ประชาชนคิดอย่างไรต่อกรณีข่าวการขุดพบมหาสมบัติที่ถ้ำลิเจีย จ.กาญจนบุรี: กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
ที่มาของโครงการ
จากกรณีข่าวการขุดพบมหาสมบัติที่ถ้ำลิเจียโดยคณะทำงานของ ร.ต.ท.เชาวริน ซึ่งได้พยายามทำงานด้านนี้มาโดยตลอด
จนออกมาแถลงข่าวให้สาธารณชนทราบถึงความสำเร็จในเรื่องดังกล่าว สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซี อินเตอร์เนตโพลล์ หรือเอแบค
โพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของกลุ่มประชากรเป้า
หมายที่ประกอบด้วยประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครต่อประเด็นดังกล่าวข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงาน
เก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีข่าวการขุดพบมหาสมบัติที่ถ้ำลิเจีย
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์หรือเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ เรื่อง “ประชาชนคิด
อย่างไรต่อกรณีข่าวการขุดพบมหาสมบัติที่ถ้ำลิเจีย จ.กาญจนบุรี : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่ง
ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 13-14 เมษายน 2544
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือก
พื้นที่ตัวอย่าง และใช้เทคนิคแบบQuota Sampling โดยให้มีลักษณะตัวแปรสอดคล้องกับลักษณะของประชากรที่ได้จากการทำสำมะโน
กระจายไปตามเขตปกครองต่างๆทั่วกรุงเทพมหานคร
ขนาดกลุ่มตัวอย่าง คือ 1,237 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของ
มหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 54.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.2 ระบุเป็นชาย
ซึ่งกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 29.6 ระบุอายุระหว่าง 20 - 29 ปี
รองลงมาคือร้อยละ 24.5 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 16.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ในขณะที่ร้อยละ 7.1 อายุ ต่ำกว่า 20 ปี
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 28.4 ระบุอาชีพค้าขายส่วนตัว /อาชีพอิสระ
ร้อยละ 23.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 16.3 ระบุอาชีพพนักงานเอกชน
ร้อยละ 11.2 ระบุ เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.5 ระบุอาชีพนักศึกษา
ร้อยละ 6.8 ระบุ เป็นแม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 5.6 ระบุ ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 74.8 ระบุ สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 21.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ในขณะที่ร้อยละ 3.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตาราง ต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อต่อข่าวการขุดพบมหาสมบัติที่ถ้ำลิเจีย
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อ 64.2
2 ไม่เชื่อ 35.8
รวมทั้งสิ้น 100
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความความห่วงใยต่อปัญหาการโจรกรรมมหาสมบัติที่ขุดพบ
ถ้าหากมีการขุดพบมหาสมบัติจริง
ลำดับที่ ความห่วงใยของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เป็นห่วง 71.2
2 ไม่เป็นห่วง 10.4
ไม่มีความคิดเห็น 18.4
รวมทั้งสิ้น 100
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทัศนคติต่อความจำเป็นในการอารักขามหาสมบัติที่ขุดพบ
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่างต่อความจำเป็นในการอารักขามหาสมบัติ ค่าร้อยละ
1 จำเป็น 69.8
2 ไม่จำเป็น 12
3 ไม่มีความคิดเห็น 18.2
รวมทั้งสิ้น 100
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแนวทางการใช้ประโยชน์จากมหาสมบัติที่ขุดพบ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แนวทางการใช้ประโยชน์จากมหาสมบัติที่ขุดพบ ค่าร้อยละ
1 ฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ 74.7
2 เก็บเป็นเงินคงคลังของประเทศ 58.1
3 ใช้หนี้สินต่างประเทศ 52.4
4 จัดสรรงบประมาณในการแก้ปัญหาของประเทศ 40.3
5 เร่งทำนโยบายรัฐบาลให้เป็นจริง 38.7
6 อื่นๆอาทิ แก้ปัญหายาเสพย์ติด /พัฒนาด้านการศึกษา เป็นต้น 28.9
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อคำถามที่ว่า “ถ้าหากมีการขุดพบมหาสมบัติจริง คุณเห็นด้วยหรือไม่
ที่จะนำมหาสมบัติดังกล่าวมาแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศ”
ลำดับที่ คำตอบต่อคำถามที่ว่า “ถ้าหากมีการขุดพบมหาสมบัติจริง คุณเห็นด้วย หรือไม่ ค่าร้อยละ
ที่จะนำมหาสมบัติดังกล่าวมาแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศ”
1 เห็นด้วย 90.3
2 ไม่เห็นด้วย 3.6
3 ไม่มีความคิดเห็น 6.1
รวมทั้งสิ้น 100
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยินยอมให้ต่างชาติมาอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของมหาสมบัติที่ขุดพบ
ลำดับที่ การยินยอมของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ยินยอม 2.4
2 ไม่ยินยอม 90.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 7.5
รวมทั้งสิ้น 100
--เอแบคโพลล์--
ที่มาของโครงการ
จากกรณีข่าวการขุดพบมหาสมบัติที่ถ้ำลิเจียโดยคณะทำงานของ ร.ต.ท.เชาวริน ซึ่งได้พยายามทำงานด้านนี้มาโดยตลอด
จนออกมาแถลงข่าวให้สาธารณชนทราบถึงความสำเร็จในเรื่องดังกล่าว สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซี อินเตอร์เนตโพลล์ หรือเอแบค
โพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์ เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของกลุ่มประชากรเป้า
หมายที่ประกอบด้วยประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครต่อประเด็นดังกล่าวข้างต้น ด้วยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงาน
เก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีข่าวการขุดพบมหาสมบัติที่ถ้ำลิเจีย
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์หรือเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ เรื่อง “ประชาชนคิด
อย่างไรต่อกรณีข่าวการขุดพบมหาสมบัติที่ถ้ำลิเจีย จ.กาญจนบุรี : กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร” ซึ่ง
ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 13-14 เมษายน 2544
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มชั้นภูมิ (Stratified Cluster Sampling) ในการเลือก
พื้นที่ตัวอย่าง และใช้เทคนิคแบบQuota Sampling โดยให้มีลักษณะตัวแปรสอดคล้องกับลักษณะของประชากรที่ได้จากการทำสำมะโน
กระจายไปตามเขตปกครองต่างๆทั่วกรุงเทพมหานคร
ขนาดกลุ่มตัวอย่าง คือ 1,237 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูลและงบประมาณเป็นของ
มหาวิทยาลัย
ผลสำรวจที่ค้นพบ
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 54.8 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 45.2 ระบุเป็นชาย
ซึ่งกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 29.6 ระบุอายุระหว่าง 20 - 29 ปี
รองลงมาคือร้อยละ 24.5 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 22.7 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 16.1 อายุ 50 ปีขึ้นไป
ในขณะที่ร้อยละ 7.1 อายุ ต่ำกว่า 20 ปี
ซึ่งตัวอย่างร้อยละ 28.4 ระบุอาชีพค้าขายส่วนตัว /อาชีพอิสระ
ร้อยละ 23.2 ระบุอาชีพรับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 16.3 ระบุอาชีพพนักงานเอกชน
ร้อยละ 11.2 ระบุ เป็นข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 8.5 ระบุอาชีพนักศึกษา
ร้อยละ 6.8 ระบุ เป็นแม่บ้าน/เกษียณอายุ
และร้อยละ 5.6 ระบุ ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 74.8 ระบุ สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ร้อยละ 21.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ในขณะที่ร้อยละ 3.7 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตาราง ต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อต่อข่าวการขุดพบมหาสมบัติที่ถ้ำลิเจีย
ลำดับที่ ความเชื่อของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เชื่อ 64.2
2 ไม่เชื่อ 35.8
รวมทั้งสิ้น 100
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความความห่วงใยต่อปัญหาการโจรกรรมมหาสมบัติที่ขุดพบ
ถ้าหากมีการขุดพบมหาสมบัติจริง
ลำดับที่ ความห่วงใยของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 เป็นห่วง 71.2
2 ไม่เป็นห่วง 10.4
ไม่มีความคิดเห็น 18.4
รวมทั้งสิ้น 100
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุทัศนคติต่อความจำเป็นในการอารักขามหาสมบัติที่ขุดพบ
ลำดับที่ ความเห็นของตัวอย่างต่อความจำเป็นในการอารักขามหาสมบัติ ค่าร้อยละ
1 จำเป็น 69.8
2 ไม่จำเป็น 12
3 ไม่มีความคิดเห็น 18.2
รวมทั้งสิ้น 100
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแนวทางการใช้ประโยชน์จากมหาสมบัติที่ขุดพบ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ แนวทางการใช้ประโยชน์จากมหาสมบัติที่ขุดพบ ค่าร้อยละ
1 ฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ 74.7
2 เก็บเป็นเงินคงคลังของประเทศ 58.1
3 ใช้หนี้สินต่างประเทศ 52.4
4 จัดสรรงบประมาณในการแก้ปัญหาของประเทศ 40.3
5 เร่งทำนโยบายรัฐบาลให้เป็นจริง 38.7
6 อื่นๆอาทิ แก้ปัญหายาเสพย์ติด /พัฒนาด้านการศึกษา เป็นต้น 28.9
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุคำตอบต่อคำถามที่ว่า “ถ้าหากมีการขุดพบมหาสมบัติจริง คุณเห็นด้วยหรือไม่
ที่จะนำมหาสมบัติดังกล่าวมาแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศ”
ลำดับที่ คำตอบต่อคำถามที่ว่า “ถ้าหากมีการขุดพบมหาสมบัติจริง คุณเห็นด้วย หรือไม่ ค่าร้อยละ
ที่จะนำมหาสมบัติดังกล่าวมาแก้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศ”
1 เห็นด้วย 90.3
2 ไม่เห็นด้วย 3.6
3 ไม่มีความคิดเห็น 6.1
รวมทั้งสิ้น 100
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการยินยอมให้ต่างชาติมาอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของมหาสมบัติที่ขุดพบ
ลำดับที่ การยินยอมของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ยินยอม 2.4
2 ไม่ยินยอม 90.1
3 ไม่มีความคิดเห็น 7.5
รวมทั้งสิ้น 100
--เอแบคโพลล์--