จากการที่การทางพิเศษประกาศปรับอัตราค่าผ่านทางตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เป็นต้นมานั้น คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ยืนยันว่า เป็นการดำเนินการผิดขั้นตอน เนื่องจากยังไม่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และผลกระทบจากการตัดสินของคณะกรรมการกฤษฎีกาครั้งนี้ ส่งผลให้มีการออกมาวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับการผู้ที่รับผิดชอบในการปรับอัตราค่าผ่านทางและการคืนค่าผ่านทางที่ได้ปรับขึ้น
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจการรับรู้ข่าวของประชาชนต่อการปรับขึ้นอัตราค่าผ่านทางของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และ ทัศนคติความคิดเห็นของประชาชน ในประเด็นการแก้ปัญหาการเก็บค่าผ่านทางที่เกินไป ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 9 - 10 สิงหาคม 2544 ตัวอย่างที่ระบุ การใช้บริการของทางด่วนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 46.2 ใช้ทางด่วน ร้อยละ 53.8 ไม่ใช้ และยังระบุความจำเป็นต้องใช้ ร้อยละ 82.7 ไม่จำเป็น ร้อยละ 17.3 ด้านการรับข่าวการคิดค่าทางด่วนที่บวกภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอน ประชาชน ร้อยละ 65.8 ทราบ ร้อยละ 34.2 ไม่ทราบ หน่วยงานที่ควรรับผิดชอบเห็นว่าเป็น คณะกรรมการ ( บอร์ด ) ของการทางพิเศษ ร้อยละ 39.6 ผู้บริหารระดับสูงของการทางพิเศษฯ ร้อยละ 35.0 รัฐมนตรีที่กำกับดูแล ร้อยละ 32.8
ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีการเก็บค่าทางด่วนเกินไป การหยุดเก็บเงินที่เพิ่มขึ้นทันที ประชาชนเห็นด้วย ร้อยละ 82.3 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 7.7 ให้คืนเงินค่าผ่านทางที่เก็บเกินไปตามใบเสร็จ เห็นด้วย ร้อยละ 48.1 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 28.2 ให้ส่วนลดแก่ผู้ใช้บริการทางด่วนตามระยะเวลาที่เก็บเกินไป เห็นด้วย ร้อยละ 76.4 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 9.6 เป็นต้น หน่วยงานที่ควรได้รับการยกย่องในการเรียกร้องให้แก้ปัญหาค่าทางด่วน เห็นว่า เป็น สภาทนายความ ร้อยละ 41.1 สื่อมวลชน ร้อยละ 36.2 กลุ่มองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ร้อยละ 36.2 ส่วนภาพลักษณ์ของการทางพิเศษในสายตาของตัวอย่าง เห็นว่าเสียหาย ร้อยละ 70.1 ไม่เสียหาย ร้อยละ 11.1 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 18.8
--เอแบคโพลล์--
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจการรับรู้ข่าวของประชาชนต่อการปรับขึ้นอัตราค่าผ่านทางของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และ ทัศนคติความคิดเห็นของประชาชน ในประเด็นการแก้ปัญหาการเก็บค่าผ่านทางที่เกินไป ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 9 - 10 สิงหาคม 2544 ตัวอย่างที่ระบุ การใช้บริการของทางด่วนในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 46.2 ใช้ทางด่วน ร้อยละ 53.8 ไม่ใช้ และยังระบุความจำเป็นต้องใช้ ร้อยละ 82.7 ไม่จำเป็น ร้อยละ 17.3 ด้านการรับข่าวการคิดค่าทางด่วนที่บวกภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นเป็นการกระทำที่ผิดขั้นตอน ประชาชน ร้อยละ 65.8 ทราบ ร้อยละ 34.2 ไม่ทราบ หน่วยงานที่ควรรับผิดชอบเห็นว่าเป็น คณะกรรมการ ( บอร์ด ) ของการทางพิเศษ ร้อยละ 39.6 ผู้บริหารระดับสูงของการทางพิเศษฯ ร้อยละ 35.0 รัฐมนตรีที่กำกับดูแล ร้อยละ 32.8
ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหาที่มีการเก็บค่าทางด่วนเกินไป การหยุดเก็บเงินที่เพิ่มขึ้นทันที ประชาชนเห็นด้วย ร้อยละ 82.3 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 7.7 ให้คืนเงินค่าผ่านทางที่เก็บเกินไปตามใบเสร็จ เห็นด้วย ร้อยละ 48.1 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 28.2 ให้ส่วนลดแก่ผู้ใช้บริการทางด่วนตามระยะเวลาที่เก็บเกินไป เห็นด้วย ร้อยละ 76.4 ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 9.6 เป็นต้น หน่วยงานที่ควรได้รับการยกย่องในการเรียกร้องให้แก้ปัญหาค่าทางด่วน เห็นว่า เป็น สภาทนายความ ร้อยละ 41.1 สื่อมวลชน ร้อยละ 36.2 กลุ่มองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ร้อยละ 36.2 ส่วนภาพลักษณ์ของการทางพิเศษในสายตาของตัวอย่าง เห็นว่าเสียหาย ร้อยละ 70.1 ไม่เสียหาย ร้อยละ 11.1 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 18.8
--เอแบคโพลล์--