ที่มาของโครงการ
หลังจากกรณี นางรัตนา สัจจเทพ ได้พาบุตรชาย บุตรสาว และหลานสาว นำเสื่อ หมอน และมุ้งครอบ
กันยุง รวมทั้งน้ำดื่ม อาหารกระป๋องชนิดต่างๆ มานอนประท้วง นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหา
นคร ที่ลานกิจกรรม ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เนื่องจากการพิจารณาหาผู้กระทำผิดในการออกโฉนดที่ดินปลอมให้
กับนางรัตนานั้น ปรากฏผลว่า ไม่มีผู้ใดกระทำผิด นางรัตนาจึงมานอนประท้วงจนกว่าจะได้ผู้กระทำผิดมาลงโทษ ตาม
กฏหมาย จนเกิดการวิพาษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางถึงการกระทำดังกล่าว สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัม
ชัญ จึงได้ทำสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีปัญหาเรื่องบ้านของนางรัตนา สัจจเทพ โดยจัดส่งอาจารย์ เจ้า
หน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ตามระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีปัญหาเรื่องบ้านของนางรัตนา สัจจเทพ
2. เพื่อค้นหาข้อเสนอแนะจากประชาชนต่อการแก้ปัญหาในกรณีปัญหาเหล่านี้ในครั้งต่อไป
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “ความคิด
เห็นของประชาชนต่อกรณีปัญหาเรื่องบ้านของนางรัตนา สัจจเทพ: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 2 - 3 กันยายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัย คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ในการแบ่ง
เขตพื้นที่ของจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายที่
ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 2,518 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง
อยู่ที่ + / - ร้อยละ 7
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 51.8 เป็นหญิง ร้อยละ 48.2 เป็น
ชาย ตัวอย่างร้อยละ 4.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 25.2 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 28.4 อายุระหว่าง
30-39 ปี ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 40-49 ปี และร้อยละ 18.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 78.7 ระบุ
สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 20.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 1.2 ระบุ
สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 37.4 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 17.7 ระบุอาชีพ
ลูกจ้าง / พนักงานบริษัท ร้อยละ 17.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 8.7 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 8.1 ระบุเป็นนักเรียน / นักศึกษา ร้อยละ 5.7 ระบุอาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 4.8
ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ และร้อยละ 0.4 ระบุอาชีพเกษตรกร
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง “ความคิดเห็นของ
ประชาชนต่อกรณีปัญหาเรื่องบ้านของนางรัตนา สัจจเทพ: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ประชาชนคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.2 ทราบข่าวเกี่ยวกับปัญหาเรื่องบ้าน
ของนางรัตนา สัจจเทพ ในขณะที่ร้อยละ 24.8 ไม่ทราบข่าว
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นว่า ฝ่ายใดระหว่างกรุงเทพมหานครกับรัฐบาลจริงใจในการแก้ไข
ปัญหาเรื่องบ้านของนางรัตนา ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 14.2 ระบุกรุงเทพมหานคร ในขณะที่ร้อยละ 11.7
ระบุรัฐบาล ร้อยละ 12.1 ระบุจริงใจทั้งสองฝ่าย ร้อยละ 24.5 ระบุไม่จริงใจทั้งสองฝ่าย และร้อยละ 37.5 ไม่มี
ความเห็น
อย่างไรก็ตามประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ตัวอย่างร้อยละ 58.0 เชื่อว่า ปัญหาเรื่องบ้านของนางรัตนา
เกิดจากการทุจริตประพฤติมิชอบโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในขณะที่ร้อยละ 9.6 ไม่เชื่อ และร้อยละ 32.4 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นของตัวอย่างต่อประเด็นปัญหาเรื่องบ้านของนางรัตนาว่า เป็นปัญหาส่วนตัว
หรือปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 42.6 ระบุเป็นปัญหา การ
ทุจริตประพฤติมิชอบโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในขณะที่ร้อยละ 22.8 ระบุเป็นทั้งปัญหาส่วนตัวและทุจริตประพฤติ มิชอบโดย
เจ้าหน้าที่ของรัฐ ร้อยละ 9.8 ระบุเป็นปัญหาส่วนตัว และร้อยละ 24.8 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องบ้านของนางรัตนา
ด้วยการซื้อคืน โดยยุติการหาตัวผู้ที่กระทำผิดมาดำเนินการต่อไป ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 38.0 ระบุเห็น
ด้วย ในขณะที่ร้อยละ 39.0 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 23.0 ไม่มีความเห็น
ประเด็นความคิดเห็นของตัวอย่างว่า นางรัตนาควรยอมรับข้อเสนอของรัฐบาลในการซื้อบ้านคืน โดยยุติ
การหาตัวผู้ที่กระทำผิดมาดำเนินการต่อไป ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 35.2 ระบุควรยอมรับ ในขณะที่ร้อยละ
38.2 ระบุไม่ควรยอมรับ และร้อยละ 26.6 ไม่มีความเห็น
สำหรับประเด็นความคิดเห็นของตัวอย่างว่า ถ้ารัฐบาลไม่สามารถหาผู้ที่กระทำผิดในเรื่องบ้านของนาง
รัตนาได้ จะกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาลหรือไม่ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 58.2 ระบุกระทบ ในขณะที่ร้อยละ
16.4 ระบุไม่กระทบ และร้อยละ 25.4 ไม่มีความเห็น
ประเด็นสำคัญอีกประเด็น คือ ข้อเสนอแนะของตัวอย่างต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครว่า ควรเข้า
มา แก้ไขปัญหาเรื่องบ้านของนางรัตนาอย่างไร โดยตัวอย่างร้อยละ 38.0 ระบุควรเอาคนผิดมาลงโทษ / เอา
จริงกับ ผู้กระทำผิด / หาตัวผู้กระทำผิดมาให้ได้ ร้อยละ 33.9 ระบุให้มีการตรวจสอบอย่างเป็นกลางที่สุด ตรง
ไปตรงมาและถูกต้อง ร้อยละ 25.1 ระบุให้มีการซื้อบ้านคืน / หาบ้านให้ใหม่ และร้อยละ 11.4 ระบุควรรับผิดชอบ
ค่าใช้จ่ายที่เสียไปในการสู้คดี / ชดใช้ค่าเสียหาย
ส่วนประเด็นสำคัญประเด็นสุดท้าย คือ เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการเอาชนะ
สงครามปราบทุจริตคอรัปชั่น ปรากฏว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.5 ระบุให้รัฐบาลจริงจังต่อการแก้ปัญหาการทุจริต โดยใช้
มาตรการขั้นเด็ดขาด และจัดการอย่างจริงจัง ร้อยละ 20.9 ระบุรัฐบาลต้องเป็นตัวอย่าง ตั้งใจทำงานด้วยความ
โปร่งใส ไม่ทุจริต ร้อยละ 16.6 ระบุควรมีบทลงโทษอย่างรุนแรง ลงโทษให้เด็ดขาด และร้อยละ 9.8 ระบุรัฐบาล
ต้องไม่เห็นแก่พวกพ้อง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การทราบข่าวเกี่ยวกับปัญหาเรื่องบ้านของคุณรัตนา สัจจเทพ
ลำดับที่ การทราบข่าวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 75.2
2 ไม่ทราบ 24.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ฝ่ายที่จริงใจในการแก้ปัญหาเรื่องบ้านของคุณรัตนา
ลำดับที่ ฝ่ายที่จริงใจในการแก้ปัญหาเรื่องบ้านของคุณรัตนา ค่าร้อยละ
1 กรุงเทพมหานคร 14.2
2 รัฐบาล 11.7
3 จริงใจทั้งสองฝ่าย 12.1
4 ไม่จริงใจทั้งสองฝ่าย 24.5
5 ไม่มีความเห็น 37.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่าปัญหาเรื่องบ้านของคุณรัตนาเกิดจากการทุจริต
ประพฤติมิชอบโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อ 58.0
2 ไม่เชื่อ 9.6
3 ไม่มีความเห็น 32.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาเรื่องบ้านของคุณรัตนาเป็นปัญหาส่วนตัวหรือปัญหา
การทุจริตประพฤติมิชอบโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ลำดับที่ ประเด็นปัญหาเรื่องบ้านของคุณรัตนา ค่าร้อยละ
1 เป็นปัญหาส่วนตัว 9.8
2 เป็นปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ 42.6
3 เป็นทั้งปัญหาส่วนตัวและการทุจริตประพฤติมิชอบโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ 22.8
4 ไม่มีความเห็น 24.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องบ้านของ
คุณรัตนาด้วยการซื้อคืน โดยยุติการหาตัวผู้ที่กระทำผิดมาดำเนินการต่อไป
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 38.0
2 ไม่เห็นด้วย 39.0
3 ไม่มีความเห็น 23.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นว่า คุณรัตนาควรยอมรับข้อเสนอของรัฐบาล
ในการซื้อบ้านคืน โดยยุติการหาตัวผู้ที่กระทำผิดมาดำเนินการต่อไป
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควร 35.2
2 ไม่ควร 38.2
3 ไม่มีความเห็น 26.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นว่า ถ้ารัฐบาลไม่สามารถหาผู้ที่กระทำผิด
ในเรื่องบ้านของคุณรัตนาได้ จะกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาล
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 กระทบ 58.2
2 ไม่กระทบ 16.4
3 ไม่มีความเห็น 25.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข้อเสนอแนะต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการเข้ามา
แก้ไขปัญหาเรื่องบ้านของคุณรัตนา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรเอาคนผิดมาลงโทษ / เอาจริงกับผู้กระทำผิด / หาตัวผู้กระทำผิดมาให้ได้ 38.0
2 ให้มีการตรวจสอบอย่างเป็นกลางที่สุด ตรงไปตรงมา และถูกต้อง 33.9
3 ให้มีการซื้อบ้านคืน / หาบ้านให้ใหม่ 25.1
4 ควรรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เสียไปในการสู้คดี / ชดใช้ค่าเสียหาย 11.4
5 ควรเรียกทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยกันดูแลแก้ปัญหา 7.7
6 อื่นๆ เช่น จัดระเบียบผู้ประกอบการบ้านจัดสรรและเจ้าหน้าที่รัฐ ยุติคดีความกับนางรัตนา
ปรับเจ้าของหมู่บ้าน ฯลฯ 6.8
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการเอาชนะสงครามปราบทุจริต
คอรัปชั่น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ให้รัฐบาลจริงจังต่อการแก้ปัญหาการทุจริต โดยใช้มาตรการขั้นเด็ดขาด
และจัดการอย่างจริงจัง 44.5
2 รัฐบาลต้องเป็นตัวอย่าง ตั้งใจทำงานด้วยความโปร่งใส ไม่ทุจริต 20.9
3 ควรมีบทลงโทษอย่างรุนแรง ลงโทษให้เด็ดขาด 16.6
4 รัฐบาลต้องไม่เห็นแก่พวกพ้อง 9.8
5 นายกรัฐมนตรีควรจะดูแลมากกว่านี้ / รัฐบาลเข้ามารับผิดชอบ 8.3
6 จับตัวผู้กระทำผิดให้ได้ แล้วลงโทษ มิใช่โยกย้าย 6.5
7 คิดว่ารัฐบาลไม่สามารถทำได้ / ปราบยาก 6.0
8 อื่นๆ เช่น ยึดทรัพย์ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้กระทำผิดร่วมกันรับผิดชอบ
เปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น ฯลฯ 7.3
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
หลังจากกรณี นางรัตนา สัจจเทพ ได้พาบุตรชาย บุตรสาว และหลานสาว นำเสื่อ หมอน และมุ้งครอบ
กันยุง รวมทั้งน้ำดื่ม อาหารกระป๋องชนิดต่างๆ มานอนประท้วง นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหา
นคร ที่ลานกิจกรรม ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เนื่องจากการพิจารณาหาผู้กระทำผิดในการออกโฉนดที่ดินปลอมให้
กับนางรัตนานั้น ปรากฏผลว่า ไม่มีผู้ใดกระทำผิด นางรัตนาจึงมานอนประท้วงจนกว่าจะได้ผู้กระทำผิดมาลงโทษ ตาม
กฏหมาย จนเกิดการวิพาษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางถึงการกระทำดังกล่าว สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัม
ชัญ จึงได้ทำสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีปัญหาเรื่องบ้านของนางรัตนา สัจจเทพ โดยจัดส่งอาจารย์ เจ้า
หน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ตามระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีปัญหาเรื่องบ้านของนางรัตนา สัจจเทพ
2. เพื่อค้นหาข้อเสนอแนะจากประชาชนต่อการแก้ปัญหาในกรณีปัญหาเหล่านี้ในครั้งต่อไป
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “ความคิด
เห็นของประชาชนต่อกรณีปัญหาเรื่องบ้านของนางรัตนา สัจจเทพ: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 2 - 3 กันยายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัย คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ในการแบ่ง
เขตพื้นที่ของจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และเข้าถึงกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายที่
ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 2,518 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่าง
อยู่ที่ + / - ร้อยละ 7
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้น คณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 51.8 เป็นหญิง ร้อยละ 48.2 เป็น
ชาย ตัวอย่างร้อยละ 4.8 อายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 25.2 อายุระหว่าง 20-29 ปี ร้อยละ 28.4 อายุระหว่าง
30-39 ปี ร้อยละ 23.1 อายุระหว่าง 40-49 ปี และร้อยละ 18.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 78.7 ระบุ
สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 20.1 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 1.2 ระบุ
สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 37.4 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 17.7 ระบุอาชีพ
ลูกจ้าง / พนักงานบริษัท ร้อยละ 17.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 8.7 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 8.1 ระบุเป็นนักเรียน / นักศึกษา ร้อยละ 5.7 ระบุอาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 4.8
ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ และร้อยละ 0.4 ระบุอาชีพเกษตรกร
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนามเรื่อง “ความคิดเห็นของ
ประชาชนต่อกรณีปัญหาเรื่องบ้านของนางรัตนา สัจจเทพ: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 2-3 กันยายน 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ประชาชนคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลส่วนใหญ่หรือร้อยละ 75.2 ทราบข่าวเกี่ยวกับปัญหาเรื่องบ้าน
ของนางรัตนา สัจจเทพ ในขณะที่ร้อยละ 24.8 ไม่ทราบข่าว
เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงความคิดเห็นว่า ฝ่ายใดระหว่างกรุงเทพมหานครกับรัฐบาลจริงใจในการแก้ไข
ปัญหาเรื่องบ้านของนางรัตนา ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 14.2 ระบุกรุงเทพมหานคร ในขณะที่ร้อยละ 11.7
ระบุรัฐบาล ร้อยละ 12.1 ระบุจริงใจทั้งสองฝ่าย ร้อยละ 24.5 ระบุไม่จริงใจทั้งสองฝ่าย และร้อยละ 37.5 ไม่มี
ความเห็น
อย่างไรก็ตามประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ตัวอย่างร้อยละ 58.0 เชื่อว่า ปัญหาเรื่องบ้านของนางรัตนา
เกิดจากการทุจริตประพฤติมิชอบโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในขณะที่ร้อยละ 9.6 ไม่เชื่อ และร้อยละ 32.4 ไม่มีความเห็น
เมื่อสอบถามถึงความคิดเห็นของตัวอย่างต่อประเด็นปัญหาเรื่องบ้านของนางรัตนาว่า เป็นปัญหาส่วนตัว
หรือปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 42.6 ระบุเป็นปัญหา การ
ทุจริตประพฤติมิชอบโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในขณะที่ร้อยละ 22.8 ระบุเป็นทั้งปัญหาส่วนตัวและทุจริตประพฤติ มิชอบโดย
เจ้าหน้าที่ของรัฐ ร้อยละ 9.8 ระบุเป็นปัญหาส่วนตัว และร้อยละ 24.8 ไม่มีความเห็น
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องบ้านของนางรัตนา
ด้วยการซื้อคืน โดยยุติการหาตัวผู้ที่กระทำผิดมาดำเนินการต่อไป ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 38.0 ระบุเห็น
ด้วย ในขณะที่ร้อยละ 39.0 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 23.0 ไม่มีความเห็น
ประเด็นความคิดเห็นของตัวอย่างว่า นางรัตนาควรยอมรับข้อเสนอของรัฐบาลในการซื้อบ้านคืน โดยยุติ
การหาตัวผู้ที่กระทำผิดมาดำเนินการต่อไป ผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 35.2 ระบุควรยอมรับ ในขณะที่ร้อยละ
38.2 ระบุไม่ควรยอมรับ และร้อยละ 26.6 ไม่มีความเห็น
สำหรับประเด็นความคิดเห็นของตัวอย่างว่า ถ้ารัฐบาลไม่สามารถหาผู้ที่กระทำผิดในเรื่องบ้านของนาง
รัตนาได้ จะกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาลหรือไม่ พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 58.2 ระบุกระทบ ในขณะที่ร้อยละ
16.4 ระบุไม่กระทบ และร้อยละ 25.4 ไม่มีความเห็น
ประเด็นสำคัญอีกประเด็น คือ ข้อเสนอแนะของตัวอย่างต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครว่า ควรเข้า
มา แก้ไขปัญหาเรื่องบ้านของนางรัตนาอย่างไร โดยตัวอย่างร้อยละ 38.0 ระบุควรเอาคนผิดมาลงโทษ / เอา
จริงกับ ผู้กระทำผิด / หาตัวผู้กระทำผิดมาให้ได้ ร้อยละ 33.9 ระบุให้มีการตรวจสอบอย่างเป็นกลางที่สุด ตรง
ไปตรงมาและถูกต้อง ร้อยละ 25.1 ระบุให้มีการซื้อบ้านคืน / หาบ้านให้ใหม่ และร้อยละ 11.4 ระบุควรรับผิดชอบ
ค่าใช้จ่ายที่เสียไปในการสู้คดี / ชดใช้ค่าเสียหาย
ส่วนประเด็นสำคัญประเด็นสุดท้าย คือ เมื่อสอบถามตัวอย่างถึงข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการเอาชนะ
สงครามปราบทุจริตคอรัปชั่น ปรากฏว่า ตัวอย่างร้อยละ 44.5 ระบุให้รัฐบาลจริงจังต่อการแก้ปัญหาการทุจริต โดยใช้
มาตรการขั้นเด็ดขาด และจัดการอย่างจริงจัง ร้อยละ 20.9 ระบุรัฐบาลต้องเป็นตัวอย่าง ตั้งใจทำงานด้วยความ
โปร่งใส ไม่ทุจริต ร้อยละ 16.6 ระบุควรมีบทลงโทษอย่างรุนแรง ลงโทษให้เด็ดขาด และร้อยละ 9.8 ระบุรัฐบาล
ต้องไม่เห็นแก่พวกพ้อง
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การทราบข่าวเกี่ยวกับปัญหาเรื่องบ้านของคุณรัตนา สัจจเทพ
ลำดับที่ การทราบข่าวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทราบข่าว 75.2
2 ไม่ทราบ 24.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ฝ่ายที่จริงใจในการแก้ปัญหาเรื่องบ้านของคุณรัตนา
ลำดับที่ ฝ่ายที่จริงใจในการแก้ปัญหาเรื่องบ้านของคุณรัตนา ค่าร้อยละ
1 กรุงเทพมหานคร 14.2
2 รัฐบาล 11.7
3 จริงใจทั้งสองฝ่าย 12.1
4 ไม่จริงใจทั้งสองฝ่าย 24.5
5 ไม่มีความเห็น 37.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่าปัญหาเรื่องบ้านของคุณรัตนาเกิดจากการทุจริต
ประพฤติมิชอบโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อ 58.0
2 ไม่เชื่อ 9.6
3 ไม่มีความเห็น 32.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัญหาเรื่องบ้านของคุณรัตนาเป็นปัญหาส่วนตัวหรือปัญหา
การทุจริตประพฤติมิชอบโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ลำดับที่ ประเด็นปัญหาเรื่องบ้านของคุณรัตนา ค่าร้อยละ
1 เป็นปัญหาส่วนตัว 9.8
2 เป็นปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ 42.6
3 เป็นทั้งปัญหาส่วนตัวและการทุจริตประพฤติมิชอบโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ 22.8
4 ไม่มีความเห็น 24.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องบ้านของ
คุณรัตนาด้วยการซื้อคืน โดยยุติการหาตัวผู้ที่กระทำผิดมาดำเนินการต่อไป
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 38.0
2 ไม่เห็นด้วย 39.0
3 ไม่มีความเห็น 23.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นว่า คุณรัตนาควรยอมรับข้อเสนอของรัฐบาล
ในการซื้อบ้านคืน โดยยุติการหาตัวผู้ที่กระทำผิดมาดำเนินการต่อไป
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควร 35.2
2 ไม่ควร 38.2
3 ไม่มีความเห็น 26.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นว่า ถ้ารัฐบาลไม่สามารถหาผู้ที่กระทำผิด
ในเรื่องบ้านของคุณรัตนาได้ จะกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรัฐบาล
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 กระทบ 58.2
2 ไม่กระทบ 16.4
3 ไม่มีความเห็น 25.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข้อเสนอแนะต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในการเข้ามา
แก้ไขปัญหาเรื่องบ้านของคุณรัตนา (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรเอาคนผิดมาลงโทษ / เอาจริงกับผู้กระทำผิด / หาตัวผู้กระทำผิดมาให้ได้ 38.0
2 ให้มีการตรวจสอบอย่างเป็นกลางที่สุด ตรงไปตรงมา และถูกต้อง 33.9
3 ให้มีการซื้อบ้านคืน / หาบ้านให้ใหม่ 25.1
4 ควรรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เสียไปในการสู้คดี / ชดใช้ค่าเสียหาย 11.4
5 ควรเรียกทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยกันดูแลแก้ปัญหา 7.7
6 อื่นๆ เช่น จัดระเบียบผู้ประกอบการบ้านจัดสรรและเจ้าหน้าที่รัฐ ยุติคดีความกับนางรัตนา
ปรับเจ้าของหมู่บ้าน ฯลฯ 6.8
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลในการเอาชนะสงครามปราบทุจริต
คอรัปชั่น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ให้รัฐบาลจริงจังต่อการแก้ปัญหาการทุจริต โดยใช้มาตรการขั้นเด็ดขาด
และจัดการอย่างจริงจัง 44.5
2 รัฐบาลต้องเป็นตัวอย่าง ตั้งใจทำงานด้วยความโปร่งใส ไม่ทุจริต 20.9
3 ควรมีบทลงโทษอย่างรุนแรง ลงโทษให้เด็ดขาด 16.6
4 รัฐบาลต้องไม่เห็นแก่พวกพ้อง 9.8
5 นายกรัฐมนตรีควรจะดูแลมากกว่านี้ / รัฐบาลเข้ามารับผิดชอบ 8.3
6 จับตัวผู้กระทำผิดให้ได้ แล้วลงโทษ มิใช่โยกย้าย 6.5
7 คิดว่ารัฐบาลไม่สามารถทำได้ / ปราบยาก 6.0
8 อื่นๆ เช่น ยึดทรัพย์ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้กระทำผิดร่วมกันรับผิดชอบ
เปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น ฯลฯ 7.3
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-