ประเด็นที่น่าสนใจคือกลุ่มตัวอย่างกว่าสามในสี่หรือร้อยละ 76.7 ไม่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะนำเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ในขณะที่ร้อยละ 23.3 มีความเชื่อมั่น นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.7 ยังระบุอีกว่าไม่เชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะนำเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทไปใช้อย่างโปร่งใส
อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างเกือบหนึ่งในสามหรือร้อยละ 30. 3 มีความคิดเห็นว่ารัฐบาลควรนำเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทมาใช้ในการพัฒนาด้านการศึกษามาเป็นอันดับแรก กระตุ้นเศรษฐกิจ ร้อยละ 21.9 มาเป็นอันดับสอง ด้านการเกษตร ร้อยละ 13.6 มาเป็นอันดับสาม และด้านอื่นๆ ได้แก่ การคมนาคม ร้อยละ 12.3 ด้านสุขภาพ ร้อยละ 7.5 ด้านอุตสาหกรรม ร้อยละ 3.8 ด้านการสื่อสาร ร้อยละ 3.5 และอื่นๆ อาทิ การจราจร สิ่งแวดล้อม พื้นที่สาธารณะ ร้อยละ 7.1 ตามลำดับ
สิ่งที่น่าพิจารณาคือ กลุ่มตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 56.1 รู้สึกกังวลว่าจะต้องใช้หนี้ที่รัฐบาลจะกู้มาจำนวน 2.2 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ตามหากต้องมีการกู้เงินจำนวนมากขนาดนี้แล้ว ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 50.3 จึงมีความคาดหวังกับอนาคตของประเทศชาติว่าจะต้องมีการพัฒนาไปมากกว่านี้ ในขณะที่ร้อยละ 29.5 ระบุรู้สึกเฉยๆ และร้อยละ 20.2 ระบุไม่มีความคาดหวัง
เมื่อสอบถามเพิ่มเติมถึงสถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ในขณะนี้ พบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวนมากหรือร้อยละ 87.3 รู้สึกกังวลต่อสถานการณ์ในขณะนี้ โดยระบุเพิ่มเติมว่าสถานการณ์นับวันจะยิ่งจะรุนแรงขึ้น จึงมีความกังวลและห่วงใยทั้งประชาชนที่พักอาศัย เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในบริเวณนั้น และความมั่นคง ความสงบสุขของประเทศชาติ
โดยที่กลุ่มตัวอย่างส่วนมากหรือร้อยละ 64. 5 เห็นด้วยกับการลงไป 3 จังหวัดชายแดนใต้ ของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง โดยให้เหตุผลว่า เป็นหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ สร้างขวัญกำลังใจให้กับประชาชนและเจ้าหน้าที่ จะได้รับรู้ถึงสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น ควรแสดงความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 26.5 ระบุไม่เห็นด้วย เพราะ คิดว่าลงไปก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้ เป็นภาระให้แก่เจ้าหน้าที่ อาจจะทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้น และเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายหรืออุบัติเหตุ เป็นต้น อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 60.1 คิดว่าการลงไป 3 จังหวัดชายแดนใต้ของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง จะไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น
ที่น่าพิจารณาคือ กลุ่มตัวอย่างหนึ่งในสามหรือร้อยละ 33.5 คิดว่าสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่รุนแรงขึ้นในขณะนี้มีผลมาจากการตกลงเจรจากับกลุ่มขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี (บีอาร์เอ็น) ส่วนร้อยละ 29.8 คิดว่าไม่ใช่ และร้อยละ 36.7 ระบุไม่แน่ใจ แต่ถึงอย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 52.9 ระบุว่าควรให้มีการเจรจาต่อไป
ผช.ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า การกู้เงินในครั้งนี้จะเป็นสิ่งที่ดีหากรัฐบาลมีการนำเงินไปใช้เพื่อการพัฒนาประเทศชาติอย่างจริงจังจนเห็นผลของการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น สิ่งที่สำคัญคือรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐควรมีการแจกแจงรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณให้สาธารณชนรับทราบอย่างละเอียดถี่ถ้วน ควรนำเงินกู้ก้อนนี้เข้าระบบการคลังเพื่อทำให้การนำงบประมาณจากเงินกู้ก้อนนี้ไปใช้ผ่านการจัดสรรอย่างเป็นระบบและสามารถตรวจสอบได้ในทุกเม็ดเงิน ซึ่งทำให้สาธารณชนรับทราบว่าเงินถูกนำไปใช้อย่างคุ้มค่าคุ้มทุน ผลที่ตามมาคือ แต่ละฝ่ายก็จำเป็นต้องทำการบ้านมานำเสนอต่อประชาชนทั้งประเทศ ในขณะที่รัฐบาล หน่วยงานรัฐและคณะบุคคลที่เกี่ยวข้องจะได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Effectiveness) มีประสิทธิผลคุ้มค่าคุ้มทุน (Efficiency) และมอบหมายสิทธิอำนาจความรับผิดชอบ จัดวางคณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ (Accountability) เพราะจากผลสำรวจข้างต้นแสดงให้เห็นแล้วว่าประชาชนส่วนใหญ่เกือบทั้งประเทศต้องการเห็นความโปร่งใสเกิดขึ้นในการใช้จ่ายเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทนี้
อย่างไรก็ตามการกู้ไม่ใช่เพียงหนทางเดียวในการหางบประมาณเพื่อนำมาพัฒนาประเทศ รัฐบาลอาจจะพิจารณาแนวทางอื่นร่วมด้วย อาทิ การปล่อยสัมปทานแล้วกำหนดระยะเวลาและขอบเขตของการรับผลประโยชน์หรือการกำหนดอัตราส่วนจากรายได้ของรัฐเพื่อนำมาเป็นงบประมาณในการพัฒนาประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้รัฐบาลก็ควรเป็นผู้นำที่ดี สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนว่าจะสามารถช่วยแก้ปัญหาและบรรเทาทุกข์ ความเดือดร้อนของประชาชนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผลสำรวจระบุชัดเจนว่าประชาชนไม่มีความมั่นใจว่าคนที่ต้องรับผิดชอบด้านปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้นั้นจะสามารถบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ได้
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 47.8 เป็นชาย
ร้อยละ 52.2 เป็นหญิง
ตัวอย่าง ร้อยละ 5.4 อายุน้อยกว่า 20 ปี
ร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 21.7 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 21.6 อายุระหว่าง 40—49 ปี
และ ร้อยละ 30.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่าง ร้อยละ 64.6 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 30.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 4.5 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 30.7 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 28.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 8.3 ระบุเป็นพนักงานเอกชน
ร้อยละ 11.8 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 9.1 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา
ร้อยละ 8.6 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 3.0 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ ความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ 1 เชื่อมั่นว่าจะนำไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ 23.3 2 ไม่เชื่อมั่น 76.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลว่าจะนำเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทไปใช้อย่างโปร่งใส ลำดับที่ ความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ 1 เชื่อมั่นว่าโปร่งใส 18.3 2 ไม่เชื่อมั่นว่าโปร่งใส 81.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อสิ่งที่รัฐบาลควรนำเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทไปใช้ประโยชน์เป็นอันดับแรก ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ด้านการศึกษา 30. 3 2 กระตุ้นเศรษฐกิจ 21.9 3 ด้านการเกษตร 13.6 4 ด้านคมนาคม 12.3 5 ด้านสุขภาพ 7.5 6 ด้านอุตสาหกรรม 3.8 7 ด้านการสื่อสาร 3.5 8 อื่นๆ อาทิ การจราจร สิ่งแวดล้อม พื้นที่สาธารณะ 7.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความกังวลต่อการใช้หนี้เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท ลำดับที่ ความกังวลต่อการใช้หนี้ ค่าร้อยละ 1 รู้สึกกังวลต่อการใช้หนี้ 56.1 2 เฉยๆ 27.6 3 ไม่รู้สึกกังวล 16.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความหวังกับอนาคตของประเทศชาติจากการกู้เงิน 2.2 ล้านล้านบาท ลำดับที่ ความหวัง ค่าร้อยละ 1 มีความหวัง 50.3 2 เฉยๆ 29. 5 3 ไม่มีความหวัง 20.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความกังวลต่อสถานการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลำดับที่ ความกังวล ค่าร้อยละ 1 รู้สึกกังวลต่อสถานการณ์ 87.3 2 เฉยๆ 10.1 3 ไม่รู้สึกกังวล 2.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการลงไป 3 จังหวัดชายแดนใต้ ของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วย เพราะ เป็นหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ สร้างขวัญกำลังใจให้กับประชาชนและเจ้าหน้าที่ จะได้รับรู้ถึง สถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น ควรแสดงความเป็นผู้นำและความรับผิดชอบ เป็นต้น 64.5 2 ไม่เห็นด้วย เพราะ ลงไปก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้ เป็นภาระให้แก่เจ้าหน้าที่ อาจทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้น อาจจะได้รับอันตรายหรืออุบัติเหตุ เป็นต้น 26.5 3 ไม่มีความเห็น 9.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการลงไปเยี่ยม 3 จังหวัดชายแดนใต้ของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง จะสามารถ ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น 34.0 2 ไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น 60.1 3 ไม่มีความเห็น 5.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ว่าเป็นผลมาจากการเจรจากับกลุ่บีอาร์เอ็น ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วยว่าเป็นผลมาจากการเจรจา 33.5 2 ไม่เห็นด้วย 29.8 3 ไม่แน่ใจ 36.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการเจรจากับกลุ่มบีอาร์เอ็นว่าควรมีต่อไปหรือไม่ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ควรมีต่อไป 52.9 2 ไม่ควรมีต่อไป 12.8 3 ไม่แน่ใจ 34.3 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--