เอแบคโพลล์: ภัยคุกคามทางเพศในกลุ่มผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์

ข่าวผลสำรวจ Thursday November 10, 2005 15:53 —เอแบคโพลล์

ที่มาของโครงการ
ภัยคุกคามและการล่วงละเมิดทางเพศเป็นปัญหาสังคมที่น่าวิตกกังวล เพราะเกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน ยิ่งกว่านั้น เรามักพบว่าผู้ถูกกระทำส่วน
ใหญ่เป็นผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ในขณะที่ผู้กระทำเป็นทั้งคนแปลกหน้า บุคคลใกล้ตัว หรือแม้กระทั่งบุคคลภายในครอบครัวเอง ปัญหานี้อาจกล่าวได้ว่า
เป็นเสมือนเชื้อโรคร้ายที่แพร่ระบาดอยู่ในสังคม โดยเฉพาะสังคมในเมืองใหญ่ ที่ปัจจุบันกลายเป็นสังคมที่อยู่ร่วมกันอย่างระแวดระวัง ไร้ซึ่งความ
ไว้เนื้อเชื่อใจและถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน
สำหรับคำว่า “การคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ” หมายรวมถึง การพยายามบังคับขืนใจ การลวนลามแบบ ถูกเนื้อต้องตัว การพูดจา
โอ้โลมด้วยถ้อยคำลามกทั้งแบบซึ่งหน้า ทางโทรศัพท์ และทางอินเทอร์เน็ต (Chat) การแอบ ถ่ายภาพในอิริยาบถหรือสถานที่ส่วนตัวที่ไม่ควรเปิดเผย
เป็นต้น เราจะเห็นได้ว่าการคุกคามทางเพศบางลักษณะเป็น เรื่องที่ใกล้ตัวและเกิดขึ้นได้ง่ายในยุคที่การพัฒนาวัตถุกับการพัฒนาจิตใจเกิดช่องว่างขนาน
ใหญ่อย่างเช่นปัจจุบันนี้
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ตระหนักถึงอันตรายจากภัยดังกล่าว จึงทำการศึกษาวิจัยเพื่อสะท้อนสภาพปัญหา อธิบายถึง
ปัจจัยอันเป็นสาเหตุ ตลอดจนแนวทางในการป้องกันและแก้ไข เพื่อนำเสนอต่อสังคม โดยรวม โดยทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์
จากผู้หญิงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูล ลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลัก
วิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์โครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจประสบการณ์ของผู้หญิงด้านการถูกคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ
2. เพื่อสำรวจแนวทางของประชาชนเกี่ยวกับการระวังภัยและการป้องกันตัวจากการถูกคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ
3. เพื่อสำรวจระดับความมั่นใจของประชาชนที่มีต่อบทกฎหมายและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
4. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชน
5. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เรื่อง ภัยคุกคามทางเพศในกลุ่ม ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์: กรณี
ศึกษาผู้หญิงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจ ระหว่างวันที่ 1-9 พฤศจิกายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ (อายุระหว่าง 15-49 ปี: อ้างอิงจากกระทรวงสาธารณสุข) ที่อาศัยอยู่ใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิหลายขั้น (Stratified Multi-stage Sampling) และกำหนดลักษณะ
ของตัวอย่างให้สอดคล้องกับประชากรเป้าหมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ จำนวน 1,331 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ +/- ร้อยละ 3
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณเป็น
ของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 31.9 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 29.7 อายุระหว่าง 20—29
ปี ร้อยละ 26.5 อายุระหว่าง 40-49 ปี และร้อยละ 11.9 อายุระหว่าง 15-19 ปี ตัวอย่าง ร้อยละ 81.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับ
ปริญญาตรี รองลงมาคือร้อยละ 17.0 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี และร้อยละ 1.8 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี ซึ่งตัวอย่างร้อยละ
38.6 ระบุอาชีพค้าขาย / กิจการส่วนตัว ร้อยละ 17.4 เป็นนักเรียน / นักศึกษา ร้อยละ 14.4 อาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 13.9 อาชีพ
พนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 9.5 เป็นแม่บ้าน / เกษียณอายุ ร้อยละ 4.0 อาชีพรับราชการ / รัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 0.3 อาชีพเกษตรกร
และ ร้อยละ 1.9 ระบุว่าไม่มีงานทำ / ว่างงาน
โปรดพิจารณาบทสรุปประเด็นสำคัญที่ค้นพบ
บทสรุปผลสำรวจ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง “ภัยคุกคามทางเพศในกลุ่มผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์: กรณี
ศึกษาผู้หญิงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,331 ตัวอย่าง ในระหว่างวันที่ 1-9 พฤศจิกายน 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ผลการสำรวจล่าสุดพบว่า ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา คือ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม-ตุลาคม ตัวอย่างระบุเหตุการณ์ที่คนใกล้ชิดถูกคุกคามและล่วง
ละเมิดทางเพศ คิดเป็นร้อยละ 17.2 โดยคนใกล้ชิดที่ถูกคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ มากที่สุดเป็นอันดับแรก คือ คนใกล้ชิดที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้
เคียงที่พักอาศัย เช่น เพื่อนบ้าน คนในหมู่บ้าน ร้อยละ 31.3 รองลงมา ได้แก่ คนที่ทำงานและคนในสถาบันการศึกษา / โรงเรียน ร้อย
ละ 23.8 และ 22.9 ตามลำดับ ที่น่าวิตกกังวล คือ บุคคลภายในครอบครัวถูกคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศถึง ร้อยละ 13.7 ติดอันดับคนใกล้ชิด
ที่ ถูกคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศมากที่สุด 5 อันดับแรก
หลังจากนั้น ผู้วิจัยได้สอบถามถึงตัวอย่างที่เคยถูกคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างถูกมองด้วยสาย
ตาแทะโลมมากที่สุดถึง ร้อยละ 44.4 ถูกพูดจาปฏิโลมต่อหน้าด้วยถ้อยคำลามก ร้อยละ 26.7 และโทรศัพท์ลามก ร้อยละ 24.0
จากผลการสำรวจสามารถประมาณการได้ว่าในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา มีผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ที่อาศัยอยู่ใน เขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑลเคยถูกพูดจาชี้ชวนโน้มน้าวให้มีเพศสัมพันธ์ด้วยสูงถึง 330,433 คน ในขณะที่ การคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศผ่านทางสื่อ คือ อิน
เทอร์เน็ต โดยการส่งข้อความหรือภาพลามก มีถึง 261,379 คน ถูกแอบถ่ายภาพส่วนตัวไม่ควรเปิดเผย 78,246 คน ที่น่าเป็นห่วงคือ ผู้ถูกข่มขืน
กระทำชำเราและผู้ถูกกระทำทารุณ ทางเพศ มีมากถึง 16,859 และ 14,040 คน ตามลำดับ
เมื่อผู้วิจัยสอบถามตัวอย่างถึงการถูกคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศจากบุคคลต่างๆ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ตัวอย่างถูกคุกคาม
จากบุคคลแปลกหน้ามากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 60.0 รองลงมา คือ คนรัก / แฟน (ยังไม่ได้ แต่งงาน) ร้อยละ 26.6 และ ที่น่าสังเกตคือเพื่อนร่วม
โรงเรียน / สถาบัน มีอยู่ถึงร้อยละ 14.6 ทั้งนี้สถานที่ที่ตัวอย่างระบุในการถูกคุกคามช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ได้แก่ บนรถโดยสารประจำทางหรือ
แท็กซี่ (ร้อยละ 27.2) รองลงมา คือ ละแวกที่พักอาศัย (ร้อยละ 24.9) และป้ายรถประจำทางหรือสถานีรถไฟ (ร้อยละ 24.0) ตามลำดับ
ครึ่งหนึ่งของตัวอย่างหรือร้อยละ 50.6 ระบุว่าช่วงอายุที่ถูกคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศเป็นครั้งแรกตกอยู่ในช่วงระหว่าง 16-20 ปี
โดยอายุเฉลี่ยของตัวอย่างที่โดนคุกคามเป็นครั้งแรก คือ 20 ปี สอดคล้องกับที่ตัวอย่างส่วนมากระบุว่าโดนคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศเป็นครั้งแรก
เมื่ออายุประมาณ 20 ปี ที่น่าตกใจและเป็นห่วงมาก คือ อายุของตัวอย่างที่ถูกคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศเป็นครั้งแรกที่น้อยที่สุด คือ 4 ปี
นอกจากนี้ เทศกาลที่ตัวอย่างระบุว่าเคยประสบภัยคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศมากที่สุด ได้แก่ เทศกาลสงกรานต์ ร้อยละ 17.7
เทศกาลลอยกระทง ร้อยละ 9.6 และเทศกาลวันปีใหม่ ร้อยละ 9.2 อย่างไรก็ตาม ตัวอย่าง ร้อยละ 78.3 ระบุว่าไม่ขึ้นอยู่กับเทศกาลใด
จากการสอบถามตัวอย่างถึงปัญหาการคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศเปรียบเทียบอดีตกับปัจจุบัน พบว่า ตัวอย่างส่วนมาก หรือร้อย
ละ 93.0 ระบุว่าปัจจุบันมีปัญหาการคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศสูงกว่าในอดีต
นอกจากนี้ ตัวอย่างร้อยละ 69.1 ระบุว่าวิตกกังวลกับภัยคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศในปัจจุบัน ในขณะที่ ร้อยละ 30.9 ระบุไม่วิตก
กังวล สำหรับสาเหตุที่ตัวอย่างคิดว่าทำให้บุคคลกระทำความผิดด้านการคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศเป็นอันดับแรก ได้แก่ การที่มีสิ่งกระตุ้นให้เกิด
อารมณ์ทางเพศมีการแพร่ระบาดและหาซื้อได้ง่าย เช่น วีดีโอ / วีซีดี / ดีวีดี ลามก คิดเป็นร้อยละ 97.1 รองลงมา คือ การที่ผู้หญิงแต่งกายล่อ
แหลม ไม่รัดกุม รวมทั้งแสดงกิริยาท่าทางยั่วยวน ร้อยละ 95.5 และการขาดสติสัมปชัญญะ / ขาดสามัญสำนึก เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ เสพสิ่งเสพติด ร้อย
ละ 95.2 ตามลำดับ
เมื่อผู้วิจัยสอบถามถึงความพึงพอใจต่อการปราบปรามงานด้านการคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศของเจ้าหน้าที่ตำรวจในปัจจุบัน พบว่า
ตัวอย่างเกือบ 2 ใน 3 หรือร้อยละ 60.2 ระบุว่า ไม่พอใจต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สอดคล้องกับความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อความ
เข้มงวดในการปราบปราม ซึ่งตัวอย่างมากกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 68.9 ระบุว่าการปราบปรามไม่ค่อยเข้มงวด นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 67.4 ยังระบุ
ว่า ไม่มั่นใจต่อการเก็บรักษาความลับของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับเรื่องกรณีที่ถูกคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ โดยตัวอย่างมากกว่าครึ่งหรือร้อยละ
66.2 มี ความเห็นว่าควรกำหนดบทกฎหมายลงโทษเจ้าหน้าที่ที่เผยแพร่เรื่องราวของผู้เสียหาย ทั้งนี้บทกฎหมายลงโทษที่ตัวอย่างเสนอมา 3 อันดับ
แรก ได้แก่ การให้ออกจากราชการ / ให้ออกจากงาน (ร้อยละ 32.6) ปรับหรือจำคุก (ร้อยละ 19.9) และพักราชการ /พักงาน (ร้อยละ 13.0)
ตัวอย่างส่วนมาก หรือร้อยละ 88.8 มีความเห็นว่าสื่อมวลชนนำเสนอเรื่องความก้าวร้าวและเรื่องทางเพศ ในปัจจุบันรุนแรงและ
ชัดเจนกว่าในอดีต ในขณะที่ตัวอย่างมากกว่าครึ่ง หรือร้อยละ 54.2 มีความเห็นว่าสื่อมวลชน นำเสนอเนื้อหาเรื่องทางเพศค่อนข้างมาก โดย
ร้อยละ 77.9 ระบุว่ารับรู้ผ่านทางโทรทัศน์ ร้อยละ 66.2 ผ่านทาง หนังสือพิมพ์ ร้อยละ 49.0 ผ่านทางวีดีโอ / วีซีดี / ดีวีดี ร้อยละ 40.0
ผ่านทางอินเทอร์เน็ต และร้อยละ 37.9 ผ่านทางภาพยนตร์
เมื่อสอบถามถึงความยากง่ายในการเข้าถึงสื่อลามกอนาจารผ่านทางอินเทอร์เน็ต จำแนกตามช่วงอายุของ ตัวอย่าง พบว่า
ตัวอย่างส่วนใหญ่ในช่วงอายุระหว่าง 15-25 ปี ระบุว่าเข้าถึงง่าย สูงถึงร้อยละ 89.4 ในขณะที่ตัวอย่างส่วนใหญ่ในช่วงอายุมากกว่า 25 ปีระบุว่าเข้า
ถึงง่ายเช่นกันสูงรองลงมาที่ร้อยละ 81.7
สำหรับความคิดเห็นของตัวอย่างต่อวิธีการระวังหรือป้องกันตัวจากภัยคุกคามและการล่วงละเมิดทางเพศนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ
76.2 ระบุว่า ไม่เดินทางไปไหนในเวลากลางคืนถ้าไม่จำเป็น รองลงมาคือร้อยละ 73.9 ระบุ แต่งกายให้รัดกุมไม่ล่อแหลม ร้อยละ 63.8
ระบุพยายามไม่อยู่คนเดียว / ไม่ไหนมาไหนคนเดียว ร้อยละ 58.5 ระบุเพิ่มความระแวดระวังกับบุคคลรอบข้างหรือบุคคลแปลกหน้า และร้อยละ
33.3 ระบุพกอาวุธหรืออุปกรณ์ป้องกันตัว ตามลำดับ
ประเด็นสำคัญสุดท้ายคือแนวทางที่ตัวอย่างต้องการให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขปัญหาเรียงตามลำดับ ได้แก่ ปรับบทลงโทษทางกฎหมายต่อ
ผู้กระทำผิดให้หนักขึ้น ร้อยละ 86.5 เพิ่มความเข้มงวดในการปราบปรามสื่อลามก ร้อยละ 74.5 และเข้มงวดในการตรวจตราสถานที่เสี่ยง
ต่างๆ เช่น ผับ เธค ร้อยละ 72.1 ตามลำดับ
โปรดพิจารณารายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุการณ์ที่คนใกล้ชิดถูกคุกคามหรือถูกล่วงละเมิดทางเพศในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ลำดับที่ เหตุการณ์ที่คนใกล้ชิดถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศ ค่าร้อยละ
1 เคย 17.2
2 ไม่เคย 82.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำหรับตัวอย่างที่ระบุว่าคนใกล้ชิด เคย ถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศระบุถึงคนใกล้ชิด 5 อันดับแรก คือ
1. ผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงที่พักอาศัย เช่น เพื่อนบ้าน คนในหมู่บ้าน ร้อยละ 31.3
2. คนที่ทำงาน ร้อยละ 23.8
3. คนในสถาบันการศึกษา / โรงเรียน ร้อยละ 22.9
4. คนรัก / แฟน (ที่ยังไม่ได้แต่งงาน) ร้อยละ 18.9
5. บุคคลภายในครอบครัว ร้อยละ 13.7
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุรูปแบบการถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ รูปแบบการถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศ ค่าร้อยละ
1 ถูกมองด้วยสายตาแทะโลม 44.4
2 พูดจาปฏิโลมต่อหน้าด้วยถ้อยคำลามก 26.7
3 โทรศัพท์ลามก 24.0
4 ถูกลวนลามแบบถูกเนื้อต้องตัว 20.1
5 แสดงของลับ 17.7
8 ถูกพยายามบังคับขืนใจ 3.1
9 การกระทำอนาจาร 2.2
10 ถูกพยายามล่อลวงเพื่อสำเร็จความใค 2.1
ตารางที่ 3 แสดงผลประมาณการจำนวนผู้ที่ถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศในรูปแบบต่างๆ ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ผลประมาณการ จำนวน
พูดจาชี้ชวน โน้มน้าวให้มีเพศสัมพันธ์ด้วย 330,433
ส่งข้อความ / ภาพลามกผ่านอินเทอร์เน็ต (Chat / Webcam) 261,379
ถูกแอบถ่ายภาพส่วนตัวที่ไม่ควรเปิดเผย 78,246
ถูกข่มขืนกระทำชำเรา 16,859
ถูกกระทำทารุณทางเพศ 14,040
หมายเหตุ เป็นการประมาณการจากประชากรเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 15 ถึง 49 ปี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
รวมทั้งสิ้น 2,531,671 คน (สองล้านห้าแสนสามหมื่นหนึ่งพันหกร้อยเจ็ดสิบเอ็ดคน)
ขอบเขตความคลาดเคลื่อน (margin of error) + / - ร้อยละ 3
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุบุคคลผู้กระทำการคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่เคยถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ บุคคลผู้กระทำการคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศ ค่าร้อยละ
1 บุคคลแปลกหน้า / ไม่รู้จัก 60.0
2 คนรัก / แฟน (ยังไม่ได้แต่งงาน) 26.6
3 เพื่อนร่วมโรงเรียน / สถาบัน 14.6
4 เพื่อนร่วมงาน 12.7
5 ญาติ 5.5
6 เจ้านาย / หัวหน้างาน 5.3
7 บุคคลภายในครอบครัว 4.4
8 ครู / อาจารย์ 2.9
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสถานที่ที่ถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่เคยถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศและตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สถานที่ถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศ ค่าร้อยละ
1 บนรถโดยสารประจำทางหรือแท็กซี่ 27.2
2 ละแวกที่พักอาศัย 24.9
3 ป้ายรถประจำทางหรือสถานีรถไฟ 24.0
4 บ้าน 21.5
5 สถานบันเทิง 21.0
6 ถนน / ทางเท้า 20.6
7 สวนสาธารณะ 16.8
8 สถานที่ทำงาน 14.2
9 ห้างสรรพสินค้า 13.6
10 โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา 12.9
11 สะพานลอย 10.6
12 โรงภาพยนตร์ 10.4
13 ในที่ลับตาคม เช่น ห้องน้ำ ลิฟต์ 7.9
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุช่วงอายุที่ถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศเป็นครั้งแรก
ลำดับที่ ช่วงอายุที่ถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศเป็นครั้งแรก ค่าร้อยละ
1 อายุต่ำกว่า 10 ปี 4.8
2 อายุระหว่าง 11-15 ปี 18.5
3 อายุระหว่าง 16-20 ปี 50.6
4 อายุระหว่าง 21-25 ปี 12.6
5 อายุระหว่าง 26-30 ปี 7.8
6 อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป 5.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำหรับตัวอย่างที่เคยประสบภัยคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศที่มีอายุน้อยที่สุดอยู่ที่อายุ 4 ปี ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของตัวอย่าง
ที่เคยประสบภัยอยู่ที่อายุ 20 ปี และตัวอย่างส่วนมากที่โดนคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ คือ ตัวอย่าง อายุ 20 ปี
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศตามเทศกาลต่างๆ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ เทศกาลที่ถูกคุกคามหรือล่วงละเมิดทางเพศ ค่าร้อยละ
1 สงกรานต์ 17.7
2 ลอยกระทง 9.6
3 วันปีใหม่ 9.2
4 วาเลนไทน์ 8.9
5 คริสต์มาส 2.6
6 เทศกาลฮาโลวีน 1.3
7 ไม่ขึ้นอยู่กับเทศกาล 78.3
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุลักษณะปัญหาการคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศเมื่อเปรียบเทียบ
ปัจจุบันกับอดีต
ลำดับที่ ลักษณะปัญหาการคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศเมื่อเปรียบเทียบปัจจุบันกับอดีต ค่าร้อยละ
1 สูงกว่าในอดีต 93.0
2 ไม่แตกต่างจากในอดีต 5.1
3 น้อยกว่าในอดีต 1.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความวิตกกังวลต่อภัยคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ
ลำดับที่ ความวิตกกังวล ค่าร้อยละ
1 วิตกกังวล 69.1
2 ไม่วิตกกังวล 30.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสาเหตุที่ทำให้บุคคลกระทำความผิดด้านการคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ สาเหตุที่ทำให้บุคคลกระทำผิดด้านการคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ ค่าร้อยละ
1 มีสิ่งกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศ เช่น ภาพยนตร์ วีดีโอ วีซีดี ดีวีดี ลามก ที่แพร่ระบาดและหาซื้อง่าย 97.1
2 ผู้หญิงแต่งกายล่อแหลม ไม่รัดกุม รวมทั้งแสดงกิริยาท่าทางยั่วยวน 95.5
3 ผู้กระทำผิดขาดสติสัมปชัญญะ เช่น ดื่มแอลกอฮอล์ เสพสิ่งเสพติด /ความคึกคะนอง ขาดสามัญสำนึกของกลุ่มวัยรุ่น 95.2
4 การพาตนเองเข้าไปอยู่ในสถานที่เสี่ยง เช่น ผับ / บาร์ 92.1
5 บทลงโทษทางกฎหมายต่อผู้กระทำผิดมีความรุนแรงไม่เพียงพอ 90.3
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจต่อการปราบปรามงานด้านการคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ
ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในปัจจุบัน
ลำดับที่ ความพอใจต่อการปราบปรามงานด้านการคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ค่าร้อยละ
1 พอใจ 39.8
2 ไม่พอใจ 60.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเข้มงวดในการปราบปรามงานด้านการคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ
ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในปัจจุบัน
ลำดับที่ ความเข้มงวดต่อการปราบปรามงานด้านการคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ค่าร้อยละ
1 เข้มงวด 31.1
3 ไม่เข้มงวด 68.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจในการเก็บรักษาความลับของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ผู้รับเรื่อง กรณีถูกคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ
ลำดับที่ ความมั่นใจในการเก็บรักษาความลับของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับเรื่อง ค่าร้อยละ
1 มั่นใจ 32.6
3 ไม่มั่นใจ 67.4
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการกำหนดบทกฎหมายเพื่อลงโทษเจ้าหน้าที่
ที่เผยแพร่เรื่องราวของผู้เสียหาย
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อการกำหนดบทกฎหมายเพื่อลงโทษเจ้าหน้าที่ที่เผยแพร่เรื่องราวของผู้เสียหาย ค่าร้อยละ
1 ควรกำหนดบทกฎหมายลงโทษ 66.2
2 ไม่ควรกำหนดบทกฎหมายลงโทษ 7.5
3 ไม่มีความคิดเห็น 26.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
สำหรับผู้ที่ระบุว่าควรกำหนดบทกฎหมายเพื่อลงโทษเจ้าหน้าที่ที่เผยแพร่เรื่องราวของผู้เสียหาย ได้เสนอความคิดเห็น
เกี่ยวกับบทกฎหมายเพื่อลงโทษ 3 อันดับแรก ดังนี้
1. ให้ออกจากราชการ/ให้ออกจากงาน ร้อยละ 32.6
2. ปรับ / จำคุก ร้อยละ 19.9
3. พักราชการ/พักงาน ร้อยละ 13.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อสื่อมวลชนที่นำเสนอเรื่องความก้าวร้าวและ
เรื่องทางเพศในเมื่อเปรียบเทียบปัจจุบันกับอดีต
ลำดับที่ ความคิดเห็นต่อสื่อมวลชนที่นำเสนอเรื่องความก้าวร้าวและเรื่องทางเพศเมื่อเปรียบเทียบปัจจุบันกับอดีต ค่าร้อยละ
1 รุนแรงและชัดเจนกว่าในอดีต 88.8
2 ไม่แตกต่างจากในอดีต 8.6
3 รุนแรงและชัดเจนน้อยกว่าในอดีต 2.6
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 16 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความถี่ของสื่อมวลชนในการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ
ลำดับที่ ระดับความถี่ของสื่อมวลชนในการนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ ค่าร้อยละ
1 มาก 38.5
2 ค่อนข้างมาก 54.2
3 ค่อนข้างน้อย 2.0
4 น้อย 5.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 17 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการรับรู้เรื่องความก้าวร้าวและเรื่องทางเพศผ่านสื่อ
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ การรับรู้เรื่องความก้าวร้าวและเรื่องทางเพศผ่านสื่อ ค่าร้อยละ
1 โทรทัศน์ 77.9
2 หนังสือพิมพ์ 66.2
3 วีดีโอ / วีซีดี / ดีวีดี 49.0
4 อินเทอร์เน็ต 40.0
5 ภาพยนตร์ 37.9
ตารางที่ 18 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุระดับความยากง่ายในการเข้าถึงสื่อลามกอนาจารผ่านทาง
อินเทอร์เน็ต (จำแนกตามช่วงอายุ)
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ