ที่มาของโครงการ
สถานการณ์ของประเทศในขณะนี้มีเรื่องน่าวิตกอยู่หลายประการ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาทางเศรษฐกิจ
ที่ราคาน้ำมันขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้สินค้าต่างๆราคาสูงขึ้นตาม ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของ
ประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัญหาสังคม ยาเสพติดก็ยังเผลอยังแผ่วไม่ได้ ปัญหาอาชญากรรมที่นับวันยิ่งทวีความ
รุนแรงมากขึ้น และปัญหาการเปิดสถานบันเทิง เช่น อาบอบนวด ผับ บาร์ ในบริเวณใกล้สถานศึกษา ก็เป็น
ประเด็นปัญหาที่สังคมกำลังรอการแก้ไขจากรัฐบาล ขณะเดียวกันปัญหาการเมือง อาทิ การที่รัฐบาลประกาศใช้
พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็
เป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายต่างจับตามอง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์
จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงประเด็นความคิดเห็นที่มีต่อประเด็นสำคัญทางเศรษฐกิจ
สังคม และการเมือง เพื่อสะท้อนปัญหา ความคิดเห็นและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
โดยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้าน
ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทยในปัจจุบัน
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “ความคิด
เห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทยในปัจจุบัน: กรณีศึกษาประชาชนใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 8-9 กันยายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified
Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้า
หมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,367 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 50.5 เป็นหญิง ร้อยละ 49.5 เป็น
ชาย ตัวอย่างร้อยละ 24.6 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี ร้อยละ 23.9 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ
22.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 18.8 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี และร้อยละ 10.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 77.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 21.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และ ร้อยละ 1.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 25.0 ระบุอาชีพ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 21.3 ระบุอาชีพ
เกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 17.9 ระบุเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 11.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/
พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.6 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 8.9 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
อายุ ในขณะที่ร้อยละ 1.8 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ/ว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผลสำรวจ เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็น
สำคัญทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทยในปัจจุบัน: กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”
ในครั้งนี้ มีขนาดตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 1,367 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 8-9 กันยายน 2548
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ผลการสำรวจการติดตามข่าวสารประจำวันผ่านสื่อมวลชนพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 58.7 ระบุติดตามข่าว
ทุกวัน/เกือบทุกวัน ในขณะที่ร้อยละ 17.7 ระบุติดตามข่าวประมาณ 3-5 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 13.7 ระบุติดตาม
ข่าว 1-2 วันต่อสัปดาห์ ตามลำดับ ทั้งนี้ตัวอย่างได้ระบุข่าวที่ทำให้รู้สึกวิตกกังวล 5 อันดับแรกได้แก่ ข่าวราคา
น้ำมันสูงขึ้น (ร้อยละ 75.5) ข่าวราคาสินค้าสูงขึ้น (ร้อยละ 65.1) ข่าวปัญหาชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 55.4)
ข่าวอาชญากรรม (ร้อยละ 27.6) และข่าวยาเสพติดที่กำลังจะกลับมาแพร่ระบาด (ร้อยละ 27.1) ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความพอใจต่อมาตรการของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา
ราคาน้ำมันสูงขึ้นนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 12.3 ระบุพอใจ ร้อยละ 12.6 ระบุค่อนข้างพอใจ ร้อยละ
37.4 ระบุไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 26.2 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 11.5 ไม่ระบุความเห็น และเมื่อคณะผู้วิจัย
ได้สอบถามต่อไปถึงความพึงพอใจต่อมาตรการของรัฐบาล ในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนใน
การจับจ่ายซื้อสินค้าในช่วงราคาน้ำมันสูงขึ้นนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 15.1 ระบุพอใจ ร้อยละ
18.5 ระบุค่อนข้างพอใจ ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 31.7 ระบุไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 25.0 ระบุไม่พอใจและ
ร้อยละ 9.7 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อเศรษฐกิจของ
ประเทศในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี พบว่า ตัวอย่างกว่า 2 ใน 3 คือร้อยละ 65.3 ระบุคิดว่าเศรษฐกิจของ
ประเทศจะแย่เหมือนเดิม/แย่ลงกว่าเดิม ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 7.7 ระบุคิดว่าเศรษฐกิจของประเทศจะดีขึ้น และ
ร้อยละ 15.5 ระบุคิดว่าเศรษฐกิจของประเทศจะดีเหมือนเดิม ร้อยละ 11.5 ไม่ระบุความคิดเห็น และผลการ
สำรวจความนิยมศรัทธาในตัวนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์ที่ราคาน้ำมันยังคงสูงต่อไปเรื่อยๆเช่นนี้ พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 41.2 ระบุเสียความนิยมศรัทธาที่มีต่อนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะที่ร้อยละ 35.0
ระบุไม่เสียความนิยม และร้อยละ 23.8 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ ความหวาดกลัวของตัวอย่างต่อปัญหาอาชญากรรมในช่วงที่ราคาน้ำมัน
และสินค้าสูงขึ้นนี้ โดยผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 54.9 ระบุรู้สึกหวาดกลัวต่อปัญหา
อาชญากรรม ในขณะที่ร้อยละ 31.9 ระบุไม่รู้สึกหวาดกลัว และร้อยละ 13.2 ระบุไม่หวาดกลัว ทั้งนี้เรื่องที่กลัว
มากที่สุดได้แก่ การงัดแงะ จี้ปล้น วิ่งราว การข่มขืน ลวนลามทางเพศ การข่มเหงรังแกโดยพวกมาเฟีย กลุ่มผู้มี
อิทธิพลการทำร้ายร่างกาย การยกพวกตีกัน การทำลายทรัพย์สินสาธารณะ เช่นตู้โทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งผลการสำรวจ
ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อสถานการณ์ปัญหาอาชญากรรมในชุมชนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมานั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ
20.4 ระบุในชุมชนของตนมีปัญหาอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 26.9 ระบุเท่าเดิม ร้อยละ 28.2 ระบุลดลง
และร้อยละ 24.5 ไม่ทราบ และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงการเข้ามาตรวจตราความปลอดภัยภายในชุมชน
ของเจ้าหน้าที่สายตรวจ พบว่าตัวอย่างร้อยละ 12.2 ระบุเคยพบเห็นเจ้าหน้าที่สายตรวจเข้ามาตรวจตราความ
ปลอดภัยในชุมชนของตนบ่อยๆ ในขณะที่ร้อยละ 52.3 ระบุเคยพบเห็นแต่ไม่บ่อย ร้อยละ 28.7 ระบุไม่เคยพบ
เห็นเลย และร้อยละ 6.8 ระบุไม่ทราบ อย่างไรก็ตามตัวอย่างได้ระบุเวลาโดยเฉลี่ยที่คาดหวังว่าเจ้าหน้าที่
ตำรวจจะมาถึงที่เกิดเหตุ ถ้าหากเกิดปัญหาอาชญากรรมขึ้นภายในชุมชนที่ตนเองพักอาศัยไม่เกิน 15 นาทีนั่นคือ
13.7 นาที แต่ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นนั้น ตัวอย่างที่เคยประสบเหตุอาชญากรรมในชุมชนของตนระบุเวลาโดยเฉลี่ย
ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการมาถึงที่เกิดเหตุประมาณครึ่งชั่วโมงหรือเท่ากับ 29.9 นาที
นอกจากนี้ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ยังได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อการเปิดสถาน
บริการ/สถานบันเทิง ในบริเวณใกล้โรงเรียน/สถานศึกษา ซึ่งกำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางใน
ขณะนี้ ดังนี้ ตัวอย่างร้อยละ 62.1 ระบุรัฐบาลควรทบทวนกรณีดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 26.7 ระบุไม่ควร
ทบทวน และร้อยละ 11.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายคือความคิดเห็นของตัวอย่างต่อสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลานาน โดยตัวอย่างร้อยละ 69.2 ระบุเห็นด้วยกับการที่รัฐบาลประกาศใช้พระราชกำหนด
การบริหารราชการฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในขณะที่ร้อย
ละ 8.9 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 21.9 ไม่ระบุความคิดเห็น อย่างไรก็ตามเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความ
เชื่อมั่นของตัวอย่างที่มีต่อรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 48.8 ระบุไม่เชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 36.2 ระบุเชื่อมั่น และร้อยละ 15.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
ทั้งนี้ตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นต่อการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนเกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ดังนี้ ตัวอย่างร้อยละ 27.4 ระบุการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนมีผลทำให้สถานการณ์ปัญหาความไม่สงบ
ในภาคใต้เกิดความรุนแรงมากขึ้น เป็นอย่างมาก ในขณะร้อยละ 38.0 ระบุมีผลค่อนข้างมาก ในขณะที่ร้อยละ
16.3 ระบุไม่ค่อยมีผล ร้อยละ 10.0 ระบุไม่มีผล และร้อยละ 8.3 ไม่ระบุความคิดเห็น และที่น่าสนใจคือ
ผลการสำรวจในครั้งนี้ของเอแบคโพลล์พบว่าตัวอย่างต้องการให้สื่อมวลชนทบทวนในการนำเสนอข่าวต่างๆ โดยระบุ
ข่าวดังนี้ ร้อยละ 44.6 ระบุต้องการให้ทบทวนการนำเสนอข่าวคนไทยอพยพออกนอกประเทศหนีความไม่สงบในภาค
ใต้ รองลงมาคือร้อยละ 41.1 ต้องการให้ทบทวนการนำเสนอข่าวทหารล่วงเกินทางเพศประชาชนในภาค
ใต้ ร้อยละ 38.4 ระบุต้องการให้ทบทวนข่าวผู้นำมุสลิมต่างชาติประณามการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ของ
ไทย ร้อยละ 32.5 ระบุต้องการให้ทบทวนข่าวรัฐบาลมีส่วนรู้เห็นการอุ้มทนายสมชาย และร้อยละ 30.9 ระบุ
ต้องการให้ทบทวนข่าวการสร้างสถานการณ์ในภาคใต้ ตามลำดับ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสนใจติดตามเกี่ยวกับประเด็นข่าวสำคัญประจำวัน
ลำดับที่ ความสนใจติดตามข่าวสาร ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 58.7
2 3-5 วันต่อสัปดาห์ 17.7
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 13.7
4 น้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง 7.6
5 ไม่ได้ติดตาม 2.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข่าวที่กังวล (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวที่วิตกกังวล ค่าร้อยละ
1 ข่าวราคาน้ำมันสูงขึ้น 75.5
2 ข่าวราคาสินค้าสูงขึ้น 65.1
3 ข่าวปัญหาชายแดนภาคใต้ 55.4
4 ข่าวอาชญากรรม 27.6
5 ข่าวยาเสพติดที่กำลังจะกลับมาแพร่ระบาด 27.1
6 ข่าวความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 17.7
7 ข่าวปัญหาผู้บริโภค 15.8
8 อื่นๆ อาทิ ข่าวปัญหาทุจริตคอรัปชั่น/ข่าวความพยายามปลดผู้ว่า สตง./
ข่าวความแตกแยกของ สส. ในรัฐบาล เป็นต้น 20.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจต่อมาตรการของรัฐบาลในการแก้ปัญหาราคา
น้ำมันสูงขึ้น
ลำดับที่ ความพอใจต่อมาตรการของรัฐบาลในการแก้ปัญหาราคาน้ำมันสูงขึ้น ค่าร้อยละ
1 พอใจ 12.3
2 ค่อนข้างพอใจ 12.6
3 ไม่ค่อยพอใจ 37.4
4 ไม่พอใจ 26.2
5 ไม่มีความเห็น 11.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจต่อมาตรการของรัฐบาลในการบรรเทาความ
เดือดร้อนของประชาชนในการจับจ่ายซื้อสินค้าในช่วงราคาน้ำมันสูงขึ้น
ลำดับที่ ความพอใจต่อมาตรการของรัฐบาลในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในการจับจ่ายสินค้า
ในช่วงราคาน้ำมันสูงขึ้น ค่าร้อยละ
1 พอใจ 15.1
2 ค่อนข้างพอใจ 18.5
3 ไม่ค่อยพอใจ 31.7
4 ไม่พอใจ 25.0
5 ไม่มีความเห็น 9.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลกระทบต่อความนิยมศรัทธาต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ถ้าราคาน้ำมันสูงขึ้นเรื่อยๆ
ลำดับที่ ความนิยมศรัทธาต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ค่าร้อยละ
1 เสียความนิยม 41.2
2 ไม่เสียความนิยม 35.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 23.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจของประเทศในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้น 7.7
2 ดีเหมือนเดิม 15.5
3 แย่เหมือนเดิม 31.2
4 แย่ลง 34.1
5 ไม่มีความคิดเห็น 11.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความหวาดกลัวต่อปัญหาอาชญากรรม ในช่วงเศรษฐกิจ
ราคาน้ำมันและสินค้าที่สูงขึ้น
ลำดับที่ ความหวาดกลัวต่อปัญหาอาชญากรรม ในช่วงเศรษฐกิจราคาน้ำมันและสินค้าที่สูงขึ้น ค่าร้อยละ
1 กลัว 54.9
2 ไม่กลัว 31.9
3 ไม่มีความคิดเห็น 13.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ประเภทของอาชญากรรมที่ประชาชนหวาดกลัว ได้แก่
1) การงัดแงะ จี้ปล้น วิ่งราว เป็นต้น
2) การข่มขืน ลวนลามทางเพศ
3) การข่มเหงรังแกโดยพวกมาเฟีย กลุ่มผู้มีอิทธิพล
4) การทำร้ายร่างกาย
5) อื่นๆ เช่น การยกพวกตีกัน การทำลายทรัพย์สินสาธารณะ เช่นตู้โทรศัพท์ เป็นต้น
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสถานการณ์ปัญหาอาชญากรรมภายในชุมชน
ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
ลำดับที่ สถานการณ์ปัญหาอาชญากรรมภายในชุมชน ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 เพิ่มมากขึ้น 20.4
2 เท่าเดิม 26.9
3 ลดลง 28.2
4 ไม่ทราบ 24.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการพบเห็นเจ้าหน้าที่สายตรวจเข้ามาตรวจตราความปลอดภัย
ภายในชุมชน
ลำดับที่ การพบเห็นเจ้าหน้าที่สายตรวจเข้ามาตรวจตราความปลอดภัยภายในชุมชน ค่าร้อยละ
1 เคยพบเห็นบ่อยๆ 12.2
2 เคยพบเห็นแต่ไม่บ่อย 52.3
3 ไม่เคยพบเห็นเลย 28.7
4 ไม่ทราบ 6.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเวลาเฉลี่ยที่คาดหวังให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาถึงที่
เกิดเหตุและเวลาเฉลี่ยจริงที่ตำรวจมาถึงที่เกิดเหตุ เมื่อเกิดปัญหาอาชญากรรมขึ้นในชุมชน
ลำดับที่ เวลาเฉลี่ยของความคาดหวังที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมาถึงที่เกิดเหตุ
และเวลาโดยเฉลี่ยจริงที่ตำรวจมาถึงที่เกิดเหตุ ค่าเฉลี่ย(นาที)
1 ความคาดหวังที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมาถึงที่เกิดเหตุ 13.7
2 เวลาค่าเฉลี่ยที่ตำรวจมาถึงที่เกิดเหตุ
(สำหรับคนที่เคยประสบเหตุอาชญากรรมในชุมชน) 29.9
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุว่า ควรหรือไม่ที่รัฐบาลต้องควบคุมไม่ให้มีการเปิดสถาน
บันเทิง เช่น อาบอบนวด ผับ บาร์ ในบริเวณใกล้โรงเรียน/สถานศึกษา
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ควร 62.1
2 ไม่ควร 26.7
3 ไม่มีความคิดเห็น 11.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเห็นด้วยกับการที่รัฐบาลประกาศใช้พระราชกำหนด
การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 69.2
2 ไม่เห็นด้วย 8.9
3 ไม่มีความคิดเห็น 21.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 36.2
2 ไม่เชื่อมั่น 48.8
3 ไม่มีความคิดเห็น 15.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการเสนอข่าวของสื่อมวลชนว่ามีผลทำให้
เกิดความรุนแรงในปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชนต่อผลกระทบในการนำเสนอข่าวกับปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ ค่าร้อยละ
1 มีผลอย่างมาก 27.4
2 มีผลค่อนข้างมาก 38.0
3 ไม่ค่อยมีผล 16.3
4 ไม่มีผล 10.0
5 ไม่มีความคิดเห็น 8.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข่าวที่ต้องการให้สื่อมวลชนทบทวนในการนำเสนอให้ตรง
กับความเป็นจริง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวที่ประชาชนต้องการให้สื่อมวลชนทบทวนในการนำเสนอ ค่าร้อยละ
1 ข่าวคนไทยอพยพออกนอกประเทศหนีความไม่สงบในภาคใต้ 44.6
2 ข่าวทหารล่วงเกินทางเพศประชาชนในภาคใต้ 41.1
3 ข่าวผู้นำมุสลิมต่างชาติประณามการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ของไทย 38.4
4 ข่าวรัฐบาลมีส่วนรู้เห็นการอุ้มทนายสมชาย 32.5
5 ข่าวการสร้างสถานการณ์ในภาคใต้ 30.9
6 อื่นๆ อาทิ ข่าวการก่อวินาศกรรมในกรุงเทพมหานคร ข่าวฆ่ารายวันในภาคใต้ เป็นต้น 14.6
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-
สถานการณ์ของประเทศในขณะนี้มีเรื่องน่าวิตกอยู่หลายประการ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาทางเศรษฐกิจ
ที่ราคาน้ำมันขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนทำให้สินค้าต่างๆราคาสูงขึ้นตาม ซึ่งส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของ
ประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัญหาสังคม ยาเสพติดก็ยังเผลอยังแผ่วไม่ได้ ปัญหาอาชญากรรมที่นับวันยิ่งทวีความ
รุนแรงมากขึ้น และปัญหาการเปิดสถานบันเทิง เช่น อาบอบนวด ผับ บาร์ ในบริเวณใกล้สถานศึกษา ก็เป็น
ประเด็นปัญหาที่สังคมกำลังรอการแก้ไขจากรัฐบาล ขณะเดียวกันปัญหาการเมือง อาทิ การที่รัฐบาลประกาศใช้
พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็
เป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายต่างจับตามอง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ทำการสำรวจภาคสนามหาข้อมูลเชิงสถิติศาสตร์
จากประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถึงประเด็นความคิดเห็นที่มีต่อประเด็นสำคัญทางเศรษฐกิจ
สังคม และการเมือง เพื่อสะท้อนปัญหา ความคิดเห็นและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
โดยการจัดส่งอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลลงพื้นที่ตัวอย่างที่ถูกสุ่มได้ตามหลักวิชาการด้าน
ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการวิจัย
1. เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อสภาวะทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทยในปัจจุบัน
2. เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาในหัวข้อเรื่องนี้อย่างลึกซึ้งต่อไป
ระเบียบวิธีการทำโพลล์
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้ เรื่อง “ความคิด
เห็นของประชาชนต่อประเด็นสำคัญทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทยในปัจจุบัน: กรณีศึกษาประชาชนใน
เขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล” ซึ่งดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 8-9 กันยายน 2548
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิ (Stratified
Cluster Sampling) ในการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะสอดคล้องกับประชากรเป้า
หมายจากการทำสำมะโน
ขนาดตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือ 1,367 ตัวอย่าง
ช่วงความเชื่อมั่นอยู่ในระดับร้อยละ 95 ขณะที่ขอบเขตความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างอยู่
ที่ +/- ร้อยละ 5
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์
ข้อมูลและงบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 50.5 เป็นหญิง ร้อยละ 49.5 เป็น
ชาย ตัวอย่างร้อยละ 24.6 อายุระหว่าง 40 — 49 ปี ร้อยละ 23.9 อายุระหว่าง 30 — 39 ปี ร้อยละ
22.3 อายุ 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 18.8 อายุระหว่าง 20 — 29 ปี และร้อยละ 10.4 อายุต่ำกว่า 20 ปี
ตัวอย่างร้อยละ 77.3 ระบุสำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 21.5 ระบุสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และ ร้อยละ 1.2 ระบุสำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 25.0 ระบุอาชีพ ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 21.3 ระบุอาชีพ
เกษตรกร/รับจ้างทั่วไป ร้อยละ 17.9 ระบุเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 11.5 ระบุอาชีพข้าราชการ/
พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.6 ระบุเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 8.9 ระบุเป็นแม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณ
อายุ ในขณะที่ร้อยละ 1.8 ระบุไม่ได้ประกอบอาชีพ/ว่างงาน
บทสรุปผลสำรวจ
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการ
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้เปิดเผยว่า ผลสำรวจ เรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็น
สำคัญทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไทยในปัจจุบัน: กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล”
ในครั้งนี้ มีขนาดตัวอย่าง จำนวนทั้งสิ้น 1,367 ตัวอย่าง ซึ่งได้ดำเนินโครงการสำรวจในวันที่ 8-9 กันยายน 2548
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบจากการสำรวจมีดังนี้
ผลการสำรวจการติดตามข่าวสารประจำวันผ่านสื่อมวลชนพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 58.7 ระบุติดตามข่าว
ทุกวัน/เกือบทุกวัน ในขณะที่ร้อยละ 17.7 ระบุติดตามข่าวประมาณ 3-5 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 13.7 ระบุติดตาม
ข่าว 1-2 วันต่อสัปดาห์ ตามลำดับ ทั้งนี้ตัวอย่างได้ระบุข่าวที่ทำให้รู้สึกวิตกกังวล 5 อันดับแรกได้แก่ ข่าวราคา
น้ำมันสูงขึ้น (ร้อยละ 75.5) ข่าวราคาสินค้าสูงขึ้น (ร้อยละ 65.1) ข่าวปัญหาชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 55.4)
ข่าวอาชญากรรม (ร้อยละ 27.6) และข่าวยาเสพติดที่กำลังจะกลับมาแพร่ระบาด (ร้อยละ 27.1) ตามลำดับ
นอกจากนี้ เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามตัวอย่างถึงความพอใจต่อมาตรการของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหา
ราคาน้ำมันสูงขึ้นนั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ 12.3 ระบุพอใจ ร้อยละ 12.6 ระบุค่อนข้างพอใจ ร้อยละ
37.4 ระบุไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 26.2 ระบุไม่พอใจ และร้อยละ 11.5 ไม่ระบุความเห็น และเมื่อคณะผู้วิจัย
ได้สอบถามต่อไปถึงความพึงพอใจต่อมาตรการของรัฐบาล ในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนใน
การจับจ่ายซื้อสินค้าในช่วงราคาน้ำมันสูงขึ้นนั้น พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 15.1 ระบุพอใจ ร้อยละ
18.5 ระบุค่อนข้างพอใจ ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 31.7 ระบุไม่ค่อยพอใจ ร้อยละ 25.0 ระบุไม่พอใจและ
ร้อยละ 9.7 ไม่ระบุความคิดเห็น ทั้งนี้เมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความคิดเห็นของตัวอย่างต่อเศรษฐกิจของ
ประเทศในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี พบว่า ตัวอย่างกว่า 2 ใน 3 คือร้อยละ 65.3 ระบุคิดว่าเศรษฐกิจของ
ประเทศจะแย่เหมือนเดิม/แย่ลงกว่าเดิม ในขณะที่ตัวอย่างร้อยละ 7.7 ระบุคิดว่าเศรษฐกิจของประเทศจะดีขึ้น และ
ร้อยละ 15.5 ระบุคิดว่าเศรษฐกิจของประเทศจะดีเหมือนเดิม ร้อยละ 11.5 ไม่ระบุความคิดเห็น และผลการ
สำรวจความนิยมศรัทธาในตัวนายกรัฐมนตรีในสถานการณ์ที่ราคาน้ำมันยังคงสูงต่อไปเรื่อยๆเช่นนี้ พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 41.2 ระบุเสียความนิยมศรัทธาที่มีต่อนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ในขณะที่ร้อยละ 35.0
ระบุไม่เสียความนิยม และร้อยละ 23.8 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญที่น่าพิจารณาคือ ความหวาดกลัวของตัวอย่างต่อปัญหาอาชญากรรมในช่วงที่ราคาน้ำมัน
และสินค้าสูงขึ้นนี้ โดยผลสำรวจพบว่า ตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหนึ่งคือร้อยละ 54.9 ระบุรู้สึกหวาดกลัวต่อปัญหา
อาชญากรรม ในขณะที่ร้อยละ 31.9 ระบุไม่รู้สึกหวาดกลัว และร้อยละ 13.2 ระบุไม่หวาดกลัว ทั้งนี้เรื่องที่กลัว
มากที่สุดได้แก่ การงัดแงะ จี้ปล้น วิ่งราว การข่มขืน ลวนลามทางเพศ การข่มเหงรังแกโดยพวกมาเฟีย กลุ่มผู้มี
อิทธิพลการทำร้ายร่างกาย การยกพวกตีกัน การทำลายทรัพย์สินสาธารณะ เช่นตู้โทรศัพท์ เป็นต้น ซึ่งผลการสำรวจ
ความคิดเห็นของตัวอย่างต่อสถานการณ์ปัญหาอาชญากรรมในชุมชนในช่วง 1 ปีที่ผ่านมานั้นพบว่า ตัวอย่างร้อยละ
20.4 ระบุในชุมชนของตนมีปัญหาอาชญากรรมเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 26.9 ระบุเท่าเดิม ร้อยละ 28.2 ระบุลดลง
และร้อยละ 24.5 ไม่ทราบ และเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามต่อไปถึงการเข้ามาตรวจตราความปลอดภัยภายในชุมชน
ของเจ้าหน้าที่สายตรวจ พบว่าตัวอย่างร้อยละ 12.2 ระบุเคยพบเห็นเจ้าหน้าที่สายตรวจเข้ามาตรวจตราความ
ปลอดภัยในชุมชนของตนบ่อยๆ ในขณะที่ร้อยละ 52.3 ระบุเคยพบเห็นแต่ไม่บ่อย ร้อยละ 28.7 ระบุไม่เคยพบ
เห็นเลย และร้อยละ 6.8 ระบุไม่ทราบ อย่างไรก็ตามตัวอย่างได้ระบุเวลาโดยเฉลี่ยที่คาดหวังว่าเจ้าหน้าที่
ตำรวจจะมาถึงที่เกิดเหตุ ถ้าหากเกิดปัญหาอาชญากรรมขึ้นภายในชุมชนที่ตนเองพักอาศัยไม่เกิน 15 นาทีนั่นคือ
13.7 นาที แต่ในความเป็นจริงที่เกิดขึ้นนั้น ตัวอย่างที่เคยประสบเหตุอาชญากรรมในชุมชนของตนระบุเวลาโดยเฉลี่ย
ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการมาถึงที่เกิดเหตุประมาณครึ่งชั่วโมงหรือเท่ากับ 29.9 นาที
นอกจากนี้ สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ยังได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของตัวอย่างที่มีต่อการเปิดสถาน
บริการ/สถานบันเทิง ในบริเวณใกล้โรงเรียน/สถานศึกษา ซึ่งกำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางใน
ขณะนี้ ดังนี้ ตัวอย่างร้อยละ 62.1 ระบุรัฐบาลควรทบทวนกรณีดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 26.7 ระบุไม่ควร
ทบทวน และร้อยละ 11.2 ไม่ระบุความคิดเห็น
ประเด็นสำคัญสุดท้ายคือความคิดเห็นของตัวอย่างต่อสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลานาน โดยตัวอย่างร้อยละ 69.2 ระบุเห็นด้วยกับการที่รัฐบาลประกาศใช้พระราชกำหนด
การบริหารราชการฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในขณะที่ร้อย
ละ 8.9 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 21.9 ไม่ระบุความคิดเห็น อย่างไรก็ตามเมื่อคณะผู้วิจัยได้สอบถามความ
เชื่อมั่นของตัวอย่างที่มีต่อรัฐบาล ในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้พบว่า ตัวอย่าง
ร้อยละ 48.8 ระบุไม่เชื่อมั่น ในขณะที่ร้อยละ 36.2 ระบุเชื่อมั่น และร้อยละ 15.0 ไม่ระบุความคิดเห็น
ทั้งนี้ตัวอย่างได้แสดงความคิดเห็นต่อการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนเกี่ยวกับปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ดังนี้ ตัวอย่างร้อยละ 27.4 ระบุการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนมีผลทำให้สถานการณ์ปัญหาความไม่สงบ
ในภาคใต้เกิดความรุนแรงมากขึ้น เป็นอย่างมาก ในขณะร้อยละ 38.0 ระบุมีผลค่อนข้างมาก ในขณะที่ร้อยละ
16.3 ระบุไม่ค่อยมีผล ร้อยละ 10.0 ระบุไม่มีผล และร้อยละ 8.3 ไม่ระบุความคิดเห็น และที่น่าสนใจคือ
ผลการสำรวจในครั้งนี้ของเอแบคโพลล์พบว่าตัวอย่างต้องการให้สื่อมวลชนทบทวนในการนำเสนอข่าวต่างๆ โดยระบุ
ข่าวดังนี้ ร้อยละ 44.6 ระบุต้องการให้ทบทวนการนำเสนอข่าวคนไทยอพยพออกนอกประเทศหนีความไม่สงบในภาค
ใต้ รองลงมาคือร้อยละ 41.1 ต้องการให้ทบทวนการนำเสนอข่าวทหารล่วงเกินทางเพศประชาชนในภาค
ใต้ ร้อยละ 38.4 ระบุต้องการให้ทบทวนข่าวผู้นำมุสลิมต่างชาติประณามการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ของ
ไทย ร้อยละ 32.5 ระบุต้องการให้ทบทวนข่าวรัฐบาลมีส่วนรู้เห็นการอุ้มทนายสมชาย และร้อยละ 30.9 ระบุ
ต้องการให้ทบทวนข่าวการสร้างสถานการณ์ในภาคใต้ ตามลำดับ
โปรดพิจารณาประเด็นสำคัญที่ค้นพบในตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความสนใจติดตามเกี่ยวกับประเด็นข่าวสำคัญประจำวัน
ลำดับที่ ความสนใจติดตามข่าวสาร ค่าร้อยละ
1 ทุกวัน/เกือบทุกวัน 58.7
2 3-5 วันต่อสัปดาห์ 17.7
3 1-2 วันต่อสัปดาห์ 13.7
4 น้อยกว่าสัปดาห์ละครั้ง 7.6
5 ไม่ได้ติดตาม 2.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุข่าวที่กังวล (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวที่วิตกกังวล ค่าร้อยละ
1 ข่าวราคาน้ำมันสูงขึ้น 75.5
2 ข่าวราคาสินค้าสูงขึ้น 65.1
3 ข่าวปัญหาชายแดนภาคใต้ 55.4
4 ข่าวอาชญากรรม 27.6
5 ข่าวยาเสพติดที่กำลังจะกลับมาแพร่ระบาด 27.1
6 ข่าวความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 17.7
7 ข่าวปัญหาผู้บริโภค 15.8
8 อื่นๆ อาทิ ข่าวปัญหาทุจริตคอรัปชั่น/ข่าวความพยายามปลดผู้ว่า สตง./
ข่าวความแตกแยกของ สส. ในรัฐบาล เป็นต้น 20.2
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจต่อมาตรการของรัฐบาลในการแก้ปัญหาราคา
น้ำมันสูงขึ้น
ลำดับที่ ความพอใจต่อมาตรการของรัฐบาลในการแก้ปัญหาราคาน้ำมันสูงขึ้น ค่าร้อยละ
1 พอใจ 12.3
2 ค่อนข้างพอใจ 12.6
3 ไม่ค่อยพอใจ 37.4
4 ไม่พอใจ 26.2
5 ไม่มีความเห็น 11.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจต่อมาตรการของรัฐบาลในการบรรเทาความ
เดือดร้อนของประชาชนในการจับจ่ายซื้อสินค้าในช่วงราคาน้ำมันสูงขึ้น
ลำดับที่ ความพอใจต่อมาตรการของรัฐบาลในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในการจับจ่ายสินค้า
ในช่วงราคาน้ำมันสูงขึ้น ค่าร้อยละ
1 พอใจ 15.1
2 ค่อนข้างพอใจ 18.5
3 ไม่ค่อยพอใจ 31.7
4 ไม่พอใจ 25.0
5 ไม่มีความเห็น 9.7
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุผลกระทบต่อความนิยมศรัทธาต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ถ้าราคาน้ำมันสูงขึ้นเรื่อยๆ
ลำดับที่ ความนิยมศรัทธาต่อ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ค่าร้อยละ
1 เสียความนิยม 41.2
2 ไม่เสียความนิยม 35.0
3 ไม่มีความคิดเห็น 23.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 6 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อเศรษฐกิจของประเทศในช่วง 3 เดือนสุดท้ายของปี
ลำดับที่ ความคิดเห็นของตัวอย่าง ค่าร้อยละ
1 ดีขึ้น 7.7
2 ดีเหมือนเดิม 15.5
3 แย่เหมือนเดิม 31.2
4 แย่ลง 34.1
5 ไม่มีความคิดเห็น 11.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 7 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความหวาดกลัวต่อปัญหาอาชญากรรม ในช่วงเศรษฐกิจ
ราคาน้ำมันและสินค้าที่สูงขึ้น
ลำดับที่ ความหวาดกลัวต่อปัญหาอาชญากรรม ในช่วงเศรษฐกิจราคาน้ำมันและสินค้าที่สูงขึ้น ค่าร้อยละ
1 กลัว 54.9
2 ไม่กลัว 31.9
3 ไม่มีความคิดเห็น 13.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
หมายเหตุ ประเภทของอาชญากรรมที่ประชาชนหวาดกลัว ได้แก่
1) การงัดแงะ จี้ปล้น วิ่งราว เป็นต้น
2) การข่มขืน ลวนลามทางเพศ
3) การข่มเหงรังแกโดยพวกมาเฟีย กลุ่มผู้มีอิทธิพล
4) การทำร้ายร่างกาย
5) อื่นๆ เช่น การยกพวกตีกัน การทำลายทรัพย์สินสาธารณะ เช่นตู้โทรศัพท์ เป็นต้น
ตารางที่ 8 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุสถานการณ์ปัญหาอาชญากรรมภายในชุมชน
ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา
ลำดับที่ สถานการณ์ปัญหาอาชญากรรมภายในชุมชน ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ค่าร้อยละ
1 เพิ่มมากขึ้น 20.4
2 เท่าเดิม 26.9
3 ลดลง 28.2
4 ไม่ทราบ 24.5
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 9 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการพบเห็นเจ้าหน้าที่สายตรวจเข้ามาตรวจตราความปลอดภัย
ภายในชุมชน
ลำดับที่ การพบเห็นเจ้าหน้าที่สายตรวจเข้ามาตรวจตราความปลอดภัยภายในชุมชน ค่าร้อยละ
1 เคยพบเห็นบ่อยๆ 12.2
2 เคยพบเห็นแต่ไม่บ่อย 52.3
3 ไม่เคยพบเห็นเลย 28.7
4 ไม่ทราบ 6.8
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 10 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเวลาเฉลี่ยที่คาดหวังให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาถึงที่
เกิดเหตุและเวลาเฉลี่ยจริงที่ตำรวจมาถึงที่เกิดเหตุ เมื่อเกิดปัญหาอาชญากรรมขึ้นในชุมชน
ลำดับที่ เวลาเฉลี่ยของความคาดหวังที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมาถึงที่เกิดเหตุ
และเวลาโดยเฉลี่ยจริงที่ตำรวจมาถึงที่เกิดเหตุ ค่าเฉลี่ย(นาที)
1 ความคาดหวังที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมาถึงที่เกิดเหตุ 13.7
2 เวลาค่าเฉลี่ยที่ตำรวจมาถึงที่เกิดเหตุ
(สำหรับคนที่เคยประสบเหตุอาชญากรรมในชุมชน) 29.9
ตารางที่ 11 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุว่า ควรหรือไม่ที่รัฐบาลต้องควบคุมไม่ให้มีการเปิดสถาน
บันเทิง เช่น อาบอบนวด ผับ บาร์ ในบริเวณใกล้โรงเรียน/สถานศึกษา
ลำดับที่ ความเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 ควร 62.1
2 ไม่ควร 26.7
3 ไม่มีความคิดเห็น 11.2
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 12 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุการเห็นด้วยกับการที่รัฐบาลประกาศใช้พระราชกำหนด
การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เห็นด้วย 69.2
2 ไม่เห็นด้วย 8.9
3 ไม่มีความคิดเห็น 21.9
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 13 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของประชาชน ค่าร้อยละ
1 เชื่อมั่น 36.2
2 ไม่เชื่อมั่น 48.8
3 ไม่มีความคิดเห็น 15.0
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 14 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความคิดเห็นต่อการเสนอข่าวของสื่อมวลชนว่ามีผลทำให้
เกิดความรุนแรงในปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
ลำดับที่ ความคิดเห็นของประชาชนต่อผลกระทบในการนำเสนอข่าวกับปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ ค่าร้อยละ
1 มีผลอย่างมาก 27.4
2 มีผลค่อนข้างมาก 38.0
3 ไม่ค่อยมีผล 16.3
4 ไม่มีผล 10.0
5 ไม่มีความคิดเห็น 8.3
รวมทั้งสิ้น 100.0
ตารางที่ 15 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ข่าวที่ต้องการให้สื่อมวลชนทบทวนในการนำเสนอให้ตรง
กับความเป็นจริง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ลำดับที่ ข่าวที่ประชาชนต้องการให้สื่อมวลชนทบทวนในการนำเสนอ ค่าร้อยละ
1 ข่าวคนไทยอพยพออกนอกประเทศหนีความไม่สงบในภาคใต้ 44.6
2 ข่าวทหารล่วงเกินทางเพศประชาชนในภาคใต้ 41.1
3 ข่าวผู้นำมุสลิมต่างชาติประณามการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ของไทย 38.4
4 ข่าวรัฐบาลมีส่วนรู้เห็นการอุ้มทนายสมชาย 32.5
5 ข่าวการสร้างสถานการณ์ในภาคใต้ 30.9
6 อื่นๆ อาทิ ข่าวการก่อวินาศกรรมในกรุงเทพมหานคร ข่าวฆ่ารายวันในภาคใต้ เป็นต้น 14.6
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โทร.0-2719-1549-50
www.abacpoll.au.edu หรือ www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
-พห-