ภายหลังจากที่รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ทักษิณ ชินวัตร ได้ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินมาเป็นเวลากว่า 9 เดือนที่ผ่าน
มานั้น มีข่าวสารเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้นเป็นระยะๆ และหนึ่งในนั้นคือการการดึงพรรคการเมืองต่างๆ เข้ามาเป็น
พรรคร่วมรัฐบาล ล่าสุดข่าวการดึงพรรคชาติพัฒนาเข้าร่วม เริ่มปรากฎเด่นชัด และสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นคือการปรับคณะรัฐมนตรีที่จะเกิดขึ้น
หรือไม่ในอนาคตอันใกล้นี้ เป็นปรากฏการทางการเมืองที่หลายฝ่ายกำลังจับตามองการ ตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี สำนักวิจัยเอแบคโพลล์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 11 - 13 ธันวาคม 2544 พบว่า
ลำดับที่ กระทรวงที่มีผลงานน่าประทับใจ ประชาชน แกนนำชุมชน
1 กระทรวงมหาดไทย 77.5 95.3
2 กระทรวงสาธารณสุข 50 48
3 กระทรวงการคลัง 21 23.3
4 กระทรวงศึกษาธิการ 16.1 14.7
5 กระทรวงการต่างประเทศ 10.3 6.5
6 กระทรวงพาณิชย์ 9.5 6.3
7 กระทรวงกลาโหม 8.8 4.7
8 กระทรวงการคมนาคม 8.1 15.9
9 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 8 17.2
10 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม 5.2 7
นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังได้สอบถามตัวอย่างถึงความพอใจในผลงานโดยภาพรวมของคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน โดยให้ระบุคะแนน
ความพอใจ จากคะแนน เต็ม 10 คะแนน พบว่าในกลุ่มประชาชนทั่วไปนั้นให้คะแนนความพอใจในผลงานโดยภาพรวมของคณะรัฐมนตรี
ชุดนี้อยู่ในระดับ "เกือบดี" โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.88 ขณะที่ตัวอย่างกลุ่มแกนนำชุมชนนั้นให้คะแนนความพอใจในผลงานโดยภาพ
รวมของคณะรัฐมนตรีอยู่ในระดับ "ดี" โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.32 เมื่อกำหนด เกณฑ์ในการแบ่งคะแนนออกเป็น 0 = ไม่ดีเลย /
1 2 3 = ไม่ดี / 4 5 6 = ปานกลาง / 7 8 9 = ดี / 10 = ดีมาก ตามลำดับ
ข้อสังเกต
คณะผู้วิจัยเห็นว่า การตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีในการปรับคณะรัฐมนตรีในเวลานี้กำลังอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อเสถียรภาพของ
รัฐบาลเนื่องจาก ยังไม่มีการสนับสนุนอย่างเด่นชัดจากประชาชนและแกนนำชุมชนถึงความต้องการให้ปรับคณะรัฐมนตรี โดยผลสำรวจแสดง
ให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างประชาชนที่เห็นว่าควรปรับยังมีไม่ถึง 1 ใน 3 หรือร้อยละ 28.7 ในขณะที่ร้อยละ 24.4 เห็นว่าไม่ควรปรับ และที่
สำคัญเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 46.9 ซึ่งถือว่าเป็นตัวอย่างจำนวนมากกลับไม่มีความเห็น ส่วนด้าน แกนนำชุมชนเห็นว่า ควรปรับ ร้อยละ
32.3 ไม่ควรปรับ ร้อยละ 49.0
ภาพที่ปรากฏในข้อมูลสำรวจครั้งนี้จึงค่อนข้างเห็นชัดว่าประชาชนกำลังจับจ้องมองการปรับคณะรัฐมนตรีในลักษณะที่ว่าไม่แสดงจุดยืน
ของการสนับสนุน แต่ก็ ไม่เห็นแย้ง ดังนั้นช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วงเวลาแห่งสภาวะเสี่ยงของการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีต่อการปรับคณะ
รัฐมนตรี ทั้งเสี่ยงต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและเสี่ยงต่อ การสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนจากประชาชน อย่างไรก็ตาม ถ้านายกรัฐมนตรีไม่มี
เหตุผลอื่นใด ก็น่าจะพิจารณาข้อมูลอีกส่วนหนึ่งประกอบนั่นคือ ตัวอย่างแกนนำชุมชน เกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.0 ก็ยังไม่เห็นด้วยต่อการ
ปรับคณะรัฐมนตรีในตอนนี้ ยิ่งไปกว่านั้น จากการสำรวจก่อนหน้านี้ที่ทำสำรวจความคิดเห็นของประชาชนใน 22 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่หรือเกินร้อยละ 60 ยังคงต้องการให้รัฐบาลชุดปัจจุบันนี้ทำงานต่อไปก่อน โดยระบุปัญหาที่คณะรัฐมนตรีควรเร่งแก้ไข ให้
ประชาชน ได้แก่ แก้ปัญหาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ร้อยละ 54.6 แก้ปัญหาเกี่ยวกับโสเภณี /การขายบริการทางเพศ
ร้อยละ 30.0 เร่งแก้ไขปัญหายาเสพติด ร้อยละ 22.6 แก้ปัญหาการให้บริการของระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ร้อยละ 14.7 การจัดการด้าน
การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ร้อยละ 12.8 ล ดภาษี แก้ไขปัญหาแรงงานต่างชาติ ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาความยาก
จน /ปรับค่าแรงงานขั้นต่ำ และ อื่นๆ อาทิ การแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น / การปรับปรุงระบบการศึกษา / ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น
--เอแบคโพลล์--
มานั้น มีข่าวสารเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้นเป็นระยะๆ และหนึ่งในนั้นคือการการดึงพรรคการเมืองต่างๆ เข้ามาเป็น
พรรคร่วมรัฐบาล ล่าสุดข่าวการดึงพรรคชาติพัฒนาเข้าร่วม เริ่มปรากฎเด่นชัด และสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นคือการปรับคณะรัฐมนตรีที่จะเกิดขึ้น
หรือไม่ในอนาคตอันใกล้นี้ เป็นปรากฏการทางการเมืองที่หลายฝ่ายกำลังจับตามองการ ตัดสินใจของนายกรัฐมนตรี สำนักวิจัยเอแบคโพลล์
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 11 - 13 ธันวาคม 2544 พบว่า
ลำดับที่ กระทรวงที่มีผลงานน่าประทับใจ ประชาชน แกนนำชุมชน
1 กระทรวงมหาดไทย 77.5 95.3
2 กระทรวงสาธารณสุข 50 48
3 กระทรวงการคลัง 21 23.3
4 กระทรวงศึกษาธิการ 16.1 14.7
5 กระทรวงการต่างประเทศ 10.3 6.5
6 กระทรวงพาณิชย์ 9.5 6.3
7 กระทรวงกลาโหม 8.8 4.7
8 กระทรวงการคมนาคม 8.1 15.9
9 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 8 17.2
10 กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม 5.2 7
นอกจากนี้ คณะผู้วิจัยยังได้สอบถามตัวอย่างถึงความพอใจในผลงานโดยภาพรวมของคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบัน โดยให้ระบุคะแนน
ความพอใจ จากคะแนน เต็ม 10 คะแนน พบว่าในกลุ่มประชาชนทั่วไปนั้นให้คะแนนความพอใจในผลงานโดยภาพรวมของคณะรัฐมนตรี
ชุดนี้อยู่ในระดับ "เกือบดี" โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.88 ขณะที่ตัวอย่างกลุ่มแกนนำชุมชนนั้นให้คะแนนความพอใจในผลงานโดยภาพ
รวมของคณะรัฐมนตรีอยู่ในระดับ "ดี" โดยได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.32 เมื่อกำหนด เกณฑ์ในการแบ่งคะแนนออกเป็น 0 = ไม่ดีเลย /
1 2 3 = ไม่ดี / 4 5 6 = ปานกลาง / 7 8 9 = ดี / 10 = ดีมาก ตามลำดับ
ข้อสังเกต
คณะผู้วิจัยเห็นว่า การตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีในการปรับคณะรัฐมนตรีในเวลานี้กำลังอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อเสถียรภาพของ
รัฐบาลเนื่องจาก ยังไม่มีการสนับสนุนอย่างเด่นชัดจากประชาชนและแกนนำชุมชนถึงความต้องการให้ปรับคณะรัฐมนตรี โดยผลสำรวจแสดง
ให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างประชาชนที่เห็นว่าควรปรับยังมีไม่ถึง 1 ใน 3 หรือร้อยละ 28.7 ในขณะที่ร้อยละ 24.4 เห็นว่าไม่ควรปรับ และที่
สำคัญเกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 46.9 ซึ่งถือว่าเป็นตัวอย่างจำนวนมากกลับไม่มีความเห็น ส่วนด้าน แกนนำชุมชนเห็นว่า ควรปรับ ร้อยละ
32.3 ไม่ควรปรับ ร้อยละ 49.0
ภาพที่ปรากฏในข้อมูลสำรวจครั้งนี้จึงค่อนข้างเห็นชัดว่าประชาชนกำลังจับจ้องมองการปรับคณะรัฐมนตรีในลักษณะที่ว่าไม่แสดงจุดยืน
ของการสนับสนุน แต่ก็ ไม่เห็นแย้ง ดังนั้นช่วงเวลานี้จึงเป็นช่วงเวลาแห่งสภาวะเสี่ยงของการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีต่อการปรับคณะ
รัฐมนตรี ทั้งเสี่ยงต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและเสี่ยงต่อ การสนับสนุนหรือไม่สนับสนุนจากประชาชน อย่างไรก็ตาม ถ้านายกรัฐมนตรีไม่มี
เหตุผลอื่นใด ก็น่าจะพิจารณาข้อมูลอีกส่วนหนึ่งประกอบนั่นคือ ตัวอย่างแกนนำชุมชน เกือบครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 49.0 ก็ยังไม่เห็นด้วยต่อการ
ปรับคณะรัฐมนตรีในตอนนี้ ยิ่งไปกว่านั้น จากการสำรวจก่อนหน้านี้ที่ทำสำรวจความคิดเห็นของประชาชนใน 22 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า
ประชาชนส่วนใหญ่หรือเกินร้อยละ 60 ยังคงต้องการให้รัฐบาลชุดปัจจุบันนี้ทำงานต่อไปก่อน โดยระบุปัญหาที่คณะรัฐมนตรีควรเร่งแก้ไข ให้
ประชาชน ได้แก่ แก้ปัญหาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ร้อยละ 54.6 แก้ปัญหาเกี่ยวกับโสเภณี /การขายบริการทางเพศ
ร้อยละ 30.0 เร่งแก้ไขปัญหายาเสพติด ร้อยละ 22.6 แก้ปัญหาการให้บริการของระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ร้อยละ 14.7 การจัดการด้าน
การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ร้อยละ 12.8 ล ดภาษี แก้ไขปัญหาแรงงานต่างชาติ ปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ปัญหาความยาก
จน /ปรับค่าแรงงานขั้นต่ำ และ อื่นๆ อาทิ การแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น / การปรับปรุงระบบการศึกษา / ส่งเสริมด้านการท่องเที่ยว เป็นต้น
--เอแบคโพลล์--