ประเด็นสำคัญพบว่า มีตัวอย่างไม่ถึงครึ่งที่ได้รับชม/รับฟังการถ่ายทอดสดการประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในช่วงวันที่ 1-3 เมษายน ที่ผ่านมา โดยกลุ่มที่เรียกได้ว่าเป็นคอการเมืองตัวจริง มีการติดตามการประชุมอย่างต่อเนื่อง/ค่อนข้างต่อเนื่อง มีอยู่เพียงร้อยละ 6.9 รับชม/รับฟังบ้างเป็นบางช่วง มีอยู่ร้อยละ 25.8 และรับชม/รับฟังผ่านๆ นิดหน่อย มีอยู่ร้อยละ 8.0 ขณะที่ร้อยละ 59.3 ไม่ได้รับชม/รับฟังเลย โดยให้เหตุผลที่สำคัญ คือ ไม่มีเวลา/ต้องทำงาน เบื่อการเมือง และอภิปรายในเรื่องที่ไม่สนใจ/ไม่ให้ความสำคัญ
เมื่อสอบถามเฉพาะตัวอย่างที่รับชม/รับฟัง ถึงความชัดเจนในการให้เหตุผลประกอบการอภิปรายของฝ่ายต่างๆ โดยเริ่มจากฝ่ายรัฐบาล พบว่าร้อยละ 36.1 ระบุเหตุผลชัดเจน รองลงมาร้อยละ 29.6 ระบุพอใช้ ร้อยละ 23.3 ระบุยังไม่ชัดเจน และร้อยละ 11.0 ไม่แน่ใจ ในขณะที่ฝ่ายค้าน พบว่าร้อยละ 42.6 ระบุเหตุผลชัดเจน รองลงมาร้อยละ 29.5 ระบุพอใช้ ร้อยละ 19.2 ระบุยังไม่ชัดเจน และร้อยละ 8.7 ไม่แน่ใจ ส่วน ส.ว. พบว่าร้อยละ 24.3 ระบุเหตุผลชัดเจน รองลงมาร้อยละ 48.6 ระบุพอใช้ ร้อยละ 16.1 ระบุยังไม่ชัดเจน และร้อยละ 11.0 ไม่แน่ใจ
ที่น่าพิจารณาคือ ตัวอย่างผู้ที่รับชม/รับฟังครึ่งหนึ่ง หรือร้อยละ 50.9 เห็นว่าการประชุมร่วมรัฐสภาครั้งนี้เป็นการโต้เถียงกันมากกว่าการอภิปรายในเนื้อหาที่เป็นสาระ รองลงมาร้อยละ 41.2 ยังเห็นว่าเนื้อหาสาระกับการโต้เถียงมีพอๆ กัน โดยมีเพียงร้อยละ 7.9 ที่เห็นว่าเป็นการอภิปรายในเนื้อหาที่เป็นสาระมากกว่า อย่างไรก็ดี ตัวอย่างที่ได้รับชม/รับฟังการถ่ายทอดสดการประชุมร่วมรัฐสภาในครั้งนี้ ร้อยละ 46.4 ระบุว่าได้ประโยชน์มาก ถึง มากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 37.8 ระบุปานกลาง และร้อยละ 15.8 ระบุได้ประโยชน์น้อย ถึง น้อยที่สุด
ผช.ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวต่อว่า จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มที่ถูกศึกษา พบข้อมูลที่สอดคล้องกับผลข้างต้นว่า การประชุมสภาฯ ของไทย มักปรากฏให้เห็นการโต้เถียง ตอบโต้กันไปมา รวมถึงการใช้ถ้อยคำเสียดสี ซึ่งมีมานานและแรงขึ้นตามลำดับจากความขัดแย้งทางการเมือง มีผลก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย ความเครียด และความไม่สนใจการเมืองของประชาชน และนำไปสู่การขาดการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชนได้ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศ อาจกล่าวได้ว่า ประชาชนอยากเห็นการพูดคุยกันด้วยเหตุด้วยผลมากกว่า แต่จากผลสำรวจข้างต้นก็ชี้ให้เห็นแล้วว่า ฝ่ายต่างๆ ทั้งรัฐบาล ฝ่ายค้าน ตลอดจน ส.ว. ไม่สามารถให้เหตุผลประกอบการอภิปรายได้ดีพอ และยังเป็นการโต้เถียงกันเป็นส่วนใหญ่ จึงขอวอนไปยังท่านที่เป็นตัวแทนของประชาชนทั้งหลาย ให้เน้นอภิปรายในเนื้อหาสาระมากขึ้น และลดการตอบโต้กัน เพื่อยกระดับสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่สภาฯ ไทย
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าร้อยละ 54.5 เป็นเพศหญิง ร้อยละ 45.5 เป็นเพศชาย ตัวอย่างร้อยละ 2.9 อายุไม่เกิน 20 ปี ร้อยละ 16.4 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 19.0 อายุระหว่าง 30-39 ปีและร้อยละ 25.5 อายุระหว่าง 40-49 ปี ตัวอย่างร้อยละ 36.2 อายุระหว่าง 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 65.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 34.9 สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 30.7 อาชีพเกษตรกรและรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป ร้อยละ 25.6 ค้าขาย อาชีพอิสระ ร้อยละ 13.9 พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 11.4 ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.9 นักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 6.3 แม่บ้าน เกษียณอายุ และ 3.2 ว่างงาน ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ การรับชม/รับฟังการถ่ายทอดสดการประชุมร่วมรัฐสภา ค่าร้อยละ 1 รับชม/รับฟังอย่างต่อเนื่อง/ค่อนข้างต่อเนื่อง 6.9 2 รับชม/รับฟังบ้างเป็นบางช่วง 25.8 3 รับชม/รับฟังผ่านๆ นิดหน่อย 8.0 4 ไม่ได้รับชม/รับฟังเลย เหตุผล คือ ไม่มีเวลา/ต้องทำงาน เบื่อการเมือง- และอภิปรายในเรื่องที่ไม่สนใจ/ไม่ให้ความสำคัญ 59.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความชัดเจนในการให้เหตุผลประกอบการอภิปรายของฝ่ายต่างๆ (เฉพาะตัวอย่างที่รับชม/รับฟัง) ลำดับที่ ความชัดเจนในการให้เหตุผล ฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน ส.ว. 1 เหตุผลชัดเจน 36.1 42.6 24.3 2 พอใช้ 29.6 29.5 48.6 3 ยังไม่ชัดเจน 23.3 19.2 16.1 4 ไม่แน่ใจ 11.0 8.7 11.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการประชุมร่วมรัฐสภาครั้งนี้ เป็นการอภิปรายในเนื้อหาที่เป็นสาระ หรือเป็นการโต้เถียงกัน มากกว่า (เฉพาะตัวอย่างที่รับชม/รับฟัง) ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 อภิปรายในเนื้อหาที่เป็นสาระมากกว่า 7.9 2 โต้เถียงกันมากกว่า 50.9 3 พอๆ กัน 41.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุได้ประโยชน์จากการรับชม/รับฟังการถ่ายทอดสดการประชุมร่วมรัฐสภา (เฉพาะตัวอย่างที่รับชม/รับฟัง) ลำดับที่ ประโยชน์จากการรับชม/รับฟัง ค่าร้อยละ 1 ได้รับประโยชน์มาก ถึง มากที่สุด 46.4 2 ปานกลาง 37.8 3 น้อย ถึง ไม่ได้รับประโยชน์เลย 15.8 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--