ประชาชนที่ถูกศึกษาร้อยละ 41.7 เห็นด้วยว่ารัฐบาลบริหารงานยากลำบากภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ในขณะที่ร้อยละ 30.7 ระบุไม่เห็นด้วยว่ารัฐบาลทำงานลำบาก และร้อยละ 27.6 ระบุไม่แน่ใจ
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสอบถามประชาชนที่ถูกศึกษาถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน พบว่า กลุ่มประชาชนที่ถูกศึกษาเกือบครึ่งหรือร้อยละ 44.5 เห็นด้วยว่าเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมหากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจะถูกแก้ไข ในขณะที่ร้อยละ 29.8 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 25.7 ระบุไม่แน่ใจ
น.ส.ปุณฑรีย์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่า กลุ่มประชาชนที่เห็นด้วยต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเวลานี้ยังมีไม่ถึงครึ่ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ฝ่ายการเมืองต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง และที่น่าเป็นห่วงคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.3 มีความกังวลว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อาจทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงตามมา เพราะกังวลว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นจะทำเพื่อประโยชน์ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติโดยส่วนรวม ยิ่งไปกว่านั้นกลุ่มประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.1 ยังเห็นด้วยอีกว่าควรยกเลิก ส.ว. สรรหา โดยที่ ส.ว. ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนเท่านั้นถึงจะเป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง
นอกจากนี้เมื่อสอบถามถึงเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน พบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 62.3 เห็นด้วยว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนดีอยู่แล้ว
ประเด็นที่น่าสนใจคือประชาชนที่ถูกศึกษาเกือบครึ่งหรือร้อยละ 47.4 ยังระบุเพิ่มเติมอีกว่าหากแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้สำเร็จนักการเมืองที่สนับสนุนให้แก้ไขจะกลายเป็นบุคคลที่จะได้ประโยชน์มากกว่าประเทศชาติโดยส่วนรวม
ผช.ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญควรเป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติส่วนรวม ไม่ใช่เพื่อเอื้อประโยชน์ของนักการเมืองหรือกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่ง นอกจากนี้ก็ควรรักษาสิ่งที่ประชาชนพึงพอใจอยู่แล้วให้ดีและทำให้ดีขึ้น อาทิ การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน ตามที่ผลสำรวจได้นำเสนอ นอกจากนี้ที่น่าเป็นห่วงคือคนไทยส่วนใหญ่กำลังตัดสินใจประเด็นสำคัญทางการเมืองในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ควรแก้ไขหรือไม่ควรแก้ไข ทั้งๆ ที่ส่วนใหญ่ไม่ได้ศึกษาและไม่เข้าใจรายละเอียดของรัฐธรรมนูญปัจจุบันที่ค้นพบจากการศึกษาก่อนหน้านี้ และไม่ได้ติดตามการถ่ายทอดสดการประชุมร่วมรัฐสภาจึงอาจจะทำให้ตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มการเมืองฝ่ายต่างๆ ที่อาจแสวงหาผลประโยชน์จากความไม่รู้และการไม่เข้าใจรัฐธรรมนูญของประชาชนได้
ดังนั้น เพื่อให้นโยบายสาธารณะและรัฐธรรมนูญไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลและผลประโยชน์ของคนเฉพาะกลุ่ม ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ทั้งประเทศต้องมีส่วนร่วมในการออกเสียงพิจารณาประเด็นสำคัญต่างๆ ในรัฐธรรมนูญและสื่อมวลชนน่าจะนำสาระสำคัญในรัฐธรรมนูญมาชี้นำสาธารณชนให้เห็นประโยชน์ที่ใกล้ตัว อีกทั้งเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่สามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในเรื่องต่างๆ ได้ตรงตามความเป็นจริง ผช.ผอ.เอแบคโพลล์กล่าว
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.7 เป็นชาย ร้อยละ 50.3 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 3.7 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 19.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 20.2 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 20.7 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อยละ 35.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 58.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ในขณะที่ ร้อยละ 41.3 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 32.9 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 27.1 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 10.6 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 8.0 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.3 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 9.8 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 3.3 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วย 41.7 2 ไม่แน่ใจ 27.6 3 ไม่เห็นด้วย 30.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็น ต่อช่วงเวลาว่าเหมาะสมที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันควรมีการแก้ไข ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วย 44.5 2 ไม่แน่ใจ 25.7 3 ไม่เห็นด้วย 29.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความกังวลต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อาจทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงตามมา ลำดับที่ ความกังวล ค่าร้อยละ 1 กังวล 67.3 2 ไม่แน่ใจ 15.6 3 ไม่กังวล 17.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็น ต่อการ ยกเลิก ส.ว. สรรหา โดย ส.ว. ต้องมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนเท่านั้น ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วย 70.1 2 ไม่แน่ใจ 14.5 3 ไม่เห็นด้วย 15.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน คุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนดีอยู่แล้ว ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วย 62.3 2 ไม่แน่ใจ 16.6 3 ไม่เห็นด้วย 21.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลกลุ่มใดจะได้เป็นประโยชน์หากแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้สำเร็จ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ประเทศชาติและประชาชนได้ประโยชน์ 26.3 2 นักการเมืองที่สนับสนุนให้แก้ไขจะได้ประโยชน์มากกว่า 47.4 3 พอๆ กัน 26.3 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--