ผู้หญิงที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 74.8 ระบุว่าช่วงอายุที่เหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์คือช่วงอายุระหว่าง 20 — 29 ปี ในขณะที่ร้อยละ23.5 ระบุช่วงอายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ที่น่าพิจารณาคือ ผู้หญิงเกินครึ่งหรือร้อยละ 55.1 ระบุช่วงอายุที่มากเกินไปสำหรับการตั้งครรภ์คือช่วงอายุระหว่าง 30 — 39 ปี และร้อยละ 38.0 ระบุช่วงอายุระหว่าง 40 — 49 ปี ในขณะที่ร้อยละ 5.1 ระบุช่วงอายุ 50 — 59 ปี
สำหรับเหตุผลที่ทำให้มีลูกตอนอายุมากนั้น พบว่ากลุ่มตัวอย่างเกือบหนึ่งในสามหรือร้อยละ 30.0 ระบุแต่งงานตอนอายุมาก รองๆ ลงมาคือ ร้อยละ 27.6 ระบุความพร้อมทางฐานะการเงิน ร้อยละ 22.8 ระบุความมั่นคงในชีวิตคู่ นอกจากนี้ยังมีเหตุผลอื่นๆ อีก ได้แก่ ตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ อยากได้ลูกเป็นโซ่ทองคล้องใจ และความมั่นใจในเทคโนโลยีทางการแพทย์ ตามลำดับ
ส่วนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับทารกหากตั้งครรภ์ตอนอายุ 30 ปีขึ้นไป ห้าอันดับแรกได้แก่ อันดับหนึ่งร้อยละ 53.8 ระบุมีพัฒนาการเรียนรู้ช้า อันดับสอง ร้อยละ 38.3 ระบุเด็กเป็นดาวน์ซินโดรม อันดับสาม ร้อยละ 38.0 ระบุอวัยวะในร่างกายไม่ครบสมบูรณ์ อันดับสี่ ร้อยละ 32.7 ระบุเด็กเป็นออทิสติก และอันดับที่ 5 ร้อยละ 26.2 ระบุครรภ์เป็นพิษ ตามลำดับ
นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 56.7 ระบุว่าเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันมีผลต่อการตัดสินใจตั้งครรภ์มีผลต่อการตัดสินมากถึงค่อนข้างมาก ร้อยละ 34.7 ระบุปานกลาง มีเพียงแค่ร้อยละ 5.7 ระบุมีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อย
ที่น่าสนใจคือกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 56.8 ระบุว่ายังลังเลไม่แน่ใจและต้องปรึกษาคนในครอบครัวก่อนว่าจะทำแท้งหรือไม่หากแพทย์วินิจฉัยว่ามีความเสี่ยงต่อชีวิต ในขณะที่ร้อยละ 27.0 จะตัดสินใจทำแท้ง ทั้งนี้มีเพียงร้อยละ 16.2 ที่ตัดสินใจไม่ทำแท้งและพร้อมยอมรับความเสี่ยง
ผช.ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า จะเห็นได้ว่าผู้หญิงที่ถูกศึกษามีเพียงส่วนน้อยที่คำนึงถึงศีลธรรม-จริยธรรมที่เข้มแข็ง โดยจากการสัมภาษณ์เจาะลึกพบว่าพวกเธอคิดถึงเรื่อง “ชีวิตมนุษย์” ในครรภ์และ “ความเป็นลูก” ที่มาจากตัวของพวกเธอเป็นหลัก พวกเธอเห็นตรงกันว่า ถ้าตัดสินใจทำแท้งก็คือทำลายชีวิตของลูก ชีวิตของมนุษย์และจะเป็นบาปติดตัวไปตลอด อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ยังคงลังเล ไม่แน่ใจว่าจะทำแท้งหรือไม่ขึ้นอยู่กับการชี้แนะชี้นำของคนใกล้ชิดรอบข้าง แต่การที่ผลสำรวจพบว่าคนที่ตัดสินใจทำแท้งทันทีมีอยู่เกินกว่า 1 ใน 4 ของผู้หญิงที่ถูกศึกษาทั้งหมดนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องถกเถียงในสังคมด้านศาสนาและวิทยาศาสตร์กันต่อไป
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง เมื่อจำแนกออกเป็นช่วงอายุ พบว่า ร้อยละ 24.3 มีช่วงอายุระหว่าง 20-24 ปี (Gen-M) รองลงมาร้อยละ 45.5 มีช่วงอายุระหว่าง 25-33 ปี (Gen-Y) ร้อยละ 14.9 มีช่วงอายุระหว่าง 34-39 ปี (Gen-X) และร้อยละ 15.3 มีช่วงอายุระหว่าง 40-60 ปี (Gen-B) สถานภาพในปัจจุบัน ร้อยละ 57.1 ระบุโสด (ไม่เคยแต่งงาน) ร้อยละ 37.5 ระบุ อยู่ด้วยกัน/สมรส และร้อยละ 5.4 ระบุหม้าย/หย่าร้าง/แยกกันอยู่ เมื่อถามถึงการมีบุตร ตัวอย่างร้อยละ 67.3 ระบุ ยังไม่มีบุตร และร้อยละ 32.7 ระบุมีบุตร การศึกษาที่สำเร็จมาชั้นสูงสุด พบว่า ร้อยละ 40.9 ระบุต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 54.3 ระบุปริญญาตรี หรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.8 ระบุสูงกว่าปริญญาตรี
รายได้เฉลี่ยส่วนตัวต่อเดือนร้อยละ 55.4 ระบุไม่เกิน 15,000 บาท ร้อยละ 19.2 ระบุ 15,001- 20,000 บาทร้อยละ 6.5 ระบุ 20,001 - 25,000 บาท ร้อยละ 5.2 ระบุ 25,001 - 30,000 บาท ร้อยละ 13.7 ระบุมากกว่า 30,000 บาทขึ้นไป
ลำดับที่ ช่วงอายุที่คิดว่าเหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์ ร้อยละ 1 ไม่เกิน 20 ปี 1.4 2 20-29 ปี 74.8 3 30-39 ปี 23.5 4 40 ปีขึ้นไป 0.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุช่วงอายุที่คิดว่ามากเกินไปสำหรับการตั้งครรภ์ ลำดับที่ ช่วงอายุที่คิดว่ามากเกินไปสำหรับการตั้งครรภ์ ร้อยละ 1 25-29 ปี 1.3 2 30-39 ปี 55.1 3 40-49 ปี 38.0 4 50-59 ปี 5.1 5 60 ปีขึ้นไป 0.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงอันดับเหตุผลที่ทำให้มีลูกตอนอายุมาก (ค่าร้อยละที่ได้จากการถ่วงน้ำหนักแล้ว) ลำดับที่ เหตุผลที่ทำให้มีลูกตอนอายุมาก ร้อยละที่ถ่วงน้ำหนักแล้ว 1 แต่งงานตอนอายุมาก 30.0 2 ความพร้อมทางฐานะการเงิน 27.6 3 ความมั่นคงในชีวิตคู่ 22.8 4 ตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ 7.5 5 สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ 6.8 6 อยากได้ลูกเป็นโซ่ทองคล้องใจ 3.1 7 ความมั่นใจในเทคโนโลยีทางการแพทย์ 2.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับทารกหากตั้งครรภ์ตอนอายุ 30 ปีขึ้นไป
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับทารกหากตั้งครรภ์ตอนอายุ 30 ปีขึ้นไป ร้อยละ 1 มีพัฒนาการเรียนรู้ช้า 53.8 2 เด็กเป็นดาวน์ซินโดรม 38.3 3 อวัยวะในร่างกายไม่ครบสมบูรณ์ 38.0 4 เด็กเป็นออทิสติก 32.7 5 ครรภ์เป็นพิษ 26.2 6 เด็กเกิดมาแคระแกร็น 19.6 7 ไม่มีความเสี่ยงต่อเด็กในครรภ์ 16.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันกับการตัดสินใจตั้งครรภ์ ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันกับการตัดสินใจตั้งครรภ์ ร้อยละ 1 มีผลน้อย 1.9 2 ค่อนข้างน้อย 6.6 3 ปานกลาง 34.8 4 ค่อนข้างมาก 45.2 5 มีผลต่อการตัดสินมาก 11.5 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ในปัจจุบันกับการตัดสินใจตั้งครรภ์ ลำดับที่ ความคิดเห็นกรณีความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ในปัจจุบันกับการตัดสินใจตั้งครรภ์ ร้อยละ 1 มีผลน้อย 1.4 2 ค่อนข้างน้อย 4.3 3 ปานกลาง 34.7 4 ค่อนข้างมาก 41.5 5 มีผลต่อการตัดสินมาก 18.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการทำแท้งหากแพทย์วินิจฉัยว่ามีความเสี่ยงต่อชีวิต ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการทำแท้งหากแพทย์วินิจฉัยว่ามีความเสี่ยงต่อชีวิต ร้อยละ 1 ไม่ยอมทำแท้ง/พร้อมยอมรับความเสี่ยง 16.2 2 ยอมทำแท้ง 27.0 3 ยังคงลังเลไม่แน่ใจต้องปรึกษาคนในครอบครัวก่อน 56.8 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--