ผลการวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุลาการที่ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ต้องจ่ายเงินชดเชยกว่า 6,200 ล้านบาทให้แก่เอกชนในเครือ บริษัทกิจการร่วมค้าบีบีซีดี เนื่องจากส่งมอบพื้นที่โครงการก่อสร้างทางด่วนบางนา-ชลบุรีล่าช้านั้น สร้างความตกตะลึงให้กับประชาชนทั่วประเทศเป็นอย่างมากนั้น สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผู้ใช้รถยนต์ทั่วกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อประเด็นดังกล่าว ระหว่างวันที่ 6 - 7 ธันวาคม 2544 พบว่า ร้อยละ 78.6 ใช้บริการทางด่วน อีก ร้อยละ 21.4 ไม่ใช้ และแสดงความรู้สึกต่อกรณีที่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ถูกสั่งให้จ่ายเงินค่าชดเชยว่า รู้สึกเคลือบแคลงสงสัย ร้อยละ 70.6 และ เห็นด้วยที่จะให้ตรวจสอบบุคคลที่เกี่ยวข้องถึง ร้อยละ 89.8 และระบุความเห็นต่อการแต่งตั้ง ร.ต.อ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นประธานคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นว่า เห็นด้วย ร้อยละ 74.8
ความเห็นต่อการที่รัฐบาลจะยื่นเรื่องต่อศาลเพื่อพิจารณา "ยุติไม่ให้กทพ.ต้องจ่ายเงินชดเชยแก่เอกชนในครั้งนี้" ร้อยละ 54.1 เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า
เป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เพราะเป็นความเสียหายต่อประเทศชาติ/ประชาชนต้องรับภาระ
เพื่อเป็นการตรวจสอบการกระทำของกทพ.
ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม/ไม่ยุติธรรม
อื่นๆ เช่น เอกชนเอาเปรียบเกินไป เชื่อดุลยพินิจของศาลมากกว่า เชื่อว่าเรื่องนี้ต้องมีเบื้องหลังไม่ชอบมาพากล ฯลฯ
และ ร้อยละ 12.3 ไม่เห็นด้วย ให้เหตุผลว่า
ควรพิจารณาข้อเท็จจริงให้รอบคอบก่อนร้องต่อศาล
เชื่อว่ามีเหตุผลที่ กทพ.จำเป็นต้องจ่าย
เป็นการไม่ยุติธรรมต่อบริษัทที่ได้รับความเสียหาย
ยังไม่ทราบข้อเท็จจริง/ยังไม่รู้เหตุผลที่จะยุติการจ่าย
อื่น ๆ เช่น เกรงว่าจะเกิดความขัดแย้งมากขึ้น เห็นใจบริษัทเอกชน เพื่อให้เป็นบทเรียนแก่รัฐบาล ฯลฯ
ทั้งนี้ ร้อยละ 12.9 เท่านั้นที่มั่นใจว่ากทพ.จะไม่ผลักภาระให้ประชาชน และยังผลให้ระบุความมั่นใจต่อ "ความโปร่งใส" ในการทำสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชน ในโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา ว่าไม่มั่นใจ ร้อยละ 84.7 และยังเห็นด้วยเพื่อให้มีการ "ตรวจสอบ" การเซ็นสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชนในโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคในช่วงที่ผ่านมาอีก ร้อยละ 74.9 และต้องการที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ (เช่นการทำประชาพิจารณ์) ก่อนที่จะมีการ ทำสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชนในโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ ร้อยละ 83.6
ตัวอย่างระบุความพึงพอใจต่อภาพลักษณ์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ว่าพอใจเพียง ร้อยละ 16.2 เท่านั้น และแสดงความพึงพอใจต่อการให้บริการทางด่วน ของการทางพิเศษฯ ว่า พอใจมาก ร้อยละ 6.2 ค่อนข้างมาก ร้อยละ 20.1 ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 44.1 ไม่พอใจ ร้อยละ 13.4 นอกจากนี้ยังระบุข้อเสนอแนะว่า ควรลดค่าบริการลง ร้อยละ 40.2 ปรับปรุงการบริการ/การอำนวยความสะดวกให้ดียิ่งขึ้น ร้อยละ 22.4 จัดระบบการจราจรให้มีประสิทธิภาพ เช่น ห้ามไม่ให้รถบรรทุก ขนาดใหญ่ขึ้นไปใช้เส้นทาง /ไม่ให้รถขึ้นไปติดบนทางด่วนมากเกินไป ร้อยละ 21.9 ปรับปรุงการเก็บเงินให้สะดวกรวดเร็ว เช่น พัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือการจัดเก็บ / เพิ่มช่องทางการจัดเก็บ ร้อยละ 21.6 ทำงานอย่างโปร่งใส /ให้ประชาชนตรวจสอบได้ ร้อยละ 14.1 มีระบบการสื่อสารที่รวดเร็วเพียงพอกับความต้องการ เช่น การแจ้งรถเสีย อุบัติเหตุ การขอความช่วยเหลือ ร้อยละ 9.7 ปรับปรุงคุณภาพพนักงาน เช่น มารยาท/ ทักษะ ในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 7.5 และอื่น ๆ เช่น ห้ามไม่ให้ รถบรรทุกสารเคมีขึ้นไปใช้เส้นทาง / เพิ่มอุปกรณ์ที่ทันสมัย จำกัดความเร็วของรถบางประเภท / เพิ่มเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก ฯลฯ ร้อยละ 16.7
--เอแบคโพลล์--
ความเห็นต่อการที่รัฐบาลจะยื่นเรื่องต่อศาลเพื่อพิจารณา "ยุติไม่ให้กทพ.ต้องจ่ายเงินชดเชยแก่เอกชนในครั้งนี้" ร้อยละ 54.1 เห็นด้วย โดยให้เหตุผลว่า
เป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เพราะเป็นความเสียหายต่อประเทศชาติ/ประชาชนต้องรับภาระ
เพื่อเป็นการตรวจสอบการกระทำของกทพ.
ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม/ไม่ยุติธรรม
อื่นๆ เช่น เอกชนเอาเปรียบเกินไป เชื่อดุลยพินิจของศาลมากกว่า เชื่อว่าเรื่องนี้ต้องมีเบื้องหลังไม่ชอบมาพากล ฯลฯ
และ ร้อยละ 12.3 ไม่เห็นด้วย ให้เหตุผลว่า
ควรพิจารณาข้อเท็จจริงให้รอบคอบก่อนร้องต่อศาล
เชื่อว่ามีเหตุผลที่ กทพ.จำเป็นต้องจ่าย
เป็นการไม่ยุติธรรมต่อบริษัทที่ได้รับความเสียหาย
ยังไม่ทราบข้อเท็จจริง/ยังไม่รู้เหตุผลที่จะยุติการจ่าย
อื่น ๆ เช่น เกรงว่าจะเกิดความขัดแย้งมากขึ้น เห็นใจบริษัทเอกชน เพื่อให้เป็นบทเรียนแก่รัฐบาล ฯลฯ
ทั้งนี้ ร้อยละ 12.9 เท่านั้นที่มั่นใจว่ากทพ.จะไม่ผลักภาระให้ประชาชน และยังผลให้ระบุความมั่นใจต่อ "ความโปร่งใส" ในการทำสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชน ในโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา ว่าไม่มั่นใจ ร้อยละ 84.7 และยังเห็นด้วยเพื่อให้มีการ "ตรวจสอบ" การเซ็นสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชนในโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคในช่วงที่ผ่านมาอีก ร้อยละ 74.9 และต้องการที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ (เช่นการทำประชาพิจารณ์) ก่อนที่จะมีการ ทำสัญญาระหว่างรัฐกับเอกชนในโครงการสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ ร้อยละ 83.6
ตัวอย่างระบุความพึงพอใจต่อภาพลักษณ์ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ว่าพอใจเพียง ร้อยละ 16.2 เท่านั้น และแสดงความพึงพอใจต่อการให้บริการทางด่วน ของการทางพิเศษฯ ว่า พอใจมาก ร้อยละ 6.2 ค่อนข้างมาก ร้อยละ 20.1 ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 44.1 ไม่พอใจ ร้อยละ 13.4 นอกจากนี้ยังระบุข้อเสนอแนะว่า ควรลดค่าบริการลง ร้อยละ 40.2 ปรับปรุงการบริการ/การอำนวยความสะดวกให้ดียิ่งขึ้น ร้อยละ 22.4 จัดระบบการจราจรให้มีประสิทธิภาพ เช่น ห้ามไม่ให้รถบรรทุก ขนาดใหญ่ขึ้นไปใช้เส้นทาง /ไม่ให้รถขึ้นไปติดบนทางด่วนมากเกินไป ร้อยละ 21.9 ปรับปรุงการเก็บเงินให้สะดวกรวดเร็ว เช่น พัฒนาอุปกรณ์เครื่องมือการจัดเก็บ / เพิ่มช่องทางการจัดเก็บ ร้อยละ 21.6 ทำงานอย่างโปร่งใส /ให้ประชาชนตรวจสอบได้ ร้อยละ 14.1 มีระบบการสื่อสารที่รวดเร็วเพียงพอกับความต้องการ เช่น การแจ้งรถเสีย อุบัติเหตุ การขอความช่วยเหลือ ร้อยละ 9.7 ปรับปรุงคุณภาพพนักงาน เช่น มารยาท/ ทักษะ ในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 7.5 และอื่น ๆ เช่น ห้ามไม่ให้ รถบรรทุกสารเคมีขึ้นไปใช้เส้นทาง / เพิ่มอุปกรณ์ที่ทันสมัย จำกัดความเร็วของรถบางประเภท / เพิ่มเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก ฯลฯ ร้อยละ 16.7
--เอแบคโพลล์--