ที่มาของโครงการ
จากข่าวกลุ่มทุนธุรกิจด้านบันเทิงเข้ามาซื้อหุ้น และเป็นหุ้นส่วนใหญ่ในสื่อสิ่งพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของเมืองไทยถึง
สองฉบับ ได้แก่ หนังสือพิมพ์มติชนและหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ นั้น สร้างกระแสความสนใจให้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย
ทุกฝ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ได้จับประเด็นนี้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กันในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้ง
ในเรื่องความพยายามของฝ่ายการเมืองที่จะเข้ามาแทรกแซงการทำงานของสื่อ ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงประเด็นความมี
เบื้องหน้าเบื้องหลังในการดำเนินธุรกิจซื้อขายดังกล่าวด้วย
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์
จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงประเด็นความคิดเห็นที่มีต่อประเด็นสำคัญต่างที่เกี่ยวข้อง
กับกรณีดังกล่าว โดยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตาม
หลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจทัศนคติและความคิดเห็นของประชาชนต่อการซื้อขายหุ้นของหนังสือพิมพ์มติชนและบางกอกโพสต์
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “สำรวจ
ทรรศนะของประชาชนต่อกรณีซื้อขายหุ้นหนังสือพิมพ์มติชนและบางกอกโพสต์:กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 12-13 กันยายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified
Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้า
หมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,547 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.5 เป็นหญิง ร้อยละ 47.5
เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 25.8 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อย
ละ 21.1 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี ร้อยละ 20.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 10.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 72.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 23.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และ ร้อยละ 4.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 23.0 ระบุอาชีพ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 21.9 ระบุเป็นพนักงาน
บริษัทเอกชน ร้อยละ 19.3 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 11.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/
พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.6 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 7.9 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/
เกษียณอายุ ในขณะที่ร้อยละ 3.8 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ/ว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผลสำรวจ เรื่อง “สำรวจทรรศนะของประชาชนต่อกรณี
ซื้อขายหุ้นหนังสือพิมพ์มติชนและบางกอกโพสต์: กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้ มี
ขนาดตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 1,547 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 12 - 13 กันยายน 2548
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ผลการสำรวจความสนใจของตัวอย่างต่อข่าวกลุ่มนายทุนซื้อหุ้นหนังสือพิมพ์มติชนและบางกอกโพสต์พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 76.4 ระบุสนใจติดตามข่าวดังกล่าว ร้อยละ 13.8 ระบุไม่สนใจ และร้อยละ 9.8 ระบุไม่แน่ใจ
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความวิตกกังวลต่อความเป็นกลางในการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน
ภายหลังการซื้อหุ้นของกลุ่มนายทุนนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 64.1 ระบุรู้สึกวิตกกังวล ในขณะที่ร้อยละ 22.4 ระบุไม่
วิตกกังวล และร้อยละ 13.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการซื้อหุ้น
ในครั้งนี้ของกลุ่มนายทุน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 60.8 เชื่อว่ามีเบื้องหน้าเบื้องหลังในการซื้อหุ้นครั้งนี้ ร้อยละ
21.6 ไม่เชื่อว่ามี และร้อยละ 17.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญต่อมาที่ค้นพบจากผลสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ คือความคิดเห็นของตัวอย่างต่อฝ่าย
การเมืองในการพยายามเข้าไปแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 72.7 ระบุเชื่อว่ามี
ความพยายามของฝ่ายการเมืองที่จะเข้าไปแทรกแซง ในขณะที่ร้อยละ 17.1 ระบุไม่เชื่อว่ามี และร้อยละ 10.2 ไม่
ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ ผลการสำรวจทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการซื้อขายหุ้นของหนังสือพิมพ์มติชนและ
บางกอกโพสต์ โดยกลุ่มทุนด้านธุรกิจบันเทิง นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 68.5 ระบุไม่เห็นด้วยกับการซื้อ
ขายดังกล่าว เพราะเกรงว่าจะเกิดความไม่เป็นกลางในการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวกับกลุ่มเจ้าของทุน และเกรงว่าสื่อ
มวลชนจะถูกการเมืองแทรกแซงได้ง่าย รวมทั้งอาจกระทบต่อความไม่น่าเชื่อถือของสื่อได้ อย่างไรก็ตามตัวอย่าง
ร้อยละ 19.2 ระบุเห็นด้วยกับการซื้อขายดังกล่าวโดยให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องของการทำธุรกิจ/ เป็นสิทธิของผู้เป็น
เจ้าของเงินลงทุน / เป็นเรื่องปกติธรรมดาของธุรกิจ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 12.3 ไม่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี
ดังกล่าว
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอย่างยิ่ง คือความคิดเห็นของตัวอย่างต่อเหตุผลที่มีความต้องการซื้อหุ้นหนังสือ
พิมพ์ยักษ์ใหญ่ทั้งสองฉบับ ซึ่งพบว่าตัวอย่างร้อยละ 55.9 ระบุเชื่อว่าเหตุผลที่มีความต้องการซื้อหุ้นหนังสือพิมพ์ยักษ์
ใหญ่ทั้งสองฉบับนั้นเกิดมาจากการนำเสนอข่าวในช่วงที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 24.6 ระบุไม่เชื่อ และร้อยละ
19.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสนใจต่อข่าวกลุ่มนายทุนซื้อหุ้นหนังสือพิมพ์มติชน
และบางกอกโพสต์
ลำดับที่ ความสนใจของประชาชน ค่าร้อยละ
1 สนใจ 76.4
2 ไม่สนใจ 13.8
3 ไม่แน่ใจ 9.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความวิตกกังวลต่อความเป็นกลางในการนำเสนอข่าวของ
สื่อมวลชน ภายหลังการซื้อหุ้นของกลุ่มนายทุน
ลำดับที่ ความวิตกกังวลของประชาชน ค่าร้อยละ
1 วิตกกังวล 64.1
2 ไม่วิตกกังวล 22.4
3 ไม่มีความเห็น 13.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่ามีเบื้องหน้าเบื้องหลังหรือไม่ในการซื้อหุ้นครั้งนี้
ของกลุ่มนายทุน
ลำดับที่ ความเชื่อของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีเบื้องหน้าเบื้องหลัง 60.8
2 ไม่เชื่อว่ามี 21.6
3 ไม่มีความเห็น 17.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่ามีความพยายามของฝ่ายการเมืองที่จะเข้า
แทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชนหรือไม่
ลำดับที่ ความเชื่อของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามี 72.7
2 ไม่เชื่อว่ามี 17.1
3 ไม่มีความเห็น 10.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อการซื้อขายหุ้นของหนังสือพิมพ์มติชนและ
บางกอกโพสต์โดยกลุ่มทุนด้านธุรกิจบันเทิง
ลำดับที่ ทัศนคติของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะเป็นเรื่องของการทำธุรกิจ/ เป็นสิทธิของผู้เป็นเจ้าของเงินลงทุน /
เป็นเรื่องปกติธรรมดาของธุรกิจ เป็นต้น 19.2
2 ไม่เห็นด้วย เพราะเกรงว่าจะเกิดความไม่เป็นกลางในการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวกับ
กลุ่มเจ้าของทุน / เกรงว่าสื่อมวลชนจะถูกการเมืองแทรกแซงได้ง่าย /
อาจกระทบต่อความไม่น่าเชื่อถือของสื่อ เป็นต้น 68.5
3 ไม่มีความเห็น 12.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อต่อเหตุผลที่มีความต้องการซื้อหุ้นหนังสือพิมพ์
ยักษ์ใหญ่ทั้งสองฉบับเกิดมาจากการนำเสนอข่าวในช่วงที่ผ่านมาหรือไม่
ลำดับที่ ความเชื่อของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อ 55.9
2 ไม่เชื่อ 24.6
3 ไม่มีความเห็น 19.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
จากข่าวกลุ่มทุนธุรกิจด้านบันเทิงเข้ามาซื้อหุ้น และเป็นหุ้นส่วนใหญ่ในสื่อสิ่งพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของเมืองไทยถึง
สองฉบับ ได้แก่ หนังสือพิมพ์มติชนและหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ นั้น สร้างกระแสความสนใจให้เกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย
ทุกฝ่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อมวลชนแขนงต่างๆ ได้จับประเด็นนี้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กันในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้ง
ในเรื่องความพยายามของฝ่ายการเมืองที่จะเข้ามาแทรกแซงการทำงานของสื่อ ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงประเด็นความมี
เบื้องหน้าเบื้องหลังในการดำเนินธุรกิจซื้อขายดังกล่าวด้วย
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์
จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงประเด็นความคิดเห็นที่มีต่อประเด็นสำคัญต่างที่เกี่ยวข้อง
กับกรณีดังกล่าว โดยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตาม
หลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจทัศนคติและความคิดเห็นของประชาชนต่อการซื้อขายหุ้นของหนังสือพิมพ์มติชนและบางกอกโพสต์
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “สำรวจ
ทรรศนะของประชาชนต่อกรณีซื้อขายหุ้นหนังสือพิมพ์มติชนและบางกอกโพสต์:กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 12-13 กันยายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified
Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้า
หมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,547 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 52.5 เป็นหญิง ร้อยละ 47.5
เป็นชาย ตัวอย่างร้อยละ 25.8 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อย
ละ 21.1 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี ร้อยละ 20.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 10.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 72.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 23.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และ ร้อยละ 4.3 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 23.0 ระบุอาชีพ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 21.9 ระบุเป็นพนักงาน
บริษัทเอกชน ร้อยละ 19.3 ระบุอาชีพเกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 11.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/
พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 12.6 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 7.9 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/
เกษียณอายุ ในขณะที่ร้อยละ 3.8 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ/ว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผลสำรวจ เรื่อง “สำรวจทรรศนะของประชาชนต่อกรณี
ซื้อขายหุ้นหนังสือพิมพ์มติชนและบางกอกโพสต์: กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ในครั้งนี้ มี
ขนาดตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 1,547 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 12 - 13 กันยายน 2548
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ผลการสำรวจความสนใจของตัวอย่างต่อข่าวกลุ่มนายทุนซื้อหุ้นหนังสือพิมพ์มติชนและบางกอกโพสต์พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 76.4 ระบุสนใจติดตามข่าวดังกล่าว ร้อยละ 13.8 ระบุไม่สนใจ และร้อยละ 9.8 ระบุไม่แน่ใจ
เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความวิตกกังวลต่อความเป็นกลางในการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน
ภายหลังการซื้อหุ้นของกลุ่มนายทุนนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 64.1 ระบุรู้สึกวิตกกังวล ในขณะที่ร้อยละ 22.4 ระบุไม่
วิตกกังวล และร้อยละ 13.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการซื้อหุ้น
ในครั้งนี้ของกลุ่มนายทุน พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 60.8 เชื่อว่ามีเบื้องหน้าเบื้องหลังในการซื้อหุ้นครั้งนี้ ร้อยละ
21.6 ไม่เชื่อว่ามี และร้อยละ 17.6 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญต่อมาที่ค้นพบจากผลสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ คือความคิดเห็นของตัวอย่างต่อฝ่าย
การเมืองในการพยายามเข้าไปแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 72.7 ระบุเชื่อว่ามี
ความพยายามของฝ่ายการเมืองที่จะเข้าไปแทรกแซง ในขณะที่ร้อยละ 17.1 ระบุไม่เชื่อว่ามี และร้อยละ 10.2 ไม่
ระบุความคิดเห็น
นอกจากนี้ ผลการสำรวจทัศนคติของประชาชนที่มีต่อการซื้อขายหุ้นของหนังสือพิมพ์มติชนและ
บางกอกโพสต์ โดยกลุ่มทุนด้านธุรกิจบันเทิง นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 68.5 ระบุไม่เห็นด้วยกับการซื้อ
ขายดังกล่าว เพราะเกรงว่าจะเกิดความไม่เป็นกลางในการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวกับกลุ่มเจ้าของทุน และเกรงว่าสื่อ
มวลชนจะถูกการเมืองแทรกแซงได้ง่าย รวมทั้งอาจกระทบต่อความไม่น่าเชื่อถือของสื่อได้ อย่างไรก็ตามตัวอย่าง
ร้อยละ 19.2 ระบุเห็นด้วยกับการซื้อขายดังกล่าวโดยให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องของการทำธุรกิจ/ เป็นสิทธิของผู้เป็น
เจ้าของเงินลงทุน / เป็นเรื่องปกติธรรมดาของธุรกิจ เป็นต้น ในขณะที่ร้อยละ 12.3 ไม่ระบุความคิดเห็นต่อกรณี
ดังกล่าว
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาอย่างยิ่ง คือความคิดเห็นของตัวอย่างต่อเหตุผลที่มีความต้องการซื้อหุ้นหนังสือ
พิมพ์ยักษ์ใหญ่ทั้งสองฉบับ ซึ่งพบว่าตัวอย่างร้อยละ 55.9 ระบุเชื่อว่าเหตุผลที่มีความต้องการซื้อหุ้นหนังสือพิมพ์ยักษ์
ใหญ่ทั้งสองฉบับนั้นเกิดมาจากการนำเสนอข่าวในช่วงที่ผ่านมา ในขณะที่ร้อยละ 24.6 ระบุไม่เชื่อ และร้อยละ
19.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสนใจต่อข่าวกลุ่มนายทุนซื้อหุ้นหนังสือพิมพ์มติชน
และบางกอกโพสต์
ลำดับที่ ความสนใจของประชาชน ค่าร้อยละ
1 สนใจ 76.4
2 ไม่สนใจ 13.8
3 ไม่แน่ใจ 9.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความวิตกกังวลต่อความเป็นกลางในการนำเสนอข่าวของ
สื่อมวลชน ภายหลังการซื้อหุ้นของกลุ่มนายทุน
ลำดับที่ ความวิตกกังวลของประชาชน ค่าร้อยละ
1 วิตกกังวล 64.1
2 ไม่วิตกกังวล 22.4
3 ไม่มีความเห็น 13.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่ามีเบื้องหน้าเบื้องหลังหรือไม่ในการซื้อหุ้นครั้งนี้
ของกลุ่มนายทุน
ลำดับที่ ความเชื่อของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีเบื้องหน้าเบื้องหลัง 60.8
2 ไม่เชื่อว่ามี 21.6
3 ไม่มีความเห็น 17.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่ามีความพยายามของฝ่ายการเมืองที่จะเข้า
แทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชนหรือไม่
ลำดับที่ ความเชื่อของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามี 72.7
2 ไม่เชื่อว่ามี 17.1
3 ไม่มีความเห็น 10.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ทัศนคติต่อการซื้อขายหุ้นของหนังสือพิมพ์มติชนและ
บางกอกโพสต์โดยกลุ่มทุนด้านธุรกิจบันเทิง
ลำดับที่ ทัศนคติของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย เพราะเป็นเรื่องของการทำธุรกิจ/ เป็นสิทธิของผู้เป็นเจ้าของเงินลงทุน /
เป็นเรื่องปกติธรรมดาของธุรกิจ เป็นต้น 19.2
2 ไม่เห็นด้วย เพราะเกรงว่าจะเกิดความไม่เป็นกลางในการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวกับ
กลุ่มเจ้าของทุน / เกรงว่าสื่อมวลชนจะถูกการเมืองแทรกแซงได้ง่าย /
อาจกระทบต่อความไม่น่าเชื่อถือของสื่อ เป็นต้น 68.5
3 ไม่มีความเห็น 12.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อต่อเหตุผลที่มีความต้องการซื้อหุ้นหนังสือพิมพ์
ยักษ์ใหญ่ทั้งสองฉบับเกิดมาจากการนำเสนอข่าวในช่วงที่ผ่านมาหรือไม่
ลำดับที่ ความเชื่อของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อ 55.9
2 ไม่เชื่อ 24.6
3 ไม่มีความเห็น 19.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-