ที่มาของโครงการ
การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ เป็นรายการกีฬาประเภทหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากประชาชนทุกครั้งที่มีการจัดการแข่งขัน ในขณะที่นักกีฬาทีมชาติ
ไทยกำลังทำหน้าที่อย่างเต็มที่ในการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ เพื่อนำเหรียญทองมาฝากให้ประชาชนชาวไทยได้ภาคภูมิใจในชัยชนะนั้น คนไทยทุกคน
ต่างก็เฝ้าติดตามความสำเร็จของทัพนักกีฬาไทย และส่งแรงใจ แรงเชียร์ไปอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นเพื่อเป็นการสะท้อนความรู้สึกนึกคิด และความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อทัพนักกีฬาไทย ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญประการที่จะทำ
ให้นักกีฬาทีมชาติไทย ผู้ฝึกสอน และกลุ่มบุคคลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปพิจารณาเป็นข้อมูลประกอบในการพัฒนาและรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานสากล
และความสามารถของนักกีฬาทีมชาติไทยในการนำเหรียญทองและชัยชนะมาเป็นของฝากแก่ประชาชน สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่
และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความสนใจของประชาชนที่มีต่อการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 23 ที่ปะเทศฟิลิปปินส์
2. เพื่อความสำรวจความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อทัพนักกีฬาไทย
3. เพื่อสำรวจความพอใจของประชาชนที่มีต่อผลงานของทัพนักกีฬาไทยในการแข่งขันช่วงที่ผ่านมา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการทำความเข้าใจถึงความสนใจและรู้สึกนึกคิดของประชาชนในเรื่องการกีฬา และนำไปใช้ประกอบการ
พิจารณาตัดสินใจของบุคคล และสถาบันด้านการกีฬาที่เกี่ยวข้องดำเนินการใดๆ ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาและรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานสากลด้านการกีฬา
ของประเทศไทย
2. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการศึกษาของผู้ที่สนใจศึกษาอย่างลึกซึ้งในเรื่องที่เกี่ยวข้องนี้ต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 23: กรณี
ศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 30 พฤศจิกายน- 1 ธันวาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมายคือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือกพื้นที่
ตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดลักษณะทั่วไปของตัวอย่างให้มีความสอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดของตัวอย่างในการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ 1,232 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือการสัมภาษณ์
ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดตัวอย่าง (Margin of error ) +/- ร้อยละ 5 ที่ระดับความเชื่อมั่น
ร้อยละ 95 หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณสนับสนุน
โครงการเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างที่เป็นประชาชนทั่วไป พบว่าตัวอย่างร้อยละ 56.3 เป็นหญิง ร้อยละ 43.7 เป็นชาย ซึ่ง
ตัวอย่างร้อยละ 32.3 ระบุอายุ 20 — 29 ปี ร้อยละ 27.1 ระบุอายุ 30 — 39 ปี ตัวอย่างร้อยละ 19.4 ระบุอายุ 40 — 49 ปี ร้อยละ 16.5
อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 4.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 70.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 27.0 ระบุสำเร็จ
การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 2.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 27.3 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 26.0 ระบุอาชีพ ค้าขาย/ อาชีพอิสระ ร้อยละ 18.7 รับจ้างทั่ว
ไป ร้อยละ 11.4 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 10.2 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 5.3 ระบุอื่นๆ เช่น แม่บ้าน/ เกษียณอายุ/
เกษตรกร ในขณะที่ร้อยละ 1.1 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากตารางดังต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสื่อที่ติดตามการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สื่อที่ตัวอย่างติดตามการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ร้อยละ
1 โทรทัศน์ 70.5
2 หนังสือพิมพ์ทั่วไป 45.4
3 วิทยุ 35.9
4 หนังสือพิมพ์กีฬา 20.4
5 อินเทอร์เน็ต 13.3
6 ไม่ได้ติดตามการแข่งขัน 10.2
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทกีฬาที่ตั้งใจจะติดตามชม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทกีฬาที่ตัวอย่างตั้งใจจะติดตามชม ร้อยละ
1 ฟุตบอล 85.1
2 มวยสากล 80.5
3 กรีฑา ประเภทลู่ (การวิ่งประเภทต่างๆ) 67.7
4 ตะกร้อ 63.8
5 วอลเล่ย์บอล 56.0
6 ยิมนาสติก 50.1
7 แบดมินตัน 49.3
8 คาราเต้-โด/เทควนโด 36.6
9 บาสเกตบอล 34.2
10 อื่นๆ อาทิ ว่ายน้ำ/ยกน้ำหนัก / ยิงปืน/เทนนิส เป็นต้น 20.2
ตารางที่ 3 แสดงการจัดอันดับค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ระบุ ประเภทของกีฬาที่คาดว่านักกีฬาทีมชาติไทย
จะได้เหรียญทองมาฝากคนไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทของกีฬาที่คาดว่านักกีฬาทีมชาติไทยจะได้เหรียญทอง ร้อยละ
1 มวยสากล 79.9
2 ฟุตบอล 75.1
3 ยกน้ำหนัก 74.4
4 กรีฑา 64.9
5 ตะกร้อ 55.3
6 คาราเต้-โด/เทควนโด 50.8
7 ยิงปืน 49.6
8 แบดมินตัน 39.0
9 อื่นๆ อาทิ เทนนิส / ว่ายน้ำ / บาสเกตบอล/ ยิมนาสติก เป็นต้น 23.7
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ระบุความพอใจโดยภาพรวมต่อความพร้อมในด้านต่างๆของ
นักกีฬาไทยในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งนี้
ความพร้อมในด้านต่างของนักกีฬาไทย พร้อม ไม่พร้อม ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. คุณภาพของนักกีฬาทีมชาติไทย 85.9 10.5 3.6 100.0
2. จำนวนของนักกีฬาทีมชาติไทย 84.3 13.1 2.6 100.0
3. จำนวนของผู้ฝึกสอน (โค้ช) ทีมชาติไทย 79.5 12.7 7.8 100.0
4. คุณภาพของผู้ฝึกสอน (โค้ช) ทีมชาติไทย 78.3 15.6 6.1 100.0
5. การสนับสนุนจากรัฐบาล 70.4 17.8 11.8 100.0
6. แหล่งเงินทุนสนับสนุนนักกีฬาทีมชาติไทย 60.2 25.6 14.2 100.0
7. เทคโนโลยีที่ทันสมัยด้านการกีฬา 56.9 33.1 10.0 100.0
8. ด้านอุปกรณ์การกีฬา 48.9 36.7 14.4 100.0
9. ด้านอาคารสถานที่พักเก็บตัวของนักกีฬา 45.1 34.2 20.7 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความมั่นใจต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการตัดสินของ กรรมการ
ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งนี้
ลำดับที่ ระดับความมั่นใจต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการตัดสินของกรรมการในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งนี้ ร้อยละ
1 มั่นใจ 38.7
2 ไม่มั่นใจ 59.6
3 ไม่มีความคิดเห็น 1.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อทิศทางการพัฒนามาตรฐานด้านการกีฬาของไทย
ลำดับที่ ระดับความมั่นใจต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการตัดสินของกรรมการในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งนี้ ร้อยละ
1 ดีขึ้น 51.7
2 เท่าเดิม 29.5
3 ต่ำลง 8.8
4 ไม่มีความคิดเห็น 10.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อผลงานของนักกีฬาไทยในการแข่งขันกีฬา
ซีเกมส์ครั้งที่ 23 จากการแข่งขันในช่วงที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความพึงพอใจ ค่าร้อยละ
1 พอใจมาก 67.8
2 ไม่พอใจเลย 20.8
3 ไม่มีความเห็น 11.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุนักกีฬาที่ชื่นชมในผลงานจากการแข่งขันในช่วงที่ผ่านมา
(ระหว่างวันที่ 24 - 30 พฤศจิกายน 2548) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นักกีฬาที่ชื่นชมในผลงาน ค่าร้อยละ
1 ญานิสา ต่อรัตนวัฒนา (น้องปุ้ย) 77.8
2 สมปอง สอแหลบ (ฟุตบอล) 75.4
3 ธีรเทพ วิโนทัย (ฟุตบอล) 63.6
4 วาสนา วินาโท (นักวิ่งข้ามรั้ว 400 เมตรหญิง) 53.7
5 สิทธิชัย สุวรประทีบ (นักวิ่ง) 50.1
6 ชลธร วรธำรงค์ (ว่ายน้ำ) 49.3
7 เยาวภา บุรพลชัย (น้องวิว) 43.4
8 บุญศักดิ์ พลสนะ (แบดมินตัน) 39.7
9 สมจิตร จงจอหอ (มวยสากลสมัครเล่น) 38.5
10 อื่นๆ อาทิ จักรกฤษณ์ พณิชย์ผาติกรรม (ยิงปืน) /ดัสกร ทองเหลา (ฟุตบอล)/
พัชรี แสงเมือง (วอลเลย์บอลหญิง) เป็นต้น 15.9
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทีสิ่งต้องการแสดงออกต่อข่าวการเสียชีวิตของคุณพ่อของ
น.ส.ญาณิศา ต่อรัตนวัฒนา หรือน้องปุ้ย-นักกีฬาคาราเต้-โด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ต้องการแสดงออกต่อข่าวการเสียชีวิตของคุณพ่อของน.ส.ญาณิศา ต่อรัตนวัฒนา หรือน้องปุ้ย ค่าร้อยละ
(นักกีฬาคาราเต้-โดเหรียญทอง)
1 ร่วมแสดงความเสียใจ 81.7
2 ส่งแรงใจ/กำลังใจสู้ต่อไป 79.5
3 เรียกร้องให้รัฐบาลออกมาให้การช่วยเหลือครอบครัวน้องปุ้ย 77.8
4 ส่งดอกไม้ให้กำลังใจ 65.7
5 ไปร่วมงานฌาปนกิจ 60.4
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการต่อกรณีการเสียชีวิตของคุณพ่อ
ของน้องปุ้ย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อช่วยเหลือน้องปุ้ย ค่าร้อยละ
1 ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาดูแลสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของน้องปุ้ยและครอบครัว 87.1
2 ส่งเสริมให้มีโอกาสทางด้านการกีฬาให้มากขึ้น 79.5
3 ให้ทุนการศึกษาแก่น้องปุ้ย 78.4
4 สนับสนุนให้น้องปุ้ยมีอาชีพ/หน้าที่การงานที่มั่นคง 73.5
5 ให้เงินทุนแก่ครอบครัว 65.3
6 เอาจริงเอาจังในการปรามปรามผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดที่เป็นต้นเหตุให้ผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต 64.8
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ เป็นรายการกีฬาประเภทหนึ่งที่ได้รับความสนใจจากประชาชนทุกครั้งที่มีการจัดการแข่งขัน ในขณะที่นักกีฬาทีมชาติ
ไทยกำลังทำหน้าที่อย่างเต็มที่ในการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ เพื่อนำเหรียญทองมาฝากให้ประชาชนชาวไทยได้ภาคภูมิใจในชัยชนะนั้น คนไทยทุกคน
ต่างก็เฝ้าติดตามความสำเร็จของทัพนักกีฬาไทย และส่งแรงใจ แรงเชียร์ไปอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นเพื่อเป็นการสะท้อนความรู้สึกนึกคิด และความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อทัพนักกีฬาไทย ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญประการที่จะทำ
ให้นักกีฬาทีมชาติไทย ผู้ฝึกสอน และกลุ่มบุคคลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปพิจารณาเป็นข้อมูลประกอบในการพัฒนาและรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานสากล
และความสามารถของนักกีฬาทีมชาติไทยในการนำเหรียญทองและชัยชนะมาเป็นของฝากแก่ประชาชน สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่
และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความสนใจของประชาชนที่มีต่อการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 23 ที่ปะเทศฟิลิปปินส์
2. เพื่อความสำรวจความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อทัพนักกีฬาไทย
3. เพื่อสำรวจความพอใจของประชาชนที่มีต่อผลงานของทัพนักกีฬาไทยในการแข่งขันช่วงที่ผ่านมา
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการทำความเข้าใจถึงความสนใจและรู้สึกนึกคิดของประชาชนในเรื่องการกีฬา และนำไปใช้ประกอบการ
พิจารณาตัดสินใจของบุคคล และสถาบันด้านการกีฬาที่เกี่ยวข้องดำเนินการใดๆ ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาและรักษาไว้ซึ่งมาตรฐานสากลด้านการกีฬา
ของประเทศไทย
2. เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการศึกษาของผู้ที่สนใจศึกษาอย่างลึกซึ้งในเรื่องที่เกี่ยวข้องนี้ต่อไป
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ในครั้งนี้เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 23: กรณี
ศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 30 พฤศจิกายน- 1 ธันวาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมายคือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การเลือกตัวอย่างด้วยวิธีแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือกพื้นที่
ตัวอย่างและการสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดลักษณะทั่วไปของตัวอย่างให้มีความสอดคล้องกับลักษณะของประชากรเป้าหมายที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดของตัวอย่างในการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ 1,232 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือการสัมภาษณ์
ความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดตัวอย่าง (Margin of error ) +/- ร้อยละ 5 ที่ระดับความเชื่อมั่น
ร้อยละ 95 หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณสนับสนุน
โครงการเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างที่เป็นประชาชนทั่วไป พบว่าตัวอย่างร้อยละ 56.3 เป็นหญิง ร้อยละ 43.7 เป็นชาย ซึ่ง
ตัวอย่างร้อยละ 32.3 ระบุอายุ 20 — 29 ปี ร้อยละ 27.1 ระบุอายุ 30 — 39 ปี ตัวอย่างร้อยละ 19.4 ระบุอายุ 40 — 49 ปี ร้อยละ 16.5
อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 4.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 70.8 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 27.0 ระบุสำเร็จ
การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 2.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 27.3 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 26.0 ระบุอาชีพ ค้าขาย/ อาชีพอิสระ ร้อยละ 18.7 รับจ้างทั่ว
ไป ร้อยละ 11.4 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 10.2 เป็นนักศึกษา ร้อยละ 5.3 ระบุอื่นๆ เช่น แม่บ้าน/ เกษียณอายุ/
เกษตรกร ในขณะที่ร้อยละ 1.1 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากตารางดังต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสื่อที่ติดตามการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สื่อที่ตัวอย่างติดตามการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ร้อยละ
1 โทรทัศน์ 70.5
2 หนังสือพิมพ์ทั่วไป 45.4
3 วิทยุ 35.9
4 หนังสือพิมพ์กีฬา 20.4
5 อินเทอร์เน็ต 13.3
6 ไม่ได้ติดตามการแข่งขัน 10.2
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประเภทกีฬาที่ตั้งใจจะติดตามชม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทกีฬาที่ตัวอย่างตั้งใจจะติดตามชม ร้อยละ
1 ฟุตบอล 85.1
2 มวยสากล 80.5
3 กรีฑา ประเภทลู่ (การวิ่งประเภทต่างๆ) 67.7
4 ตะกร้อ 63.8
5 วอลเล่ย์บอล 56.0
6 ยิมนาสติก 50.1
7 แบดมินตัน 49.3
8 คาราเต้-โด/เทควนโด 36.6
9 บาสเกตบอล 34.2
10 อื่นๆ อาทิ ว่ายน้ำ/ยกน้ำหนัก / ยิงปืน/เทนนิส เป็นต้น 20.2
ตารางที่ 3 แสดงการจัดอันดับค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ระบุ ประเภทของกีฬาที่คาดว่านักกีฬาทีมชาติไทย
จะได้เหรียญทองมาฝากคนไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ประเภทของกีฬาที่คาดว่านักกีฬาทีมชาติไทยจะได้เหรียญทอง ร้อยละ
1 มวยสากล 79.9
2 ฟุตบอล 75.1
3 ยกน้ำหนัก 74.4
4 กรีฑา 64.9
5 ตะกร้อ 55.3
6 คาราเต้-โด/เทควนโด 50.8
7 ยิงปืน 49.6
8 แบดมินตัน 39.0
9 อื่นๆ อาทิ เทนนิส / ว่ายน้ำ / บาสเกตบอล/ ยิมนาสติก เป็นต้น 23.7
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างที่ระบุความพอใจโดยภาพรวมต่อความพร้อมในด้านต่างๆของ
นักกีฬาไทยในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งนี้
ความพร้อมในด้านต่างของนักกีฬาไทย พร้อม ไม่พร้อม ไม่มีความเห็น รวมทั้งสิ้น
1. คุณภาพของนักกีฬาทีมชาติไทย 85.9 10.5 3.6 100.0
2. จำนวนของนักกีฬาทีมชาติไทย 84.3 13.1 2.6 100.0
3. จำนวนของผู้ฝึกสอน (โค้ช) ทีมชาติไทย 79.5 12.7 7.8 100.0
4. คุณภาพของผู้ฝึกสอน (โค้ช) ทีมชาติไทย 78.3 15.6 6.1 100.0
5. การสนับสนุนจากรัฐบาล 70.4 17.8 11.8 100.0
6. แหล่งเงินทุนสนับสนุนนักกีฬาทีมชาติไทย 60.2 25.6 14.2 100.0
7. เทคโนโลยีที่ทันสมัยด้านการกีฬา 56.9 33.1 10.0 100.0
8. ด้านอุปกรณ์การกีฬา 48.9 36.7 14.4 100.0
9. ด้านอาคารสถานที่พักเก็บตัวของนักกีฬา 45.1 34.2 20.7 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความมั่นใจต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการตัดสินของ กรรมการ
ในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งนี้
ลำดับที่ ระดับความมั่นใจต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการตัดสินของกรรมการในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งนี้ ร้อยละ
1 มั่นใจ 38.7
2 ไม่มั่นใจ 59.6
3 ไม่มีความคิดเห็น 1.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อทิศทางการพัฒนามาตรฐานด้านการกีฬาของไทย
ลำดับที่ ระดับความมั่นใจต่อความบริสุทธิ์ยุติธรรมในการตัดสินของกรรมการในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งนี้ ร้อยละ
1 ดีขึ้น 51.7
2 เท่าเดิม 29.5
3 ต่ำลง 8.8
4 ไม่มีความคิดเห็น 10.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพึงพอใจต่อผลงานของนักกีฬาไทยในการแข่งขันกีฬา
ซีเกมส์ครั้งที่ 23 จากการแข่งขันในช่วงที่ผ่านมา
ลำดับที่ ความพึงพอใจ ค่าร้อยละ
1 พอใจมาก 67.8
2 ไม่พอใจเลย 20.8
3 ไม่มีความเห็น 11.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุนักกีฬาที่ชื่นชมในผลงานจากการแข่งขันในช่วงที่ผ่านมา
(ระหว่างวันที่ 24 - 30 พฤศจิกายน 2548) (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ นักกีฬาที่ชื่นชมในผลงาน ค่าร้อยละ
1 ญานิสา ต่อรัตนวัฒนา (น้องปุ้ย) 77.8
2 สมปอง สอแหลบ (ฟุตบอล) 75.4
3 ธีรเทพ วิโนทัย (ฟุตบอล) 63.6
4 วาสนา วินาโท (นักวิ่งข้ามรั้ว 400 เมตรหญิง) 53.7
5 สิทธิชัย สุวรประทีบ (นักวิ่ง) 50.1
6 ชลธร วรธำรงค์ (ว่ายน้ำ) 49.3
7 เยาวภา บุรพลชัย (น้องวิว) 43.4
8 บุญศักดิ์ พลสนะ (แบดมินตัน) 39.7
9 สมจิตร จงจอหอ (มวยสากลสมัครเล่น) 38.5
10 อื่นๆ อาทิ จักรกฤษณ์ พณิชย์ผาติกรรม (ยิงปืน) /ดัสกร ทองเหลา (ฟุตบอล)/
พัชรี แสงเมือง (วอลเลย์บอลหญิง) เป็นต้น 15.9
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทีสิ่งต้องการแสดงออกต่อข่าวการเสียชีวิตของคุณพ่อของ
น.ส.ญาณิศา ต่อรัตนวัฒนา หรือน้องปุ้ย-นักกีฬาคาราเต้-โด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ต้องการแสดงออกต่อข่าวการเสียชีวิตของคุณพ่อของน.ส.ญาณิศา ต่อรัตนวัฒนา หรือน้องปุ้ย ค่าร้อยละ
(นักกีฬาคาราเต้-โดเหรียญทอง)
1 ร่วมแสดงความเสียใจ 81.7
2 ส่งแรงใจ/กำลังใจสู้ต่อไป 79.5
3 เรียกร้องให้รัฐบาลออกมาให้การช่วยเหลือครอบครัวน้องปุ้ย 77.8
4 ส่งดอกไม้ให้กำลังใจ 65.7
5 ไปร่วมงานฌาปนกิจ 60.4
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการต่อกรณีการเสียชีวิตของคุณพ่อ
ของน้องปุ้ย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลดำเนินการเพื่อช่วยเหลือน้องปุ้ย ค่าร้อยละ
1 ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาดูแลสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของน้องปุ้ยและครอบครัว 87.1
2 ส่งเสริมให้มีโอกาสทางด้านการกีฬาให้มากขึ้น 79.5
3 ให้ทุนการศึกษาแก่น้องปุ้ย 78.4
4 สนับสนุนให้น้องปุ้ยมีอาชีพ/หน้าที่การงานที่มั่นคง 73.5
5 ให้เงินทุนแก่ครอบครัว 65.3
6 เอาจริงเอาจังในการปรามปรามผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดที่เป็นต้นเหตุให้ผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต 64.8
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-