แท็ก
เอแบคโพลล์
ที่มาของโครงการ
จากข่าวคนร้ายบุกเข้าไปแทงนักเรียนในโรงเรียนเซ็นต์โยเซฟคอนแวนต์เมื่อช่วงเช้าวันศุกร์ที่ผ่านมานั้น
สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนที่ติดตามข่าว เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนขวัญประชาชนโดยเฉพาะเด็กนัก
เรียนเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะสามารถคลี่คลายคดี และติดตามจับกุม คน
ร้ายมาได้แล้วก็ตาม แต่สิ่งที่ทุกฝ่ายต่างวิตกกังวลถึง ก็คืออาจจะเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้ขึ้นได้อีก และอาจเกิดความสูญ
เสียมากขึ้นกว่าเดิม จึงเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างแพร่หลายถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยของ โรงเรียนที่มี
อยู่ในปัจจุบันว่าจะสามารถดูแลป้องกัน และให้ความปลอดภัยของเด็กนักเรียนในโรงเรียนได้มากน้อยเพียงใด
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์
จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกี่ยวกับทัศนคติและความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็น
สำคัญดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลัก
วิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ต่อเหตุการณ์คนร้ายบุกเข้าแทงนักเรียนเซ็นต์โยเซฟ
คอนแวนต์
2. เพื่อสำรวจความมั่นใจของประชาชน ต่อความปลอดภัยของเด็กนักเรียนในโรงเรียน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมสำหรับโรงเรียน/
สถานศึกษา
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “อุทาหรณ์จากโรง
เรียนเซ็นต์โยเซฟคอนแวนต์ กับปัจจัยเสี่ยงต่อเหตุการณ์เลียนแบบในโรงเรียนอื่น : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10-11 กันยายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการ
ทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,403 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 53.3 เป็นหญิง ร้อยละ 46.7 เป็น
ชาย ตัวอย่างร้อยละ 24.3 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ
22.1 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี ร้อยละ 20.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 9.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 71.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รองลงมาคือร้อยละ 24.8 สำเร็จการศึกษา
ปริญญาตรี และร้อยละ 3.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตัวอย่างออกตามอาชีพประจำ
ที่ทำอยู่นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 31.5 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว รองลงมาคือ ร้อยละ 21.0 ระบุอาชีพ
พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 19.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 10.5 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 11.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 4.5 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ
2.3 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาบทสรุปประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผลสำรวจเรื่อง “อุทาหรณ์จากโรงเรียน
เซ็นต์โยเซฟคอนแวนต์ กับปัจจัยเสี่ยงต่อเหตุการณ์เลียนแบบในโรงเรียนอื่น” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็น
จากตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวนทั้งสิ้น 1,403 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 10-11 กันยายน 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลการสำรวจการติดตามข่าวคนร้ายบุกเข้าไปแทงนักเรียนในโรงเรียนเซ็นต์โยเซฟคอนแวนต์พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 94.7 ระบุติดตามข่าวดังกล่าว ในขณะที่มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 5.3 ระบุไม่ได้ติดตาม ทั้งนี้
ตัวอย่างได้ระบุบุคคล/หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการคลี่คลายคดีที่รู้สึกชื่นชม ได้แก่ พลเมืองดีผู้แจ้งเบาะแสคนร้าย
(ร้อยละ 67.2 ) รองลงมาคือเจ้าหน้าที่ตำรวจ (ร้อยละ 63.7) สื่อมวลชนที่นำเสนอข่าว (ร้อยละ 60.6)
แพทย์/พยาบาลของโรงพยาบาลบีเอ็นเอช (ร้อยละ 47.9) และ ครู/นักเรียนของโรงเรียนเซ็นต์โยเซฟคอนแวนต์
(ร้อยละ 44.2) ตามลำดับ
นอกจากนี้ ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ยังพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าสองในสาม คือร้อยละ 85.1 ระบุ
ว่า ตนเองรู้สึกวิตกกังวลว่าอาจจะเกิดเหตุการณ์เลียนแบบทำนองนี้ในโรงเรียนอื่นๆ ในขณะที่ร้อยละ 9.0 ระบุไม่
วิตกกังวล และร้อยละ 5.9 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ตัวอย่างได้แสดงทรรศนะถึงปัจจัยเสี่ยงที่อาจนำไปสูการ
เกิด เหตุการณ์เลียนแบบทำนองนี้ขึ้นอีก ดังนี้ ร้อยละ 74.2 ระบุความประมาทและไม่เข้มงวดในการป้องกันของ
แต่ละโรงเรียน ร้อยละ 68.3 ระบุความง่ายในการหาและได้มาซึ่งอาวุธ เช่น มีด ปืน วัตถุระเบิด ร้อยละ
64.4 ระบุ ความล้มเหลวในการจัดการแก้ปัญหาชีวิตส่วนตัวของคน ร้อยละ 61.5 ระบุช่องว่างในความสัมพันธ์
ของคนในครอบครัว และร้อยละ 59.3 ระบุสื่อต่างๆ ที่นำเสนอภาพยนตร์/ละครที่ใช้ความรุนแรง ตามลำดับ
สำหรับผลสำรวจความมั่นใจของตัวอย่างที่มีต่อระบบรักษาความปลอดภัยในโรงเรียน/สถานศึกษาต่างๆใน
ปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าสองในสามระบุไม่ค่อยมั่นใจ/ไม่มั่นใจในระบบรักษาความปลอดภัยที่มีอยู่ในปัจจุบัน
(ร้อยละ 25.2 ระบุไม่ค่อยมั่นใจ และร้อยละ 48.6 ระบุไม่มั่นใจ) ในขณะที่มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 10.4 ที่ระบุมั่น
ใจ ร้อยละ 9.9 ระบุค่อนข้างมั่นใจ และร้อยละ 5.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาได้แก่ มาตรการรักษาความปลอดภัยในโรงเรียน/สถานศึกษาต่างๆ ซึ่งผลการ
สำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 71.1 ระบุโรงเรียน/สถานศึกษาต่างๆควรมีป้อมยามของเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ในบริเวณ
โรงเรียน/หน้าโรงเรียน รองลงมาคือร้อยละ 67.5 ระบุควรมีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำอยู่ในโรงเรียนทุกวัน ร้อยละ
64.5 ระบุควรเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของโรงเรียนให้มากขึ้น ร้อยละ 63.8 ระบุไม่อนุญาตให้
บุคคลภายนอกเข้ามาภายในโรงเรียน และร้อยละ 62.9 ระบุให้มีการตรวจตราเรื่องคนเข้าออกในโรงเรียน
อย่าง เข้มงวด ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ ได้แก่ทรรศนะของตัวอย่างต่อสาเหตุของความ
รุนแรงต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน ซึ่งผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 78.6 ระบุความเอื้ออาทรและความ
เป็นมิตรของคนไทยลดน้อยลง รองลงมาคือร้อยละ 73.2 ระบุความประมาท ความไม่เข้มงวดในการป้องกัน
ปัญหา ร้อยละ 62.8 ระบุความล้มเหลวในการควบคุมสารเสพติดและเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ร้อยละ 61.1 ระบุ
การบังคับใช้กฎหมายในการป้องกันความรุนแรงไม่มีประสิทธิภาพ และร้อยละ 59.9 ระบุสภาพสังคมที่เจริญทางด้าน
วัตถุมากกว่าจิตใจ (ระบบทุนนิยม) ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดประเด็นสำคัญดังตารางดังต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวคนร้ายบุกเข้าไปแทงนักเรียนในโรงเรียน
เซ็นต์โยเซฟคอนแวนต์หรือไม่
ลำดับที่ การติดตามข่าวคนร้ายบุกเข้าไปแทงนักเรียนในโรงเรียนเซ็นต์โยเซฟคอนแวนต์หรือไม่ ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 94.7
2 ไม่ได้ติดตาม 5.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคล/หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคลี่คลายคดีคนร้าย
แทงนักเรียนเซ็นต์โยเซฟคอนแวนต์ ที่รู้สึกชื่นชม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคล/หน่วยงานที่รู้สึกชื่นชม ค่าร้อยละ
1 พลเมืองดีผู้แจ้งเบาะแสคนร้าย 67.2
2 เจ้าหน้าที่ตำรวจ 63.7
3 สื่อมวลชนที่นำเสนอข่าว 60.6
4 แพทย์ / พยาบาลของโรงพยาบาลบีเอ็นเอช 47.9
5 ครู/นักเรียนของโรงเรียนเซ็นต์โยเซฟคอนแวนต์ 44.2
6 มอเตอร์ไซค์รับจ้าง 25.1
7 อื่นๆ อาทิ ผู้ปกครองนักเรียน /ญาติพี่น้องของคนร้าย /
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของโรงเรียน/ผู้บริหารของโรงเรียน เป็นต้น 19.8
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี รู้สึกวิตกกังวลหรือไม่ว่าอาจจะเกิดเหตุการณ์
เลียนแบบทำนองนี้ในโรงเรียนอื่นๆ
ลำดับที่ ความรู้สึกวิตกกังวลของประชาชน ค่าร้อยละ
1 รู้สึกวิตกกังวล 85.1
2 ไม่วิตกกังวล 9.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 5.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์เลียนแบบในโรงเรียนอื่น
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยเสี่ยงในทรรศนะของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ความประมาทและไม่เข้มงวดป้องกันของแต่ละโรงเรียน 74.2
2 ความง่ายในการหาและได้มาซึ่งอาวุธ เช่น มีด ปืน วัตถุระเบิด 68.3
3 ความล้มเหลวในการจัดการแก้ปัญหาชีวิตส่วนตัวของคน 64.4
4 ช่องว่างในความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว 61.5
5 สื่อที่นำเสนอภาพยนตร์/ละคร ที่ใช้ความรุนแรง 59.3
6 เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เข้มงวดตรวจค้นอาวุธ 51.9
7 ความล้มเหลวด้านการศึกษา 50.9
8 ความไม่ใส่ใจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ 48.8
9 หน่วยงานของรัฐไม่มีประสิทธิภาพในระบบควบคุมอาวุธ 43.7
10 อื่นๆ อาทิ กระแสสังคมพาไป การใช้ยาเสพติด การไม่ควบคุม
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สังคมเสื่อมโทรม เป็นต้น 28.1
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อระบบรักษาความปลอดภัยในโรงเรียน/
สถานศึกษาต่าง ๆ ในปัจจุบัน
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อระบบรักษาความปลอดภัยในโรงเรียน/สถานศึกษาต่างๆ ในปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 10.4
2 ค่อนข้างมั่นใจ 9.9
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 25.2
4 ไม่มั่นใจ 48.6
5 ไม่มีความคิดเห็น 5.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ต้องการให้มีในโรงเรียน/
สถานศึกษาต่างๆ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ มาตรการรักษาความปลอดภัยในโรงเรียน/สถานศึกษา ค่าร้อยละ
1 ควรมีป้อมยามของเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ในบริเวณโรงเรียน/หน้าโรงเรียน 71.1
2 ควรมีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำอยู่ในโรงเรียนทุกวัน 67.5
3 ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในโรงเรียนให้มากขึ้น 64.5
4 ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้ามาภายในโรงเรียน 63.8
5 ให้มีการตรวจตราเรื่องคนเข้า-ออก ในโรงเรียนอย่างเข้มงวด 62.9
6 กำหนดเวลาในการเข้า-ออกจากโรงเรียน 58.8
7 ติดตั้งกล้องวงจรปิดในบริเวณโรงเรียน และประตูเข้า-ออก 45.2
8 อื่นๆ อาทิ ให้มีครูเวรที่ทำหน้าที่ด้านการดูแลรักษาความปลอดภัย
ภายในโรงเรียนโดยเฉพาะ/ ให้คนในชุมชนช่วยสอดส่องดูแล /
ให้คนขับมอเตอร์ไซด์ คนขับแท๊กซี่ รู้จักสังเกตความผิดปกติ เป็นต้น 37.7
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อสาเหตุของความรุนแรงต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม
ไทยปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุของเหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 ความเอื้ออาทรและความเป็นมิตรของคนไทยลดน้อยลง 78.6
2 ความประมาท ความไม่เข้มงวดป้องกันปัญหา 73.2
3 ความล้มเหลวในการควบคุมสารเสพติด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 62.8
4 การบังคับใช้กฎหมายในการป้องกันความรุนแรงไม่มีประสิทธิภาพ 61.1
5 สภาพสังคมที่เจริญทางด้านวัตถุมากกว่าจิตใจ (ระบบทุนนิยม) 59.9
6 ปัญหาอาชญากรรมต่างๆ 54.1
7 ปัญหาเรื่องการพนันและอบายมุขต่างๆ 50.1
8 สภาวะเศรษฐกิจที่ทำให้ทุกคนต้องดิ้นรนเพื่อการอยู่รอด 46.3
9 อื่นๆ อาทิ เจ้าหน้าที่รัฐไม่เอาจริงเอาจังในการป้องกันแก้ไขปัญหา
ความล้มเหลวของสถาบันครอบครัว ความไม่เข้มแข็งของชุมชน เป็นต้น 35.7
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
จากข่าวคนร้ายบุกเข้าไปแทงนักเรียนในโรงเรียนเซ็นต์โยเซฟคอนแวนต์เมื่อช่วงเช้าวันศุกร์ที่ผ่านมานั้น
สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนที่ติดตามข่าว เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนขวัญประชาชนโดยเฉพาะเด็กนัก
เรียนเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะสามารถคลี่คลายคดี และติดตามจับกุม คน
ร้ายมาได้แล้วก็ตาม แต่สิ่งที่ทุกฝ่ายต่างวิตกกังวลถึง ก็คืออาจจะเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้ขึ้นได้อีก และอาจเกิดความสูญ
เสียมากขึ้นกว่าเดิม จึงเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างแพร่หลายถึงมาตรการรักษาความปลอดภัยของ โรงเรียนที่มี
อยู่ในปัจจุบันว่าจะสามารถดูแลป้องกัน และให้ความปลอดภัยของเด็กนักเรียนในโรงเรียนได้มากน้อยเพียงใด
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์
จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกี่ยวกับทัศนคติและความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็น
สำคัญดังกล่าว ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลัก
วิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ต่อเหตุการณ์คนร้ายบุกเข้าแทงนักเรียนเซ็นต์โยเซฟ
คอนแวนต์
2. เพื่อสำรวจความมั่นใจของประชาชน ต่อความปลอดภัยของเด็กนักเรียนในโรงเรียน
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เหมาะสมสำหรับโรงเรียน/
สถานศึกษา
4. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง “อุทาหรณ์จากโรง
เรียนเซ็นต์โยเซฟคอนแวนต์ กับปัจจัยเสี่ยงต่อเหตุการณ์เลียนแบบในโรงเรียนอื่น : กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10-11 กันยายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified Cluster
Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการ
ทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,403 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล
และงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 53.3 เป็นหญิง ร้อยละ 46.7 เป็น
ชาย ตัวอย่างร้อยละ 24.3 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี ร้อยละ 23.5 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ
22.1 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี ร้อยละ 20.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป และร้อยละ 9.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 71.7 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี รองลงมาคือร้อยละ 24.8 สำเร็จการศึกษา
ปริญญาตรี และร้อยละ 3.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ทั้งนี้เมื่อพิจารณาจำแนกตัวอย่างออกตามอาชีพประจำ
ที่ทำอยู่นั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 31.5 ระบุอาชีพค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว รองลงมาคือ ร้อยละ 21.0 ระบุอาชีพ
พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 19.1 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 10.5 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ
ร้อยละ 11.1 ระบุอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 4.5 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ
2.3 ระบุว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ
โปรดพิจารณาบทสรุปประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผลสำรวจเรื่อง “อุทาหรณ์จากโรงเรียน
เซ็นต์โยเซฟคอนแวนต์ กับปัจจัยเสี่ยงต่อเหตุการณ์เลียนแบบในโรงเรียนอื่น” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็น
จากตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวนทั้งสิ้น 1,403 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการ
ระหว่างวันที่ 10-11 กันยายน 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลการสำรวจการติดตามข่าวคนร้ายบุกเข้าไปแทงนักเรียนในโรงเรียนเซ็นต์โยเซฟคอนแวนต์พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 94.7 ระบุติดตามข่าวดังกล่าว ในขณะที่มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 5.3 ระบุไม่ได้ติดตาม ทั้งนี้
ตัวอย่างได้ระบุบุคคล/หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการคลี่คลายคดีที่รู้สึกชื่นชม ได้แก่ พลเมืองดีผู้แจ้งเบาะแสคนร้าย
(ร้อยละ 67.2 ) รองลงมาคือเจ้าหน้าที่ตำรวจ (ร้อยละ 63.7) สื่อมวลชนที่นำเสนอข่าว (ร้อยละ 60.6)
แพทย์/พยาบาลของโรงพยาบาลบีเอ็นเอช (ร้อยละ 47.9) และ ครู/นักเรียนของโรงเรียนเซ็นต์โยเซฟคอนแวนต์
(ร้อยละ 44.2) ตามลำดับ
นอกจากนี้ ผลการสำรวจของเอแบคโพลล์ยังพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าสองในสาม คือร้อยละ 85.1 ระบุ
ว่า ตนเองรู้สึกวิตกกังวลว่าอาจจะเกิดเหตุการณ์เลียนแบบทำนองนี้ในโรงเรียนอื่นๆ ในขณะที่ร้อยละ 9.0 ระบุไม่
วิตกกังวล และร้อยละ 5.9 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้ตัวอย่างได้แสดงทรรศนะถึงปัจจัยเสี่ยงที่อาจนำไปสูการ
เกิด เหตุการณ์เลียนแบบทำนองนี้ขึ้นอีก ดังนี้ ร้อยละ 74.2 ระบุความประมาทและไม่เข้มงวดในการป้องกันของ
แต่ละโรงเรียน ร้อยละ 68.3 ระบุความง่ายในการหาและได้มาซึ่งอาวุธ เช่น มีด ปืน วัตถุระเบิด ร้อยละ
64.4 ระบุ ความล้มเหลวในการจัดการแก้ปัญหาชีวิตส่วนตัวของคน ร้อยละ 61.5 ระบุช่องว่างในความสัมพันธ์
ของคนในครอบครัว และร้อยละ 59.3 ระบุสื่อต่างๆ ที่นำเสนอภาพยนตร์/ละครที่ใช้ความรุนแรง ตามลำดับ
สำหรับผลสำรวจความมั่นใจของตัวอย่างที่มีต่อระบบรักษาความปลอดภัยในโรงเรียน/สถานศึกษาต่างๆใน
ปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่างเกินกว่าสองในสามระบุไม่ค่อยมั่นใจ/ไม่มั่นใจในระบบรักษาความปลอดภัยที่มีอยู่ในปัจจุบัน
(ร้อยละ 25.2 ระบุไม่ค่อยมั่นใจ และร้อยละ 48.6 ระบุไม่มั่นใจ) ในขณะที่มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 10.4 ที่ระบุมั่น
ใจ ร้อยละ 9.9 ระบุค่อนข้างมั่นใจ และร้อยละ 5.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาได้แก่ มาตรการรักษาความปลอดภัยในโรงเรียน/สถานศึกษาต่างๆ ซึ่งผลการ
สำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 71.1 ระบุโรงเรียน/สถานศึกษาต่างๆควรมีป้อมยามของเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ในบริเวณ
โรงเรียน/หน้าโรงเรียน รองลงมาคือร้อยละ 67.5 ระบุควรมีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำอยู่ในโรงเรียนทุกวัน ร้อยละ
64.5 ระบุควรเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของโรงเรียนให้มากขึ้น ร้อยละ 63.8 ระบุไม่อนุญาตให้
บุคคลภายนอกเข้ามาภายในโรงเรียน และร้อยละ 62.9 ระบุให้มีการตรวจตราเรื่องคนเข้าออกในโรงเรียน
อย่าง เข้มงวด ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจในครั้งนี้ ได้แก่ทรรศนะของตัวอย่างต่อสาเหตุของความ
รุนแรงต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน ซึ่งผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 78.6 ระบุความเอื้ออาทรและความ
เป็นมิตรของคนไทยลดน้อยลง รองลงมาคือร้อยละ 73.2 ระบุความประมาท ความไม่เข้มงวดในการป้องกัน
ปัญหา ร้อยละ 62.8 ระบุความล้มเหลวในการควบคุมสารเสพติดและเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ร้อยละ 61.1 ระบุ
การบังคับใช้กฎหมายในการป้องกันความรุนแรงไม่มีประสิทธิภาพ และร้อยละ 59.9 ระบุสภาพสังคมที่เจริญทางด้าน
วัตถุมากกว่าจิตใจ (ระบบทุนนิยม) ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดประเด็นสำคัญดังตารางดังต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการติดตามข่าวคนร้ายบุกเข้าไปแทงนักเรียนในโรงเรียน
เซ็นต์โยเซฟคอนแวนต์หรือไม่
ลำดับที่ การติดตามข่าวคนร้ายบุกเข้าไปแทงนักเรียนในโรงเรียนเซ็นต์โยเซฟคอนแวนต์หรือไม่ ค่าร้อยละ
1 ติดตาม 94.7
2 ไม่ได้ติดตาม 5.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคล/หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการคลี่คลายคดีคนร้าย
แทงนักเรียนเซ็นต์โยเซฟคอนแวนต์ ที่รู้สึกชื่นชม (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคล/หน่วยงานที่รู้สึกชื่นชม ค่าร้อยละ
1 พลเมืองดีผู้แจ้งเบาะแสคนร้าย 67.2
2 เจ้าหน้าที่ตำรวจ 63.7
3 สื่อมวลชนที่นำเสนอข่าว 60.6
4 แพทย์ / พยาบาลของโรงพยาบาลบีเอ็นเอช 47.9
5 ครู/นักเรียนของโรงเรียนเซ็นต์โยเซฟคอนแวนต์ 44.2
6 มอเตอร์ไซค์รับจ้าง 25.1
7 อื่นๆ อาทิ ผู้ปกครองนักเรียน /ญาติพี่น้องของคนร้าย /
เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของโรงเรียน/ผู้บริหารของโรงเรียน เป็นต้น 19.8
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นกรณี รู้สึกวิตกกังวลหรือไม่ว่าอาจจะเกิดเหตุการณ์
เลียนแบบทำนองนี้ในโรงเรียนอื่นๆ
ลำดับที่ ความรู้สึกวิตกกังวลของประชาชน ค่าร้อยละ
1 รู้สึกวิตกกังวล 85.1
2 ไม่วิตกกังวล 9.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 5.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์เลียนแบบในโรงเรียนอื่น
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ปัจจัยเสี่ยงในทรรศนะของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ความประมาทและไม่เข้มงวดป้องกันของแต่ละโรงเรียน 74.2
2 ความง่ายในการหาและได้มาซึ่งอาวุธ เช่น มีด ปืน วัตถุระเบิด 68.3
3 ความล้มเหลวในการจัดการแก้ปัญหาชีวิตส่วนตัวของคน 64.4
4 ช่องว่างในความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว 61.5
5 สื่อที่นำเสนอภาพยนตร์/ละคร ที่ใช้ความรุนแรง 59.3
6 เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่เข้มงวดตรวจค้นอาวุธ 51.9
7 ความล้มเหลวด้านการศึกษา 50.9
8 ความไม่ใส่ใจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ 48.8
9 หน่วยงานของรัฐไม่มีประสิทธิภาพในระบบควบคุมอาวุธ 43.7
10 อื่นๆ อาทิ กระแสสังคมพาไป การใช้ยาเสพติด การไม่ควบคุม
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สังคมเสื่อมโทรม เป็นต้น 28.1
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อระบบรักษาความปลอดภัยในโรงเรียน/
สถานศึกษาต่าง ๆ ในปัจจุบัน
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อระบบรักษาความปลอดภัยในโรงเรียน/สถานศึกษาต่างๆ ในปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 10.4
2 ค่อนข้างมั่นใจ 9.9
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 25.2
4 ไม่มั่นใจ 48.6
5 ไม่มีความคิดเห็น 5.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ต้องการให้มีในโรงเรียน/
สถานศึกษาต่างๆ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ มาตรการรักษาความปลอดภัยในโรงเรียน/สถานศึกษา ค่าร้อยละ
1 ควรมีป้อมยามของเจ้าหน้าที่ตำรวจอยู่ในบริเวณโรงเรียน/หน้าโรงเรียน 71.1
2 ควรมีเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำอยู่ในโรงเรียนทุกวัน 67.5
3 ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยในโรงเรียนให้มากขึ้น 64.5
4 ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้ามาภายในโรงเรียน 63.8
5 ให้มีการตรวจตราเรื่องคนเข้า-ออก ในโรงเรียนอย่างเข้มงวด 62.9
6 กำหนดเวลาในการเข้า-ออกจากโรงเรียน 58.8
7 ติดตั้งกล้องวงจรปิดในบริเวณโรงเรียน และประตูเข้า-ออก 45.2
8 อื่นๆ อาทิ ให้มีครูเวรที่ทำหน้าที่ด้านการดูแลรักษาความปลอดภัย
ภายในโรงเรียนโดยเฉพาะ/ ให้คนในชุมชนช่วยสอดส่องดูแล /
ให้คนขับมอเตอร์ไซด์ คนขับแท๊กซี่ รู้จักสังเกตความผิดปกติ เป็นต้น 37.7
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อสาเหตุของความรุนแรงต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม
ไทยปัจจุบัน (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุของเหตุการณ์ความรุนแรงต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมไทยปัจจุบัน ค่าร้อยละ
1 ความเอื้ออาทรและความเป็นมิตรของคนไทยลดน้อยลง 78.6
2 ความประมาท ความไม่เข้มงวดป้องกันปัญหา 73.2
3 ความล้มเหลวในการควบคุมสารเสพติด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 62.8
4 การบังคับใช้กฎหมายในการป้องกันความรุนแรงไม่มีประสิทธิภาพ 61.1
5 สภาพสังคมที่เจริญทางด้านวัตถุมากกว่าจิตใจ (ระบบทุนนิยม) 59.9
6 ปัญหาอาชญากรรมต่างๆ 54.1
7 ปัญหาเรื่องการพนันและอบายมุขต่างๆ 50.1
8 สภาวะเศรษฐกิจที่ทำให้ทุกคนต้องดิ้นรนเพื่อการอยู่รอด 46.3
9 อื่นๆ อาทิ เจ้าหน้าที่รัฐไม่เอาจริงเอาจังในการป้องกันแก้ไขปัญหา
ความล้มเหลวของสถาบันครอบครัว ความไม่เข้มแข็งของชุมชน เป็นต้น 35.7
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-