แต่ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามว่า การชุมนุมประท้วงในช่วงเวลาประกาศ พ.ร.บ.มั่นคงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันหรือไม่ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.3 ระบุได้รับผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันน้อยถึงไม่กระทบเลย อย่างไรก็ตาม ตำรวจส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.2 ระบุได้รับผลกระทบมากถึงมากที่สุด
ที่น่าสนใจคือ ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 86.8 และตำรวจร้อยละ 84.0 ต้องการให้รักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไม่ว่าจะเกิดเหตุรุนแรงเพียงไร
เมื่อถามถึงความรู้สึกต่อสถานการณ์บ้านเมืองในช่วงเวลาแห่งความขัดแย้ง พบว่า ทั้งประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.7 และข้าราชการตำรวจส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.5 รู้สึกทุกข์หดหู่ใจที่เห็นคนไทยขัดแย้งแตกแยก วุ่นวายไม่จบสิ้น อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.6 ในกลุ่มประชาชนและร้อยละ 90.2 ในกลุ่มตำรวจต่างพอใจต่อความเป็นผู้นำของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
ที่น่าพิจารณาคือ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.8 ระบุช่วงเวลามีม็อบไม่ค่อยเห็นตำรวจตรวจตราบริการความปลอดภัยในจุดเสี่ยงของชุมชน นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ทั้งประชาชนร้อยละ 75.1 และตำรวจร้อยละ 78.9 ต้องการให้ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเป็นไปตามกระบวนการพิจารณาของสภาฯ มากกว่าการออกมาชุมนุมประท้วง ในขณะที่ร้อยละ 74.9 และร้อยละ 73.3 ต้องการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ใครทำผิดก็ต้องดำเนินคดีอย่างเท่าเทียมไม่เลือกปฏิบัติ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ70.5 ในกลุ่มประชาชนและร้อยละ 72.3 ในกลุ่มตำรวจที่ระบุว่า ต่างฝ่ายต่างมีผลประโยชน์ซ่อนเร้น ปกปิดความจริงที่ต้องการอ้าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมครั้งนี้
เมื่อสอบถามเจ้าหน้าที่ตำรวจถึงความเป็นมาตรฐานสากลของการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุมฝูงชน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.6 คิดว่าทำไปตามมาตรฐานสากลแล้ว และเมื่อสอบถามถึงความพอใจโดยภาพรวมต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการคุมม็อบต้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรมครั้งนี้ พบว่า ส่วนใหญ่ทั้งประชาชนร้อยละ 60.8 และตำรวจร้อยละ 74.6 พอใจระดับมากถึงมากที่สุด
ผู้ช่วย ผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า หัวอกตำรวจและหัวใจประชาชนแทบเป็นไปในทิศทางเดียวกันต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่มีกลุ่มผู้ชุมนุมต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมครั้งนี้ โดยส่วนใหญ่ต้องการให้ช่วยกันรักษาการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเพราะคนไทยไม่ว่ากลุ่มใดส่วนใหญ่ได้เห็นประจักษ์แก่สายตาแล้วว่า การพาคนออกมาชุมนุมบนท้องถนนที่ผ่านมาในอดีตไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายสาธารณะที่คนไทยทั้งประเทศได้รับผลประโยชน์โดยตรง แต่ที่ผ่านมา การออกมาชุมนุมประท้วงขับไล่รัฐบาลมักจะทำให้คนเฉพาะกลุ่ม เช่น ฝ่ายการเมืองตรงข้ามรัฐบาล กลุ่มนายทุน คนชั้นนำ และแกนนำผู้ชุมนุมได้ผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง ในขณะที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ทั่วไปยังคงทุกข์เหมือนเดิม ดังนั้นภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในสังคมไทยจึงสะท้อนให้เห็นถึง หัวอกตำรวจ หัวใจประชาชนทุกหมู่เหล่าที่ทุกข์และหดหู่ใจที่เห็นคนไทยแตกแยกขัดแย้งวุ่นวายไม่จบสิ้น ทางออกคือ ฝ่ายการเมืองควรทำ “หน้าที่” ในกระบวนการของสภาฯ ที่ช่วยลดความขัดแย้งในหมู่ประชาชนไม่ใช่เป็นผู้สร้าง “เหตุปัจจัย” แห่งความขัดแย้งในหมู่ประชาชนขึ้นมาเสียเอง เพราะต้องปล่อยให้สาธารณชนคนไทยได้เรียนรู้ในโลกความจริงที่เกิดขึ้นกับพวกเขา ไม่ควรมี “ปัจจัยที่ผิดธรรมชาติของประชาธิปไตย” ไปสร้างผลกระทบที่ทำลายความรักความสามัคคีของคนในชาติอันเป็นเอกลักษณ์ของคนไทยที่ต้องช่วยกันรักษาไว้ตลอดไป
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 55.9 เป็นหญิง ร้อยละ 44.1 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 5.5 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 19.0 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี ร้อยละ 17.6 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ 21.0 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และ ร้อยละ 36.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 69.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รองลงมาคือร้อยละ 25.1 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 5.6 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 25.8 ระบุรับจ้างใช้แรงงานทั่วไป ร้อยละ 30.8 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 14.4 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 10.2 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.7 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 7.8 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ในขณะที่ร้อยละ 3.3 ระบุว่างงาน/ไม่ประกอบอาชีพ
ลักษณะทั่วไปของกลุ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจ พบว่าตัวอย่างร้อยละ 92.5 เป็นชาย ร้อยละ 7.5 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 14.4 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี ร้อยละ 29.0 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ 37.1 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี และ ร้อยละ 19.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 53.4 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รองลงมาคือ ร้อยละ 34.5 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และร้อยละ 12.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี สำหรับสายงานที่ปฏิบัติตัวอย่างร้อยละ 9.9 ระบุงานสืบสวน ร้อยละ 23.3 ระบุงานสอบสวน ร้อยละ 31.1 ระบุงานปราบปราม ร้อยละ 9.7 ระบุงานจราจร ร้อยละ 24.8 ระบุงานธุรการ และร้อยละ 1.2 ระบุอื่นๆ อาทิ ตำรวจชุมชน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ลำดับที่ ความสนใจ ค่าร้อยละ 1 สนใจ 84.8 2 ไม่สนใจ 15.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันจากการชุมนุมในช่วงเวลาประกาศ พ.ร.บ.มั่นคง ลำดับที่ ผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ประชาชนค่าร้อยละ เจ้าหน้าที่ตำรวจค่าร้อยละ 1 มากถึงมากที่สุด 16.9 68.2 2 ปานกลาง 21.8 21.4 3 น้อยถึงไม่กระทบเลย 61.3 10.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความรู้สึกต่อสถานการณ์บ้านเมืองในช่วงเวลาแห่งความขัดแย้ง ลำดับที่ ความรู้สึกต่อสถานการณ์ ประชาชนค่าร้อยละ เจ้าหน้าที่ตำรวจค่าร้อยละ 1 ต้องการให้รักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทางเป็นประมุข 86.8 84.0 ไม่ว่าจะเกิดเหตุรุนแรงเพียงไร 2 รู้สึกทุกข์หดหู่ใจที่เห็นคนไทยขัดแย้งแตกแยกวุ่นวายไม่จบสิ้น 85.7 85.5 3 พอใจต่อความเป็นผู้นำของ พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ 85.6 90.2 4 ช่วงเวลามีม็อบ ไม่ค่อยเห็นตำรวจตรวจตราบริการความปลอดภัยในจุดเสี่ยงของชุมชน 75.8 5 ต้องการให้ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เป็นไปตามกระบวนการพิจารณาของสภาฯ มากกว่า 75.1 78.9 การออกมาชุมนุมประท้วง 6 ต้องการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ใครทำผิดก็ต้อง 74.9 73.3 ดำเนินคดีอย่างเท่าเทียมไม่เลือกปฏิบัติ 7 รู้สึกเห็นใจข้าราชการตำรวจในการวางตัวเป็นกลางในสถานการณ์ที่ขัดแย้งทางการเมือง 73.9 8 ฝ่ายการเมืองเป็นต้นเหตุของความขัดแย้งร่าง พรบ.นิรโทษกรรม 72.8 74.7 9 ต่างฝ่ายต่างมีผลประโยชน์ซ่อนเร้น ปกปิดความจริงที่ต้องการ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมครั้งนี้ 70.5 72.3 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่าง เจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ระบุความเป็นมาตรฐานสากลของการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการควบคุมฝูงชน ลำดับที่ ความเป็นมาตรฐานสากลของการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการควบคุมฝูงชน ค่าร้อยละ 1 คิดว่าทำไปตามมาตรฐานสากลแล้ว 71.6 2 คิดว่ายังไม่ได้ทำตามมาตรฐานสากล 28.4 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจโดยภาพรวมต่อ การทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการคุมม็อบต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ลำดับที่ ความพอใจต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ประชาชนค่าร้อยละ เจ้าหน้าที่ตำรวจค่าร้อยละ 1 มากถึงมากที่สุด 60.8 74.6 2 ปานกาลาง 28.3 15.7 3 น้อยถึงไม่พอใจเลย 10.9 9.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
--เอแบคโพลล์--