เมื่อสอบถามกลุ่มผู้นำเด็กและเยาวชนเกี่ยวกับปัญหาด้านเด็กและเยาวชนที่รู้สึกกังวลอยู่ในขณะนี้ พบว่า ปัญหาอันดับแรกหรือร้อยละ 83.7 ที่กลุ่มผู้นำเด็กและเยาวชนระบุคือ ปัญหายาเสพติด อันดับสอง ร้อยละ 72.1 ได้แก่ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ อันดับสามร้อยละ 69.4 ได้แก่ คุณภาพการศึกษา อันดับสี่ ร้อยละ 65.8 ได้แก่ ความรุนแรงในเด็กและเยาวชน อันดับห้า ร้อยละ 63.5 ได้แก่ ปัญหาครอบครัว รองๆ ลงมา คือ ร้อยละ 60.2 ระบุการใช้เทคโนโลยี โซเชียลเน็ตเวิร์ค อาทิ ไลน์ เฟสบุค ทวิชเตอร์ เป็นต้น ร้อยละ 57.9 ระบุคุณธรรมจริยธรรม ร้อยละ 47.9 ระบุวัฒนธรรมที่ดีงาม ร้อยละ 45.8 ระบุสาธารณสุข และร้อยละ 18.2 ระบุปัญหาอื่นๆ อาทิ แกงค์มอเตอร์ไซต์ การทารุณกรรม การลักขโมย เป็นต้น
สำหรับความพึงพอใจต่อการดูแลเอาใจใส่ปัญหาเด็กและเยาวชนของรัฐบาลชุดปัจจุบัน พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 42.6 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางต่อการดูแลเอาใจใส่ปัญหาเด็กและเยาวชนของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ในขณะที่ร้อยละ 25.8 ระบุพอใจมากถึงมากที่สุด และร้อยละ 31.6 ระบุพอใจน้อยถึงไม่พอใจเลย
อย่างไรก็ตาม กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 45.8 ระบุว่าได้ยินหรือพบเห็นการออกมาถกเถียงกันด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนน้อยถึงไม่เคยได้ยิน/ไม่เคยพบเห็นเลย ในขณะที่ร้อยละ 21.0 ได้ยินหรือพบเห็นบ่อยมากถึงมากที่สุด และร้อยละ 33.2 ได้ยินหรือพบเห็นปานกลาง
ประเด็นที่น่าสนใจคือ บุคคลในสังคมที่เด็กและเยาวชนอยากให้เป็นแบบอย่างที่ดี อันดับแรก ร้อยละ 87.9 ได้แก่ นักการเมือง อันดับสอง ร้อยละ 80.1 ได้แก่ ครอบครัว อันดับสาม ร้อยละ 74.2 ได้แก่ ผู้ใหญ่ในสังคม และรองๆ ลงมา คือ ข้าราชการ บุคลากรที่โรงเรียน/ ที่ทำงาน และผู้นำชุมชน ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้นำเด็กและเยาวชนที่ตอบแบบสอบถาม ระบุว่าจุดเด่นของเด็กและเยาวชนไทยอันดับแรกหรือร้อยละ 30.0 คือ ความกล้าหาญ กล้าคิดกล้าทำ กล้าแสดงออก รองลงมา ร้อยละ 21.1 ระบุมีความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความกตัญญู และมีจิตสาธารณะ ร้อยละ 16.7 ระบุมีความคิดสร้างสรรค์ ร้อยละ 16.6 ระบุความรู้ความสามารถ มีทักษะการเอาตัวรอดในสังคม ร้อยละ 10.0 ระบุมีเครือข่ายเด็กและเยาวชนจำนวนมากที่เข้มแข็ง และร้อยละ 5.6 ระบุมีคุณธรรม จริยธรรม มารยาท สัมมาคารวะ และวัฒนธรรมที่ดีงาม
สิ่งที่กลุ่มผู้นำเด็กและเยาวชนอยากทำมากที่สุดในขณะนี้หากมีโอกาสในการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ พบว่า อันดับแรก ร้อยละ 25.5 ระบุอยากพัฒนาระบอบประชาธิปไตย/การเมืองไทย/การปฏิรูปกฎหมาย/ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น รองลงมา ร้อยละ 23.3 ระบุอยากพัฒนาคุณภาพการศึกษา และอันดับสาม ร้อยละ 20.2 ระบุอยากพัฒนาศักยภาพเด็ก เยาวชน และประชาชน ส่งเสริมการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ในการทำกิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชน และการแสดงออกในด้านต่างๆ ตามลำดับ
นางสาวปุณฑรีก์ ผช.ผอ. กล่าวว่า ผู้ใหญ่ในสังคมควรให้ความสำคัญต่อการเคารพในตัวเองของเด็กและเยาวชน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้แก่พวกเขาในการทำสาธารณะประโยชน์แก่สังคม ใช้พลังแสดงออกในกิจกรรมที่สร้างสรรค์ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการพัฒนาเด็กและเยาวชนในทุกด้านให้เท่าเทียมและทั่วถึง มิฉะนั้น อนาคตประเทศไทยจะตกอยู่ในสภาวะแนวโน้มที่น่าเป็นห่วงเพราะจะมีกำลังสำคัญด้านทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าไม่มากเพียงพอ แล้ววงจรอุบาทว์ก็จะเกิดขึ้นซ้ำซาก ก็ต้องฝากเป็นโจทย์ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้ช่วยดูแลเอาใจใส่เสียงของเด็กและเยาวชนอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
นายนวกัณฑ์ อุบล ประธานสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันนี้สังคมไทยมักจะมีการพูดคุย ถกเถียงด้านลบของเด็กและเยาวชน ทำให้สถานการณ์ดูเลวร้ายเกินความจริง เป็นการบั่นทอนความตั้งใจในการทำความดีของพวกเขา เพราะยังมีเด็กและเยาวชนอีกจำนวนมากที่ร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งที่ดีให้กับสังคม ภาครัฐควรยกเรื่องการพัฒนาเด็กและเยาวชนเป็นวาระแห่งชาติ เพราะการสร้างเด็กและเยาวชนในวันนี้ ก็เพื่อการสร้างอนาคตที่ดีของชาติในวันหน้า ต้องเน้นการพัฒนาอย่างทั่วถึงในทุกระดับ แก้ไขปัญหาให้ตรงจุด และประยุกต์ใช้กลไกที่หลากหลายพร้อมกับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม นอกจากนี้ ฝ่ายการเมืองและผู้ใหญ่ในสังคมคือแบบอย่างที่เด็กและเยาวชนติดตามอยู่ ดังนั้นอนาคตของชาติจะเป็นอย่างไรก็มีส่วนมาจากพฤติกรรมของท่านในวันนี้เช่นเดียวกัน
นายเสรีย์ วชิรถาวรชัย รองผู้อำนวยการสำนักงาน ส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชนผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ (สท.) กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวว่า ปัญหาเด็กและเยาวชนที่น่าเป็นห่วงในเวลานี้มีมากมาย ดังนั้นในการแก้ปัญหาทุกหน่วยงานจากทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันทำงานอย่างบูรณาการ โดยเริ่มจากครอบครัวเป็นต้นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างวินัยเชิงบวก และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและทั่วถึง เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข
นางสาวอุษณี กังวารจิตต์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพิทักษ์เยาวชน สท. กล่าวว่า เด็กและเยาวชนเปี่ยมไปด้วยพลัง และความคิดสร้างสรรค์ที่จะพัฒนาตนเอง เพื่อนำศักยภาพและความสามารถไปพัฒนาและสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนของพวกเขา อย่างไรก็ตาม หน่วยงานภาครัฐและข้าราชการเองก็พยายามให้ความสำคัญในการพัฒนาเด็กและเยาวชนในทุกด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน แต่สิ่งที่สำคัญคือตัวเด็กและเยาวชนต้องใส่ใจในการพัฒนาตนเองให้มากขึ้นทั้งในด้านความรู้ ทักษะการใช้ชีวิต การประกอบอาชีพ เทคโนโลยี การสื่อสารภาษาต่างประเทศ และการสร้างภูมิคุ้มกันทางด้านความคิด ในการดำรงชีวิตประจำวัน
สำหรับมุมมองของเด็กและเยาวชนไทยที่ได้รับโอกาสเข้าไปเป็นผู้นำเยาวชนในเวทีระดับนานาชาติ นางสาวศรสวรรค์ โฮ ประธานคณะกรรมการลูกเสือเยาวชนภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก กล่าวว่า สิ่งที่เยาวชนต้องการคือการพัฒนาศักยภาพในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการคิดที่มีเหตุผล เนื่องจากเด็กและเยาวชนไทยมักจะเติบโตมากับกรอบค่านิยมและสังคมที่ผู้ใหญ่วางให้ ต้องคิดและทำไปแนวเดียวกับคนส่วนใหญ่ เมื่อคิดแตกต่างก็จะถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ผิด ส่งผลทำให้ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น และไม่ค่อยยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง หรือแสดงความคิดเห็นแต่ไม่สามารถให้เหตุผลได้ ดังนั้น ผู้ใหญ่ต้องชี้แนะและให้การสนับสนุนเด็กและเยาวชนได้พัฒนากระบวนการคิดของตนเอง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของตัวเองได้เต็มที่ ตลอดจนต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน ตลอดจนให้การยอม เข้าใจ และสนับสนุนพวกเขาอย่างเต็มที่โดยเริ่มจากครอบครัว คนรอบข้าง สถานศึกษา ชุมชน สังคม ตลอดจนประเทศชาติ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 50.9 เป็นชาย ร้อยละ 49.1 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 46.6 ระบุอายุระหว่าง 15 — 19 ปี และร้อยละ 53.4 ระบุอายุระหว่าง 20 — 25 ปี
ลำดับที่ ปัญหาในเด็กและเยาวชน ค่าร้อยละ 1 ยาเสพติด 83.7 2 ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ 72.1 3 คุณภาพการศึกษา 69.4 4 ความรุนแรงในเด็กและเยาวชน 65.8 5 ปัญหาครอบครัว 63.5 6 การใช้เทคโนโลยี โซเชียลเน็ตเวิร์ค อาทิ ไลน์ เฟสบุค ทวิชเตอร์ เป็นต้น 60.2 7 คุณธรรมจริยธรรม 57.9 8 วัฒนธรรมที่ดีงาม 47.9 9 สาธารณสุข 45.8 10 อื่นๆ อาทิ แกงค์มอเตอร์ไซต์ การทารุณกรรม การลักขโมย เป็นต้น 18.2 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อการดูแลเอาใจใส่ปัญหาเด็กและเยาวชนของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ลำดับที่ ความพึงพอใจต่อการดูแลเอาใจใส่ปัญหาเด็กและเยาวชนของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ค่าร้อยละ 1 พอใจมาก-มากที่สุด 25.8 2 ปานกลาง 42.6 3 พอใจน้อย-ไม่พอใจเลย 31.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการได้ยินหรือพบเห็นการออกมาถกเถียงหรือกำหนดนโยบายด้านเด็กและเยาวชน ลำดับที่ การได้ยินหรือพบเห็นการออกมาถกเถียงหรือกำหนดนโยบายด้านเด็กและเยาวชน ค่าร้อยละ 1 บ่อยมาก-มากที่สุด 21.0 2 ปานกลาง 33.2 3 น้อย-ไม่เคยได้ยิน/ไม่เคยพบเห็น 45.8 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลในสังคมที่อยากให้เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชนในสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ บุคคลในสังคมที่อยากให้เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน ค่าร้อยละ 1 นักการเมือง 87.9 2 ครอบครัว 80.1 3 ผู้ใหญ่ในสังคม 74.2 4 ข้าราชการ 56.8 5 บุคลากรที่โรงเรียน/ที่ทำงาน 53.2 6 ผู้นำชุมชน 51.1 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับจุดเด่นของเยาวชนไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับจุดเด่นของเยาวชนไทย ค่าร้อยละ 1 ความกล้าหาญ กล้าคิดกล้าทำ กล้าแสดงออก 30.0 2 มีความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความกตัญญู และมีจิตสาธารณะ 21.1 3 มีความคิดสร้างสรรค์ 16.7 4 ความรู้ความสามารถ มีทักษะการเอาตัวรอดในสังคม 16.6 5 มีเครือข่ายเด็กและเยาวชนจำนวนมากที่เข้มแข็ง 10.0 6 มีคุณธรรม จริยธรรม มารยาท สัมมาคารวะ และวัฒนธรรมที่ดีงาม 5.6 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากทำมากที่สุดในขณะนี้หากมีโอกาสในการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ลำดับที่ ความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากทำมากที่สุดในขณะนี้หากมีโอกาสในการเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ค่าร้อยละ 1 พัฒนาระบอบประชาธิปไตย/การเมืองไทย/การปฏิรูปกฎหมาย/ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น 25.5 2 คุณภาพการศึกษา 23.3 3 พัฒนาศักยภาพเด็ก เยาวชน และประชาชน ส่งเสริมการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ในการทำกิจกรรมร่วมกัน ของคนในชุมชน และการแสดงออกในด้านต่างๆ 20.2 4 พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และแก้ปัญหาค่าครองชีพ 17.8 5 ปัญหายาเสพติด 7.7 6 ส่งเสริมความสัมพันธ์ของครอบครัว และคุณธรรมจิรยธรรม 5.5 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--