ที่มาของโครงการ
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประจำปี 2548 ที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ได้มีบุคคลสำคัญจากวงการต่าง ๆ เข้ามา มีส่วนร่วมในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นจำนวนมาก โดยมีศิลปิน “ดารา/นักร้อง” จำนวนหนึ่งก็ได้ประกาศเจตนารมย์ลงแข่งขันในสนามเลือกตั้งครั้งนี้ด้วย ซึ่งได้รับความสนใจจากสาธารณชนจำนวนมาก ดังนั้นจึงควรที่จะมีการศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อกลุ่มดารา /นักร้องที่เข้ามามีบทบาททางการเมืองในช่วงการเลือกตั้ง ตลอดจนความคาดหวังของประชาชนต่อการมีบทบาททางการเมืองของดารา/นักร้องเหล่านี้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ รวม 14 จังหวัดจากทั่วประเทศ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์การสำรวจ
1. เพื่อสำรวจการติดตามข่าวสารของประชาชนต่อการลงสมัครรับเลือกตั้งของดารา/นักร้อง
2. เพื่อสำรวจความมั่นใจของประชาชนต่อคุณสมบัติของดารา/นักร้องที่มาลงสมัครรับเลือกตั้ง
3. เพื่อสำรวจความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาททางการเมืองของดารา/นักร้อง
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ความคิดเห็นต่อการลงสมัครรับเลือกตั้งของดารา/นักร้อง : กรณีศึกษาประชาชนจาก 14 จังหวัด ทั่วประเทศ” ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 20 - 28 มกราคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาคคือ ภาคกลาง จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรปราการ ภาคเหนือ จังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนองคาย ศรีสะเกษ ขอนแก่น ภาคใต้ จังหวัดกระบี่ สงขลา รวมทั้งสิ้น 14 จังหวัด
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 2,868 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาด ตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 1.8
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 58.0 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 42.0 ระบุเป็นชาย ร้อยละ 32.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 19.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี
ร้อยละ 11.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
และร้อยละ 11.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 38.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 30.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.
ร้อยละ 18.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 10.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา
และร้อยละ 1.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 22.1 ระบุอาชีพค้าขายรายย่อย
ร้อยละ 12.8 ระบุอาชีพนักธุรกิจ/เจ้าของกิจการ
ร้อยละ 17.2 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 14.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.3 ระบุอาชีพนักเรียน / นักศึกษา
ร้อยละ 6.2 ระบุอาชีพพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียนอายุ
ร้อยละ 7.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 3.6 ระบุอาชีพเกษตรกร
และร้อยละ 3.3 ระบุประกอบอาชีพอื่นๆ เช่น ไม่ได้ประกอบอาชีพ นักการเมืองท้องถิ่น
ลักษณะของตัวอย่าง
ร้อยละ 5.0 เป็นกลุ่มที่ระบุว่ามีดารา/นักร้องลงสมัครในเขตเลือกตั้งของตนเอง
ร้อยละ 79.7 ไม่มี
และร้อยละ 15.3 ไม่ทราบ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าว “การลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ของดารา/
นักร้อง” ในการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งนี้ (6 ก.พ. 2548)
ลำดับที่ การติดตามข่าว “การลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ของดารา/นักร้อง” ร้อยละ
1 ติดตามอย่างต่อเนื่อง 15.4
2 ติดตามเป็นบางครั้ง 65.6
3 ไม่ได้ติดตาม (หรือติดตามน้อยมาก) 19.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความน่าสนใจต่อการแสดงบทบาททางการเมืองของ “ดารา/
นักร้องที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งนี้ (6 ก.พ. 2548)
ลำดับที่ ความน่าสนใจต่อการแสดงบทบาททางการเมืองของ ร้อยละ
“ดารา/นักร้องที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง”
1 แสดงบทบาทได้น่าสนใจ 21.1
2 ไม่น่าสนใจ 25.9
3 ไม่มีความเห็น 53.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นว่า “การมีชื่อเสียงโด่งดังของดารา/นักร้อง
เป็นปัจจัยที่เพียงพอต่อการตัดสินใจเลือกดารา/นักร้องเป็นส.ส.”
ลำดับที่ “การมีชื่อเสียงโด่งดังของดารา / นักร้อง เป็นปัจจัยที่เพียงพอ
ต่อการตัดสินใจเลือกดารา / นักร้องเป็น ส.ส.” ร้อยละ
1 การมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นปัจจัยที่เพียงพอ 14.1
2 ไม่เพียงพอ 53.9
3 ไม่มีความเห็น 32.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อคุณสมบัติในด้านต่าง ๆ ของดารา/นักร้อง
(โดยรวม) ที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งนี้
ลำดับที่ คุณสมบัติของดารา/นักร้องที่ลงสมัคร มั่นใจ ไม่มั่นใจ ไม่มีความเห็น รวม
1 ความรู้ความสามารถ 37.6 34.9 27.5 100.0
2 ความขยันตั้งใจทำงาน 34.4 36.7 28.9 100.0
3 ความซื่อสัตย์สุจริต 29.0 37.3 33.7 100.0
4 ความเสียสละเพื่อส่วนรวม 34.2 35.7 30.1 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบทบาทที่คาดหวังจาก “ดารา/นักร้อง” ที่เข้ามาเล่นการเมือง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บทบาทที่คาดหวังจากดารา/นักร้องที่เล่นการเมือง ร้อยละ
1 ซื่อสัตย์สุจริต 64.9
2 เสียสละอุทิศตนเพื่อส่วนรวม 55.4
3 รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น 52.4
4 เอาใจใส่ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน 51.8
5 แสดงความรู้ความสามารถให้ชัดเจน 50.2
6 มีความเป็นกลาง / ยุติธรรม 49.0
7 เป็นตัวของตัวเอง / ไม่เป็นหุ่นเชิดใคร 44.5
8 ไม่เห็นแก่เงิน / ก้มหัวให้คนมีเงิน 42.5
9 กล้าหาญ / ไม่เกรงกลัวอิทธิพล 40.7
10 สุภาพ / อ่อนน้อมถ่อมตน 40.1
11 พูดจาดี / เข้าใจง่าย 37.3
12 ใช้ชีวิตเรียบง่าย / ไม่ฟุ่มเฟือย 28.6
13 แต่งตัวสวยงาม / มีบุคลิกดี 20.0
14 ความคาดหวังอื่น ๆ เช่น ทำตามนโยบายที่ให้ไว้
กล้าพูดกล้าทำ ตั้งใจทำงาน เป็นต้น 4.7
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็น (สนับสนุน)ต่อการที่ “ดารา/นักร้อง”มาลง
สมัครส.ส.ในครั้งนี้
อันดับที่ ความคิดเห็นต่อการที่ดารา/นักร้องมาลงสมัครส.ส.ครั้งนี้ ร้อยละ
1 เห็นด้วย 33.5
2 ไม่เห็นด้วย 11.0
3 ไม่มีความเห็น 55.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ตัวอย่างที่ “เห็นด้วย” ให้เหตุผลดังนี้.....
1) ทุกคนมีความรู้ความสามารถที่จะแสดงบทบาททางการเมือง ร้อยละ 46.0
2) เป็นสิทธิส่วนบุคคล ร้อยละ 14.5
3) เป็นการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่มาพัฒนาประเทศ ร้อยละ 9.6
4) จะได้มีอะไรแปลกใหม่ในวงการเมือง ร้อยละ 7.3
5) เพิ่มสีสันและบรรยาศในวงการเมือง ร้อยละ 7.1
6) เป็นที่รู้จักของประชาชนจะได้ทำงานง่ายขึ้น ร้อยละ 5.5
7) มีความตั้งใจที่จะทำงานเพื่อส่วนรวม ร้อยละ 3.4
8) เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ร้อยละ 2.5
9) เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับประชาชน ร้อยละ 2.4
10) อื่นๆ เช่น สะท้อนภาพของประชาชนให้เห็นชัดเจนมากขึ้น
ดาราก็มีประสบการณ์ในการทำงาน เป็นต้น 1.7
ตัวอย่างที่ “ไม่เห็นด้วย” ให้เหตุผลดังนี้.....
1) เป็นอาชีพที่ไม่เหมาะสมกับดารา ควรไปเล่นละครมากกว่า ร้อยละ 51.4
2) ไม่มั่นใจว่าจะทำงานได้ ไม่มีประสบการณ์ด้านการเมือง ร้อยละ 41.3
3) เกรงว่าจะ เป็นเครื่องมือของนักการเมือง ร้อยละ 7.3
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่อยากให้ “ดารา/นักร้อง”ทำ หากได้รับเลือกตั้งเป็นส.ส.
อันดับที่ สิ่งที่อยากให้ดารา/นักร้องทำหากได้เป็น ส.ส. ร้อยละ
1 มุ่งมั่นทำงานเพื่อประเทศชาติ บ้านเมือง 30.7
2 ทำตามนโยบายที่ให้ไว้ 21.7
3 ช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส 9.1
4 ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส 8.0
5 ดูแลประชาชนให้ทั่วถึง 6.2
6 เป็นตัวแทนของประชาชน / เป็นปากเสียงแทนประชาชน 5.3
7 พัฒนาพื้นที่ที่ได้รับเลือกตั้ง 4.5
8 ทำงานทางด้านสังคม / ช่วยเหลือสังคม 3.9
9 ดูแลด้านเศรษฐกิจ 3.1
10 อื่นๆ เช่น เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเยาวชน ตรวจสอบคอร์รัปชั่น
ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น 7.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประจำปี 2548 ที่กำลังจะมีขึ้นในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2548 ได้มีบุคคลสำคัญจากวงการต่าง ๆ เข้ามา มีส่วนร่วมในการสมัครรับเลือกตั้งเป็นจำนวนมาก โดยมีศิลปิน “ดารา/นักร้อง” จำนวนหนึ่งก็ได้ประกาศเจตนารมย์ลงแข่งขันในสนามเลือกตั้งครั้งนี้ด้วย ซึ่งได้รับความสนใจจากสาธารณชนจำนวนมาก ดังนั้นจึงควรที่จะมีการศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อกลุ่มดารา /นักร้องที่เข้ามามีบทบาททางการเมืองในช่วงการเลือกตั้ง ตลอดจนความคาดหวังของประชาชนต่อการมีบทบาททางการเมืองของดารา/นักร้องเหล่านี้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ รวม 14 จังหวัดจากทั่วประเทศ ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์การสำรวจ
1. เพื่อสำรวจการติดตามข่าวสารของประชาชนต่อการลงสมัครรับเลือกตั้งของดารา/นักร้อง
2. เพื่อสำรวจความมั่นใจของประชาชนต่อคุณสมบัติของดารา/นักร้องที่มาลงสมัครรับเลือกตั้ง
3. เพื่อสำรวจความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาททางการเมืองของดารา/นักร้อง
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ความคิดเห็นต่อการลงสมัครรับเลือกตั้งของดารา/นักร้อง : กรณีศึกษาประชาชนจาก 14 จังหวัด ทั่วประเทศ” ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 20 - 28 มกราคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ในแต่ละภูมิภาคคือ ภาคกลาง จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี นครปฐม ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรปราการ ภาคเหนือ จังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนองคาย ศรีสะเกษ ขอนแก่น ภาคใต้ จังหวัดกระบี่ สงขลา รวมทั้งสิ้น 14 จังหวัด
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ในการเข้าถึงตัวอย่าง
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 2,868 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาด ตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 1.8
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 58.0 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 42.0 ระบุเป็นชาย ร้อยละ 32.4 อายุระหว่าง 20—29 ปี
ร้อยละ 25.0 อายุระหว่าง 30—39 ปี
ร้อยละ 19.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี
ร้อยละ 11.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี
และร้อยละ 11.7 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ตัวอย่างร้อยละ 38.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 30.8 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช.
ร้อยละ 18.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 10.3 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. / อนุปริญญา
และร้อยละ 1.7 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ตัวอย่าง ร้อยละ 22.1 ระบุอาชีพค้าขายรายย่อย
ร้อยละ 12.8 ระบุอาชีพนักธุรกิจ/เจ้าของกิจการ
ร้อยละ 17.2 ระบุอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน
ร้อยละ 14.0 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 13.3 ระบุอาชีพนักเรียน / นักศึกษา
ร้อยละ 6.2 ระบุอาชีพพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียนอายุ
ร้อยละ 7.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 3.6 ระบุอาชีพเกษตรกร
และร้อยละ 3.3 ระบุประกอบอาชีพอื่นๆ เช่น ไม่ได้ประกอบอาชีพ นักการเมืองท้องถิ่น
ลักษณะของตัวอย่าง
ร้อยละ 5.0 เป็นกลุ่มที่ระบุว่ามีดารา/นักร้องลงสมัครในเขตเลือกตั้งของตนเอง
ร้อยละ 79.7 ไม่มี
และร้อยละ 15.3 ไม่ทราบ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าว “การลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ของดารา/
นักร้อง” ในการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งนี้ (6 ก.พ. 2548)
ลำดับที่ การติดตามข่าว “การลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ของดารา/นักร้อง” ร้อยละ
1 ติดตามอย่างต่อเนื่อง 15.4
2 ติดตามเป็นบางครั้ง 65.6
3 ไม่ได้ติดตาม (หรือติดตามน้อยมาก) 19.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความน่าสนใจต่อการแสดงบทบาททางการเมืองของ “ดารา/
นักร้องที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งนี้ (6 ก.พ. 2548)
ลำดับที่ ความน่าสนใจต่อการแสดงบทบาททางการเมืองของ ร้อยละ
“ดารา/นักร้องที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง”
1 แสดงบทบาทได้น่าสนใจ 21.1
2 ไม่น่าสนใจ 25.9
3 ไม่มีความเห็น 53.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นว่า “การมีชื่อเสียงโด่งดังของดารา/นักร้อง
เป็นปัจจัยที่เพียงพอต่อการตัดสินใจเลือกดารา/นักร้องเป็นส.ส.”
ลำดับที่ “การมีชื่อเสียงโด่งดังของดารา / นักร้อง เป็นปัจจัยที่เพียงพอ
ต่อการตัดสินใจเลือกดารา / นักร้องเป็น ส.ส.” ร้อยละ
1 การมีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นปัจจัยที่เพียงพอ 14.1
2 ไม่เพียงพอ 53.9
3 ไม่มีความเห็น 32.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อคุณสมบัติในด้านต่าง ๆ ของดารา/นักร้อง
(โดยรวม) ที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ครั้งนี้
ลำดับที่ คุณสมบัติของดารา/นักร้องที่ลงสมัคร มั่นใจ ไม่มั่นใจ ไม่มีความเห็น รวม
1 ความรู้ความสามารถ 37.6 34.9 27.5 100.0
2 ความขยันตั้งใจทำงาน 34.4 36.7 28.9 100.0
3 ความซื่อสัตย์สุจริต 29.0 37.3 33.7 100.0
4 ความเสียสละเพื่อส่วนรวม 34.2 35.7 30.1 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบทบาทที่คาดหวังจาก “ดารา/นักร้อง” ที่เข้ามาเล่นการเมือง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บทบาทที่คาดหวังจากดารา/นักร้องที่เล่นการเมือง ร้อยละ
1 ซื่อสัตย์สุจริต 64.9
2 เสียสละอุทิศตนเพื่อส่วนรวม 55.4
3 รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น 52.4
4 เอาใจใส่ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน 51.8
5 แสดงความรู้ความสามารถให้ชัดเจน 50.2
6 มีความเป็นกลาง / ยุติธรรม 49.0
7 เป็นตัวของตัวเอง / ไม่เป็นหุ่นเชิดใคร 44.5
8 ไม่เห็นแก่เงิน / ก้มหัวให้คนมีเงิน 42.5
9 กล้าหาญ / ไม่เกรงกลัวอิทธิพล 40.7
10 สุภาพ / อ่อนน้อมถ่อมตน 40.1
11 พูดจาดี / เข้าใจง่าย 37.3
12 ใช้ชีวิตเรียบง่าย / ไม่ฟุ่มเฟือย 28.6
13 แต่งตัวสวยงาม / มีบุคลิกดี 20.0
14 ความคาดหวังอื่น ๆ เช่น ทำตามนโยบายที่ให้ไว้
กล้าพูดกล้าทำ ตั้งใจทำงาน เป็นต้น 4.7
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็น (สนับสนุน)ต่อการที่ “ดารา/นักร้อง”มาลง
สมัครส.ส.ในครั้งนี้
อันดับที่ ความคิดเห็นต่อการที่ดารา/นักร้องมาลงสมัครส.ส.ครั้งนี้ ร้อยละ
1 เห็นด้วย 33.5
2 ไม่เห็นด้วย 11.0
3 ไม่มีความเห็น 55.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ตัวอย่างที่ “เห็นด้วย” ให้เหตุผลดังนี้.....
1) ทุกคนมีความรู้ความสามารถที่จะแสดงบทบาททางการเมือง ร้อยละ 46.0
2) เป็นสิทธิส่วนบุคคล ร้อยละ 14.5
3) เป็นการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่มาพัฒนาประเทศ ร้อยละ 9.6
4) จะได้มีอะไรแปลกใหม่ในวงการเมือง ร้อยละ 7.3
5) เพิ่มสีสันและบรรยาศในวงการเมือง ร้อยละ 7.1
6) เป็นที่รู้จักของประชาชนจะได้ทำงานง่ายขึ้น ร้อยละ 5.5
7) มีความตั้งใจที่จะทำงานเพื่อส่วนรวม ร้อยละ 3.4
8) เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ร้อยละ 2.5
9) เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับประชาชน ร้อยละ 2.4
10) อื่นๆ เช่น สะท้อนภาพของประชาชนให้เห็นชัดเจนมากขึ้น
ดาราก็มีประสบการณ์ในการทำงาน เป็นต้น 1.7
ตัวอย่างที่ “ไม่เห็นด้วย” ให้เหตุผลดังนี้.....
1) เป็นอาชีพที่ไม่เหมาะสมกับดารา ควรไปเล่นละครมากกว่า ร้อยละ 51.4
2) ไม่มั่นใจว่าจะทำงานได้ ไม่มีประสบการณ์ด้านการเมือง ร้อยละ 41.3
3) เกรงว่าจะ เป็นเครื่องมือของนักการเมือง ร้อยละ 7.3
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่อยากให้ “ดารา/นักร้อง”ทำ หากได้รับเลือกตั้งเป็นส.ส.
อันดับที่ สิ่งที่อยากให้ดารา/นักร้องทำหากได้เป็น ส.ส. ร้อยละ
1 มุ่งมั่นทำงานเพื่อประเทศชาติ บ้านเมือง 30.7
2 ทำตามนโยบายที่ให้ไว้ 21.7
3 ช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส 9.1
4 ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส 8.0
5 ดูแลประชาชนให้ทั่วถึง 6.2
6 เป็นตัวแทนของประชาชน / เป็นปากเสียงแทนประชาชน 5.3
7 พัฒนาพื้นที่ที่ได้รับเลือกตั้ง 4.5
8 ทำงานทางด้านสังคม / ช่วยเหลือสังคม 3.9
9 ดูแลด้านเศรษฐกิจ 3.1
10 อื่นๆ เช่น เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเยาวชน ตรวจสอบคอร์รัปชั่น
ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เป็นต้น 7.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
--เอแบคโพลล์--
-พห-