ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.4 ไม่รู้ว่าวันผู้สูงอายุตรงกับวันที่เท่าไหร่ มีเพียงร้อยละ 18.6 เท่านั้นที่รู้ว่าวันผู้สูงอายุตรงกับวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี อย่างไรก็ตามเมื่อสอบถามถึงการปฏิบัติต่อผู้สูงอายุในครอบครัว พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.1 ระบุทานข้าวร่วมกัน ร้อยละ 60.7 พาไปวัดทำบุญ ร้อยละ 50.8 ชวนคุย เล่นทุกวัน ร้อยละ 45.1 พาไปพักผ่อนหย่อนใจ และร้อยละ 31.1 ไหว้ทุกครั้งก่อนออกจากบ้านหรือกลับเข้าบ้าน
สิ่งที่กลุ่มตัวอย่างอยากให้รัฐบาลช่วยดูแลและส่งเสริมผู้สูงอายุ พบว่า ตัวอย่างส่วนมากหรือ ร้อยละ 50.0 อยากให้รัฐบาลช่วยดูแล/ส่งเสริมเรื่องสุขภาพผู้สูงอายุ รองลงมาร้อยละ 44.6 เรื่องเงินผู้สูงอายุ ร้อยละ 22.5 ส่งเสริมด้านกำลังใจ/สุขภาพจิต และร้อยละ 12.7 รับเป็นภาระ เช่น บ้านพักคนชรา
นอกจากนี้ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 58.8 ไม่รู้ว่าวันครอบครัวตรงกับวันที่เท่าไหร่ ในขณะที่ร้อยละ 41.2 รู้ว่าวันครอบครัวตรงกับวันที่ 14 เมษายน ของทุกปี เมื่อถามถึงวิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว พบว่าตัวอย่างประมาณ 3 ใน 4 หรือร้อยละ 75.5 ระบุทำกิจกรรมร่วมกันในเวลาว่าง รองลงมาร้อยละ 53.0 ระบุถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกันอยู่เสมอ ร้อยละ 44.2 ระบุพบปะสังสรรค์กันในหมู่ญาติพี่น้อง ร้อยละ 43.2 ระบุร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ร้อยละ 33.3 ระบุแสดงความรักต่อกัน/โอบกอดกัน และ ร้อยละ 18.6 ระบุมอบของให้แก่กันในวันสำคัญ ตามลำดับ
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อสอบถามถึงพฤติกรรมของคู่สมรสที่ไม่สามารถยอมรับได้ จนนำมาสู่การแยกทางกัน พบว่าส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 59.3 ระบุการมีกิ๊ก/นอกใจ เป็นสาเหตุสำคัญที่สุด รองลงมาคือ ร้อยละ 47.7 ระบุไม่รับผิดชอบต่อครอบครัว ร้อยละ 40.1 ระบุทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 38.1 ระบุติดสุรา/เมาอาละวาด ร้อยละ 35.5 ติดการพนัน และร้อยละ 31.1 ติดยาเสพติด ตามลำดับ
นายสุริยัน ผช.ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า การกำหนดวันครอบครัว (14 เมษายน) ขึ้นก็เพื่อให้คนระลึกถึงสถาบันขั้นพื้นฐานที่เป็นสถาบันแรกในการบ่มเพาะขัดเกลาจิตใจคน ความรักความอบอุ่นในครอบครัวนำมาซึ่งสิ่งดีงาม และลดทอน/ป้องกันสิ่งไม่ดีไม่งามอันเป็นปัญหาสังคมได้ ส่วนวันผู้สูงอายุ (13 เมษายน) กำหนดขึ้นเพื่อเตือนใจให้บรรดาลูกหลานเอาใจใส่ไม่หลงลืมบุคคลสำคัญในครอบครัว โดยทั้งสองวันกำหนดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่คนในครอบครัวมักอยู่กันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตากัน และมีการรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือ ผู้สูงอายุ หรือพ่อแม่ปู่ย่าตายาย
แม้ผลสำรวจจะสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนไม่ค่อยรู้จักวันครอบครัว และวันผู้สูงอายุ แต่ก็ไม่ได้เป็นข้อบ่งชี้ว่าคนไทยไม่ได้ให้ความสำคัญกับครอบครัวและผู้สูงอายุแต่อย่างใด เพราะยังพบว่ามีการทำกิจกรรมครอบครัวและกิจกรรมกับผู้สูงอายุหลายอย่างที่น่าชื่นชม อย่างไรก็ตาม การกระตุ้นเตือนให้คนไม่เผลอหลงลืมก็ยังจำเป็นอยู่ จึงฝากไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาในด้านการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 47.1 เป็นชาย
ร้อยละ 52.9 เป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 7.8 อายุน้อยกว่า 20 ปี
ร้อยละ 15.5 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 14.7 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 17.8 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และร้อยละ 44.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 65.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ในขณะที่ ร้อยละ 28.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 5.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 32.0 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 29.7 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจ ส่วนตัว
ร้อยละ 10.6 ระบุเป็นพนักงานเอกชน
ร้อยละ 9.2 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.0 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 7.4 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 3.1 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ การรับรู้ ค่าร้อยละ 1 รู้ว่าวันผู้สูงอายุตรงกับวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี 18.6 2 ไม่รู้ 81.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การปฏิบัติต่อผู้สูงอายุในครอบครัว (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ การปฏิบัติต่อผู้สูงอายุในครอบครัว ค่าร้อยละ 1 ทานข้าวร่วมกัน 81.1 2 พาไปวัด ทำบุญ 60.7 3 ชวนคุย เล่นทุกวัน 50.8 4 พาไปพักผ่อนหย่อนใจ 45.1 5 ไหว้ทุกครั้งก่อนออกจากบ้านและกลับเข้าบ้าน 31.1 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ สวัสดิการผู้สูงอายุที่อยากให้รัฐส่งเสริมมากขึ้น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ สวัสดิการผู้สูงอายุที่อยากให้รัฐส่งเสริมมากขึ้น ค่าร้อยละ 1 ส่งเสริมสุขภาพ 50.0 2 เงินผู้สูงอายุ 44.6 3 ส่งเสริมกำลังใจ/สุขภาพจิต 22.5 4 รับเป็นภาระ เช่น บ้านพักคนชรา 12.7 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ต่อวันครอบครัว ลำดับที่ การรับรู้ ค่าร้อยละ 1 รู้ว่าวันครอบครัวตรงกับวันที่ 14 เมษายน ของทุกปี 41.2 2 ไม่รู้ 58.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ วิธีสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสมาชิกภายในครอบครัว ค่าร้อยละ 1 ทำกิจกรรมร่วมกันในเวลาว่าง 75.5 2 ถามไถ่สารทุกข์สุกดิบกันอยู่เสมอ 53.0 3 พบปะสังสรรค์กันในหมู่ญาติพี่น้อง 44.2 4 ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน 43.2 5 แสดงความรักต่อกัน/โอบกอดกัน 33.3 6 มอบของให้แก่กันในวันสำคัญ 18.6 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พฤติกรรมของคู่สมรสที่ไม่สามารถยอมรับได้ จนนำมาสู่การแยกทางกัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ พฤติกรรมของคู่สมรสที่ไม่สามารถยอมรับได้ ค่าร้อยละ 1 มีกิ๊ก/นอกใจ 59.3 2 ไม่รับผิดชอบต่อครอบครัว 47.7 3 ทำร้ายร่างกาย 40.1 4 ติดสุรา/เมาอาละวาด 38.1 5 ติดการพนัน 35.5 6 ติดยาเสพติด 31.1 7 หมดความรักต่อกัน 22.1 8 เที่ยวกลางคืน (ซื้อบริการทางเพศ) 21.5 9 หึงหวง/ไม่ไว้วางใจกัน 15.7 10 มีอาการผิดปกติทางเพศ 10.5 11 เจ้าอารมณ์/หงุดหงิด โมโหง่าย 9.6 12 ขี้งอน/ไม่มีเหตุผล 9.0 13 อื่นๆ อาทิ ติดเพื่อน/เที่ยวเตร่ ขี้บ่น/จู้จี้จุกจิก และติดบุหรี่ 13.1
--เอแบคโพลล์--