กลุ่มตัวอย่างเกือบสองในสามมีภาระหนี้สิน โดยตัวอย่างที่สมรสแล้วจะมีสัดส่วนการเป็นหนี้สูงกว่าคนโสด เมื่อถามถึงประเภทหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระ พบว่า คนโสดและคนที่สมรสแล้วจะมีประเภทของหนี้สินที่ต่างกัน ในกลุ่มคนโสด จะมีหนี้รถยนต์ อุปกรณ์ไอที เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค แท็บเล็ต และค่าเล่าเรียน สำหรับตัวอย่างที่สมรสแล้วจะมีหนี้รถยนต์ การกู้ยืมเพื่อประกอบธุรกิจ และบ้านที่อยู่อาศัย ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม สำหรับภาระหนี้สินที่ต้องชำระในแต่ละเดือน เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้ส่วนตัวต่อเดือน พบว่า กลุ่มตัวอย่างต้องผ่อนชำระประมาณครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งหมด
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงการขอผ่อนผันการชำระหนี้สิน พบว่า ตัวอย่างเกินครึ่งเคยขอผ่อนผันการชำระหนี้ในเรื่อง การกู้ยืมเพื่อประกอบธุรกิจ รองลงมาคือ ขอผ่อนผันการชำระค่ารถยนต์ บ้านที่อยู่อาศัย ค่าเล่าเรียน และอุปกรณ์ไอที ตามลำดับ ผลการสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า ตัวอย่างที่สมรสแล้วร้อยละ 57.3 ต้องทำงานพิเศษ/ทำอาชีพเสริม เพื่อหารายได้ให้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย ในขณะที่ ตัวอย่างคนโสดไม่ถึงครึ่ง หรือร้อยละ 42.3 ต้องทำงานพิเศษเพิ่มเติม
ผู้จัดการโครงการ กล่าวว่า ปัจจุบันนี้คนเมืองมีภาระหนี้สินที่สูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มตัวอย่างที่สมรสแล้วทำให้ต้องหารายได้พิเศษหรือทำอาชีพเสริมมากขึ้น เพื่อให้มีรายได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน นอกจากนี้ ผลสำรวจ ยังชี้ให้เห็นอีกว่า รถยนต์เป็นหนึ่งในภาระหนี้สินอันดับต้นของคนเมืองในปัจจุบัน เป็นผลพวงมาจากหนึ่งในนโยบายประชานิยม “นโยบายรถคันแรก” ที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากประชาชนในระยะแรก แต่กลับกลายมาเป็นนโยบายพ่นพิษสร้างภาระหนี้สินให้กับประชาชนในระยะต่อมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลลัพธ์ของนโยบายรัฐบาลด้านการพัฒนาเศรษฐกิจว่ายังไม่สามารถแก้ไขปัญหาปากท้องของประชาชนได้
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 42.1 เป็นชาย ร้อยละ 57.9 เป็นหญิง และเมื่อจำแนกตามช่วงอายุของตัวอย่าง พบว่า ร้อยละ 26.6 อายุระหว่าง 25-33 ปี ร้อยละ 20.7 อายุระหว่าง 34-39 ปี และร้อยละ 52.7 อายุระหว่าง 40-60 ปี ส่วนสถานภาพสมรสนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 22.7 ระบุโสด ในขณะที่ ร้อยละ 77.3 ระบุสมรสแล้ว เมื่อพิจารณาถึงรายได้ส่วนตัวต่อเดือน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 23.4 ระบุรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท ร้อยละ 50.9 ระบุ รายได้ 10,000 -20,000 บาท ร้อยละ 18.1 ระบุรายได้ 20,001-30,000 บาท และร้อยละ 7.6 ระบุรายได้มากกว่า 30,000 บาทขึ้นไป
(โปรดพิจารณารายละเอียดจากตารางต่อไปนี้)
ลำดับที่ ภาระหนี้สิน สถานภาพสมรส โสด สมรส 1 มีหนี้สิน 60.3 61.1 2 ไม่มีหนี้สิน 39.7 38.9 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระในปัจจุบัน จำแนกตามสถานภาพสมรส (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ประเภทหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระ สถานภาพสมรส โสด สมรส 1 รถยนต์ 44.9 46.0 2 การกู้ยืมเพื่อประกอบธุรกิจ 20.3 40.0 3 บ้าน ที่อยู่อาศัย 23.2 26.4 4 อุปกรณ์ไอที เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค แท็บเล็ต 34.8 15.4 5 ค่าเล่าเรียน 24.6 15.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลี่ยของจำนวนเงินหนี้สินที่ผ่อนชำระต่อเดือน เปรียบเทียบกับรายได้ส่วนตัวต่อเดือน จำแนกตามสถานภาพสมรส ลำดับที่ รายได้ส่วนตัวต่อเดือน สถานภาพสมรส โสด สมรส
จำนวนเงินหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระต่อเดือน
1 ไม่เกิน 10,000 บาท 5,500 5,400 2 10,001 - 20,000 บาท 6,300 7,400 3 20,001 - 30,000 บาท 11,400 11,000 4 มากกว่า 30,000 บาทขึ้นไป 18,100 18,500 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทหนี้สินที่เคยดำเนินการขอผ่อนผันการชำระหนี้สิน ลำดับที่ ประเภทหนี้สินที่ต้องผ่อนชำระ การขอผ่อนผัน 1 การกู้ยืม เพื่อประกอบธุรกิจ 50.7 2 รถยนต์ 47.3 3 บ้าน ที่อยู่อาศัย 27.5 4 ค่าเล่าเรียน 21.7 5 อุปกรณ์ไอที เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค แท็บเล็ต 15.5 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทำงานพิเศษ งานนอกเวลา และการทำอาชีพเสริมจำแนกตามสถานภาพสมรส (ค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเคยดำเนินการขอผ่อนผันการชำระหนี้สิน) ลำดับที่ การทำงานพิเศษ งานนอกเวลาและการทำอาชีพเสริม สถานภาพสมรส โสด สมรส 1 เพิ่มขึ้น 42.3 57.3 2 เหมือนเดิม 57.7 42.7 รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
--เอแบคโพลล์--