จากกรณีที่ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้ให้สัมภาษณ์ถึงปัญหาการเล่นสงกรานต์ที่ถูกสื่อมวลชนต่างประเทศเสนอภาพการละเล่นที่ไม่เหมาะสมว่า ต้องรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาการลวนลามและอุบัติเหตุไปพร้อมกัน ต่อไปต้องให้กระทรวงวัฒนธรรมเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ได้มีบุคคลสำคัญหลายคนในรัฐบาล เช่น นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.มหาดไทย ได้ชี้ว่าปัญหาเกิดขึ้นจากกลุ่มวัยรุ่นและเยาวชนที่เมาสุราเป็นสำคัญ จนอาจต้องจัดโซนนิ่งเล่นสงกรานต์กันในปีหน้า
ประเพณีการละเล่นช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นประเพณีอันดีงามที่คนไทยยึดถือปฏิบัติเรื่อยมา เพราะวันสงกรานต์เป็นวันฉลองวันขึ้นปีใหม่ไทย และเป็นช่วงเวลาที่คนไทยแสดงออกถึงไมตรีจิตและความผูกพันระหว่างกันในครอบครัว ชุมชน และสังคมระดับกว้างออกไป ดังนั้นเทศกาลสงกรานต์จึงสมควรเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญและถือว่าเป็นจุดที่สามารถสร้างสังคมไทยให้เข้มแข็งทั้งในด้านความรักความผูกพันและการป้องกันปัญหาเลวร้ายอื่นๆ ในประเทศ แต่ที่ผ่านมา การละเล่นสงกรานต์ในหลายๆ แห่งทั่วประเทศสะท้อนภาพของความสัมพันธภาพที่ฉาบฉวยของฝูงชนในสังคมเหมือนกับกระแสน้ำที่ถูกสาดโครมๆ ออกมาและเปรอะเปื้อนไปทั่ว ดูไม่งดงาม นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่ต้องขบคิดกันตามมาหลากหลายในการละเล่นสงกรานต์ของคนไทย เช่น อุบัติเหตุบนท้องถนน การลวนลามสตรีเพศ การใช้อาวุธเข่นฆ่ากันและการใช้น้ำกรดสาดกัน เป็นต้น
บทวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลวิจัยเชิงสำรวจภาคสนามจากกลุ่มตัวอย่างประชาชน ทั่วประเทศให้กับรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาการละเล่นช่วงเทศกาลสงกรานต์ตามประเพณีอันดีงามของไทย
จากการวิจัยเรื่องการจัดระเบียบพฤติกรรมการเล่นสาดน้ำช่วงสงกรานต์ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยจัดการความรู้เพื่อถนนปลอดภัย (จรป.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยทำการสำรวจศึกษาประชาชนอายุ 15 — 60 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ จำนวน 1,211 ตัวอย่าง เมื่อวันที่ 30 มีนาคม — 2 เมษายน ของปีที่แล้ว (พ.ศ. 2547) พบประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ
1. ประชาชนจำนวนมากมีความกังวลต่อปัญหาและความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยร้อยละ 55.9 เห็นว่าพฤติกรรมการเล่นสงกรานต์ในปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่ “รุนแรง”
2. ปัญหาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่มีคนกังวลมาก ได้แก่ ร้อยละ 83.3 กังวลเรื่องปัญหาอุบัติเหตุ ร้อยละ 78.6 กังวลเรื่องการเล่นสงกรานต์ที่ก่อปัญหาความเดือดร้อนรำคาญ ร้อยละ 78.1 กังวลเรื่องการลวนลามอนาจาร และร้อยละ 76.0 กังวลเรื่องการทะเลาะวิวาท ดังนั้นทุกฝ่ายจึงควรให้ความสำคัญต่อการเตรียมการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
3. มีคนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.7 ที่พบเห็นพฤติกรรมปัญหาของคนเล่นสงกรานต์ในพื้นที่จังหวัดของตนเอง โดยปัญหาที่พบเห็นส่วนใหญ่ ได้แก่ การเล่นสงกรานต์ที่รุนแรง เช่น ใช้น้ำแข็งสาด สาดโคลนหรือสี การลวนลามอนาจาร คนเมาก่อความรำคาญ การทะเลาะวิวาท การเกิดอุบัติเหตุ การขับขี่รถโดยประมาท
4. ประชาชนส่วนใหญ่ (ตัวอย่างกว่าร้อยละ 81.9) สนับสนุนให้มีการจัดระเบียบการเล่นสงกรานต์
นอกจากนี้ในผลวิจัยล่าสุดซึ่งสำรวจก่อนวันสงกรานต์ของปีนี้ (พ.ศ. 2548) โดยสำรวจวิจัยกับกลุ่มผู้หญิงอายุระหว่าง 15 — 24 ปี จำนวน 2,843 ตัวอย่างใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า กลุ่มวัยรุ่นเยาวชนที่เป็นผู้หญิงจำนวนมากหรือเกือบร้อยละ 50 มีความกลัวต่อการถูกพวกฉวยโอกาสลวนลามมากกว่าการก่อการร้ายเสียอีก และจากการถามกลุ่มตัวอย่งผู้หญิงเหล่านี้ย้อนกลับไปถึงประสบการณ์การเล่นน้ำสงกรานต์จนถูกลวนลามโดยทำการประมาณการตามหลักสถิติศาสตร์ พบว่ากว่าห้าแสนคนเคยถูกลวนลามในช่วงเทศกาลสงกรานต์จากกลุ่มผู้ฉวยโอกาสปีที่แล้ว แต่กลับมีเพียงร้อยละสิบเท่านั้นที่เข้าแจ้งความตำรวจเพื่อดำเนินคดี ซึ่งในกลุ่มที่เข้าแจ้งความดำเนินคดีนี้มีประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ตำรวจรับแจ้งความ ยิ่งไปกว่านั้นมีตัวอย่างผู้เสียหายเพียงน้อยนิด หรือไม่ถึงร้อยละสิบของสาวๆ ที่ตำรวจรับแจ้งความระบุว่าตำรวจสามารถติดตามจับกุมคนทำผิดได้ ผลวิจัยที่ค้นพบในเรื่องการจัดระเบียบการเล่นน้ำสงกรานต์ยังระบุการจัดอันดับมาตรการที่ประชาชนคาดหวังเพื่อลดอุบัติเหตุ เรียงลำดับดังนี้
- อันดับแรก การควบคุมพฤติกรรมการเล่นสงกรานต์ที่เบี่ยงเบน / ไม่เหมาะสม
- อันดับที่สอง การตรวจจับคนเมาที่ขับขี่อย่างเข้มงวด
- อันดับที่สาม การควบคุม / การลดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงสงกรานต์
- อันดับที่สี่ ควบคุมการขับขี่จักรยานยนต์ให้เคารพกฎจราจร โดยเฉพาะพวกที่ไม่ติดแผ่น
ป้ายทะเบียน
- อันดับที่ห้า การปรับปรุงแก้ไขจุดเสี่ยง / จุดอันตรายบนท้องถนน
- อับดับที่หก จัดกำลังเจ้าหน้าที่ / อาสาสมัครตรวจตราและตักเตือนผู้ขับขี่ที่ประมาท
- อันดับที่เจ็ด การจัดโซนนิ่งในการเล่นสงกรานต์
นอกจากนี้ประชาชนยังได้แสดงความเห็นต่อมาตรการการแก้ปัญหาโดยภาพรวม กรณี “การจัดโซนนิ่งในการเล่นสงกรานต์” อาทิการจัดพื้นที่หรือถนนบางสายในแต่ละจังหวัดไว้สำหรับการเล่นสงกรานต์โดยเฉพาะ มีผู้เห็นด้วยร้อยละ 54.2 โดยระบุเหตุผลสำคัญได้แก่ จะทำให้ดูแลควบคุมเพื่อป้องกันเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้น ทำให้ผู้เล่นไม่สร้างความเดือดร้อนรบกวนผู้อื่น เชื่อว่าจะช่วยลดอุบัติเหตุจราจร ลดปัญหาการจราจรติดขัด ในขณะที่ร้อยละ 26.1 ไม่เห็นด้วย โดยระบุเหตุผลสำคัญคือ เป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพ เป็นการละเล่นตามเทศกาล/ ประเพณี ปีละครั้งเท่านั้นไม่ควรที่จะไปจำกัดเข้มงวด จะทำให้ขาดความสนุก เล่นได้ไม่เต็มที่ เกรงว่าจะเกิดปัญหาความแออัดในพื้นที่ที่จัดโซนนิ่งและไม่เชื่อว่าจะควบคุมให้อยู่ในเขตโซนนิ่งที่กำหนดได้ ส่วนอีกร้อยละ 19.7 ไม่มีความเห็น
ประเด็นผลสำรวจที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ความเห็นของประชาชนที่ระบุว่าควรสนับสนุนให้ผู้มีบทบาทรับผิดชอบ เช่น กระทรวงวัฒนธรรมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันผลักดันให้มีการนำขนบธรรมเนียม ประเพณี วิธีการเล่น และการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เน้นความเป็นไทยมาใช้ เนื่องจากตัวอย่างประชาชนกว่าร้อยละ 83.6 เห็นด้วยกับการส่งเสริมการเล่นสงกรานต์แบบอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและปัญหาของผู้หญิงที่ถูกลวนลามทางเพศจากกลุ่มผู้ฉวยโอกาศ
จากการพิจารณาผลวิจัยที่สำเสนอมานี้ จะเห็นได้ว่าข้อมูลผลวิจัยเชิงสำรวจที่จัดทำโดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ภายใต้การสนับสนุนของ จรป. และ สสส. เป็นข้อมูลที่เคยนำเสนอต่อรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในปีที่แล้ว แต่ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะพฤติกรรมการเล่นสงกรานต์ของคนไทยที่เกิดขึ้นจนเป็นเหตุของการทะเลาะวิวาท การใช้ความรุนแรง กรลวนลามผู้หญิง และอุบัติเหตุ ยังปรากฎให้เห็นเป็นจำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงวัฒนธรรมกลับแสดงบทบาทออกมาให้ประชาชนเห็นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้น้อยมาก ดังนั้น คำถามที่รัฐบาลทักษิณต้องตอบคือ ทำไมต้องรอปีหน้า ทำไมต้องรอให้สื่อต่างชาติไปตีแผ่ข่าวด้านลบทำลายประเพณีสงกรานต์ของไทยก่อน รัฐบาลจึงค่อยหันมาสนใจ
คำถามเหล่านี้สะท้อนอะไรบางอย่างของการทุ่มเทที่ไม่เพียงพอของรัฐบาลในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของสังคมไทย ซึ่งแตกต่างไปจากการทุ่มเทของรัฐบาลในด้านนโยบายประชานิยมที่มีผลต่อคะแนนนิยมและฐานเสียงทางการเมืองของรัฐบาล สิ่งที่รัฐบาลควรพิจารณาคือ ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนโดยส่วนใหญ่หรือเกือบร้อยละ 80 ที่ยังให้ความสำคัญของเทศกาลสงกรานต์ โดยรัฐบาลควรให้น้ำหนักกับเรื่องคุณค่าของวัฒนธรรมมากกว่าตัวเลขของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุเสียด้วยซ้ำ รัฐบาลควรให้กระทรวงวัฒนธรรมเริ่มรณรงค์อย่างทั่วถึงก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์ การสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าตระหนักถึงคุณค่าของเทศกาลสงกรานต์ตามประเพณีและวัฒนธรรมไทยอย่างแท้จริง ในขณะที่กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรเป็นกำลังสำคัญในการจัดระเบียบประเพณีสงกรานต์ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ประชาชนมีชีวิตอยู่รอดปลอดภัยจากการเดินทางและรอดพ้นจากการคุกคามของกลุ่มมิจฉาชีพ และพวกอาชญากรทั้งหลาย เพื่อกลับเข้าสู่วิถีชีวิตปกติ ประกอบอาชีพประจำวันหลังเทศกาลปีใหม่ของไทยด้วยชีวิตใหม่ที่ดีกว่าตลอดไป
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ประเพณีการละเล่นช่วงเทศกาลสงกรานต์เป็นประเพณีอันดีงามที่คนไทยยึดถือปฏิบัติเรื่อยมา เพราะวันสงกรานต์เป็นวันฉลองวันขึ้นปีใหม่ไทย และเป็นช่วงเวลาที่คนไทยแสดงออกถึงไมตรีจิตและความผูกพันระหว่างกันในครอบครัว ชุมชน และสังคมระดับกว้างออกไป ดังนั้นเทศกาลสงกรานต์จึงสมควรเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญและถือว่าเป็นจุดที่สามารถสร้างสังคมไทยให้เข้มแข็งทั้งในด้านความรักความผูกพันและการป้องกันปัญหาเลวร้ายอื่นๆ ในประเทศ แต่ที่ผ่านมา การละเล่นสงกรานต์ในหลายๆ แห่งทั่วประเทศสะท้อนภาพของความสัมพันธภาพที่ฉาบฉวยของฝูงชนในสังคมเหมือนกับกระแสน้ำที่ถูกสาดโครมๆ ออกมาและเปรอะเปื้อนไปทั่ว ดูไม่งดงาม นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่ต้องขบคิดกันตามมาหลากหลายในการละเล่นสงกรานต์ของคนไทย เช่น อุบัติเหตุบนท้องถนน การลวนลามสตรีเพศ การใช้อาวุธเข่นฆ่ากันและการใช้น้ำกรดสาดกัน เป็นต้น
บทวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลวิจัยเชิงสำรวจภาคสนามจากกลุ่มตัวอย่างประชาชน ทั่วประเทศให้กับรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินใจดำเนินการใดๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาการละเล่นช่วงเทศกาลสงกรานต์ตามประเพณีอันดีงามของไทย
จากการวิจัยเรื่องการจัดระเบียบพฤติกรรมการเล่นสาดน้ำช่วงสงกรานต์ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยจัดการความรู้เพื่อถนนปลอดภัย (จรป.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โดยทำการสำรวจศึกษาประชาชนอายุ 15 — 60 ปี ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และหัวเมืองในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศ จำนวน 1,211 ตัวอย่าง เมื่อวันที่ 30 มีนาคม — 2 เมษายน ของปีที่แล้ว (พ.ศ. 2547) พบประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ
1. ประชาชนจำนวนมากมีความกังวลต่อปัญหาและความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยร้อยละ 55.9 เห็นว่าพฤติกรรมการเล่นสงกรานต์ในปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่ “รุนแรง”
2. ปัญหาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่มีคนกังวลมาก ได้แก่ ร้อยละ 83.3 กังวลเรื่องปัญหาอุบัติเหตุ ร้อยละ 78.6 กังวลเรื่องการเล่นสงกรานต์ที่ก่อปัญหาความเดือดร้อนรำคาญ ร้อยละ 78.1 กังวลเรื่องการลวนลามอนาจาร และร้อยละ 76.0 กังวลเรื่องการทะเลาะวิวาท ดังนั้นทุกฝ่ายจึงควรให้ความสำคัญต่อการเตรียมการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
3. มีคนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.7 ที่พบเห็นพฤติกรรมปัญหาของคนเล่นสงกรานต์ในพื้นที่จังหวัดของตนเอง โดยปัญหาที่พบเห็นส่วนใหญ่ ได้แก่ การเล่นสงกรานต์ที่รุนแรง เช่น ใช้น้ำแข็งสาด สาดโคลนหรือสี การลวนลามอนาจาร คนเมาก่อความรำคาญ การทะเลาะวิวาท การเกิดอุบัติเหตุ การขับขี่รถโดยประมาท
4. ประชาชนส่วนใหญ่ (ตัวอย่างกว่าร้อยละ 81.9) สนับสนุนให้มีการจัดระเบียบการเล่นสงกรานต์
นอกจากนี้ในผลวิจัยล่าสุดซึ่งสำรวจก่อนวันสงกรานต์ของปีนี้ (พ.ศ. 2548) โดยสำรวจวิจัยกับกลุ่มผู้หญิงอายุระหว่าง 15 — 24 ปี จำนวน 2,843 ตัวอย่างใน 23 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า กลุ่มวัยรุ่นเยาวชนที่เป็นผู้หญิงจำนวนมากหรือเกือบร้อยละ 50 มีความกลัวต่อการถูกพวกฉวยโอกาสลวนลามมากกว่าการก่อการร้ายเสียอีก และจากการถามกลุ่มตัวอย่งผู้หญิงเหล่านี้ย้อนกลับไปถึงประสบการณ์การเล่นน้ำสงกรานต์จนถูกลวนลามโดยทำการประมาณการตามหลักสถิติศาสตร์ พบว่ากว่าห้าแสนคนเคยถูกลวนลามในช่วงเทศกาลสงกรานต์จากกลุ่มผู้ฉวยโอกาสปีที่แล้ว แต่กลับมีเพียงร้อยละสิบเท่านั้นที่เข้าแจ้งความตำรวจเพื่อดำเนินคดี ซึ่งในกลุ่มที่เข้าแจ้งความดำเนินคดีนี้มีประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ตำรวจรับแจ้งความ ยิ่งไปกว่านั้นมีตัวอย่างผู้เสียหายเพียงน้อยนิด หรือไม่ถึงร้อยละสิบของสาวๆ ที่ตำรวจรับแจ้งความระบุว่าตำรวจสามารถติดตามจับกุมคนทำผิดได้ ผลวิจัยที่ค้นพบในเรื่องการจัดระเบียบการเล่นน้ำสงกรานต์ยังระบุการจัดอันดับมาตรการที่ประชาชนคาดหวังเพื่อลดอุบัติเหตุ เรียงลำดับดังนี้
- อันดับแรก การควบคุมพฤติกรรมการเล่นสงกรานต์ที่เบี่ยงเบน / ไม่เหมาะสม
- อันดับที่สอง การตรวจจับคนเมาที่ขับขี่อย่างเข้มงวด
- อันดับที่สาม การควบคุม / การลดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงสงกรานต์
- อันดับที่สี่ ควบคุมการขับขี่จักรยานยนต์ให้เคารพกฎจราจร โดยเฉพาะพวกที่ไม่ติดแผ่น
ป้ายทะเบียน
- อันดับที่ห้า การปรับปรุงแก้ไขจุดเสี่ยง / จุดอันตรายบนท้องถนน
- อับดับที่หก จัดกำลังเจ้าหน้าที่ / อาสาสมัครตรวจตราและตักเตือนผู้ขับขี่ที่ประมาท
- อันดับที่เจ็ด การจัดโซนนิ่งในการเล่นสงกรานต์
นอกจากนี้ประชาชนยังได้แสดงความเห็นต่อมาตรการการแก้ปัญหาโดยภาพรวม กรณี “การจัดโซนนิ่งในการเล่นสงกรานต์” อาทิการจัดพื้นที่หรือถนนบางสายในแต่ละจังหวัดไว้สำหรับการเล่นสงกรานต์โดยเฉพาะ มีผู้เห็นด้วยร้อยละ 54.2 โดยระบุเหตุผลสำคัญได้แก่ จะทำให้ดูแลควบคุมเพื่อป้องกันเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้น ทำให้ผู้เล่นไม่สร้างความเดือดร้อนรบกวนผู้อื่น เชื่อว่าจะช่วยลดอุบัติเหตุจราจร ลดปัญหาการจราจรติดขัด ในขณะที่ร้อยละ 26.1 ไม่เห็นด้วย โดยระบุเหตุผลสำคัญคือ เป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพ เป็นการละเล่นตามเทศกาล/ ประเพณี ปีละครั้งเท่านั้นไม่ควรที่จะไปจำกัดเข้มงวด จะทำให้ขาดความสนุก เล่นได้ไม่เต็มที่ เกรงว่าจะเกิดปัญหาความแออัดในพื้นที่ที่จัดโซนนิ่งและไม่เชื่อว่าจะควบคุมให้อยู่ในเขตโซนนิ่งที่กำหนดได้ ส่วนอีกร้อยละ 19.7 ไม่มีความเห็น
ประเด็นผลสำรวจที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ความเห็นของประชาชนที่ระบุว่าควรสนับสนุนให้ผู้มีบทบาทรับผิดชอบ เช่น กระทรวงวัฒนธรรมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันผลักดันให้มีการนำขนบธรรมเนียม ประเพณี วิธีการเล่น และการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เน้นความเป็นไทยมาใช้ เนื่องจากตัวอย่างประชาชนกว่าร้อยละ 83.6 เห็นด้วยกับการส่งเสริมการเล่นสงกรานต์แบบอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและปัญหาของผู้หญิงที่ถูกลวนลามทางเพศจากกลุ่มผู้ฉวยโอกาศ
จากการพิจารณาผลวิจัยที่สำเสนอมานี้ จะเห็นได้ว่าข้อมูลผลวิจัยเชิงสำรวจที่จัดทำโดยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ภายใต้การสนับสนุนของ จรป. และ สสส. เป็นข้อมูลที่เคยนำเสนอต่อรัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในปีที่แล้ว แต่ปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะพฤติกรรมการเล่นสงกรานต์ของคนไทยที่เกิดขึ้นจนเป็นเหตุของการทะเลาะวิวาท การใช้ความรุนแรง กรลวนลามผู้หญิง และอุบัติเหตุ ยังปรากฎให้เห็นเป็นจำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงวัฒนธรรมกลับแสดงบทบาทออกมาให้ประชาชนเห็นในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้น้อยมาก ดังนั้น คำถามที่รัฐบาลทักษิณต้องตอบคือ ทำไมต้องรอปีหน้า ทำไมต้องรอให้สื่อต่างชาติไปตีแผ่ข่าวด้านลบทำลายประเพณีสงกรานต์ของไทยก่อน รัฐบาลจึงค่อยหันมาสนใจ
คำถามเหล่านี้สะท้อนอะไรบางอย่างของการทุ่มเทที่ไม่เพียงพอของรัฐบาลในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของสังคมไทย ซึ่งแตกต่างไปจากการทุ่มเทของรัฐบาลในด้านนโยบายประชานิยมที่มีผลต่อคะแนนนิยมและฐานเสียงทางการเมืองของรัฐบาล สิ่งที่รัฐบาลควรพิจารณาคือ ความรู้สึกนึกคิดของประชาชนโดยส่วนใหญ่หรือเกือบร้อยละ 80 ที่ยังให้ความสำคัญของเทศกาลสงกรานต์ โดยรัฐบาลควรให้น้ำหนักกับเรื่องคุณค่าของวัฒนธรรมมากกว่าตัวเลขของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากอุบัติเหตุเสียด้วยซ้ำ รัฐบาลควรให้กระทรวงวัฒนธรรมเริ่มรณรงค์อย่างทั่วถึงก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์ การสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าตระหนักถึงคุณค่าของเทศกาลสงกรานต์ตามประเพณีและวัฒนธรรมไทยอย่างแท้จริง ในขณะที่กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรเป็นกำลังสำคัญในการจัดระเบียบประเพณีสงกรานต์ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ประชาชนมีชีวิตอยู่รอดปลอดภัยจากการเดินทางและรอดพ้นจากการคุกคามของกลุ่มมิจฉาชีพ และพวกอาชญากรทั้งหลาย เพื่อกลับเข้าสู่วิถีชีวิตปกติ ประกอบอาชีพประจำวันหลังเทศกาลปีใหม่ของไทยด้วยชีวิตใหม่ที่ดีกว่าตลอดไป
--เอแบคโพลล์--
-พห-