ที่มาของโครงการ
นับตั้งแต่รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้ประกาศทำสงครามขั้น
แตกหักกับขบวนการค้ายาเสพติดในเดือนกุมภาพันธ์ 2546 เป็นต้นมา ซึ่งพบว่าในช่วงแรกๆ มีการกวาดล้างปราบปราม
อย่างจริงจังและมีข่าวจับกุมขบวนการค้ายาเสพติดรายใหญ่อยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านพ้นไปได้ระยะหนึ่ง
กลับพบว่าสภาพปัญหายาเสพติดเริ่มปรากฎให้เห็นมากขึ้นอีก สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการ
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มสภาพปัญหายาเสพติดเปรียบเทียบระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 กับ เดือน
มีนาคม พ.ศ. 2548 ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้
ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อประเมินสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในชุมชนระดับครัวเรือน
2. เพื่อค้นหาปัญหายาเสพติดจำแนกตามประเภทตัวยาและพื้นที่
3. เพื่อสำรวจความพร้อมของประชาชนในการให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้
เรื่อง “ประเมินสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในชุมชนระดับครัวเรือน หลังรัฐบาลทำสงครามยาเสพติดครบรอบ 2 ปี:
กรณีศึกษา ตัวอย่างประชาชนใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 15
กุมภาพันธ์ — 18 มีนาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ครัวเรือนของประชาชนทั่วไปใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified
Cluster Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่าง ใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร กาญจนบุรี ระยอง ชลบุรี
ปราจีนบุรี นครราชสีมา ศรีสะเกษ หนองคาย อุบลราชธานี ยโสธร ขอนแก่น อุดรธานี ร้อยเอ็ด สกลนคร ระนอง
นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และสงขลา จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดลักษณะทั่วไปของตัวอย่างให้มีความ
สอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 5,168 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 51.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.2 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 29.3 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 27.1 อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 20.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
ร้อยละ 18.6 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
และร้อยละ 4.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 19.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 38.7 เป็นเกษตรกร
ร้อยละ 16.8 ค้าขายอิสระ
ร้อยละ 14.7 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.2 ระบุอาชีพแม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 9.7 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 8.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.4 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 3.3 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ปัญหายาเสพติดที่กำลังเกิดขึ้นในละแวกชุมชน
ที่พักอาศัย (ปีพ.ศ. 2547 กับปี พ.ศ. 2548)
ลำดับที่ การรับรู้ปัญหายาเสพติดที่กำลังเกิดขึ้น ปี พ.ศ. 2547 ปีพ.ศ. 2548 ส่วนต่างร้อยละ
ในละแวกชุมชนที่ตัวอย่างพักอาศัยอยู่ ร้อยละ ร้อยละ
1 มีปัญหา 54.3 62.2 +7.9
2 ไม่มีปัญหา 34.1 24.7 — 9.4
3 ไม่มีความเห็น 11.6 13.1 +1.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเภทยาเสพติดที่พบว่ากลุ่มคนในละแวกที่พักอาศัย
เข้าไปเกี่ยวข้อง (ปีพ.ศ. 2547 กับ ปีพ.ศ. 2548 และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทยาเสพติดที่พบว่ากลุ่มคน ปี พ.ศ. 2547 ปี พ.ศ. 2548 ส่วนต่างร้อยละ
ในละแวกชุมชนที่พักอาศัยเข้าไปเกี่ยวข้อง ร้อยละ ร้อยละ
1 ยาบ้า 47.9 55.7 +7.8
2 กาว / สารระเหย 36.5 42.1 +5.6
3 กัญชา 27.5 33.4 +5.9
4 กระท่อม 20.0 28.9 +8.9
5 ยานอนหลับ /ยาคลายเครียด / 27.5 28.1 +0.6
ยากล่อมประสาท
6 ยาอี 17.4 19.5 +2.1
7 เฮโรอีน / ผงขาว 15.9 18.2 +2.3
8 ฝิ่น 8.7 10.9 +2.2
9 ยาเค 14.0 10.3 -3.7
10 โคเคน 8.5 8.6 +0.1
11 มอร์ฟีน 7.4 5.1 -2.3
ตารางที่ 3 แสดงการเปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการพบเห็นกลุ่มบุคคลในชุมชนของตนเข้าไป
เกี่ยวข้องกับยาบ้าจำแนกตามรายภาค (ผู้เสพ /ผู้ค้า /ผู้ผลิต) และปีที่ทำสำรวจ
ประเภทยาเสพติด ค่าร้อยละของการพบเห็นกลุ่มบุคคลในชุมชนที่อยู่อาศัยหรือบริเวณใกล้เคียง
เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดในแต่ละภูมิภาค (ผู้เสพ /ผู้ค้า/ผู้ผลิต)
กทม. เหนือ กลาง อีสาน ใต้ ภาพรวม
1. ยาบ้า (สำรวจ กุมภาพันธ์ 2547) 65.3 26.9 22.8 29.1 29.7 47.9
2. ยาบ้า (สำรวจ มีนาคม 2548) 68.4 42.1 45.9 50.8 62.4 55.7
ส่วนต่าง (ร้อยละ) + 3.1 + 15.2 + 23.1 +21.7 +32.7 +7.8
จากการพิจารณาผลสำรวจในตารางที่ 3 พบว่า สถานการณ์ปัญหายาบ้าเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในหลาย
ภูมิภาคในการรับรู้ของหัวหน้าครัวเรือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคใต้ที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นของผู้ที่รับรู้ปัญหามากที่สุด จาก
ร้อยละ 29.7 เป็นร้อยละ 62.4 รองลงมาคือภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และกรุงเทพมหานคร
อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานครยังเป็นพื้นที่ที่สะท้อนปัญหายาบ้ามากที่สุด หรือร้อยละ 68.4 ของตัวอย่างทั้งหมด
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกลุ่มบุคคลในชุมชนของตนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาบ้า
(หมายรวมถึงผู้เสพ/ผู้ค้า /ผู้ผลิต: ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ประเภทยาเสพติด กลุ่มบุคคลที่ตัวอย่างพบเห็นเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
ในชุมชนที่อยู่อาศัยหรือบริเวณใกล้เคียง (ผู้เสพ /ผู้ค้า/ผู้ผลิต)
นักเรียน/นักศึกษา ผู้ใช้แรงงาน/รับจ้างทั่วไป พนักงานบริษัท/ราชการ ว่างงาน เยาวชนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ
1. ยาบ้า 40.2 54.2 12.3 60.1 62.3
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ กลุ่มบุคคลที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพติดในละแวก
ชุมชนของตน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กลุ่มบุคคลที่ตัวอย่างเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพติดในละแวกชุมชนของตน ร้อยละ
1 กลุ่มผู้มีอิทธิพลทั่วไป 58.3
2 เจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ตำรวจ ทหาร ผู้นำชุมชน ฝ่ายปกครอง 44.9
3 นักการเมืองท้องถิ่นและพรรคพวก 41.7
4 คนใกล้ชิดกับนักการเมืองระดับชาติ เช่น ลูกน้อง ญาติพี่น้อง 30.4
5 ประชาชนทั่วไป 28.9
7 อื่นๆ อาทิ นักเรียน นักศึกษา คนว่างงาน ครูอาจารย์ เป็นต้น 11.6
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการปราบปรามยาเสพติดให้หมดไป
อย่างแท้จริง
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของตัวอย่าง ร้อยละ
1 เชื่อมั่น 22.8
2 ไม่เชื่อมั่น 67.8
3 ไม่มีความเห็น 9.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพร้อมที่จะร่วมมือกับหน่วยงานรัฐในการแก้ไข
ปัญหายาเสพติดในชุมชน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความพร้อมที่จะร่วมมือกับหน่วยงานรัฐในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน ร้อยละ
1 แจ้งเบาะแสเรื่องยาเสพติดให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ 73.9
2 เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ / ป้องกันต่อต้านยาเสพติด 64.1
3 ไม่เข้าไปยุ่งกับยาเสพติดโดยเด็ดขาด 60.4
4 ช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับยาเสพติด 51.6
3 ช่วยสอดส่องดูแลกลุ่มเสี่ยงในชุมชน 42.0
7 ช่วยในการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติด 39.4
6 ช่วยบริจาคเงินหรือสิ่งของเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหายาเสพติด 27.2
8 ไม่พร้อมที่จะให้ความร่วมมือใดๆ 11.6
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข้อเสนอแนะต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในการปราบปราม
ยาเสพติด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะของตัวอย่างต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ร้อยละ
1 ควรเร่งปราบปรามอย่างจริงจังและต่อเนื่อง 62.2
2 เร่งปราบปรามนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพติดก่อนเป็นอันดับแรก 61.4
3 เร่งจับกุมผู้ค้ารายใหญ่และทำลายเครือข่ายให้หมดสิ้น 56.1
4 เน้นสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชนและชุมชน 41.8
5 ขยายความร่วมมือในการปราบปรามไปยังต่างประเทศ
ที่มีแหล่งผลิตยาเสพติด 40.9
6 ควรยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดีขึ้น เช่น มีการศึกษาสูง
มีอาชีพการงานทำที่มั่นคง เป็นต้น 37.2
7 อื่นๆ อาทิ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนให้มากขึ้น /
เพิ่มค่าตอบแทนในการปราบปรามให้มากขึ้น เป็นต้น 16.8
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผล
สำรวจภาคสนาม เรื่อง “ประเมินสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในชุมชนระดับครัวเรือน หลังรัฐบาลทำสงครามยาเสพติด
ครบรอบ 2 ปี: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็น
จาก ตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในพื้นที่จังหวัด กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี
เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร กาญจนบุรี ระยอง ชลบุรี ปราจีนบุรี นครราชสีมา ศรีสะเกษ
หนองคาย อุบลราชธานี ยโสธร ขอนแก่น อุดรธานี ร้อยเอ็ด สกลนคร ระนอง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และ
สงขลา จำนวนทั้งสิ้น 5,168 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ — 18 มีนาคม
2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างประชาชนใน 25 จังหวัด ต่อการรับรู้ปัญหายาเสพติดที่
กำลังเกิดขึ้นในละแวกชุมชนที่ตัวอย่างพักอาศัย พบว่า ในปี พ.ศ. 2547 ตัวอย่างร้อยละ 54.3 ระบุว่ามีปัญหา ใน
ขณะที่ร้อยละ 34.1 ระบุไม่มีปัญหา และร้อยละ 11.6 ระบุไม่มีความเห็น เมื่อเปรียบเทียบในปี พ.ศ. 2548
ซึ่ง ตัวอย่างระบุว่าปัญหายาเสพติดในชุมชนที่พักอาศัยอยู่เพิ่มมากขึ้นโดยตัวอย่างร้อยละ 62.2 ระบุมีปัญหา ใน
ขณะที่ ร้อยละ 24.7 ระบุว่าไม่มีปัญหา และร้อยละ 13.1 ระบุไม่มีความเห็น
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบประเภทยาเสพติดจากผลการสำรวจในปี
พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2548 พบว่า ยาเสพติดที่มีกลุ่มคนเข้าไปเกี่ยวข้องในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ได้แก่ ยาบ้า กาว/สารระเหย กัญชา และกระท่อม ส่วนยาเสพติดประเภท ยาเค และ มอร์ฟีน ตัวอย่างระบุว่า
มีสัดส่วนของคนในชุมชนที่พักอาศัยเข้าไปเกี่ยวข้องมีสัดส่วนที่ลดลง
จากนั้นคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงกลุ่มบุคคลในชุมชนของตนเองที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาบ้า พบว่า
สถานการณ์ปัญหายาบ้าเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในหลายภูมิภาคในการรับรู้ของหัวหน้าครัวเรือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาค
ใต้ที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นของผู้ที่รับรู้ปัญหามากที่สุด จากร้อยละ 29.7 เป็นร้อยละ 62.4 รองลงมาคือภาคกลาง ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และกรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานครยังเป็นพื้นที่ที่สะท้อนปัญหายาบ้า
มากที่สุด หรือร้อยละ 68.4 ของตัวอย่างทั้งหมด เมื่อพิจารณาจำแนกตามอาชีพ พบว่า ตัวอย่างพบเห็นกลุ่มเยาวชนที่
ไม่ได้เรียนหนังสือเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาบ้ามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 62.3 รองลงมาคืออาชีพว่างงาน คิดเป็นร้อยละ
60.1 อาชีพผู้ใช้แรงงาน/รับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 54.2 นักเรียน/นักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 40.2 และอาชีพ
พนักงานบริษัท/ข้าราชการ คิดเป็นร้อยละ 12.3
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกลุ่มบุคคลที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายา
เสพติดในชุมชนของตนเอง ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 58.3 ระบุว่าเป็นกลุ่มผู้มีอิทธิพลทั่วไป รองลงมาคือ ร้อยละ
44.9 ระบุว่าเป็นกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ตำรวจ ทหาร ผู้นำชุมชน ฝ่ายปกครอง ร้อยละ 41.7 ระบุว่าเป็น
กลุ่ม นักการเมืองท้องถิ่นและพรรคพวก ร้อยละ 30.4 ระบุว่าเป็นกลุ่มคนใกล้ชิดนักการเมืองระดับชาติ เช่น ลูก
น้อง ญาติพี่น้อง ร้อยละ 28.9 ระบุว่าเป็นกลุ่มประชาชนทั่วไป และร้อยละ 11.6 ระบุเป็นกลุ่มอื่นๆ เช่น นัก
เรียน นักศึกษา คนว่างงาน ครูอาจารย์ เป็นต้น
ประเด็นที่สำคัญอีกประเด็นคือ ความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการปราบปรามยาเสพติดให้หมดอย่างแท้จริง พบ
ว่า ร้อยละ 22.8 มีความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถทำได้ ในขณะที่ ร้อยละ 67.8 ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 9.4 ไม่
มีความเห็น และเมื่อสอบถามถึงความพร้อมที่จะร่วมมือกับหน่วยงานรัฐในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 73.9 ระบุพร้อมที่จะแจ้งเบาะแสเรื่องยาเสพติดให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร้อยละ 64.1 ระบุพร้อมที่จะ
เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ / ป้องกันต่อต้านยาเสพติด ร้อยละ 60.4 ระบุว่าจะไม่เข้าไปยุ่งกับยาเสพติดโดยเด็ดขาด
ร้อยละ 51.6 ระบุพร้อมที่จะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับยาเสพติด และ ร้อยละ 42.0 ระบุพร้อมที่
จะช่วยสอดส่องดูแลกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อข้อเสนอแนะต่อ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในการปราบปรามยา
เสพติด โดยที่ตัวอย่างร้อยละ 62.2 ระบุว่าควรเร่งปราบปรามอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ร้อยละ 61.4 ระบุเร่ง
ปราบปราม นักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพติด ร้อยละ 56.1 ระบุให้เร่งจับ
กุมผู้ค้ารายใหญ่และทำลายเครือข่ายให้หมดสิ้น ร้อยละ 41.8 ระบุเน้นสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชนและชุมชน
ร้อยละ 40.9 ระบุขยายความร่วมมือในการปราบปรามไปยังต่างประเทศที่มีแหล่งผลิตยาเสพติด ร้อยละ 37.2 ระบุ
ว่าควรยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดีขึ้น และ ร้อยละ 16.8 ระบุให้ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนให้มาก
ขึ้น เพิ่มค่าตอบแทนในการปราบปรามให้มากขึ้น เป็นต้น
--เอแบคโพลล์--
-พห-
นับตั้งแต่รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้ประกาศทำสงครามขั้น
แตกหักกับขบวนการค้ายาเสพติดในเดือนกุมภาพันธ์ 2546 เป็นต้นมา ซึ่งพบว่าในช่วงแรกๆ มีการกวาดล้างปราบปราม
อย่างจริงจังและมีข่าวจับกุมขบวนการค้ายาเสพติดรายใหญ่อยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านพ้นไปได้ระยะหนึ่ง
กลับพบว่าสภาพปัญหายาเสพติดเริ่มปรากฎให้เห็นมากขึ้นอีก สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการ
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มสภาพปัญหายาเสพติดเปรียบเทียบระหว่าง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 กับ เดือน
มีนาคม พ.ศ. 2548 ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้
ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อประเมินสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในชุมชนระดับครัวเรือน
2. เพื่อค้นหาปัญหายาเสพติดจำแนกตามประเภทตัวยาและพื้นที่
3. เพื่อสำรวจความพร้อมของประชาชนในการให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้
เรื่อง “ประเมินสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในชุมชนระดับครัวเรือน หลังรัฐบาลทำสงครามยาเสพติดครบรอบ 2 ปี:
กรณีศึกษา ตัวอย่างประชาชนใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 15
กุมภาพันธ์ — 18 มีนาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ครัวเรือนของประชาชนทั่วไปใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified
Cluster Sampling) ในการเลือกพื้นที่ตัวอย่าง ใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร
สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร กาญจนบุรี ระยอง ชลบุรี
ปราจีนบุรี นครราชสีมา ศรีสะเกษ หนองคาย อุบลราชธานี ยโสธร ขอนแก่น อุดรธานี ร้อยเอ็ด สกลนคร ระนอง
นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และสงขลา จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดลักษณะทั่วไปของตัวอย่างให้มีความ
สอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 5,168 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 51.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.2 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 29.3 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 27.1 อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 20.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
ร้อยละ 18.6 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
และร้อยละ 4.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 77.4 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 19.2 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 38.7 เป็นเกษตรกร
ร้อยละ 16.8 ค้าขายอิสระ
ร้อยละ 14.7 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.2 ระบุอาชีพแม่บ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 9.7 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 8.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.4 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
และร้อยละ 3.3 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ปัญหายาเสพติดที่กำลังเกิดขึ้นในละแวกชุมชน
ที่พักอาศัย (ปีพ.ศ. 2547 กับปี พ.ศ. 2548)
ลำดับที่ การรับรู้ปัญหายาเสพติดที่กำลังเกิดขึ้น ปี พ.ศ. 2547 ปีพ.ศ. 2548 ส่วนต่างร้อยละ
ในละแวกชุมชนที่ตัวอย่างพักอาศัยอยู่ ร้อยละ ร้อยละ
1 มีปัญหา 54.3 62.2 +7.9
2 ไม่มีปัญหา 34.1 24.7 — 9.4
3 ไม่มีความเห็น 11.6 13.1 +1.5
รวมทั้งสิ้น 100.0 100.0
ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเภทยาเสพติดที่พบว่ากลุ่มคนในละแวกที่พักอาศัย
เข้าไปเกี่ยวข้อง (ปีพ.ศ. 2547 กับ ปีพ.ศ. 2548 และตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทยาเสพติดที่พบว่ากลุ่มคน ปี พ.ศ. 2547 ปี พ.ศ. 2548 ส่วนต่างร้อยละ
ในละแวกชุมชนที่พักอาศัยเข้าไปเกี่ยวข้อง ร้อยละ ร้อยละ
1 ยาบ้า 47.9 55.7 +7.8
2 กาว / สารระเหย 36.5 42.1 +5.6
3 กัญชา 27.5 33.4 +5.9
4 กระท่อม 20.0 28.9 +8.9
5 ยานอนหลับ /ยาคลายเครียด / 27.5 28.1 +0.6
ยากล่อมประสาท
6 ยาอี 17.4 19.5 +2.1
7 เฮโรอีน / ผงขาว 15.9 18.2 +2.3
8 ฝิ่น 8.7 10.9 +2.2
9 ยาเค 14.0 10.3 -3.7
10 โคเคน 8.5 8.6 +0.1
11 มอร์ฟีน 7.4 5.1 -2.3
ตารางที่ 3 แสดงการเปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการพบเห็นกลุ่มบุคคลในชุมชนของตนเข้าไป
เกี่ยวข้องกับยาบ้าจำแนกตามรายภาค (ผู้เสพ /ผู้ค้า /ผู้ผลิต) และปีที่ทำสำรวจ
ประเภทยาเสพติด ค่าร้อยละของการพบเห็นกลุ่มบุคคลในชุมชนที่อยู่อาศัยหรือบริเวณใกล้เคียง
เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดในแต่ละภูมิภาค (ผู้เสพ /ผู้ค้า/ผู้ผลิต)
กทม. เหนือ กลาง อีสาน ใต้ ภาพรวม
1. ยาบ้า (สำรวจ กุมภาพันธ์ 2547) 65.3 26.9 22.8 29.1 29.7 47.9
2. ยาบ้า (สำรวจ มีนาคม 2548) 68.4 42.1 45.9 50.8 62.4 55.7
ส่วนต่าง (ร้อยละ) + 3.1 + 15.2 + 23.1 +21.7 +32.7 +7.8
จากการพิจารณาผลสำรวจในตารางที่ 3 พบว่า สถานการณ์ปัญหายาบ้าเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในหลาย
ภูมิภาคในการรับรู้ของหัวหน้าครัวเรือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคใต้ที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นของผู้ที่รับรู้ปัญหามากที่สุด จาก
ร้อยละ 29.7 เป็นร้อยละ 62.4 รองลงมาคือภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และกรุงเทพมหานคร
อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานครยังเป็นพื้นที่ที่สะท้อนปัญหายาบ้ามากที่สุด หรือร้อยละ 68.4 ของตัวอย่างทั้งหมด
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุกลุ่มบุคคลในชุมชนของตนที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาบ้า
(หมายรวมถึงผู้เสพ/ผู้ค้า /ผู้ผลิต: ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ประเภทยาเสพติด กลุ่มบุคคลที่ตัวอย่างพบเห็นเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
ในชุมชนที่อยู่อาศัยหรือบริเวณใกล้เคียง (ผู้เสพ /ผู้ค้า/ผู้ผลิต)
นักเรียน/นักศึกษา ผู้ใช้แรงงาน/รับจ้างทั่วไป พนักงานบริษัท/ราชการ ว่างงาน เยาวชนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ
1. ยาบ้า 40.2 54.2 12.3 60.1 62.3
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ กลุ่มบุคคลที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพติดในละแวก
ชุมชนของตน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ กลุ่มบุคคลที่ตัวอย่างเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพติดในละแวกชุมชนของตน ร้อยละ
1 กลุ่มผู้มีอิทธิพลทั่วไป 58.3
2 เจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ตำรวจ ทหาร ผู้นำชุมชน ฝ่ายปกครอง 44.9
3 นักการเมืองท้องถิ่นและพรรคพวก 41.7
4 คนใกล้ชิดกับนักการเมืองระดับชาติ เช่น ลูกน้อง ญาติพี่น้อง 30.4
5 ประชาชนทั่วไป 28.9
7 อื่นๆ อาทิ นักเรียน นักศึกษา คนว่างงาน ครูอาจารย์ เป็นต้น 11.6
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการปราบปรามยาเสพติดให้หมดไป
อย่างแท้จริง
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของตัวอย่าง ร้อยละ
1 เชื่อมั่น 22.8
2 ไม่เชื่อมั่น 67.8
3 ไม่มีความเห็น 9.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพร้อมที่จะร่วมมือกับหน่วยงานรัฐในการแก้ไข
ปัญหายาเสพติดในชุมชน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ความพร้อมที่จะร่วมมือกับหน่วยงานรัฐในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน ร้อยละ
1 แจ้งเบาะแสเรื่องยาเสพติดให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ 73.9
2 เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ / ป้องกันต่อต้านยาเสพติด 64.1
3 ไม่เข้าไปยุ่งกับยาเสพติดโดยเด็ดขาด 60.4
4 ช่วยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับยาเสพติด 51.6
3 ช่วยสอดส่องดูแลกลุ่มเสี่ยงในชุมชน 42.0
7 ช่วยในการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติด 39.4
6 ช่วยบริจาคเงินหรือสิ่งของเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหายาเสพติด 27.2
8 ไม่พร้อมที่จะให้ความร่วมมือใดๆ 11.6
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข้อเสนอแนะต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในการปราบปราม
ยาเสพติด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะของตัวอย่างต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ร้อยละ
1 ควรเร่งปราบปรามอย่างจริงจังและต่อเนื่อง 62.2
2 เร่งปราบปรามนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ที่เกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพติดก่อนเป็นอันดับแรก 61.4
3 เร่งจับกุมผู้ค้ารายใหญ่และทำลายเครือข่ายให้หมดสิ้น 56.1
4 เน้นสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชนและชุมชน 41.8
5 ขยายความร่วมมือในการปราบปรามไปยังต่างประเทศ
ที่มีแหล่งผลิตยาเสพติด 40.9
6 ควรยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดีขึ้น เช่น มีการศึกษาสูง
มีอาชีพการงานทำที่มั่นคง เป็นต้น 37.2
7 อื่นๆ อาทิ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนให้มากขึ้น /
เพิ่มค่าตอบแทนในการปราบปรามให้มากขึ้น เป็นต้น 16.8
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผล
สำรวจภาคสนาม เรื่อง “ประเมินสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในชุมชนระดับครัวเรือน หลังรัฐบาลทำสงครามยาเสพติด
ครบรอบ 2 ปี: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็น
จาก ตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในพื้นที่จังหวัด กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี
เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ กำแพงเพชร กาญจนบุรี ระยอง ชลบุรี ปราจีนบุรี นครราชสีมา ศรีสะเกษ
หนองคาย อุบลราชธานี ยโสธร ขอนแก่น อุดรธานี ร้อยเอ็ด สกลนคร ระนอง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และ
สงขลา จำนวนทั้งสิ้น 5,168 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ — 18 มีนาคม
2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างประชาชนใน 25 จังหวัด ต่อการรับรู้ปัญหายาเสพติดที่
กำลังเกิดขึ้นในละแวกชุมชนที่ตัวอย่างพักอาศัย พบว่า ในปี พ.ศ. 2547 ตัวอย่างร้อยละ 54.3 ระบุว่ามีปัญหา ใน
ขณะที่ร้อยละ 34.1 ระบุไม่มีปัญหา และร้อยละ 11.6 ระบุไม่มีความเห็น เมื่อเปรียบเทียบในปี พ.ศ. 2548
ซึ่ง ตัวอย่างระบุว่าปัญหายาเสพติดในชุมชนที่พักอาศัยอยู่เพิ่มมากขึ้นโดยตัวอย่างร้อยละ 62.2 ระบุมีปัญหา ใน
ขณะที่ ร้อยละ 24.7 ระบุว่าไม่มีปัญหา และร้อยละ 13.1 ระบุไม่มีความเห็น
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบประเภทยาเสพติดจากผลการสำรวจในปี
พ.ศ. 2547 และ พ.ศ. 2548 พบว่า ยาเสพติดที่มีกลุ่มคนเข้าไปเกี่ยวข้องในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ได้แก่ ยาบ้า กาว/สารระเหย กัญชา และกระท่อม ส่วนยาเสพติดประเภท ยาเค และ มอร์ฟีน ตัวอย่างระบุว่า
มีสัดส่วนของคนในชุมชนที่พักอาศัยเข้าไปเกี่ยวข้องมีสัดส่วนที่ลดลง
จากนั้นคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงกลุ่มบุคคลในชุมชนของตนเองที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาบ้า พบว่า
สถานการณ์ปัญหายาบ้าเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในหลายภูมิภาคในการรับรู้ของหัวหน้าครัวเรือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาค
ใต้ที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นของผู้ที่รับรู้ปัญหามากที่สุด จากร้อยละ 29.7 เป็นร้อยละ 62.4 รองลงมาคือภาคกลาง ภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และกรุงเทพมหานคร อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานครยังเป็นพื้นที่ที่สะท้อนปัญหายาบ้า
มากที่สุด หรือร้อยละ 68.4 ของตัวอย่างทั้งหมด เมื่อพิจารณาจำแนกตามอาชีพ พบว่า ตัวอย่างพบเห็นกลุ่มเยาวชนที่
ไม่ได้เรียนหนังสือเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาบ้ามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 62.3 รองลงมาคืออาชีพว่างงาน คิดเป็นร้อยละ
60.1 อาชีพผู้ใช้แรงงาน/รับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 54.2 นักเรียน/นักศึกษา คิดเป็นร้อยละ 40.2 และอาชีพ
พนักงานบริษัท/ข้าราชการ คิดเป็นร้อยละ 12.3
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อกลุ่มบุคคลที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายา
เสพติดในชุมชนของตนเอง ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 58.3 ระบุว่าเป็นกลุ่มผู้มีอิทธิพลทั่วไป รองลงมาคือ ร้อยละ
44.9 ระบุว่าเป็นกลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ตำรวจ ทหาร ผู้นำชุมชน ฝ่ายปกครอง ร้อยละ 41.7 ระบุว่าเป็น
กลุ่ม นักการเมืองท้องถิ่นและพรรคพวก ร้อยละ 30.4 ระบุว่าเป็นกลุ่มคนใกล้ชิดนักการเมืองระดับชาติ เช่น ลูก
น้อง ญาติพี่น้อง ร้อยละ 28.9 ระบุว่าเป็นกลุ่มประชาชนทั่วไป และร้อยละ 11.6 ระบุเป็นกลุ่มอื่นๆ เช่น นัก
เรียน นักศึกษา คนว่างงาน ครูอาจารย์ เป็นต้น
ประเด็นที่สำคัญอีกประเด็นคือ ความคิดเห็นต่อรัฐบาลในการปราบปรามยาเสพติดให้หมดอย่างแท้จริง พบ
ว่า ร้อยละ 22.8 มีความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลจะสามารถทำได้ ในขณะที่ ร้อยละ 67.8 ไม่เชื่อมั่น และร้อยละ 9.4 ไม่
มีความเห็น และเมื่อสอบถามถึงความพร้อมที่จะร่วมมือกับหน่วยงานรัฐในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 73.9 ระบุพร้อมที่จะแจ้งเบาะแสเรื่องยาเสพติดให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ร้อยละ 64.1 ระบุพร้อมที่จะ
เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ / ป้องกันต่อต้านยาเสพติด ร้อยละ 60.4 ระบุว่าจะไม่เข้าไปยุ่งกับยาเสพติดโดยเด็ดขาด
ร้อยละ 51.6 ระบุพร้อมที่จะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับยาเสพติด และ ร้อยละ 42.0 ระบุพร้อมที่
จะช่วยสอดส่องดูแลกลุ่มเสี่ยงในชุมชน
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อข้อเสนอแนะต่อ พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในการปราบปรามยา
เสพติด โดยที่ตัวอย่างร้อยละ 62.2 ระบุว่าควรเร่งปราบปรามอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ร้อยละ 61.4 ระบุเร่ง
ปราบปราม นักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพติด ร้อยละ 56.1 ระบุให้เร่งจับ
กุมผู้ค้ารายใหญ่และทำลายเครือข่ายให้หมดสิ้น ร้อยละ 41.8 ระบุเน้นสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชนและชุมชน
ร้อยละ 40.9 ระบุขยายความร่วมมือในการปราบปรามไปยังต่างประเทศที่มีแหล่งผลิตยาเสพติด ร้อยละ 37.2 ระบุ
ว่าควรยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดีขึ้น และ ร้อยละ 16.8 ระบุให้ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนให้มาก
ขึ้น เพิ่มค่าตอบแทนในการปราบปรามให้มากขึ้น เป็นต้น
--เอแบคโพลล์--
-พห-