ที่มาของโครงการ
ท่ามกลางกระแสการหลั่งไหลของข้อมูลข่าวสารทั้งจากฝ่ายสนับสนุนการแปรรูป และฝ่ายที่ต่อต้านการแปรรูป กฟผ. ได้เกิดข้อคำถามขึ้น
ว่า ประชาชน ผู้ซึ่งจะได้รับผลกระทบทั้งหลายทั้งปวงจากการตัดสินใจแปรรูป กฟผ. พวกเขาเหล่านั้นมีความรู้ความเข้าใจ หรืออย่างน้อยที่สุดได้รับรู้
ข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง และเพียงพอแล้วหรือไม่ เพราะข้อมูลข่าวสารที่ไม่เพียงพอ ไม่ครบถ้วน หรือถูกบิดเบือน ย่อมนำไปสู่ข้อคิดเห็นที่บิด
เบี้ยวผิดเพี้ยนไปได้ ถึงแม้ว่าความคิดเห็นของประชาชนอาจจะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ได้ แต่ก็อาจจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจดำเนิน
การต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อยในสังคม
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อ
ประเด็นดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทาง
สังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ในการวิจัย
1. เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการแปรรูป กฟผ.ของประชาชน
2. เพื่อให้ทราบถึงความคิดเห็นต่อประเด็นสำคัญต่าง ๆ เกี่ยวกับการแปรรูป กฟผ.ของประชาชน
3. เพื่อประเมินผลของการโฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์ของ กฟผ. ต่อความคิดเห็นของประชาชน
4. เพื่อให้เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาในหัวข้อดังกล่าวอย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สังคมอุดมปัญญาว่าด้วยการแปรรูป กฟผ. ในสายตา
ประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจวันที่ 15 — 17 ธันวาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
ประชากรเป้าหมาย
ประชาชนอายุ 18 ปี ขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,612 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้ทำการสำรวจกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศหญิงร้อยละ 52.7 และ ชายร้อยละ 47.3 เมื่อพิจารณาถึงช่วงอายุของผู้
ตอบแบบสอบถามพบว่า ผู้ตอบมีอายุระหว่าง 18-19 ปี ร้อยละ 3.8 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 25.3 อายุระหว่าง 30-39 ปี คิดเป็นร้อยละ
25.5 และมีอายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 22.6 ส่วนผู้ที่อายุ 50-59 ปี และ อายุ60 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 12.8 และ 10.0 ตามลำดับ ร้อย
ละ 30.8 ของผู้ตอบจบการศึกษาขั้นสูงสุดระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า รองลงมา ร้อยละ 20.3 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบ
เท่า ส่วนผู้ที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 18.8 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่คือ ร้อยละ 42.5 ประกอบอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
รองลงมาคืออาชีพรับจ้างทั่วไปคิดเป็น ร้อยละ 25 และ ร้อยละ 9.2 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
บทสรุปผลการสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา และคณะวิจัยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้เปิดเผยผลวิจัยการ
รับรู้และทัศนคติของประชาชนเรื่อง สังคมอุดมปัญหาว่าด้วยการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในสายตาประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพ
มหานคร ซึ่งดำเนินการระหว่างวันที่ 15 — 17 ธันวาคม พ.ศ. 2548 จากกลุ่มประชาชนคนกรุงเทพมหานครรวมทั้งสิ้น 1,612 คน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจครั้งนี้จะชี้ให้เห็นชัดเจนพอสมควรว่า ความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อข้อมูลข่าวสารเรื่องการแปร
รูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเป็นอย่างไร ซึ่งผลการสำรวจพบว่า มีผู้ที่ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการแปรรูปกฟผ.เป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ 14.6 ผู้ที่ติดตามเป็น
บางครั้งคิดเป็นร้อยละ 67.5 และผู้ที่ไม่ได้ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการแปรรูปกฟผ.เลย คิดเป็นร้อยละ 17.9 ช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ
การแปรรูป กฟผ. ที่ผู้ตอบระบุมาเป็นอันดับหนึ่งได้แก่ รายการข่าวทางโทรทัศน์/วิทยุ คิดเป็นร้อยละ 76.9 รองลงมาได้แก่ หนังสือพิมพ์ คิดเป็นร้อย
ละ 44.8 ส่วนผู้ที่รับรู้ข้อมูลโฆษณาทางโทรทัศน์/วิทยุ ที่จัดทำโดยกฟผ. คิดเป็นร้อยละ18.7
เมื่อสอบถามถึงข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการแปรรูป กฟผ. ของประชาชนทั่วไป พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่
เป็นข้อมูลพื้นฐานของการแปรรูป กฟผ. ในหลายประเด็น ยกตัวอย่างเช่น ประชาชนคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.4 ไม่สามารถตอบได้ถูกต้อง
ว่าสัดส่วนการกระจายหุ้นของ กฟผ. มีอยู่ร้อยละ 25 ในขณะที่เพียงร้อยละ 1.6 เท่านั้นที่ตอบได้ถูกต้อง ในขณะเดียวกัน ในประเด็นเกี่ยวกับสถานะขอ
งกฟผ.หลังการแปรรูป ประชาชนที่ตอบแบบสอบถาม คิดเป็นร้อยละ 25 เข้าใจว่า สถานะของกฟผ. หลังจากแปรรูปแล้วจะเป็นบริษัทเอกชน โดยมีผู้ที่
ตอบว่ากฟผ. จะยังดำรงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจดังเดิม หลังจากการแปรรูปแล้ว ร้อยละ 17.8 อย่างไรก็ดี ประชาชนร้อยละ 41.1 ไม่ทราบสถานะ
ของ กฟผ. หลังจากการแปรรูป
นอกจากนี้ มีเพียงร้อยละ 0.4 ที่สามารถระบุได้ว่าหลังจากการแปรรูป คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า จะเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่
กำหนดอัตราค่าไฟฟ้า ซึ่งโดยส่วนใหญ่เข้าใจว่า กฟผ. จะเป็นผู้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าเอง รองลงมาระบุว่ารัฐบาลจะเป็นผู้กำหนด และเมื่อสอบถามถึง
กระบวนการสรรหาหน่วยงานที่จะมากำหนดอัตราค่าไฟฟ้า ประชาชนร้อยละ 23.8 ตอบว่าแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี รองลงมาตอบว่า คัดสรรโดย
รัฐสภา และ แต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี คิดเป็นร้อยละ 13.1 และ 11.5 ตามลำดับ และมีผู้ตอบร้อยละ 33.5 ระบุว่าไม่ทราบว่ากระบวนการสรรหา
หน่วยงานที่จะมากำหนดอัตราค่าไฟฟ้าเป็นอย่างไร
อย่างไรก็ดี ประชาชนร้อยละ 32.4 สามารถระบุวัตถุประสงค์ของการแปรรูป กฟผ.ตามที่ประกาศไว้ในเอกสารชี้ชวน ว่าเป็นไปเพื่อการ
ระดมทุนในการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ นอกจากนี้ มีผู้ที่ระบุว่าวัตถุประสงค์ของการแปรรูปว่าเป็นไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และเพื่อ
ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในตลาดกระแสไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 25.4 และ17.2 ตามลำดับ ทั้งนี้ ยังมีผู้ที่ระบุว่าไม่ทราบวัตถุประสงค์ของการแปรรูป
กฟผ. อยู่ถึง ร้อยละ 42.9
ในเรื่องของความรู้ความเข้าใจในโครงสร้างการผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศไทย พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 40.4 ระบุ
ว่า กฟผ. ผลิตเองส่วนหนึ่ง และรับซื้อจากโรงงานไฟฟ้าเอกชนอีกส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง ระบุว่า กฟผ. เป็นผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ
14.7 โดยมีผู้ที่ระบุว่าไม่ทราบว่าโครงสร้างการผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศไทยเป็นอย่างไร อยู่ร้อยละ 38.5
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการแปรรูปกฟผ. เริ่มจากความคิดเห็นเกี่ยวกับผลดีของการแปรรูป กฟผ. ซึ่ง
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 23 เห็นว่าการแปรรูป กฟผ.นั้นจะช่วยให้กฟผ. สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงพอต่อปริมาณความต้องการการใช้
ไฟฟ้าของประชาชน อีกร้อยละ 19.4 ระบุว่าประชาชนที่ถือหุ้นจะได้รับเงินปันผล ร้อยละ 18.3 เห็นว่าจะเป็นการลดภาระหนี้สาธารณะ และ ร้อยละ
18.0 ระบุว่าจะเป็นผลดีต่อบรรยากาศในตลาดหุ้น ในขณะเดียวกันก็มีผู้ที่ระบุว่าไม่เห็นถึงผลดีของการแปรรูป กฟผ. และไม่ทราบว่าเมื่อแปรรูปกฟผ.
แล้วจะเกิดผลดีอย่างไร คิดเป็นร้อยละ 13.3 และ 27.0 ตามลำดับ
ในทางตรงกันข้าม เมื่อสอบถามถึงผลเสียของการแปรรูป กฟผ. ประชาชนร้อยละ 42.9 ตอบว่า อัตราค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้นหลังจากการ
แปรรูป อีกร้อยละ 32.3 เห็นว่าถูกนักลงทุนต่างชาติเข้ามากว้านซื้อหุ้น ร้อยละ 29.5 ตอบว่ามีความไม่โปร่งใสในการกระจายหุ้น และมีประชาชนระบุ
ว่าไม่ทราบถึงผลเสียของการแปรรูปกฟผ. คิดเป็นร้อยละ 25.4 เมื่อให้ผู้ตอบเปรียบเทียบผลดีผลเสียของการแปรรูป กฟผ. พบว่า ร้อยละ 15.6 ตอบ
ว่าจะเกิดผลดีมากกว่า ในขณะที่ ร้อยละ 39.7 ตอบว่าจะเกิดผลเสียมากกว่า และอีก ร้อยละ 44.7 ไม่มีความเห็น
ในประเด็นเกี่ยวกับความเชื่อมั่นในหน่วยงานที่ทำหน้าที่สรรหาผู้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าหลังการแปรรูป กฟผ. มีประชาชนร้อยละ 18.5
ตอบไปในทางเชื่อมั่น (เชื่อมั่น + ค่อนข้างเชื่อมั่น) ในขณะที่ร้อยละ 53.3 ระบุไปในทางไม่เชื่อมั่น (ไม่ค่อยเชื่อมั่น + ไม่เชื่อมั่น) และ อีกร้อยละ
28.2 ไม่มีความเห็น ในทำนองเดียวกัน เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นในวิธีการสรรหาผู้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้า มีประชาชนร้อยละ 17.5 ตอบไปในทาง
เชื่อมั่น (เชื่อมั่น + ค่อนข้างเชื่อมั่น) ในขณะที่ร้อยละ 56.8 ระบุไปในทางไม่เชื่อมั่น (ไม่ค่อยเชื่อมั่น + ไม่เชื่อมั่น) และ อีกร้อยละ 25.7 ไม่มี
ความเห็น
เมื่อสอบถามประชาชนถึงความเชื่อมั่นในความโปร่งใสของการกระจายหุ้นกฟผ. ร้อยละ 15.3 ตอบไปในทางเชื่อมั่น (เชื่อมั่น + ค่อน
ข้างเชื่อมั่น) ในขณะที่ร้อยละ 62.9 ระบุไปในทางไม่เชื่อมั่น (ไม่ค่อยเชื่อมั่น + ไม่เชื่อมั่น) และ อีกร้อยละ 21.8 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามประชาชนเกี่ยวกับการทำประชาพิจารณ์ที่เกี่ยวกับการแปรรูป กฟผ. พบว่า ร้อยละ 55.5 เคยได้ยิน/ได้ทราบข่าว
การทำประชาพิจารณ์ ในขณะที่ร้อยละ 44.5 ไม่เคยได้ยิน/ได้ทราบข่าว และเมื่อถามความคิดเห็นถึงการที่รัฐบาลจะนำผลจากการทำประชาพิจารณ์ไป
ใช้ประโยชน์พบว่า ร้อยละ 16.4 ตอบว่ารัฐบาลจะได้นำผลจากการทำประชาพิจารณ์ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก ในขณะที่ร้อยละ 20.3 รัฐบาลจะนำ
ผลจากการประชาพิจารณ์ไปใช้ประโยชน์น้อย ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 63.3 ตอบว่าไม่แน่ใจ
ในส่วนที่เป็นข้อคิดเห็นต่อโฆษณากฟผ. จะเป็นการประเมินว่าโฆษณาของกฟผ.นั้นสามารถจูงใจให้คนเห็นด้วยกับการแปรรูป กฟผ. หรือ
ไม่ จากผลสำรวจพบว่า สัดส่วนของประชาชนที่ระบุว่าไม่เห็นด้วยกับการแปรรูปกฟผ.ก่อนรับชมโฆษณา แล้วระบุว่าเห็นด้วยกับแปรรูปกฟผ. หลังชม
โฆษณานั้น ไม่แตกต่างกับสัดส่วนของประชาชนที่เห็นตรงกันข้าม และไม่เปลี่ยนความเห็นอย่างมีนัยสำคัญหลังจากทดสอบค่าทางสถิติแล้ว ซึ่งหมายความว่า
โฆษณาของกฟผ.ยังไม่สามารถชักจูงให้คนหันมาสนับสนุนการแปรรูปกฟผ.ได้
และในประเด็นสุดท้ายเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของโฆษณากฟผ. พบว่าร้อยละ 14.8 ตอบว่าน่าเชื่อถือมาก ในขณะที่ร้อยละ 33.7 ตอบว่า
มีความน่าเชื่อถือน้อย และที่เหลืออีกร้อยละ 51.5 ตอบว่าไม่แน่ใจ
ดร.นพดล กล่าวสรุปว่า ประเทศที่เจริญแล้วหลายประเทศมีการทำประชามติจากประชาชนก่อนตัดสินใจออกกฎหมายสำคัญๆ ของประเทศ
โดยเฉพาะอะไรที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่หรือความรู้สึกนึกคิดของประชาชนอย่างรุนแรง ในบางประเทศถ้าประชาชนส่วนใหญ่ลงมติไม่เห็นด้วยกับ
การตัดสินใจของรัฐบาล รัฐบาลของประเทศที่มีจริยธรรมสูงเหล่านั้นก็จะลาออก แต่ดูเหมือนว่าประเทศไทย แนวคิดอุดมการณ์ดังกล่าวดูจะเป็นเรื่องที่
ห่างไกลอย่างมาก เนื่องจากผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าประชาชนคนไทยในพื้นที่ที่ใกล้กับแหล่งข้อมูลข่าวสารอย่างคนกรุงเทพมหานครเองยังไม่ใส่ใจ
เข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่สมบูรณ์ในเรื่องสำคัญๆ ของประเทศ ประชาชนยังมีความรู้ความตระหนักในปัญหาไม่เพียงพอ และไม่เอาตัวเองเข้าไปข้องเกี่ยว
กับเรื่องที่เป็น “วาระแห่งชาติ” มากนัก ผลที่ตามมาก็คือ รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบางหน่วยอาจอาศัยจังหวะและจุดอ่อนของประชาชนภาคสังคม
เหล่านี้เร่งรีบดำเนินการใดๆ ที่อาจมีวาระซ่อนเร้นและผลประโยชน์ทับซ้อนเพื่อตนเองและพรรคพวกได้ แต่ถ้ารัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ มีเจตนาที่ดีต่อ
สังคมประเทศโดยรวมจริงๆ ก็ต้องทำงานหนักให้มากขึ้นและมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่ถูกต้องอย่างทั่วถึงเพื่อสร้างการยอมรับและการสนับสนุนมีส่วนร่วม
ของประชาชนในครรลองของประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ต่อไป
โปรดพิจารณารายละเอียดของผลวิจัยที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุการติดตามข้อมูลข่าวสารการแปรรูป กฟผ.
ลำดับที่ การติดตามข้อมูลข่าวสาร ร้อยละ
1 ติดตามเป็นประจำ 14.6
2 ติดตามเป็นบางครั้ง 67.5
3 ไม่ได้ติดตามเลย 17.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุช่องทางที่ได้รับข้อมูลข่าวสารการ
แปรรูป กฟผ. (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ช่องทางการรับข้อมูลข่าวสาร ร้อยละ
1 รายการข่าวทางโทรทัศน์/วิทยุ 76.9
2 ข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ 44.8
3 โฆษณาทางโทรทัศน์/วิทยุ ที่จัดทำโดยกฟผ. 18.7
4 รายการประชาสัมพันธ์ทางโทรทัศน์/วิทยุที่จัดทำโดย กฟผ. 8.5
5 รายการสัมมนา ปราศรัยต่าง ๆ 5.1
6 แผ่นพับ/ใบปลิว 2.3
7 เอกสารชี้ชวน 1.1
8 ไม่เคยได้ยิน/รับรู้ 11.0
9 อื่น ๆ 0.7
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุสัดส่วนการกระจายหุ้นของกฟผ.ได้ถูกต้อง
ลำดับที่ การรับรู้สัดส่วนการกระจายหุ้น ร้อยละ
1 ตอบได้ถูกต้อง (ร้อยละ 25) 1.6
2 ไม่ทราบ 98.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุสัดส่วนการกระจายหุ้นของกฟผ.
ลำดับที่ สัดส่วนการกระจายหุ้น ร้อยละ
1 ร้อยละ 1-25 52.5
2 ร้อยละ 26-50 30.5
3 ร้อยละ 51-75 8.5
4 ร้อยละ 76-100 8.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุสถานะของรัฐวิสาหกิจหลังแปรรูป
ลำดับที่ สถานะของรัฐวิสาหกิจหลังแปรรูป ร้อยละ
1 เป็นบริษัทเอกชน 25.0
2 เป็นรัฐวิสาหกิจเหมือนเดิม 17.8
3 เป็นบริษัทเอกชนที่มีสิทธิพิเศษบางประการเหมือนรัฐวิสาหกิจ 15.2
4 อื่น ๆ 0.9
5 ไม่ทราบ 41.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้กำหนดอัตรา
ค่าไฟฟ้าหลังการแปรรูปได้ถูกต้อง
ลำดับที่ การรับรู้หน่วยงานที่เป็นผู้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้า ร้อยละ
1 ตอบได้ถูกต้อง (คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า) 0.4
3 ตอบได้ไม่ถูกต้อง 99.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้า
หลังการแปรรูป
ลำดับที่ หน่วยงานที่เป็นผู้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้า ร้อยละ
1 กฟผ. 34.0
2 รัฐบาล 16.5
3 รัฐวิสาหกิจ 8.7
4 บ.เอกชน 8.7
5 คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า 5.8
6 ไม่ทราบ 26.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุวิธีการสรรหาหน่วยงานที่เป็นผู้กำหนด
อัตราค่าไฟฟ้าหลังการแปรรูป
ลำดับที่ วิธีการสรรหา ร้อยละ
1 แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี 23.8
2 คัดสรรโดยรัฐสภา 13.1
3 แต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี 11.5
4 คัดสรรโดยวุฒิสภา 10.7
5 อื่น ๆ 7.4
6 ไม่ทราบ 33.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุวัตถุประสงค์ของการแปรรูป กฟผ. ตาม
ที่ประกาศไว้ในเอกสารชี้ชวน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ วัตถุประสงค์ของการแปรรูป กฟผ. ร้อยละ
1 เพื่อการระดมทุนในการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ 32.4
2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ 25.4
3 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในตลาดกระแสไฟฟ้า 17.2
4 เพื่อชำระหนี้สินของ กฟผ. 13.5
5 อื่น ๆ 2.5
6 ไม่ทราบ 42.9
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุโครงสร้างการผลิตกระแสไฟฟ้า
ในประเทศไทย
ลำดับที่ โครงสร้างการผลิตกระแสไฟฟ้า ร้อยละ
1 กฟผ. ผลิตเองส่วนหนึ่ง และรับซื้อจากโรงงานไฟฟ้าเอกชนอีกส่วนหนึ่ง 40.4
2 กฟผ. เป็นผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าทั้งหมด 14.7
3 กฟผ. เป็นผู้ว่าจ้างให้โรงงานไฟฟ้าเอกชนเป็นผู้ผลิตทั้งหมด 5.7
4 อื่น ๆ 0.7
5 ไม่ทราบ 38.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุผลดีของการแปรรูปกฟผ.
ลำดับที่ ผลดีของการแปรรูปกฟผ. ร้อยละ
1 สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงพอต่อปริมาณความต้องการการใช้ไฟฟ้าของประชาชน 23.0
2 ประชาชนที่ถือหุ้นจะได้รับเงินปันผล 19.4
3 ลดภาระหนี้สาธารณะของรัฐบาล 18.3
4 เป็นผลดีต่อบรรยากาศในตลาดหุ้น 18.0
5 สามารถระดมทุนโดยมีต้นทุนที่ต่ำกว่า 13.9
6 อัตราค่าไฟฟ้าจะลดลง 12.1
7 อื่น ๆ 2.2
8 ไม่ทราบ 27.0
9 ไม่มี 13.3
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุผลเสียของการแปรรูปกฟผ.
ลำดับที่ ผลเสียของการแปรรูปกฟผ. ร้อยละ
1 อัตราค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้นหลังจากการแปรรูป 42.9
2 ถูกนักลงทุนต่างชาติเข้ามากว้านซื้อหุ้น 32.3
3 มีความไม่โปร่งใสในการกระจายหุ้น 29.5
4 ผลกำไรที่ควรตกอยู่กับประชาชน ถูกถ่ายโอนไปอยู่คนเพียงกลุ่มเดียว 27.6
5 อัตราส่วนการถือหุ้นของรัฐบาลจะลดน้อยลง และแปรไปเป็นของเอกชนมากขึ้น 24.9
6 อื่น ๆ 1.4
7 ไม่ทราบ 25.4
8 ไม่มี 3.3
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุการประเมินผลดีผลเสียของการ
แปรรูป กฟผ.
ลำดับที่ การประเมินผลดีผลเสีย ร้อยละ
1 ผลดีมากกว่า 15.6
2 ผลเสียมากกว่า 39.7
3 ไม่มีความเห็น 44.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุระดับความเชื่อมั่นในหน่วยงานที่สรรหา
ผู้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าหลังการแปรรูป กฟผ.
ลำดับที่ ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ
1 เชื่อมั่น 7.1
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 11.4
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 33.1
4 ไม่เชื่อมั่น 20.2
5 ไม่มีความเห็น 28.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุระดับความเชื่อมั่นในวิธีการสรรหาผู้กำหนด
อัตราค่าไฟฟ้าหลังการแปรรูป กฟผ.
ลำดับที่ ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ
1 เชื่อมั่น 6.3
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 11.2
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 33.8
4 ไม่เชื่อมั่น 23.0
5 ไม่มีความเห็น 25.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุการรับรู้ข่าวการทำประชาพิจารณ์ที่เกี่ยวกับ
การแปรรูป กฟผ.
ลำดับที่ การรับรู้ข่าวการทำประชาพิจารณ์ ร้อยละ
1 เคย และได้เข้าร่วมการทำประชาพิจารณ์ 4.5
2 เคย แต่ไม่ได้เข้าร่วม 51.0
3 ไม่เคยได้ยิน/ได้ทราบข่าว 44.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุถึงการนำผลจากการทำประชาพิจารณ์
ไปใช้ประโยชน์ ของรัฐบาล
ลำดับที่ การนำผลจากการทำประชาพิจารณ์ไปใช้ประโยชน์ ร้อยละ
1 มาก 16.4
2 น้อย 20.3
3 ไม่แน่ใจ 63.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุระดับความเชื่อมั่นในความโปร่งใสของ
การกระจายหุ้น กฟผ.
ลำดับที่ ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ
1 เชื่อมั่น 5.1
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 10.2
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 35.6
4 ไม่เชื่อมั่น 27.3
5 ไม่มีความเห็น 21.8
รวม 100.0
ตารางที่ 19 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุความคิดเห็นต่อโฆษณาของกฟผ.
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อโฆษณาของ กฟผ. ร้อยละ
เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่แน่ใจ รวม
1 ก่อนรับชมโฆษณา 16.5 44.2 39.3 100.0
2 หลังรับชมโฆษณา 18.7 39.0 42.3 100.0
ตารางที่ 20 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุความน่าเชื่อถือของโฆษณาของกฟผ.
ลำดับที่ ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ
1 มาก 14.8
2 น้อย 33.7
3 ไม่แน่ใจ 51.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ท่ามกลางกระแสการหลั่งไหลของข้อมูลข่าวสารทั้งจากฝ่ายสนับสนุนการแปรรูป และฝ่ายที่ต่อต้านการแปรรูป กฟผ. ได้เกิดข้อคำถามขึ้น
ว่า ประชาชน ผู้ซึ่งจะได้รับผลกระทบทั้งหลายทั้งปวงจากการตัดสินใจแปรรูป กฟผ. พวกเขาเหล่านั้นมีความรู้ความเข้าใจ หรืออย่างน้อยที่สุดได้รับรู้
ข้อมูลข่าวสารขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง และเพียงพอแล้วหรือไม่ เพราะข้อมูลข่าวสารที่ไม่เพียงพอ ไม่ครบถ้วน หรือถูกบิดเบือน ย่อมนำไปสู่ข้อคิดเห็นที่บิด
เบี้ยวผิดเพี้ยนไปได้ ถึงแม้ว่าความคิดเห็นของประชาชนอาจจะไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ได้ แต่ก็อาจจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจดำเนิน
การต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อยในสังคม
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการวิจัยภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์เพื่อประเมินความคิดเห็นของประชาชนต่อ
ประเด็นดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทาง
สังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ในการวิจัย
1. เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการแปรรูป กฟผ.ของประชาชน
2. เพื่อให้ทราบถึงความคิดเห็นต่อประเด็นสำคัญต่าง ๆ เกี่ยวกับการแปรรูป กฟผ.ของประชาชน
3. เพื่อประเมินผลของการโฆษณาเพื่อการประชาสัมพันธ์ของ กฟผ. ต่อความคิดเห็นของประชาชน
4. เพื่อให้เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาในหัวข้อดังกล่าวอย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “สังคมอุดมปัญญาว่าด้วยการแปรรูป กฟผ. ในสายตา
ประชาชน : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจวันที่ 15 — 17 ธันวาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
ประชากรเป้าหมาย
ประชาชนอายุ 18 ปี ขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากร
เป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,612 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ไม่เกินร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ได้ทำการสำรวจกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเพศหญิงร้อยละ 52.7 และ ชายร้อยละ 47.3 เมื่อพิจารณาถึงช่วงอายุของผู้
ตอบแบบสอบถามพบว่า ผู้ตอบมีอายุระหว่าง 18-19 ปี ร้อยละ 3.8 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 25.3 อายุระหว่าง 30-39 ปี คิดเป็นร้อยละ
25.5 และมีอายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 22.6 ส่วนผู้ที่อายุ 50-59 ปี และ อายุ60 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 12.8 และ 10.0 ตามลำดับ ร้อย
ละ 30.8 ของผู้ตอบจบการศึกษาขั้นสูงสุดระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า รองลงมา ร้อยละ 20.3 จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบ
เท่า ส่วนผู้ที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 18.8 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่คือ ร้อยละ 42.5 ประกอบอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
รองลงมาคืออาชีพรับจ้างทั่วไปคิดเป็น ร้อยละ 25 และ ร้อยละ 9.2 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
บทสรุปผลการสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา และคณะวิจัยสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้เปิดเผยผลวิจัยการ
รับรู้และทัศนคติของประชาชนเรื่อง สังคมอุดมปัญหาว่าด้วยการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตในสายตาประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพ
มหานคร ซึ่งดำเนินการระหว่างวันที่ 15 — 17 ธันวาคม พ.ศ. 2548 จากกลุ่มประชาชนคนกรุงเทพมหานครรวมทั้งสิ้น 1,612 คน
ดร.นพดล กล่าวต่อว่า ผลสำรวจครั้งนี้จะชี้ให้เห็นชัดเจนพอสมควรว่า ความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อข้อมูลข่าวสารเรื่องการแปร
รูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเป็นอย่างไร ซึ่งผลการสำรวจพบว่า มีผู้ที่ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการแปรรูปกฟผ.เป็นประจำ คิดเป็นร้อยละ 14.6 ผู้ที่ติดตามเป็น
บางครั้งคิดเป็นร้อยละ 67.5 และผู้ที่ไม่ได้ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการแปรรูปกฟผ.เลย คิดเป็นร้อยละ 17.9 ช่องทางการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ
การแปรรูป กฟผ. ที่ผู้ตอบระบุมาเป็นอันดับหนึ่งได้แก่ รายการข่าวทางโทรทัศน์/วิทยุ คิดเป็นร้อยละ 76.9 รองลงมาได้แก่ หนังสือพิมพ์ คิดเป็นร้อย
ละ 44.8 ส่วนผู้ที่รับรู้ข้อมูลโฆษณาทางโทรทัศน์/วิทยุ ที่จัดทำโดยกฟผ. คิดเป็นร้อยละ18.7
เมื่อสอบถามถึงข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการแปรรูป กฟผ. ของประชาชนทั่วไป พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่
เป็นข้อมูลพื้นฐานของการแปรรูป กฟผ. ในหลายประเด็น ยกตัวอย่างเช่น ประชาชนคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 98.4 ไม่สามารถตอบได้ถูกต้อง
ว่าสัดส่วนการกระจายหุ้นของ กฟผ. มีอยู่ร้อยละ 25 ในขณะที่เพียงร้อยละ 1.6 เท่านั้นที่ตอบได้ถูกต้อง ในขณะเดียวกัน ในประเด็นเกี่ยวกับสถานะขอ
งกฟผ.หลังการแปรรูป ประชาชนที่ตอบแบบสอบถาม คิดเป็นร้อยละ 25 เข้าใจว่า สถานะของกฟผ. หลังจากแปรรูปแล้วจะเป็นบริษัทเอกชน โดยมีผู้ที่
ตอบว่ากฟผ. จะยังดำรงสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจดังเดิม หลังจากการแปรรูปแล้ว ร้อยละ 17.8 อย่างไรก็ดี ประชาชนร้อยละ 41.1 ไม่ทราบสถานะ
ของ กฟผ. หลังจากการแปรรูป
นอกจากนี้ มีเพียงร้อยละ 0.4 ที่สามารถระบุได้ว่าหลังจากการแปรรูป คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า จะเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่
กำหนดอัตราค่าไฟฟ้า ซึ่งโดยส่วนใหญ่เข้าใจว่า กฟผ. จะเป็นผู้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าเอง รองลงมาระบุว่ารัฐบาลจะเป็นผู้กำหนด และเมื่อสอบถามถึง
กระบวนการสรรหาหน่วยงานที่จะมากำหนดอัตราค่าไฟฟ้า ประชาชนร้อยละ 23.8 ตอบว่าแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี รองลงมาตอบว่า คัดสรรโดย
รัฐสภา และ แต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี คิดเป็นร้อยละ 13.1 และ 11.5 ตามลำดับ และมีผู้ตอบร้อยละ 33.5 ระบุว่าไม่ทราบว่ากระบวนการสรรหา
หน่วยงานที่จะมากำหนดอัตราค่าไฟฟ้าเป็นอย่างไร
อย่างไรก็ดี ประชาชนร้อยละ 32.4 สามารถระบุวัตถุประสงค์ของการแปรรูป กฟผ.ตามที่ประกาศไว้ในเอกสารชี้ชวน ว่าเป็นไปเพื่อการ
ระดมทุนในการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ นอกจากนี้ มีผู้ที่ระบุว่าวัตถุประสงค์ของการแปรรูปว่าเป็นไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และเพื่อ
ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในตลาดกระแสไฟฟ้า คิดเป็นร้อยละ 25.4 และ17.2 ตามลำดับ ทั้งนี้ ยังมีผู้ที่ระบุว่าไม่ทราบวัตถุประสงค์ของการแปรรูป
กฟผ. อยู่ถึง ร้อยละ 42.9
ในเรื่องของความรู้ความเข้าใจในโครงสร้างการผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศไทย พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 40.4 ระบุ
ว่า กฟผ. ผลิตเองส่วนหนึ่ง และรับซื้อจากโรงงานไฟฟ้าเอกชนอีกส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง ระบุว่า กฟผ. เป็นผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ
14.7 โดยมีผู้ที่ระบุว่าไม่ทราบว่าโครงสร้างการผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศไทยเป็นอย่างไร อยู่ร้อยละ 38.5
สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการแปรรูปกฟผ. เริ่มจากความคิดเห็นเกี่ยวกับผลดีของการแปรรูป กฟผ. ซึ่ง
ผลสำรวจพบว่า ประชาชนร้อยละ 23 เห็นว่าการแปรรูป กฟผ.นั้นจะช่วยให้กฟผ. สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงพอต่อปริมาณความต้องการการใช้
ไฟฟ้าของประชาชน อีกร้อยละ 19.4 ระบุว่าประชาชนที่ถือหุ้นจะได้รับเงินปันผล ร้อยละ 18.3 เห็นว่าจะเป็นการลดภาระหนี้สาธารณะ และ ร้อยละ
18.0 ระบุว่าจะเป็นผลดีต่อบรรยากาศในตลาดหุ้น ในขณะเดียวกันก็มีผู้ที่ระบุว่าไม่เห็นถึงผลดีของการแปรรูป กฟผ. และไม่ทราบว่าเมื่อแปรรูปกฟผ.
แล้วจะเกิดผลดีอย่างไร คิดเป็นร้อยละ 13.3 และ 27.0 ตามลำดับ
ในทางตรงกันข้าม เมื่อสอบถามถึงผลเสียของการแปรรูป กฟผ. ประชาชนร้อยละ 42.9 ตอบว่า อัตราค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้นหลังจากการ
แปรรูป อีกร้อยละ 32.3 เห็นว่าถูกนักลงทุนต่างชาติเข้ามากว้านซื้อหุ้น ร้อยละ 29.5 ตอบว่ามีความไม่โปร่งใสในการกระจายหุ้น และมีประชาชนระบุ
ว่าไม่ทราบถึงผลเสียของการแปรรูปกฟผ. คิดเป็นร้อยละ 25.4 เมื่อให้ผู้ตอบเปรียบเทียบผลดีผลเสียของการแปรรูป กฟผ. พบว่า ร้อยละ 15.6 ตอบ
ว่าจะเกิดผลดีมากกว่า ในขณะที่ ร้อยละ 39.7 ตอบว่าจะเกิดผลเสียมากกว่า และอีก ร้อยละ 44.7 ไม่มีความเห็น
ในประเด็นเกี่ยวกับความเชื่อมั่นในหน่วยงานที่ทำหน้าที่สรรหาผู้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าหลังการแปรรูป กฟผ. มีประชาชนร้อยละ 18.5
ตอบไปในทางเชื่อมั่น (เชื่อมั่น + ค่อนข้างเชื่อมั่น) ในขณะที่ร้อยละ 53.3 ระบุไปในทางไม่เชื่อมั่น (ไม่ค่อยเชื่อมั่น + ไม่เชื่อมั่น) และ อีกร้อยละ
28.2 ไม่มีความเห็น ในทำนองเดียวกัน เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นในวิธีการสรรหาผู้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้า มีประชาชนร้อยละ 17.5 ตอบไปในทาง
เชื่อมั่น (เชื่อมั่น + ค่อนข้างเชื่อมั่น) ในขณะที่ร้อยละ 56.8 ระบุไปในทางไม่เชื่อมั่น (ไม่ค่อยเชื่อมั่น + ไม่เชื่อมั่น) และ อีกร้อยละ 25.7 ไม่มี
ความเห็น
เมื่อสอบถามประชาชนถึงความเชื่อมั่นในความโปร่งใสของการกระจายหุ้นกฟผ. ร้อยละ 15.3 ตอบไปในทางเชื่อมั่น (เชื่อมั่น + ค่อน
ข้างเชื่อมั่น) ในขณะที่ร้อยละ 62.9 ระบุไปในทางไม่เชื่อมั่น (ไม่ค่อยเชื่อมั่น + ไม่เชื่อมั่น) และ อีกร้อยละ 21.8 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามประชาชนเกี่ยวกับการทำประชาพิจารณ์ที่เกี่ยวกับการแปรรูป กฟผ. พบว่า ร้อยละ 55.5 เคยได้ยิน/ได้ทราบข่าว
การทำประชาพิจารณ์ ในขณะที่ร้อยละ 44.5 ไม่เคยได้ยิน/ได้ทราบข่าว และเมื่อถามความคิดเห็นถึงการที่รัฐบาลจะนำผลจากการทำประชาพิจารณ์ไป
ใช้ประโยชน์พบว่า ร้อยละ 16.4 ตอบว่ารัฐบาลจะได้นำผลจากการทำประชาพิจารณ์ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก ในขณะที่ร้อยละ 20.3 รัฐบาลจะนำ
ผลจากการประชาพิจารณ์ไปใช้ประโยชน์น้อย ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 63.3 ตอบว่าไม่แน่ใจ
ในส่วนที่เป็นข้อคิดเห็นต่อโฆษณากฟผ. จะเป็นการประเมินว่าโฆษณาของกฟผ.นั้นสามารถจูงใจให้คนเห็นด้วยกับการแปรรูป กฟผ. หรือ
ไม่ จากผลสำรวจพบว่า สัดส่วนของประชาชนที่ระบุว่าไม่เห็นด้วยกับการแปรรูปกฟผ.ก่อนรับชมโฆษณา แล้วระบุว่าเห็นด้วยกับแปรรูปกฟผ. หลังชม
โฆษณานั้น ไม่แตกต่างกับสัดส่วนของประชาชนที่เห็นตรงกันข้าม และไม่เปลี่ยนความเห็นอย่างมีนัยสำคัญหลังจากทดสอบค่าทางสถิติแล้ว ซึ่งหมายความว่า
โฆษณาของกฟผ.ยังไม่สามารถชักจูงให้คนหันมาสนับสนุนการแปรรูปกฟผ.ได้
และในประเด็นสุดท้ายเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของโฆษณากฟผ. พบว่าร้อยละ 14.8 ตอบว่าน่าเชื่อถือมาก ในขณะที่ร้อยละ 33.7 ตอบว่า
มีความน่าเชื่อถือน้อย และที่เหลืออีกร้อยละ 51.5 ตอบว่าไม่แน่ใจ
ดร.นพดล กล่าวสรุปว่า ประเทศที่เจริญแล้วหลายประเทศมีการทำประชามติจากประชาชนก่อนตัดสินใจออกกฎหมายสำคัญๆ ของประเทศ
โดยเฉพาะอะไรที่มีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่หรือความรู้สึกนึกคิดของประชาชนอย่างรุนแรง ในบางประเทศถ้าประชาชนส่วนใหญ่ลงมติไม่เห็นด้วยกับ
การตัดสินใจของรัฐบาล รัฐบาลของประเทศที่มีจริยธรรมสูงเหล่านั้นก็จะลาออก แต่ดูเหมือนว่าประเทศไทย แนวคิดอุดมการณ์ดังกล่าวดูจะเป็นเรื่องที่
ห่างไกลอย่างมาก เนื่องจากผลวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นชัดเจนว่าประชาชนคนไทยในพื้นที่ที่ใกล้กับแหล่งข้อมูลข่าวสารอย่างคนกรุงเทพมหานครเองยังไม่ใส่ใจ
เข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่สมบูรณ์ในเรื่องสำคัญๆ ของประเทศ ประชาชนยังมีความรู้ความตระหนักในปัญหาไม่เพียงพอ และไม่เอาตัวเองเข้าไปข้องเกี่ยว
กับเรื่องที่เป็น “วาระแห่งชาติ” มากนัก ผลที่ตามมาก็คือ รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องบางหน่วยอาจอาศัยจังหวะและจุดอ่อนของประชาชนภาคสังคม
เหล่านี้เร่งรีบดำเนินการใดๆ ที่อาจมีวาระซ่อนเร้นและผลประโยชน์ทับซ้อนเพื่อตนเองและพรรคพวกได้ แต่ถ้ารัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ มีเจตนาที่ดีต่อ
สังคมประเทศโดยรวมจริงๆ ก็ต้องทำงานหนักให้มากขึ้นและมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่ถูกต้องอย่างทั่วถึงเพื่อสร้างการยอมรับและการสนับสนุนมีส่วนร่วม
ของประชาชนในครรลองของประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ต่อไป
โปรดพิจารณารายละเอียดของผลวิจัยที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุการติดตามข้อมูลข่าวสารการแปรรูป กฟผ.
ลำดับที่ การติดตามข้อมูลข่าวสาร ร้อยละ
1 ติดตามเป็นประจำ 14.6
2 ติดตามเป็นบางครั้ง 67.5
3 ไม่ได้ติดตามเลย 17.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุช่องทางที่ได้รับข้อมูลข่าวสารการ
แปรรูป กฟผ. (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ช่องทางการรับข้อมูลข่าวสาร ร้อยละ
1 รายการข่าวทางโทรทัศน์/วิทยุ 76.9
2 ข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ 44.8
3 โฆษณาทางโทรทัศน์/วิทยุ ที่จัดทำโดยกฟผ. 18.7
4 รายการประชาสัมพันธ์ทางโทรทัศน์/วิทยุที่จัดทำโดย กฟผ. 8.5
5 รายการสัมมนา ปราศรัยต่าง ๆ 5.1
6 แผ่นพับ/ใบปลิว 2.3
7 เอกสารชี้ชวน 1.1
8 ไม่เคยได้ยิน/รับรู้ 11.0
9 อื่น ๆ 0.7
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุสัดส่วนการกระจายหุ้นของกฟผ.ได้ถูกต้อง
ลำดับที่ การรับรู้สัดส่วนการกระจายหุ้น ร้อยละ
1 ตอบได้ถูกต้อง (ร้อยละ 25) 1.6
2 ไม่ทราบ 98.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุสัดส่วนการกระจายหุ้นของกฟผ.
ลำดับที่ สัดส่วนการกระจายหุ้น ร้อยละ
1 ร้อยละ 1-25 52.5
2 ร้อยละ 26-50 30.5
3 ร้อยละ 51-75 8.5
4 ร้อยละ 76-100 8.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุสถานะของรัฐวิสาหกิจหลังแปรรูป
ลำดับที่ สถานะของรัฐวิสาหกิจหลังแปรรูป ร้อยละ
1 เป็นบริษัทเอกชน 25.0
2 เป็นรัฐวิสาหกิจเหมือนเดิม 17.8
3 เป็นบริษัทเอกชนที่มีสิทธิพิเศษบางประการเหมือนรัฐวิสาหกิจ 15.2
4 อื่น ๆ 0.9
5 ไม่ทราบ 41.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้กำหนดอัตรา
ค่าไฟฟ้าหลังการแปรรูปได้ถูกต้อง
ลำดับที่ การรับรู้หน่วยงานที่เป็นผู้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้า ร้อยละ
1 ตอบได้ถูกต้อง (คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า) 0.4
3 ตอบได้ไม่ถูกต้อง 99.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุชื่อหน่วยงานที่เป็นผู้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้า
หลังการแปรรูป
ลำดับที่ หน่วยงานที่เป็นผู้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้า ร้อยละ
1 กฟผ. 34.0
2 รัฐบาล 16.5
3 รัฐวิสาหกิจ 8.7
4 บ.เอกชน 8.7
5 คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า 5.8
6 ไม่ทราบ 26.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุวิธีการสรรหาหน่วยงานที่เป็นผู้กำหนด
อัตราค่าไฟฟ้าหลังการแปรรูป
ลำดับที่ วิธีการสรรหา ร้อยละ
1 แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี 23.8
2 คัดสรรโดยรัฐสภา 13.1
3 แต่งตั้งโดยนายกรัฐมนตรี 11.5
4 คัดสรรโดยวุฒิสภา 10.7
5 อื่น ๆ 7.4
6 ไม่ทราบ 33.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุวัตถุประสงค์ของการแปรรูป กฟผ. ตาม
ที่ประกาศไว้ในเอกสารชี้ชวน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ วัตถุประสงค์ของการแปรรูป กฟผ. ร้อยละ
1 เพื่อการระดมทุนในการสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ 32.4
2 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ 25.4
3 เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันในตลาดกระแสไฟฟ้า 17.2
4 เพื่อชำระหนี้สินของ กฟผ. 13.5
5 อื่น ๆ 2.5
6 ไม่ทราบ 42.9
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุโครงสร้างการผลิตกระแสไฟฟ้า
ในประเทศไทย
ลำดับที่ โครงสร้างการผลิตกระแสไฟฟ้า ร้อยละ
1 กฟผ. ผลิตเองส่วนหนึ่ง และรับซื้อจากโรงงานไฟฟ้าเอกชนอีกส่วนหนึ่ง 40.4
2 กฟผ. เป็นผู้ผลิตกระแสไฟฟ้าทั้งหมด 14.7
3 กฟผ. เป็นผู้ว่าจ้างให้โรงงานไฟฟ้าเอกชนเป็นผู้ผลิตทั้งหมด 5.7
4 อื่น ๆ 0.7
5 ไม่ทราบ 38.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุผลดีของการแปรรูปกฟผ.
ลำดับที่ ผลดีของการแปรรูปกฟผ. ร้อยละ
1 สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพียงพอต่อปริมาณความต้องการการใช้ไฟฟ้าของประชาชน 23.0
2 ประชาชนที่ถือหุ้นจะได้รับเงินปันผล 19.4
3 ลดภาระหนี้สาธารณะของรัฐบาล 18.3
4 เป็นผลดีต่อบรรยากาศในตลาดหุ้น 18.0
5 สามารถระดมทุนโดยมีต้นทุนที่ต่ำกว่า 13.9
6 อัตราค่าไฟฟ้าจะลดลง 12.1
7 อื่น ๆ 2.2
8 ไม่ทราบ 27.0
9 ไม่มี 13.3
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุผลเสียของการแปรรูปกฟผ.
ลำดับที่ ผลเสียของการแปรรูปกฟผ. ร้อยละ
1 อัตราค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้นหลังจากการแปรรูป 42.9
2 ถูกนักลงทุนต่างชาติเข้ามากว้านซื้อหุ้น 32.3
3 มีความไม่โปร่งใสในการกระจายหุ้น 29.5
4 ผลกำไรที่ควรตกอยู่กับประชาชน ถูกถ่ายโอนไปอยู่คนเพียงกลุ่มเดียว 27.6
5 อัตราส่วนการถือหุ้นของรัฐบาลจะลดน้อยลง และแปรไปเป็นของเอกชนมากขึ้น 24.9
6 อื่น ๆ 1.4
7 ไม่ทราบ 25.4
8 ไม่มี 3.3
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุการประเมินผลดีผลเสียของการ
แปรรูป กฟผ.
ลำดับที่ การประเมินผลดีผลเสีย ร้อยละ
1 ผลดีมากกว่า 15.6
2 ผลเสียมากกว่า 39.7
3 ไม่มีความเห็น 44.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุระดับความเชื่อมั่นในหน่วยงานที่สรรหา
ผู้กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าหลังการแปรรูป กฟผ.
ลำดับที่ ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ
1 เชื่อมั่น 7.1
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 11.4
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 33.1
4 ไม่เชื่อมั่น 20.2
5 ไม่มีความเห็น 28.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุระดับความเชื่อมั่นในวิธีการสรรหาผู้กำหนด
อัตราค่าไฟฟ้าหลังการแปรรูป กฟผ.
ลำดับที่ ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ
1 เชื่อมั่น 6.3
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 11.2
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 33.8
4 ไม่เชื่อมั่น 23.0
5 ไม่มีความเห็น 25.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุการรับรู้ข่าวการทำประชาพิจารณ์ที่เกี่ยวกับ
การแปรรูป กฟผ.
ลำดับที่ การรับรู้ข่าวการทำประชาพิจารณ์ ร้อยละ
1 เคย และได้เข้าร่วมการทำประชาพิจารณ์ 4.5
2 เคย แต่ไม่ได้เข้าร่วม 51.0
3 ไม่เคยได้ยิน/ได้ทราบข่าว 44.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุถึงการนำผลจากการทำประชาพิจารณ์
ไปใช้ประโยชน์ ของรัฐบาล
ลำดับที่ การนำผลจากการทำประชาพิจารณ์ไปใช้ประโยชน์ ร้อยละ
1 มาก 16.4
2 น้อย 20.3
3 ไม่แน่ใจ 63.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุระดับความเชื่อมั่นในความโปร่งใสของ
การกระจายหุ้น กฟผ.
ลำดับที่ ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ
1 เชื่อมั่น 5.1
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 10.2
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 35.6
4 ไม่เชื่อมั่น 27.3
5 ไม่มีความเห็น 21.8
รวม 100.0
ตารางที่ 19 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุความคิดเห็นต่อโฆษณาของกฟผ.
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อโฆษณาของ กฟผ. ร้อยละ
เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่แน่ใจ รวม
1 ก่อนรับชมโฆษณา 16.5 44.2 39.3 100.0
2 หลังรับชมโฆษณา 18.7 39.0 42.3 100.0
ตารางที่ 20 แสดงค่าร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถามที่ระบุความน่าเชื่อถือของโฆษณาของกฟผ.
ลำดับที่ ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ
1 มาก 14.8
2 น้อย 33.7
3 ไม่แน่ใจ 51.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-