สำหรับข่าวที่ประชาชนอยากทราบหรือได้ยิน พบว่า ห้าอันดับแรกของข่าวที่ประชาชนอยากติดตาม คือ อันดับแรก ร้อยละ 90.2 อยากทราบหรือได้ยินข่าวเกี่ยวกับความเป็นผู้นำ เสียสละ และความโปร่งใสของฝ่ายการเมืองในการจัดทำโครงการต่างๆ อาทิ โครงการรับจำนำข้าว เงินกู้ของรัฐบาล โครงการการจัดการน้ำอย่างบูรณาการ เป็นต้น รองลงมา ร้อยละ 88.1 อยากได้ยินข่าวความสงบสุขในสามจังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 85.4 ระบุข่าวความสงบสุขของประเทศชาติบ้านเมือง ร้อยละ 83.0 ระบุข่าวเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่ดีขึ้น และร้อยละ 82.4 ระบุข่าวการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ อาทิ การศึกษา สาธารณูประโภค ตามลำดับ
เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นในความโปร่งใสต่อโครงการตามนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.0 คิดว่าโครงการรับจำนำข้าวไม่โปร่งใส รองลงมาร้อยละ 71.6 ระบุโครงการบัตรเครดิตเกษตรกร ร้อยละ 68.6 ระบุโครงการเพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ 1 ล้านบาท ร้อยละ 67.1 ระบุโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ ร้อยละ 66.0 ระบุนโยบายแก้ไขปัญหาพักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกร รายย่อยและผู้มีรายได้น้อย และร้อยละ 65.5 ระบุการจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แท็บเล็ตให้แก่นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อย่างไรก็ตามเกินครึ่งเล็กน้อย คือ ร้อยละ 50.4 ระบุโครงการจัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีมีความโปร่งใส ร้อยละ 51.2 ปรับเงินเดือนผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท และร้อยละ 51.4 ระบุการปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ ในขณะที่ร้อยละ 27.2 คิดว่าไม่มีโครงการไหนเลยที่โปร่งใส
ที่น่าสนใจคือ กลุ่มตัวอย่างเกือบทั้งหมดหรือร้อยละ 94.8 เห็นด้วยที่ประชาชนควรมีส่วนรวมการประเมินการทำงานของรัฐบาลด้านต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ระบุควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินทุกโครงการของรัฐบาล มีเพียงร้อยละ 5.2 ระบุไม่เห็นด้วย
นางสาวปุณฑรีก์ กล่าวว่า รัฐบาลจะโฆษณาชวนเชื่อว่า รัฐบาลทำงานโปร่งใสเพียงอย่างเดียวไม่ได้อีกต่อไปแล้ว เพราะสาธารณชนต้องการเห็น “วิธีการ” ที่นำไปสู่การทำงานของรัฐบาลอย่างโปร่งใสมากกว่าคำพูดชี้นำ ดังนั้นเวลานี้จึงเป็นโอกาสที่สำคัญที่รัฐบาลควรเปิดพื้นที่ให้กับทุกภาคส่วนในสังคมร่วมเป็น “หุ้นส่วนประเทศไทย” ในการรับรู้รับทราบการใช้จ่ายงบประมาณทุกเม็ดเงินของรัฐบาล และรายละเอียดของการบริหารราชการแผ่นดินทั้งโดยภาพรวมและรายพื้นที่ อีกทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐและการบริหารประเทศของรัฐบาลในทุกระดับ โดยผลของการประเมินเป็น “ส่วนประกอบ” การพิจารณาจัดสรรงบประมาณและการแต่งตั้งโยกย้ายเจ้าหน้าที่รัฐมากกว่าการใช้อำเภอใจของฝ่ายการเมืองและการวิ่งเต้นของเจ้าหน้าที่รัฐ คณะวิจัยจึงเชื่อมั่นว่าแนวทางทั้งสองนี้น่าจะทำให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐทำงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 49.3 เป็นชาย ร้อยละ 50.7 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 3.6 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 19.0 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 21.4 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อยละ 32.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 75.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 21.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 3.2 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 32.1 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 30.3 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 9.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 9.2 ระบุอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 9.0 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 7.5 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 2.5 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารการเมืองผ่านสื่อมวลชนในช่วง 30 วันที่ผ่าน ค่าร้อยละ 1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 51.4 2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 20.4 3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 12.0 4 ติดตามเป็นบางสัปดาห์ 8.1 5 ไม่ได้ติดตามเลย 8.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข่าวที่ต้องการทราบหรือได้ยิน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ข่าวที่ต้องการทราบหรือได้ยิน ค่าร้อยละ 1 ความเป็นผู้นำ เสียสละ และความโปร่งใสของฝ่ายการเมืองในการจัดทำโครงการต่างๆ อาทิ โครงการรับจำนำข้าว เงินกู้ของรัฐบาล โครงการการจัดการน้ำอย่างบูรณาการ เป็นต้น 90.2 2 ความสงบสุขในสามจังหวัดชายแดนใต้ 88.1 3 ความสงบสุขของประเทศชาติบ้านเมือง 85.4 4 เศรษฐกิจและค่าครองชีพที่ดีขึ้น 83.0 5 การพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ อาทิ การศึกษา สาธารณูประโภค 82.4 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุความเชื่อมั่นในความโปร่งใสต่อโครงการตามนโยบายของรัฐบาล ลำดับที่ โครงการตามนโยบายของรัฐบาล เชื่อมั่นว่าโปร่งใส ไม่เชื่อมั่นว่าโปร่งใส 1 โครงการรับจำนำข้าว 15.0 85.0 2 โครงการบัตรเครดิตเกษตรกร 28.4 71.6 3 โครงการ เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอีกแห่งละ 1 ล้านบาท 31.4 68.6 4 โครงการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ 32.9 67.1 5 นโยบายแก้ไขปัญหาพักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกร รายย่อยและผู้มีรายได้น้อย 34.0 66.0 6 การจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์แทบเล็ตให้แก่นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 34.5 65.5 7 การจัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี 50.4 49.6 8 การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท 51.2 48.8 9 ปรับเงินเดือนผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท 51.4 48.6 10 การปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ 70.0 30.0 11 ไม่มีโครงการไหนเลยที่โปร่งใส 27.2 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินการทำงานของรัฐบาลด้านต่างๆ ลำดับที่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินการทำงานของรัฐบาล ค่าร้อยละ 1 เห็นด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ระบุควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการประเมินทุกโครงการของรัฐบาล 94.8 2 ไม่เห็นด้วย 5.2 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--