แท็ก
เอแบคโพลล์
ที่มาของโครงการ
คงเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า องค์กรอิสระเป็นความหวังของประชาชนในการปฏิรูปการเมือง ซึ่งกำลังปฏิบัติภารกิจสำคัญ
ทางการเมืองอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างระบบและสรรหาบุคคลที่เหมาะสมเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพลดความ
เดือดร้อนของประชาชน อย่างไรก็ตาม ได้มีกระแสข่าวถึงความพยายามลดความน่าเชื่อถือขององค์กรอิสระเหล่านั้น
สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ หรือเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิง
สถิติศาสตร์เพื่อสะท้อนความคิดเห็นและความเชื่อมั่นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและ 3 จังหวัดหัวเมืองใหญ่ต่อประเด็นดังกล่าว
ซึ่งคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันทางการเมือง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชนทั่วไป สำนักวิจัยฯ จึงได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่
และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่เป้าหมายเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความมั่นใจของประชาชนต่อองค์กร / สถาบันในการปฏิรูปการเมือง
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่ออุปสรรคในการปฏิรูปการเมือง
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ หรือเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้
เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการทำงานขององค์กร / สถาบันในการปฏิรูปการเมือง : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพ
มหานครและ 3 จังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา” ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 25 มีนาคม - 7
เมษายน 2544
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิแบ่งกลุ่ม (stratified cluster sampling) ในการเลือกเขตพื้นที่
ตัวอย่าง จากนั้นใช้เทคนิคการสุ่มแบบ quota sampling โดยให้มีลักษณะตัวแปรสอดคล้องกับ
ลักษณะของประชากรที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง คือ 2,420 ตัวอย่าง
โดยมีช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 และความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างร้อยละ 5.0
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อน
นำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณที่ใช้เป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า
ร้อยละ 52.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.9 ระบุเป็นชาย
ซึ่งร้อยละ 29.7 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 24.1 อายุ 20 - 29 ปี
ร้อยละ 20.4 อายุ 40 - 49 ปี
ร้อยละ 19.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 6.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 27.4 ระบุค้าขายส่วนตัว / อาชีพอิสระ
ร้อยละ 24.3 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 15.0 ระบุเป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 12.4 ระบุเป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 8.7 ระบุเป็นแม่บ้าน / เกษียณ
ในขณะที่ร้อยละ 6.6 ระบุเป็นนักศึกษา
และร้อยละ 5.6 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ซึ่งกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 75.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ในขณะที่ร้อยละ 21.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.3 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
รายละเอียดของประเด็นสำคัญที่ค้นพบปรากฏในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความมั่นใจต่อองค์การ / สถาบันในการปฏิรูปการเมืองให้สำเร็จ
ลุล่วงไปได้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ องค์กร / สถาบัน เมษายน 44
ร้อยละ
1 ศาลรัฐธรรมนูญ 44.1
2 คณะกก.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) 40
3 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 36.2
4 ศาล 24
5 สื่อมวลชน 21.3
6 นักวิชาการ 17
7 องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) 12.8
8 วุฒิสภา (ส.ว.) 10.4
9 สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 10.2
10 ทหาร 8
11 ตำรวจ 4.2
12 ไม่มีองค์กรใดเลย 18.4
13 ไม่มีความคิดเห็น 16.8
ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความมั่นใจต่อองค์การ / สถาบันในการปฏิรูปการเมืองให้
สำเร็จลุล่วงไปได้ ระหว่างเดือนสิงหาคม 2543 กับเดือนเมษายน 2544
ลำดับที่ องค์กร / สถาบัน สิงหาคม 43 เมษายน 44 ส่วนต่าง
ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ
1 ศาลรัฐธรรมนูญ 36.1 44.1 8
2 คณะกก.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) 30.9 40 9.1
3 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 33 36.2 3.2
4 ศาล 22.9 24 1.1
5 สื่อมวลชน 18.9 21.3 2.4
6 นักวิชาการ 13.2 17 3.8
7 องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) 9.7 12.8 3.1
8 วุฒิสภา (ส.ว.) 23.5 10.4 -13.1
9 สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 15.2 10.2 -5
10 ทหาร 8.2 8 -0.2
11 ตำรวจ 5.7 4.2 -1.5
12 ไม่มีองค์กรใดเลย 10.1 18.4 8.3
13 ไม่มีความคิดเห็น 12.9 16.8 3.9
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ อุปสรรคในการปฏิรูปการเมือง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ทรรศนะของตัวอย่างต่ออุปสรรคในการปฏิรูปการเมือง ร้อยละ
1 การทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง 62.4
2 ความไม่จริงใจของนักการเมือง 58.7
3 การแทรกแซงองค์กรอิสระของกลุ่มผลประโยชน์ / กลุ่มทุน 52.2
4 การแสวงหาผลประโยชน์ในสถาบันการเมือง 46.8
5 ความแตกแยกในสังคม 32.5
6 ประชาชนเบื่อการเมือง 30.9
7 อื่นๆ อาทิ การปฏิวัติรัฐประหาร / การชุมนุมประท้วงรุนแรง เป็นต้น 18.8
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ แนวทางแก้ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิรูปการเมือง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ทรรศนะของตัวอย่างต่อแนวทางแก้ปัญหาและอุปสรรค ในการปฏิรูปการเมือง ร้อยละ
1 ลงโทษเอาผิดนักการเมืองที่ฝ่าฝืนกฎหมายบ้านเมือง 66.1
2 ขจัดกลุ่มอิทธิพลและผลประโยชน์ทางการเมือง 62.4
3 องค์กรอิสระ / สถาบันในการปฏิรูปการเมืองต้องเข้มแข็ง ไม่ยอมให้มีการแทรกแซง เช่น 58.3
ศาลรัฐธรรมนูญ / ป.ป.ช. / ก.ก.ต. เป็นต้น
4 ประชาชนต้องคอยตรวจสอบความประพฤติและการทำงานของฝ่ายการเมือง 47.6
5 เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระ 44.1
6 สร้างความสามัคคีของคนในชาติ 34.6
7 ป้องกันการแทรกแซงการทำงานของข้าราชการจากฝ่ายการเมือง 33.2
8 อื่นๆ อาทิ ให้การศึกษาแก่ประชาชน เป็นต้น 10.5
--เอแบคโพลล์--
คงเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปแล้วว่า องค์กรอิสระเป็นความหวังของประชาชนในการปฏิรูปการเมือง ซึ่งกำลังปฏิบัติภารกิจสำคัญ
ทางการเมืองอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อสร้างระบบและสรรหาบุคคลที่เหมาะสมเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพลดความ
เดือดร้อนของประชาชน อย่างไรก็ตาม ได้มีกระแสข่าวถึงความพยายามลดความน่าเชื่อถือขององค์กรอิสระเหล่านั้น
สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ หรือเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิง
สถิติศาสตร์เพื่อสะท้อนความคิดเห็นและความเชื่อมั่นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและ 3 จังหวัดหัวเมืองใหญ่ต่อประเด็นดังกล่าว
ซึ่งคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันทางการเมือง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสาธารณชนทั่วไป สำนักวิจัยฯ จึงได้จัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่
และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่เป้าหมายเก็บรวบรวมข้อมูลตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความมั่นใจของประชาชนต่อองค์กร / สถาบันในการปฏิรูปการเมือง
2. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่ออุปสรรคในการปฏิรูปการเมือง
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ หรือเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้
เรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรต่อการทำงานขององค์กร / สถาบันในการปฏิรูปการเมือง : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพ
มหานครและ 3 จังหวัดหัวเมืองใหญ่ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา” ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 25 มีนาคม - 7
เมษายน 2544
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ ขอนแก่น และสงขลา
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิแบ่งกลุ่ม (stratified cluster sampling) ในการเลือกเขตพื้นที่
ตัวอย่าง จากนั้นใช้เทคนิคการสุ่มแบบ quota sampling โดยให้มีลักษณะตัวแปรสอดคล้องกับ
ลักษณะของประชากรที่ได้จากการทำสำมะโน
ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง คือ 2,420 ตัวอย่าง
โดยมีช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 และความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างร้อยละ 5.0
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อน
นำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล และงบประมาณที่ใช้เป็นของมหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า
ร้อยละ 52.1 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 47.9 ระบุเป็นชาย
ซึ่งร้อยละ 29.7 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 24.1 อายุ 20 - 29 ปี
ร้อยละ 20.4 อายุ 40 - 49 ปี
ร้อยละ 19.5 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 6.3 อายุต่ำกว่า 20 ปี
นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 27.4 ระบุค้าขายส่วนตัว / อาชีพอิสระ
ร้อยละ 24.3 ระบุรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 15.0 ระบุเป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 12.4 ระบุเป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 8.7 ระบุเป็นแม่บ้าน / เกษียณ
ในขณะที่ร้อยละ 6.6 ระบุเป็นนักศึกษา
และร้อยละ 5.6 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ซึ่งกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 75.2 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ในขณะที่ร้อยละ 21.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 3.3 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
รายละเอียดของประเด็นสำคัญที่ค้นพบปรากฏในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความมั่นใจต่อองค์การ / สถาบันในการปฏิรูปการเมืองให้สำเร็จ
ลุล่วงไปได้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ องค์กร / สถาบัน เมษายน 44
ร้อยละ
1 ศาลรัฐธรรมนูญ 44.1
2 คณะกก.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) 40
3 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 36.2
4 ศาล 24
5 สื่อมวลชน 21.3
6 นักวิชาการ 17
7 องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) 12.8
8 วุฒิสภา (ส.ว.) 10.4
9 สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 10.2
10 ทหาร 8
11 ตำรวจ 4.2
12 ไม่มีองค์กรใดเลย 18.4
13 ไม่มีความคิดเห็น 16.8
ตารางที่ 2 แสดงการเปรียบเทียบค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ความมั่นใจต่อองค์การ / สถาบันในการปฏิรูปการเมืองให้
สำเร็จลุล่วงไปได้ ระหว่างเดือนสิงหาคม 2543 กับเดือนเมษายน 2544
ลำดับที่ องค์กร / สถาบัน สิงหาคม 43 เมษายน 44 ส่วนต่าง
ร้อยละ ร้อยละ ร้อยละ
1 ศาลรัฐธรรมนูญ 36.1 44.1 8
2 คณะกก.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) 30.9 40 9.1
3 คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) 33 36.2 3.2
4 ศาล 22.9 24 1.1
5 สื่อมวลชน 18.9 21.3 2.4
6 นักวิชาการ 13.2 17 3.8
7 องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) 9.7 12.8 3.1
8 วุฒิสภา (ส.ว.) 23.5 10.4 -13.1
9 สภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 15.2 10.2 -5
10 ทหาร 8.2 8 -0.2
11 ตำรวจ 5.7 4.2 -1.5
12 ไม่มีองค์กรใดเลย 10.1 18.4 8.3
13 ไม่มีความคิดเห็น 12.9 16.8 3.9
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ อุปสรรคในการปฏิรูปการเมือง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ทรรศนะของตัวอย่างต่ออุปสรรคในการปฏิรูปการเมือง ร้อยละ
1 การทุจริตคอรัปชั่นของนักการเมือง 62.4
2 ความไม่จริงใจของนักการเมือง 58.7
3 การแทรกแซงองค์กรอิสระของกลุ่มผลประโยชน์ / กลุ่มทุน 52.2
4 การแสวงหาผลประโยชน์ในสถาบันการเมือง 46.8
5 ความแตกแยกในสังคม 32.5
6 ประชาชนเบื่อการเมือง 30.9
7 อื่นๆ อาทิ การปฏิวัติรัฐประหาร / การชุมนุมประท้วงรุนแรง เป็นต้น 18.8
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ แนวทางแก้ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิรูปการเมือง
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ทรรศนะของตัวอย่างต่อแนวทางแก้ปัญหาและอุปสรรค ในการปฏิรูปการเมือง ร้อยละ
1 ลงโทษเอาผิดนักการเมืองที่ฝ่าฝืนกฎหมายบ้านเมือง 66.1
2 ขจัดกลุ่มอิทธิพลและผลประโยชน์ทางการเมือง 62.4
3 องค์กรอิสระ / สถาบันในการปฏิรูปการเมืองต้องเข้มแข็ง ไม่ยอมให้มีการแทรกแซง เช่น 58.3
ศาลรัฐธรรมนูญ / ป.ป.ช. / ก.ก.ต. เป็นต้น
4 ประชาชนต้องคอยตรวจสอบความประพฤติและการทำงานของฝ่ายการเมือง 47.6
5 เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานขององค์กรอิสระ 44.1
6 สร้างความสามัคคีของคนในชาติ 34.6
7 ป้องกันการแทรกแซงการทำงานของข้าราชการจากฝ่ายการเมือง 33.2
8 อื่นๆ อาทิ ให้การศึกษาแก่ประชาชน เป็นต้น 10.5
--เอแบคโพลล์--