ที่มาของโครงการ
หลังจากที่มีข่าวกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบนโยบายให้พัฒนาวงดนตรีของกรม
ประชาสัมพันธ์ให้รุ่งเรืองเหมือนในยุคสุนทราภรณ์ แก่นายสุรนันท์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่ง
กำกับดูแลงานกรมประชาสัมพันธ์ ให้ไปปรับปรุงและฟื้นฟูวงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และรักษา
คุณค่าของเพลงไทยให้พัฒนาต่อไป ทั้งนี้ทางกรมประชาสัมพันธ์ยังเตรียมที่จะเปิดโรงเรียนสอนวิชาการดนตรีราคาถูก
พัฒนาวงการดนตรีทางเลือกสำหรับครอบครัวของชนชั้นกลางและคนยากจน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จาก
ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ถึงนโยบายในการปรับปรุงฟื้นฟูวงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์
และการสนับสนุนในด้านต่างๆ เพื่อที่จะถ่ายทอดความรู้ด้านดนตรีให้กับเยาวชนและประชาชนผู้สนใจ ทั่วไป ด้วยการ
จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัย
ทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจถึงนโยบายในการปรับปรุงฟื้นฟูวงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์
2. เพื่อสำรวจถึงการสนับสนุนในด้านต่างๆ เพื่อที่จะถ่ายทอดความรู้ด้านดนตรีให้กับเยาวชนและ
ประชาชนผู้สนใจ
3. เพื่อค้นหานักร้อง/นักดนตรีที่อยากให้มาช่วยฟื้นฟูดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “การปรับปรุงฟื้นฟู
วงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ในสายตาของประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 2 — 5 พฤษภาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified
Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับ
ประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,808 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 1.97
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 59.9 เป็นหญิง
ร้อยละ 40.1 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.2 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 23.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 21.0 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 20.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 8.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 68.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 27.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และ ร้อยละ 4.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่าง
ร้อยละ 26.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 17.7 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ/เกษตรกร
ร้อยละ 16.7 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 16.3 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 11.3 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ในขณะที่ร้อยละ 1.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ
สำนักวิจัย เอแบคโพลล์ ได้เปิดเผยผลวิจัยภาคสนาม เรื่อง “การปรับปรุงฟื้นฟูวงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ในสาย
ตาของประชาชน” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑลจำนวนทั้งสิ้น 1,808 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 2-5 พฤษภาคม 2548 ประเด็น
สำคัญที่ ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างร้อยละ 50.7 เคยรับชม/รับฟังเพลงของวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ และร้อยละ 49.3 ไม่เคย
รับชม/รับฟัง สำหรับจุดเด่นของวงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ที่ควรจะอนุรักษ์ไว้นั้น 3 อันดับแรก คือ เป็นดนตรีเชิง
อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย (ร้อยละ 52.5) ภาษาและเนื้อหาของเพลงมีความสละสลวย (ร้อยละ 48.8) และเป็นวง
ดนตรีที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง (ร้อยละ 44.7) ตามลำดับ
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปอีกถึงการทราบข่าวนโยบายการปรับปรุงฟื้นฟูวงดนตรีของกรมประชา
สัมพันธ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พบว่า มีตัวอย่างถึงร้อยละ 63.4 เพิ่งทราบข่าวจากการตอบแบบ
สอบถาม และร้อยละ 36.6 ทราบข่าวมาก่อนแล้ว และเมื่อสอบถามตัวอย่างถึงการปรับปรุงฟื้นฟูให้วงดนตรีของกรม
ประชาสัมพันธ์กลับมารุ่งเรืองเหมือนยุคสุนทราภรณ์อีกครั้งนั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 94.4 เห็นด้วย-
ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 2.1 ไม่ค่อยเห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 3.5 ไม่มีความเห็นยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสอบ
ถามถึงสิ่งที่วงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ควรจะถูกปรับปรุง 3 อันดับแรก คือ ให้เป็นสถาบันที่สามารถถ่ายทอดความรู้
ด้านดนตรีให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไปได้ (ร้อยละ 77.4) ต้องรักษาเอกลักษณ์ความเป็นไทย (ร้อยละ 74.5)
และสนับสนุนพัฒนาความรู้ความสามารถของนักร้อง/นักดนตรี (ร้อยละ 63.9) ตามลำดับ
ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ยังค้นพบอีกว่า ตัวอย่างร้อยละ 85.0 เห็นด้วย-ค่อนข้างเห็นด้วยที่จะ
ให้ วงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์สามารถแสดงดนตรีได้ทุกประเภททั้งเพลงไทยเดิม ไทยสากล และเพลงไทย
ยุคใหม่ทุกประเภท ร้อยละ 13.5 ไม่ค่อยเห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 1.5 ไม่มีความเห็น และเมื่อสอบถาม
ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการเปิดโรงเรียนดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านดนตรีให้กับเยาวชน
และประชาชนผู้สนใจทั่วไปนั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 97.1 เห็นด้วย-ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 1.7
ไม่ค่อยเห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 1.2 ไม่มีความเห็น สำหรับประเภทของเพลง/ดนตรีที่ควรเปิดสอนใน
โรงเรียนดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์นั้น พบว่า ร้อยละ 72.8 ระบุเพลงไทยเดิม ร้อยละ 59.6 ระบุเพลงไทย
สากล และร้อยละ 53.5 ระบุเพลงไทยสมัยใหม่ที่มีความหลากหลาย
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการขอความร่วมมือจากนักร้อง/นักดนตรีสมัยใหม่ให้มาช่วย
ถ่ายทอดความรู้ด้านดนตรีให้กับเยาวชน/ประชาชนในโรงเรียนดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์พบว่าตัวอย่างร้อยละ
92.2 เห็นด้วย-ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 6.2 ไม่ค่อยเห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 1.6 ไม่มีความเห็น
ประเด็นสุดท้ายที่ค้นพบ คือ นักร้อง/นักดนตรีที่ตัวอย่างอยากให้มาช่วยฟื้นฟูดนตรีของกรม
ประชาสัมพันธ์ 3 อันดับแรก คือ ธงไชย แมคอินไตย (ร้อยละ 37.4) สุเทพ วงศ์กำแหง (ร้อยละ 12.3) และ
นักร้อง/นักดนตรีในอดีตของกรมประชาสัมพันธ์ (ร้อยละ 10.6) ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเคยรับชม/รับฟังเพลงของวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์
ลำดับที่ การเคยรับชม/รับฟังเพลงของวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ ค่าร้อยละ
1 เคย 50.7
2 ไม่เคย 49.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจุดเด่นของวงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ที่ควรอนุรักษ์ไว้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ จุดเด่นที่ควรอนุรักษ์ไว้ ค่าร้อยละ
1 เป็นดนตรีเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย 52.5
2 ภาษาและเนื้อหาของเพลงมีความสละสลวย 48.8
3 เป็นวงดนตรีที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง 44.7
4 ความสามารถในทางดนตรีของนักร้อง/นักดนตรี 43.4
5 ความไพเราะของดนตรีที่เน้นเครื่องเป่าและจังหวะ 41.8
6 เป็นดนตรีที่สะท้อนด้านหนึ่งของชีวิตคนไทยในอดีต 41.5
7 มีความสง่างามในความเป็นดนตรีของไทย 41.3
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวนโยบายการปรับปรุงฟื้นฟูวงดนตรีของกรม
ประชาสัมพันธ์ของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ การทราบข่าวนโยบายการปรับปรุงฟื้นฟูวงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ ค่าร้อยละ
ของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
1 ทราบข่าวมาก่อนแล้ว 36.6
2 เพิ่งทราบข่าวจากการตอบแบบสอบถาม 63.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเห็นด้วยหรือไม่ ที่จะให้มีการปรับปรุงฟื้นฟูให้วงดนตรีของกรม
ประชาสัมพันธ์กลับมารุ่งเรื่องเหมือนยุคสุนทราภรณ์อีกครั้ง
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 82.3
2 ค่อนข้างเห็นด้วย 12.1
3 ไม่ค่อยเห็นด้วย 1.4
4 ไม่เห็นด้วย 0.7
5 ไม่มีความเห็น 3.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่วงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ควรถูกปรับปรุง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่วงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ควรถูกปรับปรุง ค่าร้อยละ
1 ให้เป็นสถาบันที่สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านดนตรีให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไปได้ 77.4
2 ต้องรักษาเอกลักษณ์ความเป็นไทย 74.5
3 สนับสนุนพัฒนาความรู้ความสามารถของนักร้อง/นักดนตรี 63.9
4 สามารถเล่นดนตรีได้หลากหลายประเภท 55.6
5 รักษาเอกลักษณ์ของตนเอง 54.5
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเห็นด้วยหรือไม่ ที่จะให้วงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์สามารถ
แสดงดนตรีได้ทุกประเภททั้งเพลงไทยเดิม ไทยสากล และเพลงไทยยุคใหม่ทุกประเภท
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 72.7
2 ค่อนข้างเห็นด้วย 12.3
3 ไม่ค่อยเห็นด้วย 7.5
4 ไม่เห็นด้วย 6.0
5 ไม่มีความเห็น 1.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเห็นด้วยหรือไม่ ที่จะมีการเปิดโรงเรียนดนตรีของ
กรมประชาสัมพันธ์เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านดนตรีให้กับเยาวชนและประชาชนผู้สนใจทั่วไป
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 88.1
2 ค่อนข้างเห็นด้วย 9.0
3 ไม่ค่อยเห็นด้วย 0.9
4 ไม่เห็นด้วย 0.8
5 ไม่มีความเห็น 1.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทของเพลง/ดนตรีที่ควรเปิดสอนในโรงเรียนดนตรีของ
กรมประชาสัมพันธ์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ )
ลำดับที่ ประเภทของเพลง/ดนตรีที่ควรเปิดสอนในโรงเรียนดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ ค่าร้อยละ
1 เพลงไทยเดิม 72.8
2 เพลงไทยสากล 59.6
3 เพลงไทยสมัยใหม่ที่มีความหลากหลาย 53.5
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าจะมีการขอความร่วมมือจากนักร้อง/นักดนตรี
สมัยใหม่ให้มาช่วยถ่ายทอดความรู้ด้านดนตรีให้กับเยาวชน/ประชาชนในโรงรียนดนตรีของ
กรมประชาสัมพันธ์
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 81.5
2 ค่อนข้างเห็นด้วย 10.7
3 ไม่ค่อยเห็นด้วย 3.6
4 ไม่เห็นด้วย 2.6
5 ไม่มีความเห็น 1.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุนักร้อง/นักดนตรีที่อยากให้มาช่วยฟื้นฟูดนตรีของกรม
ประชาสัมพันธ์(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ )
ลำดับที่ นักร้อง/นักดนตรีที่อยากให้มาช่วยฟื้นฟูดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ ค่าร้อยละ
1 ธงไชย แมคอินไตย 37.4
2 สุเทพ วงศ์กำแหง 12.3
3 นักร้อง/นักดนตรีในอดีตของกรมประชาสัมพันธ์ 10.6
4 วงคาราบาว 7.3
5 นันทิดา แก้วบัวสาย 6.8
6 ชรินทร์ นันทนาคร 4.5
7 ต่าย อรทัย 3.7
8 ไมค์ ภิรมย์พร 3.6
9 สวลี ผกาพันธุ์ 3.5
10 ผ่องศรี วรนุช 3.5
11 พลพล พลกองเส็ง 3.4
12 จักรพรรณ อาบครบุรี 3.3
13 เสก โลโซ 3.2
14 รวงทอง ทองลั่นทม 3.0
15 อื่นๆ อาทิ ปาน ธนพร แวกประยูร/มณีนุช เสมรสุต/ดนุพล แก้วกาญจน์ เป็นต้น 7.5
--เอแบคโพลล์--
-พห-
หลังจากที่มีข่าวกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบนโยบายให้พัฒนาวงดนตรีของกรม
ประชาสัมพันธ์ให้รุ่งเรืองเหมือนในยุคสุนทราภรณ์ แก่นายสุรนันท์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่ง
กำกับดูแลงานกรมประชาสัมพันธ์ ให้ไปปรับปรุงและฟื้นฟูวงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และรักษา
คุณค่าของเพลงไทยให้พัฒนาต่อไป ทั้งนี้ทางกรมประชาสัมพันธ์ยังเตรียมที่จะเปิดโรงเรียนสอนวิชาการดนตรีราคาถูก
พัฒนาวงการดนตรีทางเลือกสำหรับครอบครัวของชนชั้นกลางและคนยากจน
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จาก
ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ถึงนโยบายในการปรับปรุงฟื้นฟูวงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์
และการสนับสนุนในด้านต่างๆ เพื่อที่จะถ่ายทอดความรู้ด้านดนตรีให้กับเยาวชนและประชาชนผู้สนใจ ทั่วไป ด้วยการ
จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัย
ทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจถึงนโยบายในการปรับปรุงฟื้นฟูวงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์
2. เพื่อสำรวจถึงการสนับสนุนในด้านต่างๆ เพื่อที่จะถ่ายทอดความรู้ด้านดนตรีให้กับเยาวชนและ
ประชาชนผู้สนใจ
3. เพื่อค้นหานักร้อง/นักดนตรีที่อยากให้มาช่วยฟื้นฟูดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “การปรับปรุงฟื้นฟู
วงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ในสายตาของประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 2 — 5 พฤษภาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified
Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับ
ประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,808 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 1.97
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่าง ร้อยละ 59.9 เป็นหญิง
ร้อยละ 40.1 เป็นชาย
ตัวอย่าง ร้อยละ 27.2 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
ร้อยละ 23.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 21.0 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี
ร้อยละ 20.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
และร้อยละ 8.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่าง ร้อยละ 68.0 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 27.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และ ร้อยละ 4.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่าง
ร้อยละ 26.5 ระบุอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 17.7 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ/เกษตรกร
ร้อยละ 16.7 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 16.3 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 11.3 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 10.2 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ในขณะที่ร้อยละ 1.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ
สำนักวิจัย เอแบคโพลล์ ได้เปิดเผยผลวิจัยภาคสนาม เรื่อง “การปรับปรุงฟื้นฟูวงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ในสาย
ตาของประชาชน” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑลจำนวนทั้งสิ้น 1,808 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 2-5 พฤษภาคม 2548 ประเด็น
สำคัญที่ ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ตัวอย่างร้อยละ 50.7 เคยรับชม/รับฟังเพลงของวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ และร้อยละ 49.3 ไม่เคย
รับชม/รับฟัง สำหรับจุดเด่นของวงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ที่ควรจะอนุรักษ์ไว้นั้น 3 อันดับแรก คือ เป็นดนตรีเชิง
อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย (ร้อยละ 52.5) ภาษาและเนื้อหาของเพลงมีความสละสลวย (ร้อยละ 48.8) และเป็นวง
ดนตรีที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง (ร้อยละ 44.7) ตามลำดับ
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปอีกถึงการทราบข่าวนโยบายการปรับปรุงฟื้นฟูวงดนตรีของกรมประชา
สัมพันธ์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พบว่า มีตัวอย่างถึงร้อยละ 63.4 เพิ่งทราบข่าวจากการตอบแบบ
สอบถาม และร้อยละ 36.6 ทราบข่าวมาก่อนแล้ว และเมื่อสอบถามตัวอย่างถึงการปรับปรุงฟื้นฟูให้วงดนตรีของกรม
ประชาสัมพันธ์กลับมารุ่งเรืองเหมือนยุคสุนทราภรณ์อีกครั้งนั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 94.4 เห็นด้วย-
ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 2.1 ไม่ค่อยเห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 3.5 ไม่มีความเห็นยิ่งไปกว่านั้น เมื่อสอบ
ถามถึงสิ่งที่วงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ควรจะถูกปรับปรุง 3 อันดับแรก คือ ให้เป็นสถาบันที่สามารถถ่ายทอดความรู้
ด้านดนตรีให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไปได้ (ร้อยละ 77.4) ต้องรักษาเอกลักษณ์ความเป็นไทย (ร้อยละ 74.5)
และสนับสนุนพัฒนาความรู้ความสามารถของนักร้อง/นักดนตรี (ร้อยละ 63.9) ตามลำดับ
ผลสำรวจของเอแบคโพลล์ยังค้นพบอีกว่า ตัวอย่างร้อยละ 85.0 เห็นด้วย-ค่อนข้างเห็นด้วยที่จะ
ให้ วงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์สามารถแสดงดนตรีได้ทุกประเภททั้งเพลงไทยเดิม ไทยสากล และเพลงไทย
ยุคใหม่ทุกประเภท ร้อยละ 13.5 ไม่ค่อยเห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 1.5 ไม่มีความเห็น และเมื่อสอบถาม
ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการเปิดโรงเรียนดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านดนตรีให้กับเยาวชน
และประชาชนผู้สนใจทั่วไปนั้น พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 97.1 เห็นด้วย-ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 1.7
ไม่ค่อยเห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 1.2 ไม่มีความเห็น สำหรับประเภทของเพลง/ดนตรีที่ควรเปิดสอนใน
โรงเรียนดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์นั้น พบว่า ร้อยละ 72.8 ระบุเพลงไทยเดิม ร้อยละ 59.6 ระบุเพลงไทย
สากล และร้อยละ 53.5 ระบุเพลงไทยสมัยใหม่ที่มีความหลากหลาย
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการขอความร่วมมือจากนักร้อง/นักดนตรีสมัยใหม่ให้มาช่วย
ถ่ายทอดความรู้ด้านดนตรีให้กับเยาวชน/ประชาชนในโรงเรียนดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์พบว่าตัวอย่างร้อยละ
92.2 เห็นด้วย-ค่อนข้างเห็นด้วย ร้อยละ 6.2 ไม่ค่อยเห็นด้วย-ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 1.6 ไม่มีความเห็น
ประเด็นสุดท้ายที่ค้นพบ คือ นักร้อง/นักดนตรีที่ตัวอย่างอยากให้มาช่วยฟื้นฟูดนตรีของกรม
ประชาสัมพันธ์ 3 อันดับแรก คือ ธงไชย แมคอินไตย (ร้อยละ 37.4) สุเทพ วงศ์กำแหง (ร้อยละ 12.3) และ
นักร้อง/นักดนตรีในอดีตของกรมประชาสัมพันธ์ (ร้อยละ 10.6) ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเคยรับชม/รับฟังเพลงของวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์
ลำดับที่ การเคยรับชม/รับฟังเพลงของวงดนตรีกรมประชาสัมพันธ์ ค่าร้อยละ
1 เคย 50.7
2 ไม่เคย 49.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุจุดเด่นของวงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ที่ควรอนุรักษ์ไว้
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ จุดเด่นที่ควรอนุรักษ์ไว้ ค่าร้อยละ
1 เป็นดนตรีเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย 52.5
2 ภาษาและเนื้อหาของเพลงมีความสละสลวย 48.8
3 เป็นวงดนตรีที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง 44.7
4 ความสามารถในทางดนตรีของนักร้อง/นักดนตรี 43.4
5 ความไพเราะของดนตรีที่เน้นเครื่องเป่าและจังหวะ 41.8
6 เป็นดนตรีที่สะท้อนด้านหนึ่งของชีวิตคนไทยในอดีต 41.5
7 มีความสง่างามในความเป็นดนตรีของไทย 41.3
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการทราบข่าวนโยบายการปรับปรุงฟื้นฟูวงดนตรีของกรม
ประชาสัมพันธ์ของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ลำดับที่ การทราบข่าวนโยบายการปรับปรุงฟื้นฟูวงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ ค่าร้อยละ
ของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
1 ทราบข่าวมาก่อนแล้ว 36.6
2 เพิ่งทราบข่าวจากการตอบแบบสอบถาม 63.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเห็นด้วยหรือไม่ ที่จะให้มีการปรับปรุงฟื้นฟูให้วงดนตรีของกรม
ประชาสัมพันธ์กลับมารุ่งเรื่องเหมือนยุคสุนทราภรณ์อีกครั้ง
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 82.3
2 ค่อนข้างเห็นด้วย 12.1
3 ไม่ค่อยเห็นด้วย 1.4
4 ไม่เห็นด้วย 0.7
5 ไม่มีความเห็น 3.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่วงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ควรถูกปรับปรุง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่วงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ควรถูกปรับปรุง ค่าร้อยละ
1 ให้เป็นสถาบันที่สามารถถ่ายทอดความรู้ด้านดนตรีให้กับเยาวชนและประชาชนทั่วไปได้ 77.4
2 ต้องรักษาเอกลักษณ์ความเป็นไทย 74.5
3 สนับสนุนพัฒนาความรู้ความสามารถของนักร้อง/นักดนตรี 63.9
4 สามารถเล่นดนตรีได้หลากหลายประเภท 55.6
5 รักษาเอกลักษณ์ของตนเอง 54.5
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเห็นด้วยหรือไม่ ที่จะให้วงดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์สามารถ
แสดงดนตรีได้ทุกประเภททั้งเพลงไทยเดิม ไทยสากล และเพลงไทยยุคใหม่ทุกประเภท
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 72.7
2 ค่อนข้างเห็นด้วย 12.3
3 ไม่ค่อยเห็นด้วย 7.5
4 ไม่เห็นด้วย 6.0
5 ไม่มีความเห็น 1.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเห็นด้วยหรือไม่ ที่จะมีการเปิดโรงเรียนดนตรีของ
กรมประชาสัมพันธ์เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านดนตรีให้กับเยาวชนและประชาชนผู้สนใจทั่วไป
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 88.1
2 ค่อนข้างเห็นด้วย 9.0
3 ไม่ค่อยเห็นด้วย 0.9
4 ไม่เห็นด้วย 0.8
5 ไม่มีความเห็น 1.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทของเพลง/ดนตรีที่ควรเปิดสอนในโรงเรียนดนตรีของ
กรมประชาสัมพันธ์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ )
ลำดับที่ ประเภทของเพลง/ดนตรีที่ควรเปิดสอนในโรงเรียนดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ ค่าร้อยละ
1 เพลงไทยเดิม 72.8
2 เพลงไทยสากล 59.6
3 เพลงไทยสมัยใหม่ที่มีความหลากหลาย 53.5
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเห็นด้วยหรือไม่ ถ้าจะมีการขอความร่วมมือจากนักร้อง/นักดนตรี
สมัยใหม่ให้มาช่วยถ่ายทอดความรู้ด้านดนตรีให้กับเยาวชน/ประชาชนในโรงรียนดนตรีของ
กรมประชาสัมพันธ์
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 81.5
2 ค่อนข้างเห็นด้วย 10.7
3 ไม่ค่อยเห็นด้วย 3.6
4 ไม่เห็นด้วย 2.6
5 ไม่มีความเห็น 1.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุนักร้อง/นักดนตรีที่อยากให้มาช่วยฟื้นฟูดนตรีของกรม
ประชาสัมพันธ์(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ )
ลำดับที่ นักร้อง/นักดนตรีที่อยากให้มาช่วยฟื้นฟูดนตรีของกรมประชาสัมพันธ์ ค่าร้อยละ
1 ธงไชย แมคอินไตย 37.4
2 สุเทพ วงศ์กำแหง 12.3
3 นักร้อง/นักดนตรีในอดีตของกรมประชาสัมพันธ์ 10.6
4 วงคาราบาว 7.3
5 นันทิดา แก้วบัวสาย 6.8
6 ชรินทร์ นันทนาคร 4.5
7 ต่าย อรทัย 3.7
8 ไมค์ ภิรมย์พร 3.6
9 สวลี ผกาพันธุ์ 3.5
10 ผ่องศรี วรนุช 3.5
11 พลพล พลกองเส็ง 3.4
12 จักรพรรณ อาบครบุรี 3.3
13 เสก โลโซ 3.2
14 รวงทอง ทองลั่นทม 3.0
15 อื่นๆ อาทิ ปาน ธนพร แวกประยูร/มณีนุช เสมรสุต/ดนุพล แก้วกาญจน์ เป็นต้น 7.5
--เอแบคโพลล์--
-พห-