เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองว่าเข้าขั้นวิกฤตแล้วหรือไม่ พบว่า ร้อยละ 49.1 คิดว่าวิกฤตแล้ว ในขณะที่ร้อยละ 50.9 คิดว่ายังไม่วิกฤต
ที่น่าสนใจคือ เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นและอารมณ์ความรู้สึกของประชาชนต่อการเมืองไทยในปัจจุบันในประเด็นต่างๆ พบว่า เกือบร้อยละร้อยหรือร้อยละ 97.1 คิดว่าการเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ รองลงมา ได้แก่ ร้อยละ 89.9 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากัน ร้อยละ 74.5 รู้สึกเบื่อหน่ายต่อการเมือง ร้อยละ 71.7 รู้สึกวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ทางการเมือง ร้อยละ 59.6 เครียดต่อเรื่องการเมือง ร้อยละ 22.4 ระบุขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง ร้อยละ 20.1 ระบุขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง และร้อยละ 18.0 ระบุขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.2 ระบุว่าการเมืองเป็นเรื่องของประชาชนทุกคน ในขณะที่ร้อยละ 14.8 ระบุว่าเป็นเรื่องของนักการเมือง นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างจำนวนมากหรือร้อยละ 89.4 ระบุว่าควรให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในเวทีปฏิรูปประเทศหรืออยากให้เปิดโอกาสรับฟังเสียงของประชาชนบนพื้นฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 59.8 คิดว่าเวทีปฏิรูปประเทศอาจจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศและลดความขัดแย้งได้ ในขณะที่ร้อยละ 40.2 คิดว่าไม่สามารถช่วยได้
นอกจากนี้ สิ่งที่รัฐบาลต้องให้ความสำคัญคือ เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นที่กลุ่มตัวอย่างมีต่อรัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรในขณะนี้ พบว่า คะแนนเฉลี่ยของความเชื่อมั่นอยู่ที่ 5.42 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
นางสาวปุณฑรีก์ ผช.ผอ. กล่าวว่า รัฐบาลและฝ่ายการเมืองต้องปรับแนวทางการบริหารจัดการเวลาและความรับผิดชอบระหว่างการเล่นเกมทางการเมืองกับการดูแลความเป็นอยู่และความรู้สึกของประชาชน ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจข้างต้นว่าประชาชนรู้สึกเบื่อและเห็นว่าการเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยควรเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคน ดังนั้นแนวทางออกที่น่าพิจารณาในการพัฒนาและปฏิรูปประเทศนั้นจึงจำเป็นต้องอาศัยพลังและความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคมในการขับเคลื่อนเพื่อร่วมกันหาแนวทางออกไปสู่การพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ ยั่งยื่น และสามารถแก้ไขได้ทั้งระบบไม่ใช่การให้ความสำคัญเฉพาะจุด เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ การพูดคุยต้องอยู่บนพื้นฐานของการเล่าความจริงประกอบกับเหตุและผลในการถกเถียง นำเหตุการณ์ในอดีตมาเป็นบทเรียนเพื่อแก้ไขและหาแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต นำกรณีศึกษาจากต่างประเทศมาเป็นบทเรียน หยิบยกแนวทางที่น่าสนใจมาประยุกต์ใช้ แต่ไม่ใช่การแทนที่เพราะสิ่งที่ต้องคำนึงคือ บริบทของแต่ละประเทศย่อมแตกต่างกัน ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดของประเทศหนึ่ง อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดของอีกประเทศหนึ่งก็ได้
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 48.4 เป็นชาย ร้อยละ 51.6 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 3.9 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 21.8 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 20.4 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 21.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อยละ 32.8 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 72.6 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 23.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในขณะที่ร้อยละ 4.2 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 32.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 30.4 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 9.7 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 9.2 ระบุข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.4 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา ร้อยละ 6.9 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ และร้อยละ 3.9 ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ การติดตามข่าวการเมืองในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 60.7 2 3-4 วันต่อสัปดาห์ 18.3 3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 10.9 4 น้อยกว่า 1 วันต่อสัปดาห์ 1.9 5 ไม่ได้ติดตาม 8.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อสถานการณ์ทางการเมืองว่าวิกฤตแล้วหรือไม่ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 วิกฤตแล้ว 49.1 2 ยังไม่วิกฤต 50.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็น และอารมณ์ความรู้สึกต่อการเมืองไทยในปัจจุบัน ลำดับที่ ความคิดเห็น อารมณ์ ความรู้สึกต่อการเมืองไทยในปัจจุบัน ใช่ ไม่ใช่ รวมทั้งสิ้น ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ 1 การเมืองเป็นเรื่องสำคัญของประเทศ 97.1 2.9 100.0 2 เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหันมาเจรจากันถึงที่สุด 89.9 10.1 100.0 3 เบื่อหน่ายต่อเรื่องการเมือง 74.5 25.5 100.0 4 วิตกกังวลต่อเหตุการณ์ทางการเมือง 71.7 28.3 100.0 5 เครียดต่อเรื่องการเมือง 59.6 40.4 100.0 6 ขัดแย้งกับเพื่อนบ้านในเรื่องการเมือง 22.4 77.6 100.0 7 ขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานในเรื่องการเมือง 20.1 79.9 100.0 8 ขัดแย้งกับคนในครอบครัวในเรื่องการเมือง 18.0 82.0 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการเมืองว่าเป็นเรื่องของใคร ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ประชาชนทุกคน 85.2 2 นักการเมือง 14.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ รัฐบาลควรเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในเวทีปฏิรูปประเทศ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมหรือเปิดโอกาสในการรับฟังเสียงของประชาชนบนพื้นฐานของ การปกครองในระบอบประชาธิปไตย 89.4 2 ไม่ควร 10.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อเวทีปฏิรูปประเทศว่าจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศและลดความขัดแย้ง ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่าช่วยพัฒนาประเทศได้ 59.8 2 คิดว่าไม่สามารถช่วยได้ 40.2 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าเฉลี่ยความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในขณะนี้ (เมื่อคะแนนเต็ม 10) ลำดับที่ ความเชื่อมั่น ค่าเฉลี่ย 1 ความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 5.42
--เอแบคโพลล์--