ที่มาของโครงการ
มาตรการประหยัดพลังงานเป็นประเด็นสำคัญทางสังคมและเศรษฐกิจที่ส่งผลโดยตรงต่อการดำเนินชีวิต
ประจำวันของประชาชน ทันทีที่ ครม. มีมติเกี่ยวกับมาตรการประหยัดพลังงานออกมา เช่นการ ปิดปั๊มตั้งแต่เวลา 4
ทุ่มถึงตีห้า การที่ให้หน่วยงานราชการไม่สามารถเบิกค่าน้ำมันเบนซินได้ยกเว้นน้ำมันก๊าซโซฮอล์ได้ และมาตรการปิดไฟ
ป้ายโฆษณาหลังสี่ทุ่ม สำนักวิจัยเอแบคโพลล์จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทันที และสำรวจความมั่นใจ
ของประชาชนต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง ถ้าหากมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลสามารถนำไปปฏิบัติ
ได้อย่างจริงจัง
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อมติ ครม. เกี่ยวกับมาตรการประหยัดพลังงาน
2. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงครึ่งปีหลัง
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่าง
ไรต่อมติ ครม. ด้านการประหยัดพลังงาน: กรณีศึกษากลุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจวันที่ 12 กรกฎาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ กลุ่มประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของ
ตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,079 คน
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 55.8 เป็นหญิง ร้อยละ 44.2 เป็น
ชาย ตัวอย่างร้อยละ 36.1 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ 27.4 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี ร้อยละ 17.2
อายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 11.6 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี และร้อยละ 7.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี ตัวอย่างร้อยละ
75.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รองลงมาคือร้อยละ 20.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ
4.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 32.1 อาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 21.1 อาชีพรับ
จ้างทั่วไป ร้อยละ 14.9 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 10.6 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ
9.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 6.3 เป็นนักศึกษา/นักเรียน ร้อยละ 5.8 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการปิดปั้มน้ำมันในช่วง 4 ทุ่มถึงตีห้า
ลำดับที่ ความเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 66.9
2 ไม่เห็นด้วย 26.1
3 ไม่มีความเห็น 7.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อการปิดไฟป้ายโฆษณาตั้งแต่ 4 ทุ่ม เป็นต้นไป
ลำดับที่ ความเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 82.4
2 ไม่เห็นด้วย 11.7
3 ไม่มีความเห็น 5.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อมาตรการห้ามรถยนต์หน่วยงานราชการ
เบิกค่าน้ำมันเบนซิน แต่เบิกค่าน้ำมันก๊าซโซฮอล์ได้
ลำดับที่ ความเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 81.3
2 ไม่เห็นด้วย 16.6
3 ไม่มีความเห็น 2.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อรัฐบาลในมาตรการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน
เช่น เพิ่มเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น
ลำดับที่ ความเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 85.1
2 ไม่เห็นด้วย 14.5
3 ไม่มีความเห็น 0.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง
ถ้ามีการใช้มาตรการประหยัดพลังงานและการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรัฐบาลอย่างจริงจัง
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 64.7
2 ไม่เชื่อมั่น 27.6
3 ไม่มีความเห็น 7.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อความสามารถของนายกรัฐมนตรี
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในการฟื้นฟูสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อความสามารถของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 56.9
2 ไม่เชื่อมั่น 22.8
3 ไม่มีความเห็น 20.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ถึงเวลาหรือยังที่ประชาชน
ทั้งประเทศจะร่วมใจกันเสียสละความสะดวกสบายด้วยการประหยัดพลังงานร่วมกัน
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ถึงเวลาแล้ว 80.7
2 ยังไม่ถึงเวลา 15.5
3 ไม่มีความเห็น 3.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการเห็นตัวอย่างที่ดีจากคณะรัฐมนตรี
ในการประหยัดพลังงานด้วยการใช้บริการขนส่งสาธารณะแทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ต้องการเห็น 73.2
2 ไม่ต้องการ 16.3
3 ไม่มีความเห็น 10.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
มาตรการประหยัดพลังงานเป็นประเด็นสำคัญทางสังคมและเศรษฐกิจที่ส่งผลโดยตรงต่อการดำเนินชีวิต
ประจำวันของประชาชน ทันทีที่ ครม. มีมติเกี่ยวกับมาตรการประหยัดพลังงานออกมา เช่นการ ปิดปั๊มตั้งแต่เวลา 4
ทุ่มถึงตีห้า การที่ให้หน่วยงานราชการไม่สามารถเบิกค่าน้ำมันเบนซินได้ยกเว้นน้ำมันก๊าซโซฮอล์ได้ และมาตรการปิดไฟ
ป้ายโฆษณาหลังสี่ทุ่ม สำนักวิจัยเอแบคโพลล์จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทันที และสำรวจความมั่นใจ
ของประชาชนต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง ถ้าหากมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลสามารถนำไปปฏิบัติ
ได้อย่างจริงจัง
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อมติ ครม. เกี่ยวกับมาตรการประหยัดพลังงาน
2. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในช่วงครึ่งปีหลัง
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่าง
ไรต่อมติ ครม. ด้านการประหยัดพลังงาน: กรณีศึกษากลุ่มตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจวันที่ 12 กรกฎาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ กลุ่มประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของ
ตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,079 คน
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 55.8 เป็นหญิง ร้อยละ 44.2 เป็น
ชาย ตัวอย่างร้อยละ 36.1 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ 27.4 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี ร้อยละ 17.2
อายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 11.6 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี และร้อยละ 7.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี ตัวอย่างร้อยละ
75.1 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รองลงมาคือร้อยละ 20.8 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ
4.1 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 32.1 อาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 21.1 อาชีพรับ
จ้างทั่วไป ร้อยละ 14.9 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 10.6 เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ
9.2 เป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 6.3 เป็นนักศึกษา/นักเรียน ร้อยละ 5.8 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการปิดปั้มน้ำมันในช่วง 4 ทุ่มถึงตีห้า
ลำดับที่ ความเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 66.9
2 ไม่เห็นด้วย 26.1
3 ไม่มีความเห็น 7.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อการปิดไฟป้ายโฆษณาตั้งแต่ 4 ทุ่ม เป็นต้นไป
ลำดับที่ ความเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 82.4
2 ไม่เห็นด้วย 11.7
3 ไม่มีความเห็น 5.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อมาตรการห้ามรถยนต์หน่วยงานราชการ
เบิกค่าน้ำมันเบนซิน แต่เบิกค่าน้ำมันก๊าซโซฮอล์ได้
ลำดับที่ ความเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 81.3
2 ไม่เห็นด้วย 16.6
3 ไม่มีความเห็น 2.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อรัฐบาลในมาตรการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน
เช่น เพิ่มเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น
ลำดับที่ ความเห็น ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 85.1
2 ไม่เห็นด้วย 14.5
3 ไม่มีความเห็น 0.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง
ถ้ามีการใช้มาตรการประหยัดพลังงานและการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรัฐบาลอย่างจริงจัง
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 64.7
2 ไม่เชื่อมั่น 27.6
3 ไม่มีความเห็น 7.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อความสามารถของนายกรัฐมนตรี
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในการฟื้นฟูสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นต่อความสามารถของนายกรัฐมนตรี ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 56.9
2 ไม่เชื่อมั่น 22.8
3 ไม่มีความเห็น 20.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ คำตอบต่อคำถามที่ว่า ถึงเวลาหรือยังที่ประชาชน
ทั้งประเทศจะร่วมใจกันเสียสละความสะดวกสบายด้วยการประหยัดพลังงานร่วมกัน
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ถึงเวลาแล้ว 80.7
2 ยังไม่ถึงเวลา 15.5
3 ไม่มีความเห็น 3.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความต้องการเห็นตัวอย่างที่ดีจากคณะรัฐมนตรี
ในการประหยัดพลังงานด้วยการใช้บริการขนส่งสาธารณะแทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ต้องการเห็น 73.2
2 ไม่ต้องการ 16.3
3 ไม่มีความเห็น 10.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-