ที่มาของโครงการ
สื่อมวลชนเป็นสถาบันที่มีความสำคัญต่อสังคมเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ถ่ายทอด
เรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆสู่ประชาชน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้รับ
ทราบเรื่องราวและเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างครบถ้วน ดังนั้นสื่อมวลชนจึงมีบทบาทสำคัญต่อพฤติกรรมของคนใน
สังคมเป็นอย่างมาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเลือกตั้ง ส.ส. 2548 ที่กำลังจะมาถึงนี้ ต้องยอมรับว่าการนำ
เสนอข่าวของสื่อต่างๆอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถตัดสินการแพ้ชนะในผลการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส.ได้ ดัง
นั้นสื่อมวลชนทุกแขนงจึงต้องเสนอข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งอย่างเท่าเทียมและเป็นกลางกับทุกฝ่ายให้มากที่สุด โดย
เฉพาะอย่างยิ่งโทรทัศน์ ซึ่งเป็นสื่อมวลชนที่สามารถเข้าถึงประชาชนส่วนใหญ่ เนื่องจากการนำเสนอข่าวต่างๆผ่าน
ทางโทรทัศน์นั้นสามารถเข้าถึงประชาชนในทุกพื้นที่ ทุกกลุ่ม
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์
เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเลือกตั้ง และความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการนำเสนอข่าวการเลือก
ตั้ง ส.ส. ผ่านสื่อต่างๆ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูก
สุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเลือกตั้งของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นที่มีต่อการนำเสนอข่าวเลือกตั้งผ่านทางสื่อต่างๆ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “สื่อกับ
การเลือกตั้ง ส.ส. 2548 :กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ดำเนิน
โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 30-31 มกราคม พ.ศ. 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ กลุ่มประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะ
สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,156 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง
อยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
พบว่าตัวอย่างร้อยละ 51.6 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.4 ระบุเป็นชาย
ร้อยละ 38.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 17.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี
ร้อยละ 12.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 7.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 83.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 15.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 1.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 34.4 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.0 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 14.7 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
ร้อยละ 13.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 6.3 ระบุพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 2.8 ระบุว่างงาน
และร้อยละ 0.4 ระบุอาชีพเกษตรกร
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง ส.ส. 2548
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง ส.ส. 2548 ค่าร้อยละ
1 ติดตามอย่างต่อเนื่อง 38.4
2 ติดตามเป็นบางครั้ง 57.8
3 ไม่ได้ติดตาม (ติดตามน้อยมาก) 3.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแหล่งที่ติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง ส.ส.2548
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แหล่งที่ติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง ส.ส. 2548 ค่าร้อยละ
1 โทรทัศน์ 91.7
2 หนังสือพิมพ์ 49.4
3 ป้ายประชาสัมพันธ์หาเสียงต่างๆ 47.3
4 วิทยุ 28.5
5 ขบวนรถประชาสัมพันธ์หาเสียงต่างๆ 19.6
6 การแถลงนโยบายของผู้สมัครตามสถานที่ต่างๆ 9.2
7 อินเตอร์เน็ต 4.8
8 ผลโพลล์จากสำนักต่างๆ 4.2
หมายเหตุ ตัวอย่างส่วนใหญ่ระบุสื่อที่ติดตามข่าวการเลือกตั้งบ่อยที่สุด และให้ความสนใจในการติดตามข่าวการเลือกตั้งมากที่สุด ได้แก่ สื่อโทรทัศน์
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเภทข่าวสารการเลือกตั้งที่สนใจติดตาม
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทข่าวสารการเลือกตั้งที่สนใจติดตาม ค่าร้อยละ
1 การรณรงค์การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 56.0
2 การแถลงนโยบายของพรรคการเมือง 47.6
3 การเปิดตัวผู้สมัคร ส.ส. 42.3
4 การลงพื้นที่หาเสียงของผู้สมัคร 34.0
5 วิธีการเลือกตั้ง 29.8
6 ข่าวการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งของผู้สมัคร/
พรรคการเมือง 27.9
7 ประสบการณ์ของ อดีต ส.ส. 25.8
8 ข่าวการใส่ร้ายโจมตีกันของผู้สมัคร 24.4
9 อื่นๆ อาทิ ข่าวการข่มขู่/สังหารหัวคะแนน /
การแถลงข่าวของ กกต.เกี่ยวกับการ
เลือกตั้ง/โพลล์คะแนนนิยม เป็นต้น 33.9
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีสื่อมวลชนเสนอข่าวการหาเสียงของ
แต่ละพรรคอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่
ลำดับที่ สื่อมวลชนเสนอข่าวการหาเสียงของแต่ละพรรคอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ ค่าร้อยละ
1 เท่าเทียมกัน 25.8
2 ไม่เท่าเทียมกัน (เสนอข่าวของพรรคการเมืองบางพรรคมากกว่าพรรคอื่นๆ) 47.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 26.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีความเป็นกลางของสื่อในการเสนอ
ข่าวการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความเป็นกลางของสื่อในการเสนอข่าวการเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 มีความเป็นกลาง 20.4
2 ไม่เป็นกลาง (บางพรรคเสนอข่าวด้านบวก บางพรรคเสนอข่าวด้านลบ) 45.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 34.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีข่าวหาเสียงผ่านสื่อโทรทัศน์มีผล
ต่อการชี้นำในการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง ส.ส.หรือไม่
ลำดับที่ ข่าวหาเสียงผ่านสื่อโทรทัศน์มีผลต่อการชี้นำในการตัดสินใจ ค่าร้อยละ
ของประชาชนในการเลือกตั้ง ส.ส.หรือไม่
1 มีผล 69.4
2 ไม่มีผล 23.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นผลสำรวจคะแนนนิยมจากสำนักโพลล์ต่างๆ
มีผลต่อการชี้นำในการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง ส.ส.หรือไม่
ลำดับที่ ผลสำรวจคะแนนนิยมจากสำนักโพลล์ต่างๆมีผลต่อการชี้นำ ค่าร้อยละ
ในการตัดสินใจของประชาชนหรือไม่
1 มีผล 22.5
2 ไม่มีผล 38.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 39.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือก ส.ส.
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือก ส.ส. ค่าร้อยละ
1 รายการวิเคราะห์ข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งจากสื่อโทรทัศน์ 58.0
2 ป้ายประชาสัมพันธ์หาเสียงต่างๆ 45.5
3 การแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัครทางโทรทัศน์ 44.3
4 ข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้ง/วิเคราะห์การเมืองทางหนังสือพิมพ์ 39.2
5 การเปิดเวทีปราศรัย / แถลงนโยบายตามสถานที่ต่างๆ 32.2
6 ข่าวเกี่ยวกับการหาเสียง / การวิเคราะห์ข่าว จากสื่อวิทยุ 30.1
7 คำแนะนำจากผู้นำชุมชน 16.7
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผล
สำรวจภาคสนาม เรื่อง “สื่อกับการเลือกตั้ง ส.ส. 2548” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่าง
ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,156 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนิน
โครงการสำรวจในระหว่าง วันที่ 30-31 มกราคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ผลการสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเลือกตั้ง ส.ส. 2548 พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 38.4
ระบุติดตามข่าวเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 57.8 ระบุติดตามบ้างเป็นบางครั้ง ในขณะที่ร้อยละ 3.8 ระบุไม่
ได้ติดตามหรือติดตามน้อยมาก
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงแหล่งที่ติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง ส.ส. 2548 พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 91.7 ระบุติดตามข่าวจากโทรทัศน์ ร้อยละ 49.4 ระบุติดตามข่าวจากหนังสือพิมพ์ ร้อยละ
47.3 ระบุ ติดตามข่าวจากป้ายประชาสัมพันธ์หาเสียงต่างๆ ร้อยละ 28.5 ระบุติดตามข่าวจากวิทยุ และร้อย
ละ 19.6 ระบุ ติดตามจากขบวนรถประชาสัมพันธ์หาเสียงต่างๆ
นอกจากนี้ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ ยังค้นพบประเด็นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ ความคิดเห็น
ของตัวอย่างเกี่ยวกับข่าวเลือกตั้งที่สนใจติดตาม ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 56.0 ระบุสนใจข่าวการรณรงค์การไป
ใช้สิทธิเลือกตั้ง ร้อยละ 47.6 ระบุสนใจติดตามข่าวการแถลงนโยบายของพรรคการเมือง ร้อยละ 42.3 ระบุ
สนใจข่าวการเปิดตัวของผู้สมัคร ส.ส. ร้อยละ 34.0 ระบุสนใจข่าวการลงพื้นที่หาเสียงของผู้สมัคร และร้อยละ
29.8 ระบุสนใจข่าวเกี่ยวกับการนำเสนอวิธีการลงคะแนนเลือกตั้ง ตามลำดับ
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความคิดเห็นที่มีต่อความเท่าเทียมกัน และความเป็น
กลางในการเสนอข่าวการเลือกตั้งของสื่อต่างๆ ซึ่งผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีความเท่าเทียมใน
การเสนอข่าวการหาเสียงของแต่ละพรรค พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.4 ระบุสื่อมวลชนเสนอข่าวไม่เท่าเทียมกัน
โดยมักจะเสนอข่าวของพรรคการเมืองบางพรรคมากกว่าพรรคอื่นๆ ในขณะที่ร้อยละ 25.8 ระบุเสนอข่าวเท่า
เทียมกัน และร้อยละ 26.8 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความเป็นกลาง
ของสื่อในการเสนอข่าวการเลือกตั้งนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 45.1 ระบุสื่อมวลชนเสนอข่าวไม่เป็นกลาง (บาง
พรรคเสนอข่าวด้านบวก บางพรรคเสนอข่าวด้านลบ) ร้อยละ 20.4 ระบุเสนอข่าวเป็นกลาง และร้อยละ
34.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งก็คือ ความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีข่าวหาเสียงผ่านสื่อโทรทัศน์มีผล
ต่อการชี้นำในการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งหรือไม่ ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 69.4 ระบุมีผลต่อการ
ตัดสินใจ ร้อยละ 23.2 ไม่มีผล และร้อยละ 7.4 ไม่ระบุความคิดเห็น ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบ
ถามตัวอย่างต่อไปถึงความคิดเห็น กรณีผลสำรวจคะแนนนิยมจากสำนักโพลล์ต่างๆ มีผลต่อการชี้นำในการตัดสินใจ
ของประชาชนในการเลือกตั้งหรือไม่ ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 22.5 ระบุมีผลต่อการตัดสินใจ
ร้อยละ 38.0 ระบุไม่มีผล และร้อยละ 39.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
ความคิดเห็นของตัวอย่างที่ระบุข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือก ส.ส. ซึ่งพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 58.0 ระบุรายการวิเคราะห์ข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งจากสื่อโทรทัศน์ ร้อยละ 45.5 ระบุ
ป้ายประชาสัมพันธ์หาเสียงต่างๆ ร้อยละ 44.3 ระบุการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัครทางโทรทัศน์ และร้อยละ
39.2 ระบุ ข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้ง/วิเคราะห์การเมืองทางหนังสือพิมพ์ ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะจากคณะผู้วิจัย
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ หัวหน้าคณะผู้วิจัยมีความเห็นว่า ผลสำรวจ
ของเอแบคโพลล์ที่ได้นำเสนอไปข้างต้นแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนที่มีต่อการตัดสินใจ
ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนจะต้องระมัดระวังให้มีความเท่าเทียมและความเป็นกลางมาก
ที่สุด มิเช่นนั้นอาจเป็นการเปิดทางให้ผู้สมัครบางคนหรือบางพรรคได้รับประโยชน์จากการนำเสนอข่าวดังกล่าวโดย
มิได้ตั้งใจ ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในกระบวนการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย อาทิ สื่อโทรทัศน์นำเสนอ
ภาพข่าวประชาชนห้อมล้อมสนับสนุนผู้สมัครจากพรรคการเมืองหนึ่ง และสื่อโทรทัศน์แห่งเดียวกันนี้ได้เสนอภาพข่าวอีก
ภาพหนึ่งซึ่งเป็นภาพของผู้สมัครจากพรรคอื่นๆ ที่ไม่มีประชาชนห้อมล้อมอยู่เลย เช่นนี้อาจทำให้ประชาชนทั่วไปที่ยึด
กระแสนิยมเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกผู้สมัครตัดสินใจเลือกผู้สมัครคนแรก เพราะคิดว่าผู้สมัครคนแรกได้
รับความนิยมมากกว่า ผู้สมัครคนอื่นๆ ทั้งที่ในความเป็นจริงผู้สมัครคนอื่นอาจได้รับความนิยมและการยอมรับจาก
ประชาชนมากกว่าทำให้ตัดสินใจผิดพลาดไปจากความต้องการที่แท้จริงของตนได้
หัวหน้าคณะผู้วิจัยยังมีความเห็นอีกว่า ภายหลังจากที่ กกต. ห้ามประกาศผลโพลล์สำรวจคะแนน
นิยม ผู้สมัครรับเลือกตั้ง มีผลที่ตามมาสองประการ
ประการแรก การทำหน้าที่ในทางวิชาการของการทำโพลล์ถูกลดทอนและเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มคน
บางชนชั้นได้ “สิทธิพิเศษ” ในการชี้นำประชาชนในการเลือกตั้ง เพราะการทำโพลล์เลือกตั้งอย่างต่อเนื่องที่ทำ
ถูกต้องตามหลักระเบียบวิธีวิจัยได้ทำหน้าที่ส่ง “ข้อมูลข่าวสารเชิงสัญลักษณ์ทางการเมือง” ที่มีความหมายว่า ความ
คิดเห็น ความต้องการ ทัศนคติ ความคาดหวัง และความตั้งใจไปเลือกตั้งของประชาชน “ทุกชนชั้น” เป็น สิ่งสำคัญ
และจำเป็นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็น “ตัวแทน” ของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่
ใช่เปิดโอกาสให้เฉพาะประชาชน “บางชนชั้น” ที่เป็นชนชั้นนำ (elite) เช่น นักการเมือง นักธุรกิจ นัก
วิชาการ นักสื่อสารมวลชน และกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมต่างๆ เท่านั้นที่มี “สิทธิพิเศษ” ในการแสดง
ความ คิดเห็น และความต้องการในสังคม เพราะประชาชนทุกชนชั้นควรได้รับสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียม
กันในการแสดงความ คิดเห็น ซึ่งการทำโพลล์เลือกตั้งที่ถูกต้องตามหลักวิชาการสุ่มตัวอย่างสามารถค้นพบข้อมูล
จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็น “ตัวแทน” สะท้อนความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของสาธารณชนได้
ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่มีการทำโพลล์คะแนนนิยมมการเลือกตั้งเพราะกฎหมายตามที่คณะกรรมการ
การเลือกตั้งระบุในข่าว ผลที่ตามมาก็คือ อาจเปิดทางให้กลุ่มชนชั้นนำทางสังคมมี “สิทธิพิเศษ”
สามารถ “สร้างภาพ” เอาเปรียบคู่แข่งหรือบุคคลที่กลุ่มของตนไม่สนับสนุน ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมใน
กระบวนการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ตัวอย่างเช่น สื่อโทรทัศน์เสนอภาพข่าวที่แสดงให้ประชาชนทั่วไปเห็น
ว่า ผู้สมัครคนหนึ่งได้รับความนิยมจากประชาชนมากกว่าผู้สมัคร คนอื่นๆ โดยภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า
ประชาชนจำนวนมากห้อมล้อมสนับสนุนผู้สมัคร และสื่อโทรทัศน์แห่งเดียวกันนี้เสนออีกภาพหนึ่งเป็นภาพของผู้สมัครคน
อื่นๆ ที่ไม่มีประชาชนห้อมล้อมเลย ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง ผู้สมัครคนอื่นๆ อาจได้รับความนิยมและการยอมรับจาก
ประชาชนมากกว่า
ดังนั้น การออกประกาศห้ามการทำโพลล์เลือกตั้งที่ทำหน้าที่สะท้อนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ
และ ความนิยมของประชาชน “ทุกชนชั้น” ต่อตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง จึงอาจมีผลทำให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
(กกต.) กำลังเสี่ยงต่อการเลือกปฏิบัติ (discrimination) ละเมิดสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ ละเมิดสิทธิ
เสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนทุกชนชั้น และอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญได้
ประการที่สอง ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศห้ามการทำโพลล์เลือกตั้ง อาจไม่ได้แก้ปัญหา
การ ชี้นำ ตรงกันข้าม กลับยิ่งส่งเสริมทำให้เกิดการชี้นำมากขึ้นไปอีก เพราะการทำโพลล์เลือกตั้งที่ถูกต้องตาม
ระเบียบวิธีวิจัย ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์และสถิติศาสตร์สะท้อนถึงความเป็นจริงในความรู้สึกนึกคิดของ
ประชาชนส่วนใหญ่ได้ จึงเป็นข้อมูลเชิงวัตถุวิสัย (objective) ซึ่งสามารถนำข้อมูลผลสำรวจไปถ่วงดุลกับการนำ
เสนอข้อมูลข่าวสารเชิง อัตวิสัย (subjective) ของสื่อมวลชนได้ด้วย
นอกจากนี้ การทำโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้งทำให้สื่อมวลชนสามารถพูดและรายงานข้อมูลข่าวสาร
ในฐานะที่เป็นตัวแทนของสาธารณชนในสังคมได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์และสถิติศาสตร์ ผลที่ตามมาก็คือ ประชาชน
บางส่วนที่กำลังจะตัดสินใจเลือกตั้งแต่ไม่รู้ข่าวสาร หรือมีข้อมูลไม่เพียงพอ (uninformed voters) ก็จะได้ข้อมูล
เชิงประจักษ์ที่มีการลดทอน “อคติ” ลงไปบางส่วนที่เพียงพอใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจเลือกตั้งด้วยตนเอง
(informed voters) ดังนั้น การมีผลโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้งจะทำให้ประชาชนมีทางเลือกและสิทธิในการ
ใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจมากขึ้น ไม่ได้ถูกชี้นำโดยหัวคะแนนและกระแสสังคมเท่านั้น ส่วนประชาชนจะเชื่อหรือ
ไม่เชื่อในผลสำรวจโพลล์ก็ต้องเคารพดุลพินิจของประชาชน
กล่าวโดยสรุป กกต.ควรทบทวนการประกาศห้ามเผยแพร่ผลสำรวจคะแนนนิยมของประชาชนต่อผู้สมัคร
เพื่อสร้างดุลยภาพในการรับรู้ข่าวสารหาเสียงเลือกตั้งผ่านสื่อมวลชน กกต. เสริมสร้างเสรีภาพทางวิชาการและ
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนทุกชนชั้น
--เอแบคโพลล์--
-พห-
สื่อมวลชนเป็นสถาบันที่มีความสำคัญต่อสังคมเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ถ่ายทอด
เรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆสู่ประชาชน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้รับ
ทราบเรื่องราวและเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นอย่างครบถ้วน ดังนั้นสื่อมวลชนจึงมีบทบาทสำคัญต่อพฤติกรรมของคนใน
สังคมเป็นอย่างมาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเลือกตั้ง ส.ส. 2548 ที่กำลังจะมาถึงนี้ ต้องยอมรับว่าการนำ
เสนอข่าวของสื่อต่างๆอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถตัดสินการแพ้ชนะในผลการเลือกตั้งของผู้สมัคร ส.ส.ได้ ดัง
นั้นสื่อมวลชนทุกแขนงจึงต้องเสนอข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งอย่างเท่าเทียมและเป็นกลางกับทุกฝ่ายให้มากที่สุด โดย
เฉพาะอย่างยิ่งโทรทัศน์ ซึ่งเป็นสื่อมวลชนที่สามารถเข้าถึงประชาชนส่วนใหญ่ เนื่องจากการนำเสนอข่าวต่างๆผ่าน
ทางโทรทัศน์นั้นสามารถเข้าถึงประชาชนในทุกพื้นที่ ทุกกลุ่ม
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์
เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเลือกตั้ง และความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการนำเสนอข่าวการเลือก
ตั้ง ส.ส. ผ่านสื่อต่างๆ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูก
สุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเลือกตั้งของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นที่มีต่อการนำเสนอข่าวเลือกตั้งผ่านทางสื่อต่างๆ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “สื่อกับ
การเลือกตั้ง ส.ส. 2548 :กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ดำเนิน
โครงการสำรวจระหว่างวันที่ 30-31 มกราคม พ.ศ. 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ กลุ่มประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่างในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะ
สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,156 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง
อยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
พบว่าตัวอย่างร้อยละ 51.6 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 48.4 ระบุเป็นชาย
ร้อยละ 38.6 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 23.6 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 17.9 อายุระหว่าง 40—49 ปี
ร้อยละ 12.2 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 7.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 83.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 15.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 1.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 34.4 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 23.0 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 14.7 เป็นนักเรียน / นักศึกษา
ร้อยละ 13.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 6.3 ระบุพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 5.4 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 2.8 ระบุว่างงาน
และร้อยละ 0.4 ระบุอาชีพเกษตรกร
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง ส.ส. 2548
ลำดับที่ การติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง ส.ส. 2548 ค่าร้อยละ
1 ติดตามอย่างต่อเนื่อง 38.4
2 ติดตามเป็นบางครั้ง 57.8
3 ไม่ได้ติดตาม (ติดตามน้อยมาก) 3.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแหล่งที่ติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง ส.ส.2548
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แหล่งที่ติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง ส.ส. 2548 ค่าร้อยละ
1 โทรทัศน์ 91.7
2 หนังสือพิมพ์ 49.4
3 ป้ายประชาสัมพันธ์หาเสียงต่างๆ 47.3
4 วิทยุ 28.5
5 ขบวนรถประชาสัมพันธ์หาเสียงต่างๆ 19.6
6 การแถลงนโยบายของผู้สมัครตามสถานที่ต่างๆ 9.2
7 อินเตอร์เน็ต 4.8
8 ผลโพลล์จากสำนักต่างๆ 4.2
หมายเหตุ ตัวอย่างส่วนใหญ่ระบุสื่อที่ติดตามข่าวการเลือกตั้งบ่อยที่สุด และให้ความสนใจในการติดตามข่าวการเลือกตั้งมากที่สุด ได้แก่ สื่อโทรทัศน์
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ประเภทข่าวสารการเลือกตั้งที่สนใจติดตาม
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทข่าวสารการเลือกตั้งที่สนใจติดตาม ค่าร้อยละ
1 การรณรงค์การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง 56.0
2 การแถลงนโยบายของพรรคการเมือง 47.6
3 การเปิดตัวผู้สมัคร ส.ส. 42.3
4 การลงพื้นที่หาเสียงของผู้สมัคร 34.0
5 วิธีการเลือกตั้ง 29.8
6 ข่าวการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งของผู้สมัคร/
พรรคการเมือง 27.9
7 ประสบการณ์ของ อดีต ส.ส. 25.8
8 ข่าวการใส่ร้ายโจมตีกันของผู้สมัคร 24.4
9 อื่นๆ อาทิ ข่าวการข่มขู่/สังหารหัวคะแนน /
การแถลงข่าวของ กกต.เกี่ยวกับการ
เลือกตั้ง/โพลล์คะแนนนิยม เป็นต้น 33.9
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีสื่อมวลชนเสนอข่าวการหาเสียงของ
แต่ละพรรคอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่
ลำดับที่ สื่อมวลชนเสนอข่าวการหาเสียงของแต่ละพรรคอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่ ค่าร้อยละ
1 เท่าเทียมกัน 25.8
2 ไม่เท่าเทียมกัน (เสนอข่าวของพรรคการเมืองบางพรรคมากกว่าพรรคอื่นๆ) 47.4
3 ไม่มีความคิดเห็น 26.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีความเป็นกลางของสื่อในการเสนอ
ข่าวการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความเป็นกลางของสื่อในการเสนอข่าวการเลือกตั้ง ค่าร้อยละ
1 มีความเป็นกลาง 20.4
2 ไม่เป็นกลาง (บางพรรคเสนอข่าวด้านบวก บางพรรคเสนอข่าวด้านลบ) 45.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 34.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณีข่าวหาเสียงผ่านสื่อโทรทัศน์มีผล
ต่อการชี้นำในการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง ส.ส.หรือไม่
ลำดับที่ ข่าวหาเสียงผ่านสื่อโทรทัศน์มีผลต่อการชี้นำในการตัดสินใจ ค่าร้อยละ
ของประชาชนในการเลือกตั้ง ส.ส.หรือไม่
1 มีผล 69.4
2 ไม่มีผล 23.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 7.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นผลสำรวจคะแนนนิยมจากสำนักโพลล์ต่างๆ
มีผลต่อการชี้นำในการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้ง ส.ส.หรือไม่
ลำดับที่ ผลสำรวจคะแนนนิยมจากสำนักโพลล์ต่างๆมีผลต่อการชี้นำ ค่าร้อยละ
ในการตัดสินใจของประชาชนหรือไม่
1 มีผล 22.5
2 ไม่มีผล 38.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 39.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือก ส.ส.
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือก ส.ส. ค่าร้อยละ
1 รายการวิเคราะห์ข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งจากสื่อโทรทัศน์ 58.0
2 ป้ายประชาสัมพันธ์หาเสียงต่างๆ 45.5
3 การแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัครทางโทรทัศน์ 44.3
4 ข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้ง/วิเคราะห์การเมืองทางหนังสือพิมพ์ 39.2
5 การเปิดเวทีปราศรัย / แถลงนโยบายตามสถานที่ต่างๆ 32.2
6 ข่าวเกี่ยวกับการหาเสียง / การวิเคราะห์ข่าว จากสื่อวิทยุ 30.1
7 คำแนะนำจากผู้นำชุมชน 16.7
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผล
สำรวจภาคสนาม เรื่อง “สื่อกับการเลือกตั้ง ส.ส. 2548” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่าง
ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,156 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนิน
โครงการสำรวจในระหว่าง วันที่ 30-31 มกราคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ผลการสำรวจพฤติกรรมการติดตามข่าวการเลือกตั้ง ส.ส. 2548 พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 38.4
ระบุติดตามข่าวเลือกตั้งอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 57.8 ระบุติดตามบ้างเป็นบางครั้ง ในขณะที่ร้อยละ 3.8 ระบุไม่
ได้ติดตามหรือติดตามน้อยมาก
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงแหล่งที่ติดตามข่าวสารการเลือกตั้ง ส.ส. 2548 พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 91.7 ระบุติดตามข่าวจากโทรทัศน์ ร้อยละ 49.4 ระบุติดตามข่าวจากหนังสือพิมพ์ ร้อยละ
47.3 ระบุ ติดตามข่าวจากป้ายประชาสัมพันธ์หาเสียงต่างๆ ร้อยละ 28.5 ระบุติดตามข่าวจากวิทยุ และร้อย
ละ 19.6 ระบุ ติดตามจากขบวนรถประชาสัมพันธ์หาเสียงต่างๆ
นอกจากนี้ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ ยังค้นพบประเด็นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ ความคิดเห็น
ของตัวอย่างเกี่ยวกับข่าวเลือกตั้งที่สนใจติดตาม ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 56.0 ระบุสนใจข่าวการรณรงค์การไป
ใช้สิทธิเลือกตั้ง ร้อยละ 47.6 ระบุสนใจติดตามข่าวการแถลงนโยบายของพรรคการเมือง ร้อยละ 42.3 ระบุ
สนใจข่าวการเปิดตัวของผู้สมัคร ส.ส. ร้อยละ 34.0 ระบุสนใจข่าวการลงพื้นที่หาเสียงของผู้สมัคร และร้อยละ
29.8 ระบุสนใจข่าวเกี่ยวกับการนำเสนอวิธีการลงคะแนนเลือกตั้ง ตามลำดับ
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความคิดเห็นที่มีต่อความเท่าเทียมกัน และความเป็น
กลางในการเสนอข่าวการเลือกตั้งของสื่อต่างๆ ซึ่งผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีความเท่าเทียมใน
การเสนอข่าวการหาเสียงของแต่ละพรรค พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.4 ระบุสื่อมวลชนเสนอข่าวไม่เท่าเทียมกัน
โดยมักจะเสนอข่าวของพรรคการเมืองบางพรรคมากกว่าพรรคอื่นๆ ในขณะที่ร้อยละ 25.8 ระบุเสนอข่าวเท่า
เทียมกัน และร้อยละ 26.8 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความเป็นกลาง
ของสื่อในการเสนอข่าวการเลือกตั้งนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 45.1 ระบุสื่อมวลชนเสนอข่าวไม่เป็นกลาง (บาง
พรรคเสนอข่าวด้านบวก บางพรรคเสนอข่าวด้านลบ) ร้อยละ 20.4 ระบุเสนอข่าวเป็นกลาง และร้อยละ
34.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งก็คือ ความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีข่าวหาเสียงผ่านสื่อโทรทัศน์มีผล
ต่อการชี้นำในการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งหรือไม่ ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 69.4 ระบุมีผลต่อการ
ตัดสินใจ ร้อยละ 23.2 ไม่มีผล และร้อยละ 7.4 ไม่ระบุความคิดเห็น ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบ
ถามตัวอย่างต่อไปถึงความคิดเห็น กรณีผลสำรวจคะแนนนิยมจากสำนักโพลล์ต่างๆ มีผลต่อการชี้นำในการตัดสินใจ
ของประชาชนในการเลือกตั้งหรือไม่ ซึ่งผลการสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 22.5 ระบุมีผลต่อการตัดสินใจ
ร้อยละ 38.0 ระบุไม่มีผล และร้อยละ 39.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
ความคิดเห็นของตัวอย่างที่ระบุข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเลือก ส.ส. ซึ่งพบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 58.0 ระบุรายการวิเคราะห์ข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้งจากสื่อโทรทัศน์ ร้อยละ 45.5 ระบุ
ป้ายประชาสัมพันธ์หาเสียงต่างๆ ร้อยละ 44.3 ระบุการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้สมัครทางโทรทัศน์ และร้อยละ
39.2 ระบุ ข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้ง/วิเคราะห์การเมืองทางหนังสือพิมพ์ ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะจากคณะผู้วิจัย
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ หัวหน้าคณะผู้วิจัยมีความเห็นว่า ผลสำรวจ
ของเอแบคโพลล์ที่ได้นำเสนอไปข้างต้นแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนที่มีต่อการตัดสินใจ
ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนจะต้องระมัดระวังให้มีความเท่าเทียมและความเป็นกลางมาก
ที่สุด มิเช่นนั้นอาจเป็นการเปิดทางให้ผู้สมัครบางคนหรือบางพรรคได้รับประโยชน์จากการนำเสนอข่าวดังกล่าวโดย
มิได้ตั้งใจ ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในกระบวนการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย อาทิ สื่อโทรทัศน์นำเสนอ
ภาพข่าวประชาชนห้อมล้อมสนับสนุนผู้สมัครจากพรรคการเมืองหนึ่ง และสื่อโทรทัศน์แห่งเดียวกันนี้ได้เสนอภาพข่าวอีก
ภาพหนึ่งซึ่งเป็นภาพของผู้สมัครจากพรรคอื่นๆ ที่ไม่มีประชาชนห้อมล้อมอยู่เลย เช่นนี้อาจทำให้ประชาชนทั่วไปที่ยึด
กระแสนิยมเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกผู้สมัครตัดสินใจเลือกผู้สมัครคนแรก เพราะคิดว่าผู้สมัครคนแรกได้
รับความนิยมมากกว่า ผู้สมัครคนอื่นๆ ทั้งที่ในความเป็นจริงผู้สมัครคนอื่นอาจได้รับความนิยมและการยอมรับจาก
ประชาชนมากกว่าทำให้ตัดสินใจผิดพลาดไปจากความต้องการที่แท้จริงของตนได้
หัวหน้าคณะผู้วิจัยยังมีความเห็นอีกว่า ภายหลังจากที่ กกต. ห้ามประกาศผลโพลล์สำรวจคะแนน
นิยม ผู้สมัครรับเลือกตั้ง มีผลที่ตามมาสองประการ
ประการแรก การทำหน้าที่ในทางวิชาการของการทำโพลล์ถูกลดทอนและเป็นการเปิดโอกาสให้กลุ่มคน
บางชนชั้นได้ “สิทธิพิเศษ” ในการชี้นำประชาชนในการเลือกตั้ง เพราะการทำโพลล์เลือกตั้งอย่างต่อเนื่องที่ทำ
ถูกต้องตามหลักระเบียบวิธีวิจัยได้ทำหน้าที่ส่ง “ข้อมูลข่าวสารเชิงสัญลักษณ์ทางการเมือง” ที่มีความหมายว่า ความ
คิดเห็น ความต้องการ ทัศนคติ ความคาดหวัง และความตั้งใจไปเลือกตั้งของประชาชน “ทุกชนชั้น” เป็น สิ่งสำคัญ
และจำเป็นต่อการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีผู้ได้รับการเลือกตั้งเป็น “ตัวแทน” ของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่
ใช่เปิดโอกาสให้เฉพาะประชาชน “บางชนชั้น” ที่เป็นชนชั้นนำ (elite) เช่น นักการเมือง นักธุรกิจ นัก
วิชาการ นักสื่อสารมวลชน และกลุ่มเคลื่อนไหวทางสังคมต่างๆ เท่านั้นที่มี “สิทธิพิเศษ” ในการแสดง
ความ คิดเห็น และความต้องการในสังคม เพราะประชาชนทุกชนชั้นควรได้รับสิทธิเสรีภาพอย่างเท่าเทียม
กันในการแสดงความ คิดเห็น ซึ่งการทำโพลล์เลือกตั้งที่ถูกต้องตามหลักวิชาการสุ่มตัวอย่างสามารถค้นพบข้อมูล
จากกลุ่มตัวอย่างที่เป็น “ตัวแทน” สะท้อนความรู้สึกนึกคิดและความต้องการของสาธารณชนได้
ในทางตรงกันข้าม ถ้าไม่มีการทำโพลล์คะแนนนิยมมการเลือกตั้งเพราะกฎหมายตามที่คณะกรรมการ
การเลือกตั้งระบุในข่าว ผลที่ตามมาก็คือ อาจเปิดทางให้กลุ่มชนชั้นนำทางสังคมมี “สิทธิพิเศษ”
สามารถ “สร้างภาพ” เอาเปรียบคู่แข่งหรือบุคคลที่กลุ่มของตนไม่สนับสนุน ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมใน
กระบวนการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ตัวอย่างเช่น สื่อโทรทัศน์เสนอภาพข่าวที่แสดงให้ประชาชนทั่วไปเห็น
ว่า ผู้สมัครคนหนึ่งได้รับความนิยมจากประชาชนมากกว่าผู้สมัคร คนอื่นๆ โดยภาพดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า
ประชาชนจำนวนมากห้อมล้อมสนับสนุนผู้สมัคร และสื่อโทรทัศน์แห่งเดียวกันนี้เสนออีกภาพหนึ่งเป็นภาพของผู้สมัครคน
อื่นๆ ที่ไม่มีประชาชนห้อมล้อมเลย ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริง ผู้สมัครคนอื่นๆ อาจได้รับความนิยมและการยอมรับจาก
ประชาชนมากกว่า
ดังนั้น การออกประกาศห้ามการทำโพลล์เลือกตั้งที่ทำหน้าที่สะท้อนความรู้สึกนึกคิด ความต้องการ
และ ความนิยมของประชาชน “ทุกชนชั้น” ต่อตัวผู้สมัครรับเลือกตั้ง จึงอาจมีผลทำให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง
(กกต.) กำลังเสี่ยงต่อการเลือกปฏิบัติ (discrimination) ละเมิดสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ ละเมิดสิทธิ
เสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนทุกชนชั้น และอาจขัดต่อรัฐธรรมนูญได้
ประการที่สอง ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศห้ามการทำโพลล์เลือกตั้ง อาจไม่ได้แก้ปัญหา
การ ชี้นำ ตรงกันข้าม กลับยิ่งส่งเสริมทำให้เกิดการชี้นำมากขึ้นไปอีก เพราะการทำโพลล์เลือกตั้งที่ถูกต้องตาม
ระเบียบวิธีวิจัย ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์และสถิติศาสตร์สะท้อนถึงความเป็นจริงในความรู้สึกนึกคิดของ
ประชาชนส่วนใหญ่ได้ จึงเป็นข้อมูลเชิงวัตถุวิสัย (objective) ซึ่งสามารถนำข้อมูลผลสำรวจไปถ่วงดุลกับการนำ
เสนอข้อมูลข่าวสารเชิง อัตวิสัย (subjective) ของสื่อมวลชนได้ด้วย
นอกจากนี้ การทำโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้งทำให้สื่อมวลชนสามารถพูดและรายงานข้อมูลข่าวสาร
ในฐานะที่เป็นตัวแทนของสาธารณชนในสังคมได้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์และสถิติศาสตร์ ผลที่ตามมาก็คือ ประชาชน
บางส่วนที่กำลังจะตัดสินใจเลือกตั้งแต่ไม่รู้ข่าวสาร หรือมีข้อมูลไม่เพียงพอ (uninformed voters) ก็จะได้ข้อมูล
เชิงประจักษ์ที่มีการลดทอน “อคติ” ลงไปบางส่วนที่เพียงพอใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจเลือกตั้งด้วยตนเอง
(informed voters) ดังนั้น การมีผลโพลล์คะแนนนิยมการเลือกตั้งจะทำให้ประชาชนมีทางเลือกและสิทธิในการ
ใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจมากขึ้น ไม่ได้ถูกชี้นำโดยหัวคะแนนและกระแสสังคมเท่านั้น ส่วนประชาชนจะเชื่อหรือ
ไม่เชื่อในผลสำรวจโพลล์ก็ต้องเคารพดุลพินิจของประชาชน
กล่าวโดยสรุป กกต.ควรทบทวนการประกาศห้ามเผยแพร่ผลสำรวจคะแนนนิยมของประชาชนต่อผู้สมัคร
เพื่อสร้างดุลยภาพในการรับรู้ข่าวสารหาเสียงเลือกตั้งผ่านสื่อมวลชน กกต. เสริมสร้างเสรีภาพทางวิชาการและ
เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชนทุกชนชั้น
--เอแบคโพลล์--
-พห-