เอแบคโพลล์: เปรียบเทียบแนวโน้มทัศนคติอันตรายในหมู่ประชาชนว่าด้วยการยอมรับรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น ถ้าตนเองได้ผลประโยชน์ด้วย

ข่าวผลสำรวจ Wednesday April 3, 2013 09:44 —เอแบคโพลล์

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง เปรียบเทียบแนวโน้ม
ทัศนคติอันตรายในหมู่ประชาชนว่าด้วย การยอมรับรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น ถ้าตนเองได้ผลประโยชน์ด้วย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในพื้นที่ 17 จังหวัด
ของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สมุทรปราการ เชียงใหม่ พะเยา นครสวรรค์ ลพบุรี ชลบุรี เพชรบูรณ์ สุพรรณบุรี ขอนแก่น สุรินทร์
สกลนคร อุดรธานี นครราชสีมา นครศรีธรรมราช และสงขลา จำนวนทั้งสิ้น 4,542 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 มีนาคม — 1
เมษายน 2556 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่
ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน โดยมีช่วงความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า

แนวโน้มทัศนคติอันตรายในหมู่ประชาชนว่าด้วยการยอมรับรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นแต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์มีแนวโน้มลดลงเล็กน้อยแต่ยัง อยู่ในขั้นวิกฤต คือ ลดลงจากร้อยละ 69.8 ในเดือนกุมภาพันธ์ มาอยู่ที่ร้อยละ 65.5 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่าประชาชน ส่วนใหญ่หรือเกินกว่าร้อยละ 60 ยังคงยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นแต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วยตลอดการสำรวจตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 จนถึงปัจจุบัน

เมื่อจำแนกออกตามเพศ พบว่า ทั้งผู้ชายและผู้หญิงส่วนใหญ่หรือเกินกว่าร้อยละ 60 เช่นกันคือร้อยละ 64.4 ในกลุ่มผู้หญิงและร้อยละ 66.9 ในกลุ่มผู้ชายที่ยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นแต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย

เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า กลุ่มอายุต่ำกว่า 20 ปีมีสัดส่วนน้อยที่สุดที่จะยอมรับรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นแต่ขอให้ ตนเองได้ประโยชน์ด้วย แต่ก็ยังมีสัดส่วนที่สูงเกินครึ่งคือร้อยละ 56.1 ในขณะที่ กลุ่มคนอายุระหว่าง 20 — 29 ปี ร้อยละ 62.3 กลุ่มคนอายุ ระหว่าง 30 — 39 ปีร้อยละ 67.9 กลุ่มคนอายุระหว่าง 40 — 49 ปีร้อยละ 66.9 และกลุ่มคนอายุ 50 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.5 ยอมรับ ได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย

ที่น่าพิจารณาคือ ยิ่งกลุ่มคนที่มีการศึกษาสูงขึ้นยิ่งมีแนวโน้มของคนที่ยอมรับรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นลดน้อยลง แต่ก็ยังเป็นจำนวนส่วนใหญ่ของ ทุกกลุ่มคือ กลุ่มคนที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.3 กลุ่มคนที่มีการศึกษาปริญญาตรีส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.3 และกลุ่มคนที่มีการ ศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.6 ต่างก็ยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย

ที่น่าเป็นห่วงคือ กลุ่มข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐส่วนใหญ่หรือร้อยละ 58.0 กลุ่มพนักงานเอกชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.3 กลุ่มพ่อค้านัก ธุรกิจส่วนตัวส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.3 กลุ่มนักศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.8 กลุ่มรับจ้างใช้แรงงาน เกษตรกรส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.2 และกลุ่ม แม่บ้าน เกษียณอายุส่วนใหญ่หรือร้อยละ 69.2 ต่างยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นแต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย

ดร.นพดล กล่าวว่า จากการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เจาะลึกพบว่า กลุ่มคนที่ยอมรับรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นส่วนใหญ่ต่างระบุในทิศ ทางเดียวกันว่า คนที่ต่อต้านทุจริตคอรัปชั่นไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างปลอดภัย กลับถูกข่มขู่คุกคามทำร้ายถึงชีวิต ถูกรังแกกลั่นแกล้งสารพัด ไม่มีใครหรือ หน่วยงานใดเข้ามาช่วยเหลืออย่างจริงจังต่อเนื่อง คนดีกลับไม่มีที่ยืนจนต้องทำตัวเป็นน้ำปล่อยให้ไหลตามกันไปเพื่อความอยู่รอด และเมื่อถามถึงการรับ รู้เรื่องการรณรงค์ต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นกลับพบว่าไม่มีประโยชน์มากนัก

มีแต่การสร้างภาพให้จบๆ กันไป ยิ่งไปกว่านั้น การจัดอีเว้นท์ต่อต้านการทุจริตก็มีผลประโยชน์เชิงธุรกิจ บางคนที่ออกมารณรงค์ต่อต้าน การทุจริตก็มีปัญหาแตกแยกในครอบครัว ความไม่ซื่อสัตย์กันในครอบครัวแต่ออกมารณรงค์ให้คนอื่นซื่อสัตย์สุจริต โดยสรุปของผลวิจัยเชิงคุณภาพคือ ส่วน ใหญ่รู้สึกหดหู่ อยากเห็นอัศวินขี่ม้าขาว อยากเห็น “คนดีและเก่ง” มาปกครองบ้านเมืองแต่ยังหาไม่เจอตัวจริงเลยในสังคมไทย ทุกองค์กรแม้แต่ในกลุ่ม ที่น่าจะเป็นคนดีน่าเลื่อมใสศรัทธาแต่ก็มีปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ยักยอก ฉ้อโกง เงินบริจาคของประชาชนไปให้กับตนเองและพวกพ้องคนใกล้ชิด

ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่า เมื่อถามถึงหน่วยงาน ป.ป.ช. และ ป.ป.ท. พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มองว่าเป็นหน่วยงานสำคัญและจำ เป็นมากแต่ต้องการให้เร่งดำเนินการให้เป็นตัวอย่างที่ดีและทำให้ขบวนการทุจริตคอรัปชั่นหมดไปจากสังคมไทยให้ได้ด้วยบทลงโทษที่รุนแรงสูงสุด แต่ที่ น่าเป็นห่วงคือ ป.ป.ท. เพราะครั้งหนึ่งเคยเป็นหน่วยงานที่สร้างความหวังในหมู่ประชาชนเรื่องการเปิดโปงขบวนการทุจริตงบภัยพิบัติแต่คนเปิดโปงก็ ถูกโยกย้ายพ้นอำนาจโดยตรงในการตรวจสอบหลังจากนั้นบทบาทของ ป.ป.ท.ก็ไม่อยู่ในการรับรู้ของประชาชนมากพอที่จะสร้างความวางใจและพลังต่อ ต้านของสาธารณชนต่อรัฐบาลทุจริตคอรัปชั่นได้ ดังนั้นทางออกที่น่าพิจารณาคือ

ประการแรก ต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นต้องเริ่มจากความซื่อสัตย์ของคนในครอบครัว พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างที่ดีซื่อสัตย์ต่อกัน และกันให้ลูกได้เห็น

ประการที่สอง คุ้มครองพยานและกลุ่มประชาชนที่ลุกขึ้นมาต่อต้านขบวนการทุจริตคอรัปชั่นอย่างจริงจังต่อเนื่อง โดยติดตาม ดูแลความปลอดภัยของกลุ่มประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐที่ออกมาแสดงตนต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นมิให้พวกเขาถูกรังแกจากกลุ่มผู้มีอิทธิพลของนักการ เมือง นายทุนและกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ

ประการที่สาม รวมตัวกันเรียกร้องให้รัฐบาลทุกรัฐบาลเปิดเผยการใช้จ่ายงบประมาณบนเว็บไซต์ของทำเนียบรัฐบาลและสื่อ มวลชนให้เห็นการกระจายของทุกเม็ดเงินในลักษณะให้สาธารณชนช่วยกันตรวจสอบแกะรอยเส้นทางการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลได้

ประการที่สี่ เสนอให้เพิ่มโทษรุนแรงสูงสุดต่อกลุ่มบุคคลสำคัญที่ทุจริตคอรัปชั่น และควรเร่งรัดไม่ปล่อยให้คดีหมดอายุความ ไม่ปล่อยให้ขบวนการทุจริตคอรัปชั่นลอยนวลอยู่อย่างสง่างามในสังคมไทย

ประการที่ห้า จัดตั้งกองทุนสร้างเสริมความซื่อสัตย์และกตัญญูรู้คุณแผ่นดินสนับสนุนกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ตั้งแต่ครอบครัว ชุมชนและประเทศในการสนับสนุนเตรียมประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศให้มีคุณภาพทั้ง “ดีและเก่ง” ขึ้นมามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศทั้ง ปัจจุบันและอนาคตอย่างจริงจังต่อเนื่อง

จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 43.9 เป็นชาย ร้อยละ 56.1 เป็นหญิง ตัวอย่าง ร้อย ละ 11.1 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 17.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 22.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 21.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อยละ 27.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 87.0 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 11.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ตรี ร้อยละ 1.5 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 40.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 22.4 ระบุอาชีพค้าขาย/ ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 7.5 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 5.1 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 10.9 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อย ละ 8.5 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 4.9 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ

ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อการยอมรับได้ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย

เปรียบเทียบจากการสำรวจในช่วงเดือนมกราคม 2554— กุมภาพันธ์ 2556

ลำดับที่          ทัศนคติ                                        ม.ค.54   พ.ย.54    ม.ค.55   มิ.ย.55   ส.ค.55    ก.พ.56   มี.ค.56

ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ

1          ยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย  64.0    64.6       64.7    63.4      65.8     69.8     65.5
2          ไม่ยอมรับ                                            36.0    35.4       35.3    36.6      34.2     30.2     34.5
          รวมทั้งสิ้น                                            100.0   100.0      100.0   100.0     100.0    100.0    100.0

ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยอมรับได้ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย จำแนกตามเพศ
ลำดับที่          ทัศนคติ                                                  เพศชาย        เพศหญิง
1          ยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย           66.9          64.4
2          ไม่ยอมรับ                                                     33.1          35.6
          รวมทั้งสิ้น                                                     100.0         100.0

ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยอมรับได้ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย จำแนกตามช่วงอายุ
ลำดับที่          ทัศนคติ                                         ต่ำกว่า 20 ปี   20-29 ปี   30-39 ปี  40-49 ปี   50 ปีขึ้นไป
1          ยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย    56.1        62.3      67.9     66.9      67.5
2          ไม่ยอมรับ                                              43.9        37.7      32.1     33.1      32.5
          รวมทั้งสิ้น                                              100.0       100.0     100.0    100.0     100.0

ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยอมรับได้ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย จำแนกตามระดับการ
ศึกษาสูงสุดที่สำเร็จมา
ลำดับที่          ทัศนคติ                                          ต่ำกว่า ป.ตรี       ป.ตรี      สูงกว่า ป.ตรี
1          ยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย     66.3          61.3          57.6
2          ไม่ยอมรับ                                               33.7          38.7          42.4
          รวมทั้งสิ้น                                               100.0         100.0         100.0

ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยอมรับได้ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย จำแนกตามอาชีพ
ลำดับที่          ทัศนคติ                                         ข้าราชการ   พนักงาน    พ่อค้า/     นักศึกษา   รับจ้าง      แม่บ้าน
                                                            เจ้าหน้าที่รัฐ   เอกชน   ธุรกิจส่วนตัว           เกษตรกร    เกษียณอายุ
1          ยอมรับได้ ถ้ารัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่ขอให้ตนเองได้ประโยชน์ด้วย   58.0      65.3      65.3      58.8     67.2       69.2
2          ไม่ยอมรับ                                             42.0      34.7      34.7      41.2     32.8       30.8
          รวมทั้งสิ้น                                             100.0     100.0     100.0     100.0    100.0      100.0

--เอแบคโพลล์--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ