แท็ก
เอแบคโพลล์
ที่มาของโครงการ
ขณะที่การหาเสียงเลือกตั้งกำลังมีความเข้มข้นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่างจับตามองลักษณะและรูปแบบการหาเสียงของพรรคการเมืองอย่างใกล้ชิด เพราะกิจกรรมต่างๆ ในการหาเสียงจะติดต่อสัมพันธ์กับประชาชนโดยตรง ดังนั้นการทำโพลล์สะท้อนความรู้สึกนึกคิดของประชาชนต่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองจึงน่าจะเป็นประโยชน์ ทำให้ฝ่ายการเมืองสามารถนำข้อมูลที่ค้นพบไปประกอบการพิจารณาตัดสินใจปรับปรุงยุทธศาสตร์การหาเสียงให้สอดคล้องและได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ก่อนวันเลือกตั้ง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครปละปริมณฑล ถึงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความรู้สึกนึกคิดของประชาชนต่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมือง
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการรณรงค์หาเสียงของพรรคการเมือง : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 14 — 15 มกราคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,281 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่าง
ร้อยละ 52.4 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 47.6 เป็นเพศชาย
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 28.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
ร้อยละ 25.1 อายุ 30 — 39 ปี
ร้อยละ 20.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 19.3 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
และร้อยละ 6.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 73.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 22.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 4.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 27.8 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 18.6 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 16.6 ค้าขาย/อาชีพอิสระ
ร้อยละ 10.9 ระบุอาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.7 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา
ร้อยละ 15.4 ระบุอื่นๆ อาทิ แม่บ้าน เกษียณอายุ เกษตรกร
ในขณะที่ร้อยละ 4.0 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวเลือกตั้ง
ลำดับที่ การติดตามข่าวเลือกตั้งของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ติดตามข่าวอย่างต่อเนื่อง 44.2
2 ติดตามบ้างเป็นบางครั้ง 46.7
3 ไม่ได้ติดตาม 9.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ต่อข่าวการสังหารหัวคะแนนของพรรคการเมือง
ลำดับที่ การรับรู้ข่าวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทราบ 78.3
2 ไม่ทราบ 21.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อต่อความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือก ตั้ง
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าจะรุนแรงมากขึ้น 82.1
2 ไม่เชื่อว่าจะรุนแรงมากขึ้น 7.1
3 ไม่มีความเห็น 10.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่ามีการใช้ข้าราชการประจำช่วยหาเสียงเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีการใช้ข้าราชการประจำช่วยหาเสียงจริง 61.9
2 ไม่เชื่อ 24.5
3 ไม่มีความเห็น 13.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีหลังจากมีข่าวใช้อำนาจรัฐช่วยรณรงค์
หาเสียงเลือกตั้ง
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีในทรรศนะของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เสียภาพลักษณ์ 47.1
2 ไม่เสีย 34.2
3 ไม่มีความเห็น 18.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อการทำหน้าที่ดูแลจัดการการเลือกตั้งโดย กกต.
ให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย บริสุทธิ์ยุติธรรม
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 11.8
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 36.9
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 38.2
4 ไม่เชื่อมั่น 13.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อต่อคำพูดของนักการเมืองในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อคำพูดของนักการเมือง 20.7
2 เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง 43.8
3 ไม่เชื่อ 25.1
4 ไม่มีความเห็น 10.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง 33.7
2 ไม่เชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง 55.2
3 ไม่มีความเห็น 11.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่าคุณภาพชีวิตจะดีขึ้นหรือไม่ภายหลังการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าคุณภาพชีวิตจะดีขึ้น 29.2
2 เหมือนเดิม 41.2
3 แย่ลง 16.1
4 ไม่มีความเห็น 13.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจของตัวอย่างต่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งโดยรวม
ลำดับที่ ความพอใจของตัวอย่างต่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งโดยรวม ค่าร้อยละ
1 พอใจ 42.6
2 ไม่พอใจ เพราะ...มีการใช้อำนาจรัฐเพื่อเอาเปรียบคู่แข่ง / มีการใช้ความรุนแรง / มีการทำลายป้ายหาเสียงของกันและกัน / มีป้ายหาเสียงเยอะมากเกินไปไม่เป็นระเบียบและเป็นมลพิษทางสายตา / มีการกดดันให้ข้าราชการวางตัวไม่เป็นกลาง / มีการซื้อสิทธิขายเสียง / มีแต่การใช้อิทธิพลข่มขู่ / ยังไม่เห็นความจริงใจของนักการเมือง / เอาแต่พูดดีไม่เห็นผลว่าดีอย่างที่พูด เป็นต้น 45.2
3 ไม่มีความเห็น 12.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการรณรงค์หาเสียงของพรรคการเมือง” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,281ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 14-15 มกราคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยของเอแบคโพลล์ ได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการรณรงค์หาเสียงของพรรคการเมือง ในประเด็นการรับรู้รับทราบของตัวอย่างต่อข่าวการสังหารหัวคะแนนของพรรคการเมือง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 78.3 ระบุรับทราบข่าวดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 21.7 ระบุไม่รับทราบ
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึง ความเชื่อต่อความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 82.1 ระบุเชื่อว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 7.1 ไม่เชื่อว่าจะรุนแรงมากขึ้น และร้อยละ 10.8 ไม่ระบุความคิดเห็น และตัวอย่างร้อยละ 61.9 ระบุเชื่อว่ามีการใช้ข้าราชการประจำช่วยในการหาเสียงจริง ในขณะที่ร้อยละ 24.5 ระบุไม่เชื่อ ร้อยละ 13.6 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีหลังจากมีข่าวใช้อำนาจรัฐช่วยรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.1 ระบุทำให้นายกรัฐมนตรีเสียภาพลักษณ์ ในขณะที่ร้อยละ 34.2 ระบุไม่เสียภาพลักษณ์ และร้อยละ 18.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่ค้นพบจากผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ก็คือ ความเชื่อมั่นของตัวอย่างที่มีต่อการทำหน้าที่ดูแลจัดการการเลือกตั้งโดย กกต.ให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยบริสุทธิ์ยุติธรรม ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 11.8 ระบุมีความเชื่อมั่นต่อ กกต. ร้อยละ 36.9 ระบุค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 38.2 ระบุไม่ค่อยเชื่อมั่น และร้อยละ 13.1 ระบุไม่เชื่อมั่นในการทำงานของ กกต. สำหรับความเชื่อของตัวอย่างต่อคำพูดของนักการเมืองในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 20.7 ระบุเชื่อคำพูดของนักการเมือง ร้อยละ 43.8 ระบุเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง ร้อยละ 25.1 ระบุไม่เชื่อ และร้อยละ 10.4 ไม่ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึง ความเชื่อของตัวอย่างต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้ง พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 55.2 ระบุไม่เชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 33.7 ระบุเชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง และร้อยละ 11.1 ไม่ระบุความคิดเห็น และเมื่อคณะผู้วิจัยสอบถามตัวอย่างต่อไปถึงคุณภาพชีวิตหลังการเลือกตั้งนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 29.2 ระบุเชื่อว่าคุณภาพชีวิตจะดีขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 41.2 ระบุเหมือนเดิม ร้อยละ 16.1 ระบุคุณภาพชีวิตจะแย่ลง และร้อยละ 13.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้าย เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความพอใจต่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งโดยรวม นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 42.5 ระบุมีความพอใจ ในขณะที่ร้อยละ 45.2 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 12.2 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ ตัวอย่างที่ระบุไม่พอใจได้ให้เหตุผลสำคัญส่วนหนึ่งคือ มีการใช้อำนาจรัฐเพื่อเอาเปรียบคู่แข่ง / มีการใช้ความรุนแรง / มีการทำลายป้ายหาเสียงของกันและกัน / มีป้ายหาเสียงเยอะมากเกินไปไม่เป็นระเบียบและเป็นมลพิษทางสายตา / มีการกดดันให้ข้าราชการวางตัวไม่เป็นกลาง เป็นต้น
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ขณะที่การหาเสียงเลือกตั้งกำลังมีความเข้มข้นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่างจับตามองลักษณะและรูปแบบการหาเสียงของพรรคการเมืองอย่างใกล้ชิด เพราะกิจกรรมต่างๆ ในการหาเสียงจะติดต่อสัมพันธ์กับประชาชนโดยตรง ดังนั้นการทำโพลล์สะท้อนความรู้สึกนึกคิดของประชาชนต่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองจึงน่าจะเป็นประโยชน์ ทำให้ฝ่ายการเมืองสามารถนำข้อมูลที่ค้นพบไปประกอบการพิจารณาตัดสินใจปรับปรุงยุทธศาสตร์การหาเสียงให้สอดคล้องและได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ก่อนวันเลือกตั้ง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครปละปริมณฑล ถึงความคิดเห็นต่อสถานการณ์ดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความรู้สึกนึกคิดของประชาชนต่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมือง
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการรณรงค์หาเสียงของพรรคการเมือง : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 14 — 15 มกราคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,281 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่าง
ร้อยละ 52.4 เป็นเพศหญิง
ร้อยละ 47.6 เป็นเพศชาย
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 28.7 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี
ร้อยละ 25.1 อายุ 30 — 39 ปี
ร้อยละ 20.9 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 19.3 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี
และร้อยละ 6.0 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ซึ่งตัวอย่าง ร้อยละ 73.5 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 22.4 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 4.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 27.8 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 18.6 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 16.6 ค้าขาย/อาชีพอิสระ
ร้อยละ 10.9 ระบุอาชีพข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 6.7 ระบุเป็นนักเรียนนักศึกษา
ร้อยละ 15.4 ระบุอื่นๆ อาทิ แม่บ้าน เกษียณอายุ เกษตรกร
ในขณะที่ร้อยละ 4.0 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การติดตามข่าวเลือกตั้ง
ลำดับที่ การติดตามข่าวเลือกตั้งของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ติดตามข่าวอย่างต่อเนื่อง 44.2
2 ติดตามบ้างเป็นบางครั้ง 46.7
3 ไม่ได้ติดตาม 9.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ต่อข่าวการสังหารหัวคะแนนของพรรคการเมือง
ลำดับที่ การรับรู้ข่าวของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ทราบ 78.3
2 ไม่ทราบ 21.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อต่อความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือก ตั้ง
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าจะรุนแรงมากขึ้น 82.1
2 ไม่เชื่อว่าจะรุนแรงมากขึ้น 7.1
3 ไม่มีความเห็น 10.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่ามีการใช้ข้าราชการประจำช่วยหาเสียงเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่ามีการใช้ข้าราชการประจำช่วยหาเสียงจริง 61.9
2 ไม่เชื่อ 24.5
3 ไม่มีความเห็น 13.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีหลังจากมีข่าวใช้อำนาจรัฐช่วยรณรงค์
หาเสียงเลือกตั้ง
ลำดับที่ ภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีในทรรศนะของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เสียภาพลักษณ์ 47.1
2 ไม่เสีย 34.2
3 ไม่มีความเห็น 18.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อมั่นต่อการทำหน้าที่ดูแลจัดการการเลือกตั้งโดย กกต.
ให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย บริสุทธิ์ยุติธรรม
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 11.8
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 36.9
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 38.2
4 ไม่เชื่อมั่น 13.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อต่อคำพูดของนักการเมืองในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อคำพูดของนักการเมือง 20.7
2 เชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง 43.8
3 ไม่เชื่อ 25.1
4 ไม่มีความเห็น 10.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง 33.7
2 ไม่เชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง 55.2
3 ไม่มีความเห็น 11.1
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเชื่อว่าคุณภาพชีวิตจะดีขึ้นหรือไม่ภายหลังการเลือกตั้ง
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อว่าคุณภาพชีวิตจะดีขึ้น 29.2
2 เหมือนเดิม 41.2
3 แย่ลง 16.1
4 ไม่มีความเห็น 13.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพอใจของตัวอย่างต่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งโดยรวม
ลำดับที่ ความพอใจของตัวอย่างต่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งโดยรวม ค่าร้อยละ
1 พอใจ 42.6
2 ไม่พอใจ เพราะ...มีการใช้อำนาจรัฐเพื่อเอาเปรียบคู่แข่ง / มีการใช้ความรุนแรง / มีการทำลายป้ายหาเสียงของกันและกัน / มีป้ายหาเสียงเยอะมากเกินไปไม่เป็นระเบียบและเป็นมลพิษทางสายตา / มีการกดดันให้ข้าราชการวางตัวไม่เป็นกลาง / มีการซื้อสิทธิขายเสียง / มีแต่การใช้อิทธิพลข่มขู่ / ยังไม่เห็นความจริงใจของนักการเมือง / เอาแต่พูดดีไม่เห็นผลว่าดีอย่างที่พูด เป็นต้น 45.2
3 ไม่มีความเห็น 12.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร. ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่าผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการรณรงค์หาเสียงของพรรคการเมือง” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,281ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 14-15 มกราคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
เมื่อคณะผู้วิจัยของเอแบคโพลล์ ได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการรณรงค์หาเสียงของพรรคการเมือง ในประเด็นการรับรู้รับทราบของตัวอย่างต่อข่าวการสังหารหัวคะแนนของพรรคการเมือง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 78.3 ระบุรับทราบข่าวดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 21.7 ระบุไม่รับทราบ
และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างต่อไปถึง ความเชื่อต่อความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 82.1 ระบุเชื่อว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 7.1 ไม่เชื่อว่าจะรุนแรงมากขึ้น และร้อยละ 10.8 ไม่ระบุความคิดเห็น และตัวอย่างร้อยละ 61.9 ระบุเชื่อว่ามีการใช้ข้าราชการประจำช่วยในการหาเสียงจริง ในขณะที่ร้อยละ 24.5 ระบุไม่เชื่อ ร้อยละ 13.6 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ผลสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อภาพลักษณ์ของนายกรัฐมนตรีหลังจากมีข่าวใช้อำนาจรัฐช่วยรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 47.1 ระบุทำให้นายกรัฐมนตรีเสียภาพลักษณ์ ในขณะที่ร้อยละ 34.2 ระบุไม่เสียภาพลักษณ์ และร้อยละ 18.7 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่ค้นพบจากผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ก็คือ ความเชื่อมั่นของตัวอย่างที่มีต่อการทำหน้าที่ดูแลจัดการการเลือกตั้งโดย กกต.ให้เป็นไปอย่างเรียบร้อยบริสุทธิ์ยุติธรรม ซึ่งพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 11.8 ระบุมีความเชื่อมั่นต่อ กกต. ร้อยละ 36.9 ระบุค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 38.2 ระบุไม่ค่อยเชื่อมั่น และร้อยละ 13.1 ระบุไม่เชื่อมั่นในการทำงานของ กกต. สำหรับความเชื่อของตัวอย่างต่อคำพูดของนักการเมืองในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 20.7 ระบุเชื่อคำพูดของนักการเมือง ร้อยละ 43.8 ระบุเชื่อครึ่งไม่เชื่อครึ่ง ร้อยละ 25.1 ระบุไม่เชื่อ และร้อยละ 10.4 ไม่ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตาม เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึง ความเชื่อของตัวอย่างต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้ง พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 55.2 ระบุไม่เชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 33.7 ระบุเชื่อว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง และร้อยละ 11.1 ไม่ระบุความคิดเห็น และเมื่อคณะผู้วิจัยสอบถามตัวอย่างต่อไปถึงคุณภาพชีวิตหลังการเลือกตั้งนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 29.2 ระบุเชื่อว่าคุณภาพชีวิตจะดีขึ้นภายหลังการเลือกตั้ง ในขณะที่ร้อยละ 41.2 ระบุเหมือนเดิม ร้อยละ 16.1 ระบุคุณภาพชีวิตจะแย่ลง และร้อยละ 13.5 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้าย เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความพอใจต่อการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งโดยรวม นั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 42.5 ระบุมีความพอใจ ในขณะที่ร้อยละ 45.2 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 12.2 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ ตัวอย่างที่ระบุไม่พอใจได้ให้เหตุผลสำคัญส่วนหนึ่งคือ มีการใช้อำนาจรัฐเพื่อเอาเปรียบคู่แข่ง / มีการใช้ความรุนแรง / มีการทำลายป้ายหาเสียงของกันและกัน / มีป้ายหาเสียงเยอะมากเกินไปไม่เป็นระเบียบและเป็นมลพิษทางสายตา / มีการกดดันให้ข้าราชการวางตัวไม่เป็นกลาง เป็นต้น
--เอแบคโพลล์--
-พห-