73    นราธิวาส              26.8
    74    ลพบุรี                 26.4
    75    ภูเก็ต                 24.2
    76    สมุทรปราการ           22
    77    กรุงเทพมหานคร         20.8

ตารางที่ 4 แสดงผลวิจัยเชิงลึกระบุสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนในแต่ละจังหวัดมีความสุข ใน 10 จังหวัดแรก
ลำดับที่          จังหวัดที่ประชาชนอยู่แล้วเป็นสุขใน 10 อันดับแรก
1                              แม่ฮ่องสอน
2                              พังงา
3                              ชัยภูมิ
4                              ปราจีนบุรี
5                              พะเยา
5                              อุทัยธานี
7                              จันทบุรี
7                              สุโขทัย
9                              แพร่
10                              น่าน

ปัจจัยที่ทำให้ อยู่แล้วเป็นสุข

มีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติเป็นหลัก วิถีชีวิตชาวบ้านเป็นเมืองที่สงบ เป็นสังคมขนาดเล็ก มีความสัมพันธ์ที่ดีของคนในครอบครัว และชุมชน ผู้คนมีความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินสูง คดีอาชญากรรมต่ำ มีความภูมิใจในประวัติศาสตร์ของคนท้องถิ่น มี ความเป็นเมืองและลักษณะวัตถุนิยมระดับน้อยถึงปานกลาง และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ คนในพื้นที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหา กษัตริย์ เพื่อเสริมสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันในหมู่ประชาชน

ตารางที่ 5 แสดงผลวิจัยเชิงลึกระบุสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชาชนในแต่ละจังหวัดมีความสุข ใน 10 จังหวัดสุดท้าย
ลำดับที่          จังหวัดที่ประชาชนอยู่แล้วเป็นสุขใน 10 อันดับสุดท้าย
68                              สงขลา
69                              ยะลา
70                              ระยอง
71                              สิงห์บุรี
72                              นครศรีธรรมราช
73                              นราธิวาส
74                              ลพบุรี
75                              ภูเก็ต
76                              สมุทรปราการ
77                              กรุงเทพมหานคร

ปัจจัยที่ทำให้จังหวัดรั้งท้ายในเรื่องความสุขของคนในพื้นที่

มีความเป็นเมืองและมีลักษณะวัตถุนิยมระดับมากถึงมากที่สุด มีคดีอาชญากรรมสูง ความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและชุมชนอยู่ในขั้น วิกฤต มีปัญหายาเสพติด มีพฤติกรรมดื่มสุรามาก เป็นพื้นที่ที่มีความขัดแย้งรุนแรงแตกแยก มีอคติต่อกันสูง มีอารมณ์ร้อน หงุดหงิดง่าย ผู้คนไม่สามัคคี ไม่เป็นหนึ่งเดียวกันไม่มีความโปร่งใสในการพัฒนาท้องถิ่นมากเพียงพอ ไม่มีความวางใจของสาธารณชนต่อรัฐบาลและการเมืองท้องถิ่นที่มากเพียงพอ เพราะประชาชนไม่สามารถแกะรอยการใช้จ่ายงบประมาณได้ มีปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม เช่น โรงงานปล่อยมลพิษทางอากาศทางน้ำ สารพิษปนเปื้อน สุขภาพกายและสุขภาพใจของประชาชนอยู่ในเกณฑ์ที่น่าเป็นห่วง

--เอแบคโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ