ที่มาของโครงการ
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ นับว่าเป็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ โดยมีหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่าย
รัฐบาล ฝ่ายค้าน สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ตลอดจนนักวิชาการ ออกมาให้ความเห็นแตกต่างกันไปในเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ควรได้รับ
การแก้ไขปรับปรุง บ้างก็ต้องการให้แก้ไขเพื่อให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มีความเป็นอิสระมากขึ้น บ้างก็ต้องการแก้ไขเพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(ส.ส.) ไม่ต้องยึดติดอยู่ในกรอบของพรรคมากเกินไป บ้างก็เห็นว่าควรแก้ไขส่วนที่ว่าด้วยการสรรหากรรมการองค์กรอิสระ อย่างไรก็ตาม ประชาชนก็
ควรได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และรัฐบาลก็ควรรับฟังเสียงประชาชนเพื่อดำรงไว้ซึ่งการเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ความพยายามที่จะ
สะท้อนเสียงของประชาชนจึงมีความสำคัญ และเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหา
นคร ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
2. เพื่อสำรวจการรับรู้ของประชาชนต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
3. ผลการสำรวจที่ได้จะสะท้อนความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อันเป็นกระบวนการสำคัญใน
ระบบประชาธิปไตย
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ : กรณีศึกษา
ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 3- 8 ธันวาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่างและใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,490 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 2.5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 47.5 เป็นหญิง ร้อยละ 52.5 เป็นชาย ตัวอย่าง ร้อยละ 41.2
อายุ 20-29 ปี ร้อยละ 26.3 อายุ 30—39 ปี ร้อยละ 17.6 อายุ 40—49 ปี ร้อยละ 10.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 4.9 อายุไม่เกิน 20
ปี ตัวอย่าง ร้อยละ 34.5 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 33.2 สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช./ มัธยมศึกษาตอนปลาย
ร้อยละ 21.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 9.4 สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส./ ปวท. / อนุปริญญา และร้อยละ 1.3 สำเร็จการศึกษา
สูงกว่าระดับปริญญาตรี นอกจากนี้ ร้อยละ 33.5 ประกอบอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 26.9 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 15.3 อาชีพ
พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 12.4 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 5.4 อาชีพข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 5.0 เป็นแม่บ้าน / พ่อบ้าน / ผู้
เกษียณอายุ และร้อยละ 1.5 ไม่ระบุอาชีพ รวมทั้งว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ : กรณีศึกษาประชาชนทั่ว
ไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ในครั้งนี้ ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีขนาดตัวอย่าง
จำนวนทั้งสิ้น 1,490 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3 - 8 ธันวาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างจากการสำรวจส่วนใหญ่คือร้อยละ 88.0 ได้ติดตามข่าวเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวต่างๆ ทางการเมืองในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
โดยจำแนกเป็นร้อยละ 26.7 ระบุติดตามเป็นประจำ และร้อยละ 61.3 ระบุติดตามบ้างเป็นบางครั้ง โดยมีเพียงส่วนน้อยคือร้อยละ 12.0 ระบุไม่ได้
ติดตาม/ติดตามน้อยมาก
ผลสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ พบว่าองค์กรอิสระที่ประชาชนเชื่อมั่น 3 อันดับแรก
ได้แก่ ศาลปกครอง (61.1) ศาลรัฐธรรมนูญ (ร้อยละ 58.9) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ร้อยละ 47.0) ในขณะที่องค์กรอิสระที่ประชาชน
ระบุไม่เชื่อมั่น 3 อันดับแรกได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ร้อยละ 43.3) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ร้อยละ
43.2) และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ร้อยละ 36.0) ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงลักษณะของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่รับรู้นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.8 ระบุการ
กำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานตามหลักความเท่าเทียม ความเสมอภาค และความยุติธรรม รองลงมาร้อยละ 23.7 ระบุความชัดเจนในอำนาจหน้าที่ขององค์กร
อิสระ/ความเป็นอิสระขององค์กรอิสระ ร้อยละ 19.3 ระบุการตรวจสอบทุจริตคอรัปชั่นและการทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 17.1 ระบุอำนาจหน้าที่
ของฝ่ายบริหาร และร้อยละ 6.1 ระบุอำนาจหน้าที่ของฝ่ายค้าน
ประเด็นสำคัญสุดท้ายคือเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความภูมิใจต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันซึ่งเรียกได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ
ประชาชนนั้น พบว่าประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 41.8 ระบุว่าภูมิใจในรัฐธรรมมนูญฉบับปัจจุบัน ในขณะที่ร้อยละ 18.0 ไม่มีความภาคภูมิใจ และ
ร้อยละ 40.2 ไม่มีความเห็น ทั้งนี้เมื่อพิจารณาสัดส่วนข้างต้นแล้วพบว่า สัดส่วนของผู้ที่มีความภูมิใจในรัฐธรรมนูญนั้นสูงกว่าสัดส่วนของผู้ที่ไม่ภูมิใจ
กว่า 2 เท่า ในขณะที่ผู้ที่ไม่แสดงความคิดเห็นซึ่งมีกว่าร้อยละ 40 นั้นได้ให้เหตุผลว่า ไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญ และไม่มีความเข้าใจที่ชัดเจนในบทบัญญัติ
ต่างๆของรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวต่างๆ ทางการเมือง
ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวต่างๆ ทางการเมืองในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ติดตามเป็นประจำ 26.7
2 ติดตามบ้างเป็นบางครั้ง 61.3
3 ไม่ได้ติดตาม / ติดตามน้อยมาก 12.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เชื่อมั่น ไม่เชื่อมั่น ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 35.3 43.3 21.4 100.0
2 ศาลรัฐธรรมนูญ 58.9 20.5 20.6 100.0
3 ศาลปกครอง 61.1 19.7 19.2 100.0
4 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 36.9 43.2 19.9 100.0
5 ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา 44.2 28.9 26.9 100.0
6 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) 36.9 36.0 27.1 100.0
7 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 47.0 26.3 26.7 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้ต่อลักษณะของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1ข้อ)
ลำดับที่ ลักษณะของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ประชาชนรับรู้ ค่าร้อยละ
1 มีการกำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานตามหลักความเท่าเทียม ความเสมอภาค และความยุติธรรม 47.8
2 มีความชัดเจนในอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระ /ความเป็นอิสระขององค์กรอิสระ 23.7
3 มีการตรวจสอบทุจริตคอรัปชั่นและการทำงานของรัฐบาล 19.3
4 มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) 17.1
5 มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ของฝ่ายค้าน 6.1
6 อื่นๆ อาทิ มีความเป็นอิสระทางการเมืองของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)/การถอดถอนนายกรัฐมนตรี เป็นต้น 7.9
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความภูมิใจต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (ฉบับประชาชน)
ลำดับที่ ความภูมิใจต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (ฉบับประชาชน) ค่าร้อยละ
1 ภูมิใจ 41.8
2 ไม่ภูมิใจ 18.0
3 ไม่มีความเห็น 40.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
การแก้ไขรัฐธรรมนูญ นับว่าเป็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงอยู่ในขณะนี้ โดยมีหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่าย
รัฐบาล ฝ่ายค้าน สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ตลอดจนนักวิชาการ ออกมาให้ความเห็นแตกต่างกันไปในเนื้อหาสาระของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ควรได้รับ
การแก้ไขปรับปรุง บ้างก็ต้องการให้แก้ไขเพื่อให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มีความเป็นอิสระมากขึ้น บ้างก็ต้องการแก้ไขเพื่อให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
(ส.ส.) ไม่ต้องยึดติดอยู่ในกรอบของพรรคมากเกินไป บ้างก็เห็นว่าควรแก้ไขส่วนที่ว่าด้วยการสรรหากรรมการองค์กรอิสระ อย่างไรก็ตาม ประชาชนก็
ควรได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และรัฐบาลก็ควรรับฟังเสียงประชาชนเพื่อดำรงไว้ซึ่งการเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ความพยายามที่จะ
สะท้อนเสียงของประชาชนจึงมีความสำคัญ และเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหา
นคร ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
2. เพื่อสำรวจการรับรู้ของประชาชนต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
3. ผลการสำรวจที่ได้จะสะท้อนความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อันเป็นกระบวนการสำคัญใน
ระบบประชาธิปไตย
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ : กรณีศึกษา
ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 3- 8 ธันวาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่างและใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,490 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 2.5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 47.5 เป็นหญิง ร้อยละ 52.5 เป็นชาย ตัวอย่าง ร้อยละ 41.2
อายุ 20-29 ปี ร้อยละ 26.3 อายุ 30—39 ปี ร้อยละ 17.6 อายุ 40—49 ปี ร้อยละ 10.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 4.9 อายุไม่เกิน 20
ปี ตัวอย่าง ร้อยละ 34.5 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า ร้อยละ 33.2 สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช./ มัธยมศึกษาตอนปลาย
ร้อยละ 21.6 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 9.4 สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส./ ปวท. / อนุปริญญา และร้อยละ 1.3 สำเร็จการศึกษา
สูงกว่าระดับปริญญาตรี นอกจากนี้ ร้อยละ 33.5 ประกอบอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 26.9 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 15.3 อาชีพ
พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 12.4 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 5.4 อาชีพข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 5.0 เป็นแม่บ้าน / พ่อบ้าน / ผู้
เกษียณอายุ และร้อยละ 1.5 ไม่ระบุอาชีพ รวมทั้งว่างงาน
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ : กรณีศึกษาประชาชนทั่ว
ไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ในครั้งนี้ ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั่วไปที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีขนาดตัวอย่าง
จำนวนทั้งสิ้น 1,490 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3 - 8 ธันวาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างจากการสำรวจส่วนใหญ่คือร้อยละ 88.0 ได้ติดตามข่าวเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวต่างๆ ทางการเมืองในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
โดยจำแนกเป็นร้อยละ 26.7 ระบุติดตามเป็นประจำ และร้อยละ 61.3 ระบุติดตามบ้างเป็นบางครั้ง โดยมีเพียงส่วนน้อยคือร้อยละ 12.0 ระบุไม่ได้
ติดตาม/ติดตามน้อยมาก
ผลสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ พบว่าองค์กรอิสระที่ประชาชนเชื่อมั่น 3 อันดับแรก
ได้แก่ ศาลปกครอง (61.1) ศาลรัฐธรรมนูญ (ร้อยละ 58.9) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ร้อยละ 47.0) ในขณะที่องค์กรอิสระที่ประชาชน
ระบุไม่เชื่อมั่น 3 อันดับแรกได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ร้อยละ 43.3) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ร้อยละ
43.2) และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (ร้อยละ 36.0) ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงลักษณะของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่รับรู้นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.8 ระบุการ
กำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานตามหลักความเท่าเทียม ความเสมอภาค และความยุติธรรม รองลงมาร้อยละ 23.7 ระบุความชัดเจนในอำนาจหน้าที่ขององค์กร
อิสระ/ความเป็นอิสระขององค์กรอิสระ ร้อยละ 19.3 ระบุการตรวจสอบทุจริตคอรัปชั่นและการทำงานของรัฐบาล ร้อยละ 17.1 ระบุอำนาจหน้าที่
ของฝ่ายบริหาร และร้อยละ 6.1 ระบุอำนาจหน้าที่ของฝ่ายค้าน
ประเด็นสำคัญสุดท้ายคือเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความภูมิใจต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันซึ่งเรียกได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับ
ประชาชนนั้น พบว่าประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 41.8 ระบุว่าภูมิใจในรัฐธรรมมนูญฉบับปัจจุบัน ในขณะที่ร้อยละ 18.0 ไม่มีความภาคภูมิใจ และ
ร้อยละ 40.2 ไม่มีความเห็น ทั้งนี้เมื่อพิจารณาสัดส่วนข้างต้นแล้วพบว่า สัดส่วนของผู้ที่มีความภูมิใจในรัฐธรรมนูญนั้นสูงกว่าสัดส่วนของผู้ที่ไม่ภูมิใจ
กว่า 2 เท่า ในขณะที่ผู้ที่ไม่แสดงความคิดเห็นซึ่งมีกว่าร้อยละ 40 นั้นได้ให้เหตุผลว่า ไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญ และไม่มีความเข้าใจที่ชัดเจนในบทบัญญัติ
ต่างๆของรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวต่างๆ ทางการเมือง
ในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ การติดตามข่าวเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวต่างๆ ทางการเมืองในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ติดตามเป็นประจำ 26.7
2 ติดตามบ้างเป็นบางครั้ง 61.3
3 ไม่ได้ติดตาม / ติดตามน้อยมาก 12.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการทำงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
ลำดับที่ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เชื่อมั่น ไม่เชื่อมั่น ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 35.3 43.3 21.4 100.0
2 ศาลรัฐธรรมนูญ 58.9 20.5 20.6 100.0
3 ศาลปกครอง 61.1 19.7 19.2 100.0
4 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 36.9 43.2 19.9 100.0
5 ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา 44.2 28.9 26.9 100.0
6 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) 36.9 36.0 27.1 100.0
7 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 47.0 26.3 26.7 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้ต่อลักษณะของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1ข้อ)
ลำดับที่ ลักษณะของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ประชาชนรับรู้ ค่าร้อยละ
1 มีการกำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานตามหลักความเท่าเทียม ความเสมอภาค และความยุติธรรม 47.8
2 มีความชัดเจนในอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระ /ความเป็นอิสระขององค์กรอิสระ 23.7
3 มีการตรวจสอบทุจริตคอรัปชั่นและการทำงานของรัฐบาล 19.3
4 มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหาร (รัฐบาล) 17.1
5 มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ของฝ่ายค้าน 6.1
6 อื่นๆ อาทิ มีความเป็นอิสระทางการเมืองของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)/การถอดถอนนายกรัฐมนตรี เป็นต้น 7.9
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความภูมิใจต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (ฉบับประชาชน)
ลำดับที่ ความภูมิใจต่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (ฉบับประชาชน) ค่าร้อยละ
1 ภูมิใจ 41.8
2 ไม่ภูมิใจ 18.0
3 ไม่มีความเห็น 40.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-