จากการสำรวจ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.7 ได้รับผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันจากปัญหาความวุ่นวายและปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีเพียงร้อยละ 14.3 ไม่ได้รับผลกระทบ
เมื่อสอบถามถึงปัจจัยที่เป็นต้นเหตุแห่งความขัดแย้งในสังคมไทย พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.3 ระบุนักการเมือง รองลงมา คือ ร้อยละ 54.0 ระบุกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ร้อยละ 51.2 ระบุสื่อสาธารณะ ร้อยละ 35.8 ระบุเจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ 29.7 ระบุประชาชนทั่วไป และร้อยละ 23.9 ระบุอื่นๆ อาทิ นักวิชาการ องค์กรอิสระ เป็นต้น นอกจากนี้ตัวอย่างเกิน 2 ใน 3 หรือร้อยละ 67.9 คิดว่ามีกลุ่มจ้องล้มรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 32.1 คิดว่าไม่มี
สำหรับความเชื่อมั่นศรัทธาต่อฝ่ายการเมืองว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้ พบว่า ตัวอย่างเกินครึ่งหรือร้อยละ 54.1 ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย โดยให้เหตุผลว่า อยากให้ฝ่ายการเมืองลดความขัดแย้ง ใช้ทรัพยากรต่างๆ ในการเข้าถึงประชาชนมากกว่าการโต้เถียงกันไปมาหรือการเล่นเกมทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของพวกพ้อง ในขณะที่ร้อยละ 45.9 เชื่อมั่นศรัทธามากถึงมากที่สุด โดยให้เหตุผลว่า ยังมีความหวังต่อนโยบายที่นำเสนอต่อสาธารณชนว่าจะถูกนำไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างจริงใจ และโปร่งใส
ประเด็นที่น่าสนใจคือ ความเป็นไปได้ที่จะทำให้การปรองดองเกิดขึ้น พบว่า ตัวอย่างส่วนมากหรือร้อยละ 62.0 คิดว่าเป็นไปได้ที่จะทำให้การปรองดองเกิดขึ้นถ้าทุกฝ่ายลดอคติและร่วมมือกัน เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 38.0 ไม่คิดว่าเป็นไปได้
ที่น่าพิจารณาคือ ตัวอย่างเกือบ 2 ใน 3 หรือร้อยละ 62.4 คิดว่าผู้นำรัฐบาลตัวจริงในการตัดสินใจคือ อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะที่ร้อยละ 37.6 ระบุนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นางสาวปุณฑรีก์ ผช.ผอ. กล่าวว่า เป็นสิ่งที่น่ายินดีที่ผลสำรวจสะท้อนให้เห็นถึงความหวังของประชาชนภายใต้บรรยากาศที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งที่อยากจะเห็นความสงบสุขของบ้านเมือง และการร่วมมือกันของทุกฝ่ายในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน มุ่งพัฒนาประเทศเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ และคุณภาพของประชาชนให้ทัดเทียมนานาชาติ ดังนั้น แนวคิดที่น่าพิจารณาคือ รัฐบาลและฝ่ายการเมืองควรนำบทเรียนความเสียหายและความเดือดร้อนในอดีตมาทบทวน เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาด ความวุ่นวายซ้ำซากที่เคยเกิดขึ้นโดยกลุ่มคนที่มุ่งหวังผลประโยชน์ส่วนตัวและพรรคพวกบนซากปรักหักพังของบ้านเมืองและความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และที่สำคัญรัฐบาลและฝ่ายการเมืองทั้งปัจจุบันและอนาคตต้องสามารถเป็นแบบอย่างที่ดี สร้างความเชื่อมั่นศรัทธาในหมู่ประชาชน และไม่ทำพฤติกรรมซ้ำซากที่ส่งผลกระทบต่อประเทศชาติบ้านเมือง
สำหรับบทบาทของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ควรเลือกบทบาทที่ตรงกับความต้องการของชาวบ้านส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเฉพาะการแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันหลักของชาติอย่างจริงจังต่อเนื่องเพราะเป็นแนวทางสำคัญในการรวมทุกคนในชาติเป็นหนึ่งเดียวกัน และการแสดงบทบาทในการแก้ปัญหาปากท้องและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ รัฐบาล และผู้ใหญ่ในสังคมต้องแสดงความชัดเจนในการสร้างความเป็น “หุ้นส่วนกัน (Partnership)” ระหว่างรัฐบาล ฝ่ายค้าน สื่อสาธารณะ ผู้มีบารมีในสังคม เจ้าหน้าที่รัฐ กลุ่มนายทุน และประชาชนทุกหมู่เหล่า เพราะความเป็นหุ้นส่วนกันจะต้องแบ่งปันข้อมูลความเป็นจริงและเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการทำหน้าที่รักษาความสงบสุขของชุมชนและสังคมโดยส่วนรวม ไม่ปิดกั้นแบ่งแยกชนชั้น ผลที่ตามมาคือ การเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ลดเงื่อนไขแห่งความขัดแย้ง ประเทศบรรลุเป้าหมายและความสงบสุขโดยเร็ว ยิ่งทำได้เร็วเท่าไหร่ ยิ่งจะทำให้ความเสี่ยงต่อการสูญเสียและความวุ่นวายต่างๆ ก็จะลดน้อยลงไปได้อย่างมากตามนั้น
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.3 เป็นชาย ร้อยละ 52.7 เป็นหญิง ตัวอย่างร้อยละ 4.4 อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 19.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 20.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 20.2 อายุระหว่าง 40—49 ปี และ ร้อยละ 36.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 71.9 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 20.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในขณะที่ร้อยละ 7.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 33.2 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 31.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 8.2 ระบุเป็นพนักงานเอกชน ร้อยละ 9.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.4 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 8.0 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 3.3 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ลำดับที่ ติดตามข่าวสารการเมืองผ่านสื่อมวลชน ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา ค่าร้อยละ 1 ติดตาม 85.9 2 ไม่ได้ติดตาม 14.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันจากปัญหาความวุ่นวายและปัญหาเศรษฐกิจของประเทศในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ลำดับที่ ผลกระทบ ค่าร้อยละ 1 ได้รับผลกระทบ 85.7 2 ไม่ได้รับผลกระทบ 14.3 รวมทั้งสิ้น 100.0 ? ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อปัจจัยที่เป็นต้นเหตุแห่งความขัดแย้งในสังคมไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 นักการเมือง 80.3 2 กฎหมายและรัฐธรรมนูญ 54.0 3 สื่อสาธารณะ 51.2 4 เจ้าหน้าที่รัฐ 35.8 5 ประชาชนทั่วไป 29.7 6 อื่นๆ อาทิ นักวิชาการ องค์กรอิสระ เป็นต้น 23.9 ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างระบุ ความคิดเห็นต่อ กลุ่มจ้องล้มรัฐบาล ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่ามีกลุ่มจ้องล้มรัฐบาล 67.9 2 คิดว่าไม่มี 32.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อความเชื่อมั่นศรัทธาต่อรัฐบาลและฝ่ายการเมืองว่าจะสามารถร่วมกันแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 เชื่อมั่นศรัทธามากถึงมากที่สุด เพราะ ยังมีความหวังต่อนโยบายที่นำเสนอต่อสาธารณชนว่าจะถูกนำ ไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างจริงใจ และโปร่งใส 45.9 2 ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย เพราะ อยากให้ฝ่ายการเมืองลดความขัดแย้ง ใช้ทรัพยากรต่างๆ ในการ เข้าถึงประชาชนมากกว่าการโต้เถียงกันไปมาหรือการเล่นเกมทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของพวกพ้อง 54.1 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อความเป็นไปได้ที่จะทำให้การปรองดองเกิดขึ้น ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่าเป็นไปได้ ถ้าทุกฝ่ายลดอคติและร่วมมือกัน เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง 62.0 2 ไม่คิดว่าเป็นไปได้ 38.0 รวมทั้งสิ้น 100.0 ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นของประชาชนต่อผู้นำรัฐบาลตัวจริงในการตัดสินใจต่างๆ ลำดับที่ ความคิดเห็น ค่าร้อยละ 1 คิดว่าการตัดสินใจทุกอย่างมาจากนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 37.6 2 คิดว่าการตัดสินใจมาจากอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 62.4 รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--