พบว่า จุดยืนทางการเมืองของสาธารณชนในขณะนี้กลับสู่จุดตั้งต้นของรัฐบาล โดยผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 18.4 สนับสนุนรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 17.6 ไม่สนับสนุนรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.0 ไม่อยู่ฝ่ายใด ขอเป็นพลังเงียบ และเมื่อจำแนกออกตามเพศ พบว่า กลุ่มผู้หญิงส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.5 ไม่อยู่ฝ่ายใด ขอเป็นพลังเงียบมากกว่ากลุ่มผู้ชายที่มีอยู่ร้อยละ 61.4 ในขณะที่กลุ่มผู้สนับสนุนและ ไม่สนับสนุนรัฐบาลกลุ่มผู้ชายจะมากกว่ากลุ่มผู้หญิงคือร้อยละ 19.5 และร้อยละ 19.1 ในกลุ่มผู้ชายในขณะที่ร้อยละ 17.3 และร้อยละ 16.2 ในกลุ่มผู้หญิง
นางสาวปุณฑรีก์ กล่าวต่อว่า เมื่อจำแนกตามช่วงอายุ พบว่า ส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 60 ในทุกกลุ่มช่วงอายุไม่อยู่ฝ่ายใด ขอเป็นพลังเงียบ อย่างไรก็ตามในกลุ่มที่อายุต่ำกว่า 20 ปียังพบผู้ที่สนับสนุนรัฐบาลมากกว่าไม่สนับสนุน
ที่น่าสนใจคือเมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า กลุ่มที่สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีร้อยละ 80.0 ไม่อยู่ฝ่ายใด ขอเป็นพลังเงียบ ซึ่งมีสัดส่วนสูงที่สุดเปรียบเทียบกับกลุ่มปริญญาตรีร้อยละ 63.0 และกลุ่มต่ำกว่าปริญญาตรีร้อยละ 64.0 และที่น่าพิจารณาคือ กลุ่มต่ำกว่า ปริญญาตรีที่เคยเป็นฐานสนับสนุนสำคัญของรัฐบาลกลับลดลงต่ำกว่ากลุ่มปริญญาตรีคือร้อยละ 17.1 ต่อร้อยละ 22.9 ที่สนับสนุนรัฐบาล และ เมื่อจำแนกตามกลุ่มอาชีพ พบว่ากลุ่มอาชีพเกษตรกรและรับจ้างใช้แรงงานทั่วไปที่เคยเป็นฐานสนับสนุนสำคัญของรัฐบาลลดลงเหลือเพียงร้อยละ 16.0 ในขณะที่ไม่สนับสนุนรัฐบาลมีอยู่ร้อยละ 20.5 ของกลุ่มเกษตรกรและผู้รับจ้างใช้แรงงานทั่วไป อย่างไรก็ตาม ทุกกลุ่มอาชีพส่วนใหญ่เกินกว่าร้อยละ 60 กลับไปสู่จุดเดิมคือไม่อยู่ฝ่ายรัฐบาลและไม่อยู่ฝ่ายค้าน ขอเป็นพลังเงียบ
ที่น่าสนใจคือ เมื่อถามถึงการทำรัฐประหาร พบว่า กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลและกลุ่มพลังเงียบส่วนใหญ่คือร้อยละ 71.0 และร้อยละ 55.8 ระบุไม่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ไม่สนับสนุนรัฐบาล 1 ใน 4 หรือร้อยละ 25.3 เห็นว่าเหมาะสม แต่โดยภาพรวมของสาธารณชนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม
ผู้ช่วย ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ในยามนี้ไม่มีเวลาสำหรับ “ฮันนีมูน” ในตำแหน่งรัฐมนตรีทั้งหลายเพราะรัฐบาลกำลังอยู่ในสภาวะที่ ขาดแรงสนับสนุนแท้จริงจากสาธารณชนดังนั้นรัฐบาลต้องดึงความเชื่อมั่นจากประชาชนในการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาล ขอเสนอแนะอย่างน้อยสองประการในจุดเปลี่ยนผ่านของเสถียรภาพรัฐบาลในขณะนี้ คือ
ประการแรก รัฐบาลเชิญชวนทุกภาคส่วนมาเป็น “หุ้นส่วน” (Partnership) กับรัฐบาลที่สามารถรับรู้รายละเอียดของกระบวนการตัดสินใจอย่างโปร่งใส ไม่ใช่เพียงคำยืนยันจากรัฐบาลว่าโปร่งใสแต่ไม่เห็นได้ว่าโปร่งใสอย่างไร ดังนั้นรัฐบาลต้องแสดงความกล้าหาญตรงนี้ก่อน
ประการที่สอง เมื่อรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาจากการเลือกตั้งและประกาศมาตลอดว่า หัวใจของการทำงานคือประชาชนส่วนใหญ่ทั้งประเทศ จึงต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนส่วนใหญ่ในแต่ละพื้นที่ประเมินผลการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ และนำผลการประเมินไปเป็น “องค์ประกอบ” ของการจัดสรรงบประมาณและการแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งของเจ้าหน้าที่รัฐแทนอำเภอใจของฝ่ายการเมืองแต่อย่างเดียว เพื่อทำให้เจ้าหน้าที่รัฐทำงานรับใช้ประชาชนส่วนใหญ่ในแต่ละพื้นที่อย่างแท้จริง แต่ถ้าหากพื้นที่ใดที่ประชาชนรับอามิจสินจ้างในการประเมินก็ต้องทำให้ประชาชนเหล่านั้นพบกับความเดือดร้อนจากปัญหาทุจริตคอรัปชั่นในพื้นที่นั้น โดยหวังว่าจะมีการลุกออกมาต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่นอย่างจริงจังและต่อเนื่องมากกว่าการจัดทำ “อีเว้นต์” ของการต่อต้านทุจริตคอรัปชั่นแต่เพียงอย่างเดียว
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 48.6 เป็นชาย ร้อยละ 51.4 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 3.5 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 20.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 21.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 22.5 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อยละ 32.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 77.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 20.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 2.4 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 32.3 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 30.0 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 9.2 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 8.6 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 8.7 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 7.3 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 3.9 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ จุดยืนทางการเมือง ค่าร้อยละ 1 ไม่สนับสนุนรัฐบาล 17.6 2 สนับสนุนรัฐบาล 18.4 3 ไม่อยู่ฝ่ายใด/พลังเงียบ 64.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจุดยืนทางการเมือง จำแนกตามเพศ ลำดับที่ จุดยืนทางการเมือง เพศชาย เพศหญิง
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 ไม่สนับสนุนรัฐบาล 19.1 16.2 2 สนับสนุนรัฐบาล 19.5 17.3 3 ไม่อยู่ฝ่ายใด/พลังเงียบ 61.4 66.5 รวมทั้งสิ้น 100 100 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างจุดยืนทางการเมือง จำแนกตามช่วงอายุ ลำดับที่ จุดยืนทางการเมือง ต่ำกว่า 20 ปี 20-29 ปี 30-39 ปี 40-49 ปี 50 ปีขึ้นไป ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ 1 ไม่สนับสนุนรัฐบาล 7.5 14.6 18.3 19.1 19 2 สนับสนุนรัฐบาล 28.3 19.3 19.2 16.1 17.3 3 ไม่อยู่ฝ่ายใด/พลังเงียบ 64.2 66.1 62.5 64.8 63.7 รวมทั้งสิ้น 100 100 100 100 100 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจุดยืนทางการเมือง จำแนกตามระดับการศึกษา ลำดับที่ จุดยืนทางการเมือง ต่ำกว่า ป.ตรี ป.ตรี สูงกว่า ป.ตรี ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ 1 ไม่สนับสนุนรัฐบาล 18.9 14.1 4.6 2 สนับสนุนรัฐบาล 17.1 22.9 15.4 3 ไม่อยู่ฝ่ายใด/พลังเงียบ 64 63 80 รวมทั้งสิ้น 100 100 100 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างจุดยืนทางการเมือง จำแนกตามอาชีพประจำที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ลำดับที่ จุดยืนทางการเมือง ข้าราชการ/ พนักงานเอกชน ค้าขาย/ นักเรียน/นักศึกษา รับจ้างทั่วไป แม่บ้าน/ ว่างงาน พนักงานรัฐวิสาหกิจ ธุรกิจส่วนตัว /เกษตร พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ 1 ไม่สนับสนุนรัฐบาล 13.1 18.2 16.9 16.2 20.5 19.4 14.7 2 สนับสนุนรัฐบาล 20.8 22.0 18.4 18.9 16.0 13.7 20.6 3 ไม่อยู่ฝ่ายใด/พลังเงียบ 66.1 59.8 64.7 64.9 63.5 66.9 64.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีความเหมาะสมในการที่กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองจะเรียกร้องให้ทหารออกมา ทำรัฐประหาร จำแนกตามจุดยืนทางการเมือง ลำดับที่ ความคิดเห็น สนับสนุนรัฐบาล ไม่สนับสนุนรัฐบาล พลังเงียบ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ 1 เหมาะสม 6.6 25.3 9.1 2 ไม่แน่ใจ 22.4 39.2 35.1 3 ไม่เหมาะสม 71 35.5 55.8 รวมทั้งสิ้น 100 100 100
--เอแบคโพลล์--