ที่มาของโครงการ
หลังจากที่รัฐบาลได้เริ่มให้มีโครงการนำร่องบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรคใน 6 จังหวัด เมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่ง
จังหวัดปทุมธานีเป็นจังหวัดหนึ่งที่โครงการดังกล่าวถูกนำมาปฏิบัติ สำนักวิจัย เอแบค - เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ หรือเอแบคโพลล์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจความพึงพอใจต่อโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่
ใช้บัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรคกับกลุ่มผู้ป่วยอื่นๆ ในโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กในเขตจังหวัดปทุมธานี สำนักวิจัยฯ
จึงได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคม
ศาสตร์
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสำรวจความพอใจและความเชื่อมั่นของตัวอย่างประชาชนผู้เจ็บป่วยและเข้ารับการรักษาพยาบาล เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม
ผู้ป่วยที่เข้าโครงการบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรคและกลุ่มผู้ป่วยอื่นๆ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจของคณะผู้บริหารในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ตัดสินใจดำเนินการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อ
ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
เป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาอย่างลึกซึ้งในเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์หรือเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้ เรื่อง
“ศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่เข้าโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค กับกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้าโครงการ : กรณีศึกษา
ตัวอย่างผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลในเขตจังหวัดปทุมธานี” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1 - 3 เมษายน 2544
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ กลุ่มประชาชนที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลที่เข้าโครงการนำร่องบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling)
ขนาดตัวอย่าง คือ 1,140 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างผู้ป่วยที่ถูกศึกษาครั้งนี้ พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 58.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 41.3 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 25.4 ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 25.3 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
ร้อยละ 22.1 อายุ 30 - 39 ปี
ร้อยละ 20.0 อายุ 40 - 49 ปี
ในขณะที่ร้อยละ 7.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 67.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 17.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวช.
ร้อยละ 9.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 4.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา / ปวส.
และร้อยละ 0.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 33.5 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.6 เป็นแม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 10.6 เกษตรกร
ร้อยละ 8.8 ค้าขายส่วนตัว / อิสระ
ร้อยละ 7.3 เป็นนักศึกษา
ร้อยละ 6.7 รับราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.9 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ในขณะที่ร้อยละ 15.6 ไม่ระบุอาชีพ
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการใช้บัตรทองโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค
ลำดับที่ การใช้บัตรทองโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ค่าร้อยละ
1 ใช้บัตรทองโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค 14.1
2 ไม่ได้ใช้บัตรทอง 85.9
รวมทั้งสิ้น 100
เหตุผลของตัวอย่างร้อยละ 85.9 ที่ไม่ได้ใช้บัตรทองโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคในการเข้ารับการรักษาพยาบาล
เพราะไม่ใช่คนในพื้นที่
ใช้บัตรประกันสุขภาพ 500 บาท
ใช้บัตรผู้สูงอายุ
เบิกค่ารักษาพยาบาลได้
ใช้บัตรผู้มีรายได้น้อย
ใช้บัตรประกันสังคม
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความมั่นใจในคุณภาพของการรักษาภายหลังจากเข้ารับการรักษาพยาบาลแล้ว
จำแนกระหว่างผู้ป่วยที่ใช้บัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค กับผู้ป่วยที่ไม่เข้าโครงการ
ลำดับที่ ความมั่นใจของตัวอย่างต่อคุณภาพของการรักษา ผู้ป่วยบัตรทอง ผู้ป่วยอื่นๆ
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 62.8 52.5
2 ค่อนข้างมั่นใจ 24.1 31.1
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 13.1 14.7
4 ไม่มั่นใจ - 1.7
รวมทั้งสิ้น 100 100
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อการขยายโครงการบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรคครอบคลุม
ทุกจังหวัดทั่วประเทศ
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่างต่อการขยายโครงการครอบคลุม ค่าร้อยละ
1 ควร 96.7
2 ไม่ควร 3.3
รวมทั้งสิ้น 100
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะต่อโครงการบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค
(เป็นคำถามปลายเปิดและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิใช้บริการทุกโรงพยาบาล 21.9
2 ดีอยู่แล้วยังไม่ต้องปรับปรุงอะไร 21.7
3 ควรเปิดโครงการบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรคให้ครบทุกจังหวัด 21.4
4 ควรครอบคลุมการรักษาทุกโรคโดยไม่มีข้อยกเว้น 14.4
5 ปรับปรุงการให้เอาใจใส่และการให้บริการของเจ้าหน้าที่พยาบาล 12.2
6 ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้รายละเอียดมากกว่านี้ 10.4
7 ควรเพิ่มจำนวนแพทย์ 4
8 อื่นๆ อาทิ ควรมีบริการติดตามผลหลังรักษาด้วย เป็นต้น 3
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข้อควรปรับปรุงของโรงพยาบาล
(เป็นคำถามปลายเปิดและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อควรปรับปรุงที่ตัวอย่างเสนอแนะต่อโรงพยาบาล ค่าร้อยละ
1 ความล่าช้าในการให้บริการ 32.8
2 ดีอยู่แล้วไม่ต้องปรับปรุงอะไร 22.8
3 จำนวนแพทย์มีไม่เพียงพอ 16.4
3 ความไม่สะอาด 16.4
5 การพูดจาไม่ดีของเจ้าหน้าที่ 13.2
6 สถานที่คับแคบ 9.3
7 อื่นๆ อาทิ การไม่ตรงต่อเวลาของเจ้าหน้าที่ / อากาศร้อน / อาหารไม่อร่อย เป็นต้น 4.3
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจต่อโครงการบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรคของรัฐบาล
ลำดับที่ ความพอใจของตัวอย่างต่อ ผู้ป่วยบัตรทอง ผู้ป่วยอื่นๆ
โครงการบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 พอใจ 76.4 69.1
2 ค่อนข้างพอใจ 18.3 16.8
3 ไม่ค่อยพอใจ 2.1 2
4 ไม่พอใจ 0.5 1.2
5 ไม่มีความเห็น 2.7 10.9
รวมทั้งสิ้น 100 100
--เอแบคโพลล์--
หลังจากที่รัฐบาลได้เริ่มให้มีโครงการนำร่องบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรคใน 6 จังหวัด เมื่อวันที่ 1 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่ง
จังหวัดปทุมธานีเป็นจังหวัดหนึ่งที่โครงการดังกล่าวถูกนำมาปฏิบัติ สำนักวิจัย เอแบค - เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ หรือเอแบคโพลล์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจความพึงพอใจต่อโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค โดยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่
ใช้บัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรคกับกลุ่มผู้ป่วยอื่นๆ ในโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กในเขตจังหวัดปทุมธานี สำนักวิจัยฯ
จึงได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคม
ศาสตร์
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ
เพื่อสำรวจความพอใจและความเชื่อมั่นของตัวอย่างประชาชนผู้เจ็บป่วยและเข้ารับการรักษาพยาบาล เปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม
ผู้ป่วยที่เข้าโครงการบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรคและกลุ่มผู้ป่วยอื่นๆ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจของคณะผู้บริหารในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ตัดสินใจดำเนินการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อ
ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
เป็นข้อมูลสำหรับผู้ที่สนใจศึกษาอย่างลึกซึ้งในเรื่องที่เกี่ยวข้องต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์หรือเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญในครั้งนี้ เรื่อง
“ศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่เข้าโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค กับกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้เข้าโครงการ : กรณีศึกษา
ตัวอย่างผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลในเขตจังหวัดปทุมธานี” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 1 - 3 เมษายน 2544
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ กลุ่มประชาชนที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลที่เข้าโครงการนำร่องบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling)
ขนาดตัวอย่าง คือ 1,140 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้า
วิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่างผู้ป่วยที่ถูกศึกษาครั้งนี้ พบว่า
ตัวอย่างร้อยละ 58.7 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 41.3 ระบุเป็นชาย
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 25.4 ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
ร้อยละ 25.3 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
ร้อยละ 22.1 อายุ 30 - 39 ปี
ร้อยละ 20.0 อายุ 40 - 49 ปี
ในขณะที่ร้อยละ 7.2 อายุต่ำกว่า 20 ปี
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 67.9 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นหรือต่ำกว่า
ร้อยละ 17.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวช.
ร้อยละ 9.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
ร้อยละ 4.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา / ปวส.
และร้อยละ 0.4 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 33.5 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 11.6 เป็นแม่บ้าน / เกษียณอายุ
ร้อยละ 10.6 เกษตรกร
ร้อยละ 8.8 ค้าขายส่วนตัว / อิสระ
ร้อยละ 7.3 เป็นนักศึกษา
ร้อยละ 6.7 รับราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 5.9 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ในขณะที่ร้อยละ 15.6 ไม่ระบุอาชีพ
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการใช้บัตรทองโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค
ลำดับที่ การใช้บัตรทองโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ค่าร้อยละ
1 ใช้บัตรทองโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค 14.1
2 ไม่ได้ใช้บัตรทอง 85.9
รวมทั้งสิ้น 100
เหตุผลของตัวอย่างร้อยละ 85.9 ที่ไม่ได้ใช้บัตรทองโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคในการเข้ารับการรักษาพยาบาล
เพราะไม่ใช่คนในพื้นที่
ใช้บัตรประกันสุขภาพ 500 บาท
ใช้บัตรผู้สูงอายุ
เบิกค่ารักษาพยาบาลได้
ใช้บัตรผู้มีรายได้น้อย
ใช้บัตรประกันสังคม
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความมั่นใจในคุณภาพของการรักษาภายหลังจากเข้ารับการรักษาพยาบาลแล้ว
จำแนกระหว่างผู้ป่วยที่ใช้บัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค กับผู้ป่วยที่ไม่เข้าโครงการ
ลำดับที่ ความมั่นใจของตัวอย่างต่อคุณภาพของการรักษา ผู้ป่วยบัตรทอง ผู้ป่วยอื่นๆ
ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 62.8 52.5
2 ค่อนข้างมั่นใจ 24.1 31.1
3 ไม่ค่อยมั่นใจ 13.1 14.7
4 ไม่มั่นใจ - 1.7
รวมทั้งสิ้น 100 100
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเห็นต่อการขยายโครงการบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรคครอบคลุม
ทุกจังหวัดทั่วประเทศ
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่างต่อการขยายโครงการครอบคลุม ค่าร้อยละ
1 ควร 96.7
2 ไม่ควร 3.3
รวมทั้งสิ้น 100
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข้อเสนอแนะต่อโครงการบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค
(เป็นคำถามปลายเปิดและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อเสนอแนะของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิใช้บริการทุกโรงพยาบาล 21.9
2 ดีอยู่แล้วยังไม่ต้องปรับปรุงอะไร 21.7
3 ควรเปิดโครงการบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรคให้ครบทุกจังหวัด 21.4
4 ควรครอบคลุมการรักษาทุกโรคโดยไม่มีข้อยกเว้น 14.4
5 ปรับปรุงการให้เอาใจใส่และการให้บริการของเจ้าหน้าที่พยาบาล 12.2
6 ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้รายละเอียดมากกว่านี้ 10.4
7 ควรเพิ่มจำนวนแพทย์ 4
8 อื่นๆ อาทิ ควรมีบริการติดตามผลหลังรักษาด้วย เป็นต้น 3
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข้อควรปรับปรุงของโรงพยาบาล
(เป็นคำถามปลายเปิดและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข้อควรปรับปรุงที่ตัวอย่างเสนอแนะต่อโรงพยาบาล ค่าร้อยละ
1 ความล่าช้าในการให้บริการ 32.8
2 ดีอยู่แล้วไม่ต้องปรับปรุงอะไร 22.8
3 จำนวนแพทย์มีไม่เพียงพอ 16.4
3 ความไม่สะอาด 16.4
5 การพูดจาไม่ดีของเจ้าหน้าที่ 13.2
6 สถานที่คับแคบ 9.3
7 อื่นๆ อาทิ การไม่ตรงต่อเวลาของเจ้าหน้าที่ / อากาศร้อน / อาหารไม่อร่อย เป็นต้น 4.3
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจต่อโครงการบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรคของรัฐบาล
ลำดับที่ ความพอใจของตัวอย่างต่อ ผู้ป่วยบัตรทอง ผู้ป่วยอื่นๆ
โครงการบัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค ค่าร้อยละ ค่าร้อยละ
1 พอใจ 76.4 69.1
2 ค่อนข้างพอใจ 18.3 16.8
3 ไม่ค่อยพอใจ 2.1 2
4 ไม่พอใจ 0.5 1.2
5 ไม่มีความเห็น 2.7 10.9
รวมทั้งสิ้น 100 100
--เอแบคโพลล์--