ที่มาของโครงการ
ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมารัฐบาลได้รับการวิพากษณ์วิจารณ์จากประชาชนอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีข่าวสถานการณ์ต่างๆที่อาจส่งผลกระทบต่อ
คะแนนนิยมของรัฐบาลเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งข่าวที่น่าจะทำให้รัฐบาลได้คะแนนนิยมอาทิเช่น ข่าวโครงการรณรงค์ลดใช้พลังงาน ข่าว
ความสำเร็จของนายกรัฐมนตรีในการประชุมที่ต่างประเทศ ข่าวการจัดตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ หรือข่าวการปราบปรามซีดีและสื่อลามก หากว่าข่าว
ที่อาจจะทำรัฐบาลเสียคะแนนนิยมก็เกิดด้วยเช่นกัน ทั้งข่าวการแปรรูปกฟผ. ข่าวความขัดแย้งในการแต่งตั้งผู้ว่า สตง. ข่าวปัญหาเศรษฐกิจ และราคา
สินค้าสูงขึ้น ข่าวปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ข่าวการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก ข่าวการทุจริตสนามบินสุวรรณภูมิ ข่าวการแทรกแซง
สื่อมวลชน ข่าวความขัดแย้งระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนายสนธิ เป็นต้น นอกจากนี้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2548 ยังมีความเคลื่อนไหวทางการ
เมืองที่ค่อนข้างหนักหน่วงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลควรต้องพิจารณา และทบทวนอย่างรอบคอบ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วภูมิภาคถึงประเด็น
สำคัญทางการเมือง ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวที่ทำให้รัฐบาลได้รับคะแนนนิยมจากประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวที่ทำให้รัฐบาลเสียคะแนนนิยม
3. เพื่อสำรวจลักษณะของนักการเมืองที่ประชาชนต้องการ
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “บุคคลผู้มีนัยสำคัญ (มีบารมี) ต่อการเมือง
ไทยมากที่สุดแห่งปี ในสายตาประชาชนคอข่าวการเมือง: กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจใน
วันที่ 10-14 ธันวาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำ สำมะโน จาก 20 จังหวัดของทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สุพรรณบุรี เพชรบุรี สิงห์บุรี สระแก้ว นครนายก เชียงใหม่ ลำพูน นครสวรรค์ พิษณุโลก ขอนแก่น
กาฬสินธุ์ นครราชสีมา อุดรธานี นครพนม นครศรีธรรมราช ระนอง ชุมพร และ ภูเก็ต
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 4,866 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการเลือกตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 3
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.1 เป็นหญิง ร้อยละ 45.9 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 12.7 อายุ
ต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 24.7 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 27.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อย
ละ 13.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 71.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 25.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ตรี และร้อยละ 3.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 25.3 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 22.8 ระบุอาชีพรับจ้าง
ทั่วไป ร้อยละ 20.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 12.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.9 ระบุเป็นนักศึกษา ร้อย
ละ 7.6 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ และ ร้อยละ 4.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “บุคคลผู้มีนัยสำคัญ (มีบารมี) ต่อการเมืองไทยมาก
ที่สุดแห่งปี ในสายตาประชาชนคอข่าวการเมือง: กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ” ในครั้งนี้ว่าได้ดำเนินการเก็บรวบรวม
ข้อมูลจากประชาชน ผู้สิทธิเลือกตั้งใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,866 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการในระหว่างวันที่ 10-14
ธันวาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังต่อไปนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงข่าวที่ทำให้รัฐบาลได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนชนในรอบ 1 ปีที่ผ่านมานั้น พบว่า ข่าวที่ทำให้รัฐบาล
ได้รับคะแนนนิยมจากประชาชน 5 อันดับแรกได้แก่ ข่าวการปราบปรามยาเสพติด (ร้อยละ 79.9) รองลงมาคือ ข่าวการจัดงานหนึ่งตำบลหนึ่ง
ผลิตภัณฑ์ (ร้อยละ 74.9) ข่าวความสำเร็จของนักกีฬาไทยจากการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ (ร้อยละ 67.8) ข่าวการห้ามตั้งโชว์บุหรี่ ณ จุดขาย
(ร้อยละ 66.5) และข่าวการจัดตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ร้อยละ 64.4) ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงข่าวที่ทำให้รัฐบาลเสียคะแนนนิยมจากประชาชนนั้นพบว่า ข่าวที่ทำให้รัฐบาลเสียคะแนน
นิยมจากประชาชน 5 อันดับแรกได้แก่ ข่าวปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 64.4) รองลงมาคือข่าวการโอนย้ายครู
จากกระทรวงศึกษาธิการมายังองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (ร้อยละ 63.1) ข่าวปัญหาทุจริตคอรัปชั่น (ร้อยละ 60.7) ข่าวราคาน้ำมันที่สูงขึ้น (ร้อย
ละ 60.0) และข่าวราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น (ร้อยละ 57.2 ) ตามลำดับ
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงข่าวที่ทำให้รัฐบาลได้คะแนนนิยมจากประชาชนเปรียบเทียบกับข่าวที่รัฐบาลเสียคะแนนนิยมในรอบ
1 ปีที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 33.1 ระบุข่าวที่ทำให้รัฐบาลได้คะแนนนิยมมีมากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 36.7 ระบุข่าวที่ทำให้รัฐบาลเสียคะแนน
นิยมมีมากกว่า และร้อยละ 30.2 ระบุมีเท่าๆ กัน
ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์กรณีบุคคลที่มีนัยสำคัญ (มีบารมี) ต่อการเมืองไทยมากที่สุดแห่งปี พบว่าผู้หญิงที่ตัวอย่างระบุว่ามีนัยสำคัญ (มี
บารมี) ต่อการเมืองไทยมากที่สุดในปี 2548 3 อันดับแรกได้แก่ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร (ร้อยละ 45.3) รองลงมาคือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุ
ราพันธุ์ (ร้อยละ 27.7) และ นางปวีณา หงสกุล (ร้อยละ14.1) ตามลำดับ
ในขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีผู้ชายที่มีนัยสำคัญสำคัญ (มีบารมี) ต่อการเมืองไทยมากที่สุดแห่งปีนั้นพบว่า อันดับแรก
ได้แก่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (ร้อยละ 78.8) รองลงมาคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ 8.8) และนายสนธิ ลิ้มทองกุล (ร้อยละ
6.8) ตามลำดับ
ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่าง กรณีลักษณะของนักการเมืองที่ต้องการนั้นพบประเด็นสำคัญที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งคือ คุณสมบัติ
สำคัญ 5 ประการแรกที่ประชาชนต้องการจากนักการเมืองนั้นเป็นลักษณะที่บ่งชี้ถึงองค์ประกอบที่ดีของจิตใจมนุษย์มากกว่าองค์ประกอบภายนอก ซึ่งผล
สำรวจเป็นดังนี้ ร้อยละ 43.2 ระบุเป็นคนซื่อสัตย์/ไม่ทุจริตคอรัปชั่น รองลงมาคือร้อยละ 16.8 ระบุพูดจริงทำจริง/รักษาสัญญาที่ให้ไว้กับ
ประชาชน ร้อยละ 16.8 เช่นกันที่ระบุว่าต้องเป็นคนที่ดูแลประชาชนอย่างทั่วถึงในทุกพื้นที่ ร้อยละ 12.0 ระบุตั้งใจทำงาน/ทำงานอย่างจริงจัง และ
ร้อยละ 10.7 ระบุมีความสามารถทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ได้แก่ ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อพรรคการเมืองที่จะเลือกถ้าหากมี
การเลือกตั้งเกิดขึ้นในวันนี้ โดยผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.9 ระบุเลือกพรรคไทยรักไทย รองลงมาคือร้อยละ 23.3 ระบุเลือกพรรคประ
ชาธิปัตย์ ร้อยละ 3.7 ระบุเลือกพรรคอื่นๆ อาทิ พรรคชาติไทย/พรรคมหาชน ในขณะที่ร้อยละ 28.1 ระบุไม่เลือกพรรคการเมืองใด
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข่าวที่ทำให้รัฐบาลได้รับคะแนนนิยมจากประชาชน
ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวที่ทำให้รัฐบาลได้คะแนนนิยมในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ข่าวการปราบปรามยาเสพติด 79.9
2 ข่าวการจัดงานหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 74.9
3 ข่าวความสำเร็จของนักกีฬาไทยจากการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 67.8
4 ข่าวการห้ามตั้งโชว์บุหรี่ ณ จุดขาย 66.5
5 ข่าวการจัดตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ 64.4
6 ข่าวโครงการรณรงค์ลดใช้พลังงาน 63.7
7 ข่าวความสำเร็จของนายกรัฐมนตรีจากการประชุมที่ต่างประเทศ 58.5
8 ข่าวการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน 52.7
9 ข่าวการปราบปรามซีดี และสื่อลามก 52.5
10 ข่าวการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ 47.7
11 ข่าวการปราบปรามกลุ่มมาเฟียย่านโบ๊เบ๊ 46.9
12 ข่าวนายกรัฐมนตรีแก้ไขปัญหาสังคมอย่างจริงจัง 46.4
13 ข่าวการเป็นเจ้าภาพเอเชี่ยนอินดอร์เกมส์ 46.2
14 ข่าวการจัดประกวดนางงามจักรวาล 40.6
15 ข่าวการทดสอบสนามบินสุวรรณภูมิ 39.7
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข่าวที่ทำให้รัฐบาลเสียคะแนนนิยมจากประชาชน
ในรอบ1ปีที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวที่ทำให้รัฐบาลเสียคะแนนนิยมจากประชาชน ค่าร้อยละ
1 ข่าวปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 64.4
2 ข่าวการโอนย้ายครูจากกระทรวงศึกษาธิการมายังองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 63.1
3 ข่าวปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 60.7
4 ข่าวราคาน้ำมันที่สูงขึ้น 60.0
5 ข่าวราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น 57.2
6 ข่าวความขัดแย้งระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนายสนธิ 54.9
7 ข่าวการทุจริตสนามบินสุวรรณภูมิ 50.8
8 ข่าวการแปรรูป กฟผ. 46.7
9 ข่าวการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก 43.0
10 ข่าวความแตกแยกของ ส.ส.ในพรรครัฐบาล 42.3
11 ข่าวการใช้เครื่องบิน C130 ของกองทัพอากาศโดยเครือญาตินายกรัฐมนตรี 40.8
12 ข่าวความขัดแย้งในการแต่งตั้งผู้ว่า สตง. 39.3
13 ข่าวการแทรกแซงสื่อมวลชน 36.9
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเปรียบเทียบระหว่างข่าวที่รัฐบาลได้รับคะแนนนิยม
กับข่าวที่รัฐบาลเสียคะแนนนิยมในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา
ลำดับที่ การเปรียบเทียบระหว่างข่าวที่รัฐบาลได้รับคะแนนนิยมกับข่าวที่รัฐบาลเสียคะแนนนิยม ค่าร้อยละ
1 ข่าวรัฐบาลได้รับคะแนนความนิยมมีมากกว่า 33.1
2 ข่าวรัฐบาลเสียคะแนนความนิยมมีมากกว่า 36.7
3 พอๆกัน 30.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผู้หญิงที่มีนัยสำคัญ (มีบารมี) ต่อการเมืองไทยมากที่สุดแห่งปี
ลำดับที่ ผู้หญิงที่มีอิทธิพลทางการเมืองระดับประเทศในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 คุณหญิงพจมาน ชินวัตร 45.3
2 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 27.7
3 นางปวีณา หงสกุล 14.1
4 นางระเบียบรัตน์ พงศ์พานิช 6.2
5 คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑะกา 4.7
6 อื่นๆ อาทิ แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ /นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ /
นางอุไรวรรณ เทียนทอง เป็นต้น 2.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผู้ชายที่มีนัยสำคัญ (มีบารมี) ต่อการเมืองไทยมากที่สุดแห่งปี
ลำดับที่ ผู้ชายที่มีอิทธิพลทางการเมืองระดับประเทศในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 78.8
2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 8.8
3 นายสนธิ ลิ้มทองกุล 6.8
4 นายเสนาะ เทียนทอง 3.7
5 นายบรรหาร ศิลปอาชา 0.9
6 อื่นๆ อาทิ นายชวน หลีกภัย /นายเนวิน ชิดชอบ /พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ /
นายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นต้น 1.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ลักษณะของนักการเมืองที่ต้องการ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ลักษณะของนักการเมืองที่ต้องการ ค่าร้อยละ
1 เป็นคนซื่อสัตย์/ไม่ทุจริตคอรัปชั่น 43.2
2 พูดจริงทำจริง/รักษาสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน 16.8
2 ดูแลประชาชนอย่างทั่วถึงในทุกพื้นที่ 16.8
4 ตั้งใจทำงาน/ทำงานอย่างจริงจัง 12.0
5 มีความสามารถทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้ 10.7
6 มีความยุติธรรม 10.1
7 อื่นๆ อาทิ เป็นคนดี มีคุณธรรม /มีการศึกษา/มีประสบการณ์ในการบริหารงาน /
มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เป็นต้น 7.5
ตารางที่7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พรรคการเมืองที่จะเลือก ถ้าหากมีการเลือกตั้งใหม่ในวันนี้
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่จะเลือก ถ้าหากมีการเลือกตั้งใหม่ในวันนี้ ค่าร้อยละ
1 พรรคประชาธิปัตย์ 23.3
2 พรรคไทยรักไทย 44.9
3 อื่นๆ อาทิ พรรคชาติไทย /พรรคมหาชน 3.7
4 ไม่เลือกพรรคใดเลย 28.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมารัฐบาลได้รับการวิพากษณ์วิจารณ์จากประชาชนอย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีข่าวสถานการณ์ต่างๆที่อาจส่งผลกระทบต่อ
คะแนนนิยมของรัฐบาลเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ทั้งข่าวที่น่าจะทำให้รัฐบาลได้คะแนนนิยมอาทิเช่น ข่าวโครงการรณรงค์ลดใช้พลังงาน ข่าว
ความสำเร็จของนายกรัฐมนตรีในการประชุมที่ต่างประเทศ ข่าวการจัดตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ หรือข่าวการปราบปรามซีดีและสื่อลามก หากว่าข่าว
ที่อาจจะทำรัฐบาลเสียคะแนนนิยมก็เกิดด้วยเช่นกัน ทั้งข่าวการแปรรูปกฟผ. ข่าวความขัดแย้งในการแต่งตั้งผู้ว่า สตง. ข่าวปัญหาเศรษฐกิจ และราคา
สินค้าสูงขึ้น ข่าวปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ข่าวการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก ข่าวการทุจริตสนามบินสุวรรณภูมิ ข่าวการแทรกแซง
สื่อมวลชน ข่าวความขัดแย้งระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนายสนธิ เป็นต้น นอกจากนี้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2548 ยังมีความเคลื่อนไหวทางการ
เมืองที่ค่อนข้างหนักหน่วงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่รัฐบาลควรต้องพิจารณา และทบทวนอย่างรอบคอบ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วภูมิภาคถึงประเด็น
สำคัญทางการเมือง ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวที่ทำให้รัฐบาลได้รับคะแนนนิยมจากประชาชน
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อข่าวที่ทำให้รัฐบาลเสียคะแนนนิยม
3. เพื่อสำรวจลักษณะของนักการเมืองที่ประชาชนต้องการ
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “บุคคลผู้มีนัยสำคัญ (มีบารมี) ต่อการเมือง
ไทยมากที่สุดแห่งปี ในสายตาประชาชนคอข่าวการเมือง: กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจใน
วันที่ 10-14 ธันวาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่
ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำ สำมะโน จาก 20 จังหวัดของทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สุพรรณบุรี เพชรบุรี สิงห์บุรี สระแก้ว นครนายก เชียงใหม่ ลำพูน นครสวรรค์ พิษณุโลก ขอนแก่น
กาฬสินธุ์ นครราชสีมา อุดรธานี นครพนม นครศรีธรรมราช ระนอง ชุมพร และ ภูเก็ต
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 4,866 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการเลือกตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 3
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.1 เป็นหญิง ร้อยละ 45.9 เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 12.7 อายุ
ต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 21.9 อายุระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 24.7 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 27.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี และร้อย
ละ 13.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 71.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 25.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ตรี และร้อยละ 3.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 25.3 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 22.8 ระบุอาชีพรับจ้าง
ทั่วไป ร้อยละ 20.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 12.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 6.9 ระบุเป็นนักศึกษา ร้อย
ละ 7.6 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ และ ร้อยละ 4.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “บุคคลผู้มีนัยสำคัญ (มีบารมี) ต่อการเมืองไทยมาก
ที่สุดแห่งปี ในสายตาประชาชนคอข่าวการเมือง: กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ” ในครั้งนี้ว่าได้ดำเนินการเก็บรวบรวม
ข้อมูลจากประชาชน ผู้สิทธิเลือกตั้งใน 20 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 4,866 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการในระหว่างวันที่ 10-14
ธันวาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังต่อไปนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงข่าวที่ทำให้รัฐบาลได้รับคะแนนนิยมจากประชาชนชนในรอบ 1 ปีที่ผ่านมานั้น พบว่า ข่าวที่ทำให้รัฐบาล
ได้รับคะแนนนิยมจากประชาชน 5 อันดับแรกได้แก่ ข่าวการปราบปรามยาเสพติด (ร้อยละ 79.9) รองลงมาคือ ข่าวการจัดงานหนึ่งตำบลหนึ่ง
ผลิตภัณฑ์ (ร้อยละ 74.9) ข่าวความสำเร็จของนักกีฬาไทยจากการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ (ร้อยละ 67.8) ข่าวการห้ามตั้งโชว์บุหรี่ ณ จุดขาย
(ร้อยละ 66.5) และข่าวการจัดตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ร้อยละ 64.4) ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงข่าวที่ทำให้รัฐบาลเสียคะแนนนิยมจากประชาชนนั้นพบว่า ข่าวที่ทำให้รัฐบาลเสียคะแนน
นิยมจากประชาชน 5 อันดับแรกได้แก่ ข่าวปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 64.4) รองลงมาคือข่าวการโอนย้ายครู
จากกระทรวงศึกษาธิการมายังองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (ร้อยละ 63.1) ข่าวปัญหาทุจริตคอรัปชั่น (ร้อยละ 60.7) ข่าวราคาน้ำมันที่สูงขึ้น (ร้อย
ละ 60.0) และข่าวราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น (ร้อยละ 57.2 ) ตามลำดับ
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงข่าวที่ทำให้รัฐบาลได้คะแนนนิยมจากประชาชนเปรียบเทียบกับข่าวที่รัฐบาลเสียคะแนนนิยมในรอบ
1 ปีที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 33.1 ระบุข่าวที่ทำให้รัฐบาลได้คะแนนนิยมมีมากกว่า ในขณะที่ร้อยละ 36.7 ระบุข่าวที่ทำให้รัฐบาลเสียคะแนน
นิยมมีมากกว่า และร้อยละ 30.2 ระบุมีเท่าๆ กัน
ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์กรณีบุคคลที่มีนัยสำคัญ (มีบารมี) ต่อการเมืองไทยมากที่สุดแห่งปี พบว่าผู้หญิงที่ตัวอย่างระบุว่ามีนัยสำคัญ (มี
บารมี) ต่อการเมืองไทยมากที่สุดในปี 2548 3 อันดับแรกได้แก่ คุณหญิงพจมาน ชินวัตร (ร้อยละ 45.3) รองลงมาคือ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุ
ราพันธุ์ (ร้อยละ 27.7) และ นางปวีณา หงสกุล (ร้อยละ14.1) ตามลำดับ
ในขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีผู้ชายที่มีนัยสำคัญสำคัญ (มีบารมี) ต่อการเมืองไทยมากที่สุดแห่งปีนั้นพบว่า อันดับแรก
ได้แก่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (ร้อยละ 78.8) รองลงมาคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ร้อยละ 8.8) และนายสนธิ ลิ้มทองกุล (ร้อยละ
6.8) ตามลำดับ
ผลการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่าง กรณีลักษณะของนักการเมืองที่ต้องการนั้นพบประเด็นสำคัญที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งคือ คุณสมบัติ
สำคัญ 5 ประการแรกที่ประชาชนต้องการจากนักการเมืองนั้นเป็นลักษณะที่บ่งชี้ถึงองค์ประกอบที่ดีของจิตใจมนุษย์มากกว่าองค์ประกอบภายนอก ซึ่งผล
สำรวจเป็นดังนี้ ร้อยละ 43.2 ระบุเป็นคนซื่อสัตย์/ไม่ทุจริตคอรัปชั่น รองลงมาคือร้อยละ 16.8 ระบุพูดจริงทำจริง/รักษาสัญญาที่ให้ไว้กับ
ประชาชน ร้อยละ 16.8 เช่นกันที่ระบุว่าต้องเป็นคนที่ดูแลประชาชนอย่างทั่วถึงในทุกพื้นที่ ร้อยละ 12.0 ระบุตั้งใจทำงาน/ทำงานอย่างจริงจัง และ
ร้อยละ 10.7 ระบุมีความสามารถทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ได้แก่ ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อพรรคการเมืองที่จะเลือกถ้าหากมี
การเลือกตั้งเกิดขึ้นในวันนี้ โดยผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.9 ระบุเลือกพรรคไทยรักไทย รองลงมาคือร้อยละ 23.3 ระบุเลือกพรรคประ
ชาธิปัตย์ ร้อยละ 3.7 ระบุเลือกพรรคอื่นๆ อาทิ พรรคชาติไทย/พรรคมหาชน ในขณะที่ร้อยละ 28.1 ระบุไม่เลือกพรรคการเมืองใด
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข่าวที่ทำให้รัฐบาลได้รับคะแนนนิยมจากประชาชน
ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวที่ทำให้รัฐบาลได้คะแนนนิยมในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 ข่าวการปราบปรามยาเสพติด 79.9
2 ข่าวการจัดงานหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 74.9
3 ข่าวความสำเร็จของนักกีฬาไทยจากการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 67.8
4 ข่าวการห้ามตั้งโชว์บุหรี่ ณ จุดขาย 66.5
5 ข่าวการจัดตั้งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ 64.4
6 ข่าวโครงการรณรงค์ลดใช้พลังงาน 63.7
7 ข่าวความสำเร็จของนายกรัฐมนตรีจากการประชุมที่ต่างประเทศ 58.5
8 ข่าวการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน 52.7
9 ข่าวการปราบปรามซีดี และสื่อลามก 52.5
10 ข่าวการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ 47.7
11 ข่าวการปราบปรามกลุ่มมาเฟียย่านโบ๊เบ๊ 46.9
12 ข่าวนายกรัฐมนตรีแก้ไขปัญหาสังคมอย่างจริงจัง 46.4
13 ข่าวการเป็นเจ้าภาพเอเชี่ยนอินดอร์เกมส์ 46.2
14 ข่าวการจัดประกวดนางงามจักรวาล 40.6
15 ข่าวการทดสอบสนามบินสุวรรณภูมิ 39.7
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข่าวที่ทำให้รัฐบาลเสียคะแนนนิยมจากประชาชน
ในรอบ1ปีที่ผ่านมา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวที่ทำให้รัฐบาลเสียคะแนนนิยมจากประชาชน ค่าร้อยละ
1 ข่าวปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 64.4
2 ข่าวการโอนย้ายครูจากกระทรวงศึกษาธิการมายังองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 63.1
3 ข่าวปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 60.7
4 ข่าวราคาน้ำมันที่สูงขึ้น 60.0
5 ข่าวราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้น 57.2
6 ข่าวความขัดแย้งระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนายสนธิ 54.9
7 ข่าวการทุจริตสนามบินสุวรรณภูมิ 50.8
8 ข่าวการแปรรูป กฟผ. 46.7
9 ข่าวการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนก 43.0
10 ข่าวความแตกแยกของ ส.ส.ในพรรครัฐบาล 42.3
11 ข่าวการใช้เครื่องบิน C130 ของกองทัพอากาศโดยเครือญาตินายกรัฐมนตรี 40.8
12 ข่าวความขัดแย้งในการแต่งตั้งผู้ว่า สตง. 39.3
13 ข่าวการแทรกแซงสื่อมวลชน 36.9
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การเปรียบเทียบระหว่างข่าวที่รัฐบาลได้รับคะแนนนิยม
กับข่าวที่รัฐบาลเสียคะแนนนิยมในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา
ลำดับที่ การเปรียบเทียบระหว่างข่าวที่รัฐบาลได้รับคะแนนนิยมกับข่าวที่รัฐบาลเสียคะแนนนิยม ค่าร้อยละ
1 ข่าวรัฐบาลได้รับคะแนนความนิยมมีมากกว่า 33.1
2 ข่าวรัฐบาลเสียคะแนนความนิยมมีมากกว่า 36.7
3 พอๆกัน 30.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผู้หญิงที่มีนัยสำคัญ (มีบารมี) ต่อการเมืองไทยมากที่สุดแห่งปี
ลำดับที่ ผู้หญิงที่มีอิทธิพลทางการเมืองระดับประเทศในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 คุณหญิงพจมาน ชินวัตร 45.3
2 คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ 27.7
3 นางปวีณา หงสกุล 14.1
4 นางระเบียบรัตน์ พงศ์พานิช 6.2
5 คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑะกา 4.7
6 อื่นๆ อาทิ แพทย์หญิงคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ /นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ /
นางอุไรวรรณ เทียนทอง เป็นต้น 2.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผู้ชายที่มีนัยสำคัญ (มีบารมี) ต่อการเมืองไทยมากที่สุดแห่งปี
ลำดับที่ ผู้ชายที่มีอิทธิพลทางการเมืองระดับประเทศในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร 78.8
2 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 8.8
3 นายสนธิ ลิ้มทองกุล 6.8
4 นายเสนาะ เทียนทอง 3.7
5 นายบรรหาร ศิลปอาชา 0.9
6 อื่นๆ อาทิ นายชวน หลีกภัย /นายเนวิน ชิดชอบ /พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ /
นายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นต้น 1.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ลักษณะของนักการเมืองที่ต้องการ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ลักษณะของนักการเมืองที่ต้องการ ค่าร้อยละ
1 เป็นคนซื่อสัตย์/ไม่ทุจริตคอรัปชั่น 43.2
2 พูดจริงทำจริง/รักษาสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชน 16.8
2 ดูแลประชาชนอย่างทั่วถึงในทุกพื้นที่ 16.8
4 ตั้งใจทำงาน/ทำงานอย่างจริงจัง 12.0
5 มีความสามารถทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้ 10.7
6 มีความยุติธรรม 10.1
7 อื่นๆ อาทิ เป็นคนดี มีคุณธรรม /มีการศึกษา/มีประสบการณ์ในการบริหารงาน /
มีวิสัยทัศน์กว้างไกล เป็นต้น 7.5
ตารางที่7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ พรรคการเมืองที่จะเลือก ถ้าหากมีการเลือกตั้งใหม่ในวันนี้
ลำดับที่ พรรคการเมืองที่จะเลือก ถ้าหากมีการเลือกตั้งใหม่ในวันนี้ ค่าร้อยละ
1 พรรคประชาธิปัตย์ 23.3
2 พรรคไทยรักไทย 44.9
3 อื่นๆ อาทิ พรรคชาติไทย /พรรคมหาชน 3.7
4 ไม่เลือกพรรคใดเลย 28.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-