ที่มาของโครงการ
ข่าวการปรับคณะรัฐมนตรีชุดทักษิณ 2/2 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมาเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่
เกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศชาติกำลังเผชิญกับปัญหารุมเร้าในหลายๆ ด้าน ซึ่งได้มีผู้ที่สนใจและติดตามการเมืองหลาย
ด้านได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ในเรื่องความเหมาะสมของรัฐมนตรีแต่ละคน และได้มีการ
ทรรศนะเกี่ยวกับการปรับคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ว่าส่วนใหญ่เป็นแค่การหมุนเวียนสลับตำแหน่งภายในพรรครัฐบาลเท่า
นั้น อย่างไรก็ตามทุกฝ่ายต่างมุ่งหวังให้ครม.ชุดใหม่นี้ทำงานหนักเพื่อเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นด้านต่างๆ ของประชาชน
ให้กลับคืนมา เนื่องจากสภาพของการเข้ามาทำงานตอนนี้ไม่เหมือนกับช่วงหลังเลือกตั้งใหม่ๆ และยังมีปัญหาใหญ่ๆ ที่
รอการแก้ไขอยู่อีกหลายปัญหา ดังที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์
จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงประเด็นความคิดเห็นต่อการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ของ
นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่
ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคม
ศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อความเหมาะสมของการปรับคณะรัฐมนตรี
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ในการแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ความคิด
เห็นของประชาชนต่อการปรับคณะรัฐมนตรีทักษิณ 2/2:กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”
ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 3-4 สิงหาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,322 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 53.8 เป็นหญิง ร้อยละ 46.2 เป็น
ชาย ร้อยละ 29.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี ร้อยละ 27.7 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 24.9 อายุ
ระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 11.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป และตัวอย่างร้อยละ 6.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี ซึ่งตัวอย่าง
ร้อยละ 69.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 26.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 25.3 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 20.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 13.2 ระบุอาชีพข้า
ราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.6 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 5.7 ระบุเป็นนักศึกษา
และร้อยละ 4.5 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรกับคณะรัฐมนตรีทักษิณ
2/2” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น
1,322 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 4 สิงหาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลการสำรวจการติดตามข่าวการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุดของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีชุดทักษิณ เมื่อช่วงต้น
สัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 91.3 ระบุรับรู้ข่าวดังกล่าว ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 8.7 เท่านั้นที่
ระบุว่าไม่ทราบและเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการปรับคณะรัฐมนตรีชุดใหม่กับการแก้ไข
ปัญหาสำคัญของประเทศนั้นพบว่าตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งให้ความเห็นว่าการปรับคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ไม่ได้ทำให้การ
แก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศดีขึ้น โดยเมื่อพิจารณาตามประเภทของปัญหาพบรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
การแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน พบว่าตัวอย่างร้อยละ 23.9 ระบุดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ
41.6 ระบุเหมือนเดิม ร้อยละ 28.3 ระบุแย่ลง และร้อยละ 6.2 ไม่ระบุความคิดเห็น การแก้ไขปัญหาการ
ทุจริตคอรัปชั่น ผลสำรวจพบว่าตัวอย่างร้อยละ 24.5 ระบุดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 45.7 ระบุเหมือนเดิม ในขณะที่ร้อย
ละ 21.4 ระบุแย่ลง และร้อยละ 8.4 ไม่ระบุความคิดเห็น การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาค
ใต้ ตัวอย่างร้อยละ 28.3 ระบุดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 41.9 ระบุเหมือนเดิม ร้อยละ 21.4 ระบุแย่ลง และ
ร้อยละ 8.4 ไม่ระบุความคิดเห็น การแก้ไขปัญหาความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ตัวอย่างร้อยละ 34.2
ระบุดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 42.2 ระบุเหมือนเดิม ร้อยละ 12.4 ระบุแย่ลง และร้อยละ 11.2 ไม่ระบุความคิด
เห็น การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ตัวอย่างร้อยละ 40.0 ระบุดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 38.1 ระบุเหมือนเดิม ร้อยละ
14.9 ระบุแย่ลง และร้อยละ 7.0 ไม่ระบุความคิดเห็น ปัญหาความล่าช้าในการปฏิรูปการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ
45.6 ระบุดีขึ้น ร้อยละ 33.1 ระบุเหมือนเดิม ร้อยละ 10.4 ระบุแย่ลง และร้อยละ 10.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตามผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีซึ่งพบ
ว่าบุคคลที่ตัวอย่างระบุเห็นด้วยที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี 5 อันดับแรกได้แก่
- นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.กระทรวงศึกษาธิการ (ร้อยละ 81.8 ระบุเห็นด้วย)
- นายทนง พิทยะ รมว.กระทรวงการคลัง (ร้อยละ 71.9 ระบุเห็นด้วย)
- นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี/รมว.กระทรวงพาณิชย์ (ร้อยละ 71.1 ระบุเห็นด้วย)
- นายอดิศร เพียงเกษ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ (ร้อยละ 67.3)
- พลตำรวจเอกชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี/รมว.กระทรวงยุติธรรม (ร้อยละ 66.6
ระบุเห็นด้วย)
ทั้งนี้เพื่อพิจารณาความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการปรับคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.5
ระบุพอใจ ในขณะที่ร้อยละ 21.2 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 24.3 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้คือ ปัญหาเร่งด่วนที่ประชาชน
ต้องการให้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่เร่งแก้ไขซึ่ง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 49.1 ระบุปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาค
ใต้ ร้อยละ 45.1 ระบุปัญหาเศรษฐกิจ ร้อยละ 20.8 ระบุปัญหาความยากจนของประชาชน ร้อยละ 16.7 ระบุ
ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น และร้อยละ 13.3 ระบุปัญหาการจราจรติดขัดตามลำดับ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ข่าวการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุดของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ลำดับที่ การรับรู้ของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 รับรู้ต่อข่าวดังกล่าว 91.3
2 ไม่ทราบ 8.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการปรับคณะรัฐมนตรีจะทำให้การแก้ปัญหา
สำคัญของประเทศต่อไปนี้อย่างไร
ปัญหาสำคัญของประเทศ ดีขึ้น เหมือนเดิม แย่ลง ไม่มีความคิดเห็น รวมทั้งสิ้น
1. ปัญหาความยากจน 23.9 41.6 28.3 6.2 100.0
2. ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 24.5 45.7 21.4 8.4 100.0
3. ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 28.3 41.9 21.4 8.4 100.0
4. ปัญหาความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง 34.2 42.2 12.4 11.2 100.0
5. ปัญหาเศรษฐกิจ 40.0 38.1 14.9 7.0 100.0
6. ปัญหาความล่าช้าในการปฏิรูปการศึกษา 45.6 33.1 10.4 10.9 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
แต่งตั้งบุคคลต่อไปนี้เป็นรัฐมนตรี
รายชื่อรัฐมนตรีที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความคิดเห็น รวมทั้งสิ้น
1. นายจาตุรนต์ ฉายแสง 81.8 7.5 10.7 100.0
2. นายทนง พิทยะ 71.9 14.1 14.0 100.0
3. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 71.1 13.4 15.5 100.0
4. นายอดิศร เพียงเกษ 67.3 17.0 15.7 100.0
5. พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ 66.6 14.8 18.6 100.0
6. พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา 60.5 19.0 20.5 100.0
7. นายเนวิน ชิดชอบ 59.5 28.0 12.5 100.0
8. นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล 59.3 15.9 24.8 100.0
9. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 46.1 39.8 14.1 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพึงพอใจโดยภาพรวมต่อการปรับคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้
ลำดับที่ ความพอใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 พอใจ 54.5
2 ไม่พอใจ 21.2
3 ไม่มีความเห็น 24.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อปัญหาที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ควรแก้ไข
อย่างเร่งด่วน
ลำดับที่ ปัญหาที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน ค่าร้อยละ
1 ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 49.1
2 ปัญหาเศรษฐกิจ 45.1
3 ปัญหาความยากจนของประชาชน 20.8
4 ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น 16.7
5 ปัญหาการจราจรติดขัด 13.3
6 ปัญหาค่าครองชีพสูง/สินค้าราคาแพง 10.6
7 ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาของประชาชน 7.8
8 ปัญหาน้ำมันขึ้นราคา 6.5
9 อื่นๆ อาทิ ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด/การปรับ
ค่าแรงขั้นต่ำ/ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ของประชาชน/ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เป็นต้น 10.6
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
ข่าวการปรับคณะรัฐมนตรีชุดทักษิณ 2/2 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมาเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองที่
เกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศชาติกำลังเผชิญกับปัญหารุมเร้าในหลายๆ ด้าน ซึ่งได้มีผู้ที่สนใจและติดตามการเมืองหลาย
ด้านได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ในเรื่องความเหมาะสมของรัฐมนตรีแต่ละคน และได้มีการ
ทรรศนะเกี่ยวกับการปรับคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ว่าส่วนใหญ่เป็นแค่การหมุนเวียนสลับตำแหน่งภายในพรรครัฐบาลเท่า
นั้น อย่างไรก็ตามทุกฝ่ายต่างมุ่งหวังให้ครม.ชุดใหม่นี้ทำงานหนักเพื่อเร่งฟื้นฟูความเชื่อมั่นด้านต่างๆ ของประชาชน
ให้กลับคืนมา เนื่องจากสภาพของการเข้ามาทำงานตอนนี้ไม่เหมือนกับช่วงหลังเลือกตั้งใหม่ๆ และยังมีปัญหาใหญ่ๆ ที่
รอการแก้ไขอยู่อีกหลายปัญหา ดังที่กล่าวมาแล้วในข้างต้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์
จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงประเด็นความคิดเห็นต่อการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้ของ
นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่
ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคม
ศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อความเหมาะสมของการปรับคณะรัฐมนตรี
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ในการแก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศ
3. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้เรื่อง “ความคิด
เห็นของประชาชนต่อการปรับคณะรัฐมนตรีทักษิณ 2/2:กรณีศึกษาประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”
ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 3-4 สิงหาคม 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling)
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,322 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 53.8 เป็นหญิง ร้อยละ 46.2 เป็น
ชาย ร้อยละ 29.1 อายุระหว่าง 40—49 ปี ร้อยละ 27.7 อายุระหว่าง 30—39 ปี ร้อยละ 24.9 อายุ
ระหว่าง 20—29 ปี ร้อยละ 11.6 อายุ 50 ปีขึ้นไป และตัวอย่างร้อยละ 6.7 อายุต่ำกว่า 20 ปี ซึ่งตัวอย่าง
ร้อยละ 69.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ร้อยละ 26.6 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 4.1 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ตัวอย่างร้อยละ 25.3 ระบุอาชีพค้าขาย /ธุรกิจส่วนตัว
ร้อยละ 22.8 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป ร้อยละ 20.9 ระบุอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 13.2 ระบุอาชีพข้า
ราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 7.6 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ ร้อยละ 5.7 ระบุเป็นนักศึกษา
และร้อยละ 4.5 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยผลสำรวจเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรกับคณะรัฐมนตรีทักษิณ
2/2” ในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น
1,322 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 4 สิงหาคม 2548 ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจดังนี้
ผลการสำรวจการติดตามข่าวการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุดของรัฐบาลหรือรัฐมนตรีชุดทักษิณ เมื่อช่วงต้น
สัปดาห์ที่ผ่านมาพบว่าตัวอย่างส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 91.3 ระบุรับรู้ข่าวดังกล่าว ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 8.7 เท่านั้นที่
ระบุว่าไม่ทราบและเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างกรณีการปรับคณะรัฐมนตรีชุดใหม่กับการแก้ไข
ปัญหาสำคัญของประเทศนั้นพบว่าตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งให้ความเห็นว่าการปรับคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ไม่ได้ทำให้การ
แก้ไขปัญหาสำคัญของประเทศดีขึ้น โดยเมื่อพิจารณาตามประเภทของปัญหาพบรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้
การแก้ไขปัญหาความยากจนของประชาชน พบว่าตัวอย่างร้อยละ 23.9 ระบุดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ
41.6 ระบุเหมือนเดิม ร้อยละ 28.3 ระบุแย่ลง และร้อยละ 6.2 ไม่ระบุความคิดเห็น การแก้ไขปัญหาการ
ทุจริตคอรัปชั่น ผลสำรวจพบว่าตัวอย่างร้อยละ 24.5 ระบุดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 45.7 ระบุเหมือนเดิม ในขณะที่ร้อย
ละ 21.4 ระบุแย่ลง และร้อยละ 8.4 ไม่ระบุความคิดเห็น การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาค
ใต้ ตัวอย่างร้อยละ 28.3 ระบุดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 41.9 ระบุเหมือนเดิม ร้อยละ 21.4 ระบุแย่ลง และ
ร้อยละ 8.4 ไม่ระบุความคิดเห็น การแก้ไขปัญหาความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ตัวอย่างร้อยละ 34.2
ระบุดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 42.2 ระบุเหมือนเดิม ร้อยละ 12.4 ระบุแย่ลง และร้อยละ 11.2 ไม่ระบุความคิด
เห็น การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ตัวอย่างร้อยละ 40.0 ระบุดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 38.1 ระบุเหมือนเดิม ร้อยละ
14.9 ระบุแย่ลง และร้อยละ 7.0 ไม่ระบุความคิดเห็น ปัญหาความล่าช้าในการปฏิรูปการศึกษา ตัวอย่างร้อยละ
45.6 ระบุดีขึ้น ร้อยละ 33.1 ระบุเหมือนเดิม ร้อยละ 10.4 ระบุแย่ลง และร้อยละ 10.9 ไม่ระบุความคิดเห็น
อย่างไรก็ตามผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีซึ่งพบ
ว่าบุคคลที่ตัวอย่างระบุเห็นด้วยที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี 5 อันดับแรกได้แก่
- นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.กระทรวงศึกษาธิการ (ร้อยละ 81.8 ระบุเห็นด้วย)
- นายทนง พิทยะ รมว.กระทรวงการคลัง (ร้อยละ 71.9 ระบุเห็นด้วย)
- นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี/รมว.กระทรวงพาณิชย์ (ร้อยละ 71.1 ระบุเห็นด้วย)
- นายอดิศร เพียงเกษ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ (ร้อยละ 67.3)
- พลตำรวจเอกชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี/รมว.กระทรวงยุติธรรม (ร้อยละ 66.6
ระบุเห็นด้วย)
ทั้งนี้เพื่อพิจารณาความคิดเห็นของตัวอย่างต่อการปรับคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้พบว่าตัวอย่างร้อยละ 54.5
ระบุพอใจ ในขณะที่ร้อยละ 21.2 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 24.3 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายที่ค้นพบจากการสำรวจของเอแบคโพลล์ในครั้งนี้คือ ปัญหาเร่งด่วนที่ประชาชน
ต้องการให้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่เร่งแก้ไขซึ่ง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 49.1 ระบุปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาค
ใต้ ร้อยละ 45.1 ระบุปัญหาเศรษฐกิจ ร้อยละ 20.8 ระบุปัญหาความยากจนของประชาชน ร้อยละ 16.7 ระบุ
ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น และร้อยละ 13.3 ระบุปัญหาการจราจรติดขัดตามลำดับ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ การรับรู้ข่าวการปรับคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุดของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
ลำดับที่ การรับรู้ของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 รับรู้ต่อข่าวดังกล่าว 91.3
2 ไม่ทราบ 8.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการปรับคณะรัฐมนตรีจะทำให้การแก้ปัญหา
สำคัญของประเทศต่อไปนี้อย่างไร
ปัญหาสำคัญของประเทศ ดีขึ้น เหมือนเดิม แย่ลง ไม่มีความคิดเห็น รวมทั้งสิ้น
1. ปัญหาความยากจน 23.9 41.6 28.3 6.2 100.0
2. ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 24.5 45.7 21.4 8.4 100.0
3. ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 28.3 41.9 21.4 8.4 100.0
4. ปัญหาความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง 34.2 42.2 12.4 11.2 100.0
5. ปัญหาเศรษฐกิจ 40.0 38.1 14.9 7.0 100.0
6. ปัญหาความล่าช้าในการปฏิรูปการศึกษา 45.6 33.1 10.4 10.9 100.0
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความคิดเห็นต่อการที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
แต่งตั้งบุคคลต่อไปนี้เป็นรัฐมนตรี
รายชื่อรัฐมนตรีที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่มีความคิดเห็น รวมทั้งสิ้น
1. นายจาตุรนต์ ฉายแสง 81.8 7.5 10.7 100.0
2. นายทนง พิทยะ 71.9 14.1 14.0 100.0
3. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ 71.1 13.4 15.5 100.0
4. นายอดิศร เพียงเกษ 67.3 17.0 15.7 100.0
5. พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ 66.6 14.8 18.6 100.0
6. พล.อ.อ.คงศักดิ์ วันทนา 60.5 19.0 20.5 100.0
7. นายเนวิน ชิดชอบ 59.5 28.0 12.5 100.0
8. นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล 59.3 15.9 24.8 100.0
9. นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 46.1 39.8 14.1 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความพึงพอใจโดยภาพรวมต่อการปรับคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้
ลำดับที่ ความพอใจของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 พอใจ 54.5
2 ไม่พอใจ 21.2
3 ไม่มีความเห็น 24.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความเห็นต่อปัญหาที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ควรแก้ไข
อย่างเร่งด่วน
ลำดับที่ ปัญหาที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ควรแก้ไขอย่างเร่งด่วน ค่าร้อยละ
1 ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 49.1
2 ปัญหาเศรษฐกิจ 45.1
3 ปัญหาความยากจนของประชาชน 20.8
4 ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น 16.7
5 ปัญหาการจราจรติดขัด 13.3
6 ปัญหาค่าครองชีพสูง/สินค้าราคาแพง 10.6
7 ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพการศึกษาของประชาชน 7.8
8 ปัญหาน้ำมันขึ้นราคา 6.5
9 อื่นๆ อาทิ ปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติด/การปรับ
ค่าแรงขั้นต่ำ/ปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ของประชาชน/ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เป็นต้น 10.6
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-