ที่มาของโครงการ
ในขณะที่รัฐบาลชุดปัจจุบันภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร กำลังแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการแก้ไขปัญหา
วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศด้วยมาตรการต่างๆ ตลอดช่วงระยะเวลาเกือบ 2 เดือนที่ ผ่านมา การสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชน
อย่างต่อเนื่องน่าจะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองและเศรษฐกิจโดยส่วนรวม และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ใช้
พิจารณาดำเนินการใดๆ ที่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศและนำมาซึ่งความกินดีอยู่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป
สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ (เอแบคโพลล์) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็น
ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อประเด็นสำคัญดังกล่าวขึ้น โดยได้จัดอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลจากการ
สัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อความเชื่อมั่นในนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
เพื่อสำรวจความมั่นใจเกี่ยวกับสถานภาพการจ้างงานในปัจจุบัน
เพื่อสำรวจแนวทางการตัดสินใจกรณีที่เกิดการลดดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร
เพื่อสำรวจแผนการใช้จ่ายเงินของประชาชนใน 6 เดือนข้างหน้า
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ หรือเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้
เรื่อง “สำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดปัจจุบันภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร :
กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร” ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10 - 18 เมษายน 2544
ประเภทของการวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ตัวอย่างประชาชนกรุงเทพมหานครที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตปกครองต่าง ๆ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิแบ่งกลุ่ม (stratified cluster sampling) ในการเลือก
พื้นที่ตัวอย่าง และใช้เทคนิคแบบ quota sampling โดยให้มีลักษณะตัวแปรสอดคล้องกับลักษณะของประชากรที่ได้จาก
การทำสำมะโน กระจายไปตามเขตปกครองต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร
ขนาดของตัวอย่าง คือ 1,469 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ภาคสนาม หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถาม
ทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล งบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะของตัวอย่างที่เป็นประชาชนทั่วไป พบว่า
ร้อยละ 50.4 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.6 ระบุเป็นชาย
ซึ่งร้อยละ 27.7 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 25.7 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
ร้อยละ 23.0 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 18.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 5.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 28.3 ระบุอาชีพค้าขายส่วนตัว / อิสระ
ร้อยละ 18.6 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 16.5 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 14.2 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 13.8 เป็นแม่บ้าน / เกษียณอายุ/เกษตรกร
ร้อยละ 6.3 เป็นนักศึกษา
และร้อยละ 2.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ซึ่งตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ในขณะที่ร้อยละ 23.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบ มีดังนี้
ประชาชนยังเชื่อมั่นต่อนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล
จากการพิจารณาผลสำรวจเกี่ยวกับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายใต้การนำของ
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พบว่า
ร้อยละ 30.4 และร้อยละ 24.1 ระบุค่อนข้างเชื่อมั่นและเชื่อมั่นต่อนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล
ชุดปัจจุบันภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ในขณะที่ร้อยละ 27.1 และร้อยละ 8.8 ไม่ค่อยเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นต่อนโยบายของรัฐบาล ตามลำดับ (ดูตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลภายใต้การนำของ
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของตัวอย่างต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล ร้อยละ
1 เชื่อมั่น 24.1
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 30.4
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 27.1
4 ไม่เชื่อมั่น 8.8
5 ไม่มีความเห็น 9.6
รวม 100
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ผลการสำรวจที่ระบุถึงความมั่นใจต่อสถานภาพการจ้างงานของตัวอย่าง ซึ่งพบว่า
ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.1 ระบุมั่นใจว่าจะไม่ถูกเลิกจ้างในปีนี้
อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 20.0 รู้สึกไม่มั่นใจว่าจะถูกเลิกจ้างหรือไม่
และร้อยละ 8.3 ระบุว่าตอนนี้ยังว่างงานอยู่
นั่นหมายความว่า ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 28.3 อยู่ในข่ายที่รัฐบาลต้องหามาตรการป้องกันและแก้ไข
ในเรื่องสถานภาพการจ้างงานให้กับประชาชน
อย่างไรก็ตามร้อยละ 38.6 ของตัวอย่างทั้งหมดระบุไม่ได้เป็นลูกจ้างของใครในขณะนี้ (ดูตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อสถานภาพการจ้างงานในปีนี้
ลำดับที่ ความมั่นใจของตัวอย่างต่อสถานภาพการจ้างงานในปีนี้ ร้อยละ
1 มั่นใจ 33.1
2 ไม่มั่นใจ 20
3 ตอนนี้ว่างงานอยู่ 8.3
4 ไม่ได้เป็นลูกจ้างใคร 38.6
รวม 100
นอกจากนี้ มีอีก 2 ประเด็นที่น่าสนใจคือ 1) ประชาชนจะถอนเงินออกจากธนาคารหรือไม่ ถ้าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารต่ำลง
ไปอีก 2) ถ้าถอนเงินออกไปจากธนาคารประชาชนจะนำเงินไปใช้ทำอะไร ซึ่งผลสำรวจพบว่าถึงแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารอาจจะ
ลดลงไปอีก แต่ประชาชนผู้ฝากเงินธนาคารส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.5 จะไม่ถอนเงินออกจากธนาคาร ซึ่งตัวอย่างที่ตั้งใจจะถอนเงินออกจาก
ธนาคารถ้าอัตราดอกเบี้ยธนาคารลดต่ำลงอีก ระบุว่าจะนำเงินไปลงทุนค้าขายส่วนตัว สูงถึงร้อยละ 65.1 ของตัวอย่างที่ตั้งใจจะถอนเงินออก
จากธนาคาร รองลงมาคือ ร้อยละ 6.5 จะปล่อยเงินกู้ ร้อยละ 4.8 จะซื้อที่ดินเก็งกำไร และร้อยละ 3.2 เล่นหุ้น เป็นต้น (ดูตารางที่ 3 - 4)
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจจะถอนเงินออกจากธนาคาร ถ้าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารต่ำลงไปอีก
(เฉพาะตัวอย่างผู้ที่มีเงินฝากธนาคาร จำนวน 1056 คน)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 ถอน 27.5
2 ไม่ถอน 72.5
รวม 100
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแนวทางใช้จ่ายเงินที่ตั้งใจจะถอนออกมาจากธนาคาร ถ้าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
ต่ำลงไปอีก (เฉพาะตัวอย่างที่ตั้งใจจะถอนเงินออกจากธนาคาร)
ลำดับที่ แนวทางใช้จ่ายเงินของตัวอย่างที่ตั้งใจจะถอนเงินออกจากธนาคาร ร้อยละ
1 ทำธุรกิจส่วนตัว/ ค้าขาย 65.1
2 ใช้จ่ายส่วนตัว 8.6
3 ปล่อยเงินกู้ 6.5
4 ซื้อที่ดินเก็งกำไร 4.8
5 เล่นหุ้น 3.2
6 ซื้อบ้าน/ทำบ้านเช่า 2.7
7 ฝากเงินไว้ที่อื่น เช่น สหกรณ์ 2.2
8 อื่นๆ เช่น ทำการเกษตร ใช้จ่ายในการศึกษาต่อ ซื้อทอง เล่นแชร์ 6.9
รวม 100
ประเด็นสำคัญสุดท้าย ที่น่าเป็นโจทย์ให้รัฐบาลพิจารณา คือ ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่กล้าใช้จ่ายเงินจำนวนมากภายใน 6 เดือน
ข้างหน้านี้ ซึ่งผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.1 ระบุยังไม่คิดจะซื้ออะไรที่ต้องใช้เงินจำนวนมากภายใน 6 เดือนข้าง
หน้านี้ ในขณะที่ร้อยละ 16.8 ตั้งใจซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น รองลงมาร้อย
ละ 11.4 ระบุตั้งใจใช้เงินเพื่อปรับปรุงที่พักอาศัยหรือซื้อบ้านหลังใหม่ ร้อยละ 10.0 จะใช้เงินซื้อรถยนต์ / รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 4.0
ตั้งใจซื้อโทรศัพท์มือถือ และ ร้อยละ 6.2 ระบุอื่นๆ อาทิ ซื้อคอมพิวเตอร์ / ทอง / ซื้อหุ้น / และประกันชีวิตเป็นต้น (ดูตารางที่ 5)
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแผนการใช้จ่ายเงินจำนวนมากภายใน 6 เดือนข้างหน้านี้
ลำดับที่ แผนการใช้จ่ายเงินจำนวนมากของตัวอย่าง ร้อยละ
1 สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น 16.8
2 ซื้อบ้านหลังใหม่ / ปรับปรุงที่พักอาศัย 11.4
3 ซื้อรถยนต์ / จักรยานยนต์ 10
4 โทรศัพท์มือถือ 4
5 อื่นๆ อาทิ คอมพิวเตอร์ / ทอง / หุ้น / ประกันชีวิต เป็นต้น 6.2
6 ไม่คิดจะซื้ออะไรเลยที่ต้องใช้เงินจำนวนมากภายใน 6 เดือนข้างหน้านี้ 71.1
บทสรุปข้ออภิปรายผลสำรวจ
จากการพิจารณาผลสำรวจโดยภาพรวม จะพบว่า ประชาชนจำนวนมากยังเชื่อมั่นในนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยภาพรวม
ของรัฐบาลปัจจุบันภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แต่ประชาชนจำนวนมากอีกเช่นกันที่เป็นกลุ่มประชาชน
ให้รัฐบาลต้องหาแนวทางป้องกันและแก้ไข เพราะประชาชนร้อยละ 20.0ไม่มั่นใจในสถานภาพการจ้างงานว่าจะถูกเลิกจ้างหรือไม่ในปีนี้
และยังมีประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีถึงร้อยละ 8.3 ว่างงานอยู่ในตอนนี้
ประเด็นคำถามที่น่าพิจารณาคือ ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลส่งผลในทางปฏิบัติในการกระตุ้น
เศรษฐกิจเพื่อจับจ่ายใช้สอยจริงมากน้อยเพียงไร เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่กล้าใช้จ่ายเงินจำนวนมากภายใน 6 เดือนข้างหน้านี้
ทั้งๆ ที่ระบุว่ามีความเชื่อมั่นต่อนโยบายของรัฐบาล ดังนั้นระบบเศรษฐกิจโดยรวมจึงยังอยู่ในสภาวะที่ทรงตัว หรืออาจจะเลวร้ายลงไปได้อีก
เนื่องจากปัจจัยทางลบ อาทิ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ความไม่มีเสถียรภาพของค่าเงินบาท ดอกเบี้ยธนาคารที่ตกต่ำ และที่สำคัญ คื อธุรกิจ
การส่งออกที่กำลังถดถอยอยู่ในขณะนี้ ด้วยเหตุที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ หากรัฐบาลไม่เร่งรีบป้องกันและแก้ไขสถานการณ์อย่างจริงจังด้วยความ
ชัดเจนเป็นรูปธรรม ผลที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ วิกฤตการณ์ที่เลวร้ายทางเศรษฐกิจของประเทศและการสูญเสียความเชื่อมั่นของ
ประชาชนต่อรัฐบาลจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ (เอแบคโพลล์) 7191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--
ในขณะที่รัฐบาลชุดปัจจุบันภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร กำลังแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการแก้ไขปัญหา
วิกฤตเศรษฐกิจของประเทศด้วยมาตรการต่างๆ ตลอดช่วงระยะเวลาเกือบ 2 เดือนที่ ผ่านมา การสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชน
อย่างต่อเนื่องน่าจะทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองและเศรษฐกิจโดยส่วนรวม และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ใช้
พิจารณาดำเนินการใดๆ ที่สามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศและนำมาซึ่งความกินดีอยู่ดีของประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไป
สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ (เอแบคโพลล์) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็น
ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครต่อประเด็นสำคัญดังกล่าวขึ้น โดยได้จัดอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานเก็บรวบรวมข้อมูลจากการ
สัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร ตามหลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อความเชื่อมั่นในนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
เพื่อสำรวจความมั่นใจเกี่ยวกับสถานภาพการจ้างงานในปัจจุบัน
เพื่อสำรวจแนวทางการตัดสินใจกรณีที่เกิดการลดดอกเบี้ยเงินฝากธนาคาร
เพื่อสำรวจแผนการใช้จ่ายเงินของประชาชนใน 6 เดือนข้างหน้า
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ หรือเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ในครั้งนี้
เรื่อง “สำรวจความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดปัจจุบันภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร :
กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร” ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 10 - 18 เมษายน 2544
ประเภทของการวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ตัวอย่างประชาชนกรุงเทพมหานครที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตปกครองต่าง ๆ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิแบ่งกลุ่ม (stratified cluster sampling) ในการเลือก
พื้นที่ตัวอย่าง และใช้เทคนิคแบบ quota sampling โดยให้มีลักษณะตัวแปรสอดคล้องกับลักษณะของประชากรที่ได้จาก
การทำสำมะโน กระจายไปตามเขตปกครองต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร
ขนาดของตัวอย่าง คือ 1,469 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์ภาคสนาม หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถาม
ทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล งบประมาณเป็นของมหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะของตัวอย่างที่เป็นประชาชนทั่วไป พบว่า
ร้อยละ 50.4 ระบุเป็นหญิง
ในขณะที่ร้อยละ 49.6 ระบุเป็นชาย
ซึ่งร้อยละ 27.7 อายุระหว่าง 30 - 39 ปี
ร้อยละ 25.7 อายุระหว่าง 20 - 29 ปี
ร้อยละ 23.0 อายุระหว่าง 40 - 49 ปี
ร้อยละ 18.0 อายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 5.6 อายุต่ำกว่า 20 ปี
นอกจากนี้ตัวอย่างร้อยละ 28.3 ระบุอาชีพค้าขายส่วนตัว / อิสระ
ร้อยละ 18.6 รับจ้างทั่วไป
ร้อยละ 16.5 เป็นข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
ร้อยละ 14.2 เป็นพนักงานบริษัทเอกชน
ร้อยละ 13.8 เป็นแม่บ้าน / เกษียณอายุ/เกษตรกร
ร้อยละ 6.3 เป็นนักศึกษา
และร้อยละ 2.3 ไม่ได้ประกอบอาชีพ
ซึ่งตัวอย่างส่วนใหญ่หรือร้อยละ 73.2 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
ในขณะที่ร้อยละ 23.9 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
และร้อยละ 2.9 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี
ประเด็นสำคัญที่ค้นพบ มีดังนี้
ประชาชนยังเชื่อมั่นต่อนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล
จากการพิจารณาผลสำรวจเกี่ยวกับความเชื่อมั่นของประชาชนต่อนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายใต้การนำของ
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พบว่า
ร้อยละ 30.4 และร้อยละ 24.1 ระบุค่อนข้างเชื่อมั่นและเชื่อมั่นต่อนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล
ชุดปัจจุบันภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร
ในขณะที่ร้อยละ 27.1 และร้อยละ 8.8 ไม่ค่อยเชื่อมั่นและไม่เชื่อมั่นต่อนโยบายของรัฐบาล ตามลำดับ (ดูตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความเชื่อมั่นต่อนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลภายใต้การนำของ
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ลำดับที่ ความเชื่อมั่นของตัวอย่างต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล ร้อยละ
1 เชื่อมั่น 24.1
2 ค่อนข้างเชื่อมั่น 30.4
3 ไม่ค่อยเชื่อมั่น 27.1
4 ไม่เชื่อมั่น 8.8
5 ไม่มีความเห็น 9.6
รวม 100
อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ผลการสำรวจที่ระบุถึงความมั่นใจต่อสถานภาพการจ้างงานของตัวอย่าง ซึ่งพบว่า
ประมาณ 1 ใน 3 หรือร้อยละ 33.1 ระบุมั่นใจว่าจะไม่ถูกเลิกจ้างในปีนี้
อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 20.0 รู้สึกไม่มั่นใจว่าจะถูกเลิกจ้างหรือไม่
และร้อยละ 8.3 ระบุว่าตอนนี้ยังว่างงานอยู่
นั่นหมายความว่า ประชาชนจำนวนมากหรือร้อยละ 28.3 อยู่ในข่ายที่รัฐบาลต้องหามาตรการป้องกันและแก้ไข
ในเรื่องสถานภาพการจ้างงานให้กับประชาชน
อย่างไรก็ตามร้อยละ 38.6 ของตัวอย่างทั้งหมดระบุไม่ได้เป็นลูกจ้างของใครในขณะนี้ (ดูตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความมั่นใจต่อสถานภาพการจ้างงานในปีนี้
ลำดับที่ ความมั่นใจของตัวอย่างต่อสถานภาพการจ้างงานในปีนี้ ร้อยละ
1 มั่นใจ 33.1
2 ไม่มั่นใจ 20
3 ตอนนี้ว่างงานอยู่ 8.3
4 ไม่ได้เป็นลูกจ้างใคร 38.6
รวม 100
นอกจากนี้ มีอีก 2 ประเด็นที่น่าสนใจคือ 1) ประชาชนจะถอนเงินออกจากธนาคารหรือไม่ ถ้าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารต่ำลง
ไปอีก 2) ถ้าถอนเงินออกไปจากธนาคารประชาชนจะนำเงินไปใช้ทำอะไร ซึ่งผลสำรวจพบว่าถึงแม้ว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารอาจจะ
ลดลงไปอีก แต่ประชาชนผู้ฝากเงินธนาคารส่วนใหญ่หรือร้อยละ 72.5 จะไม่ถอนเงินออกจากธนาคาร ซึ่งตัวอย่างที่ตั้งใจจะถอนเงินออกจาก
ธนาคารถ้าอัตราดอกเบี้ยธนาคารลดต่ำลงอีก ระบุว่าจะนำเงินไปลงทุนค้าขายส่วนตัว สูงถึงร้อยละ 65.1 ของตัวอย่างที่ตั้งใจจะถอนเงินออก
จากธนาคาร รองลงมาคือ ร้อยละ 6.5 จะปล่อยเงินกู้ ร้อยละ 4.8 จะซื้อที่ดินเก็งกำไร และร้อยละ 3.2 เล่นหุ้น เป็นต้น (ดูตารางที่ 3 - 4)
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความตั้งใจจะถอนเงินออกจากธนาคาร ถ้าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารต่ำลงไปอีก
(เฉพาะตัวอย่างผู้ที่มีเงินฝากธนาคาร จำนวน 1056 คน)
ลำดับที่ ความคิดเห็น ร้อยละ
1 ถอน 27.5
2 ไม่ถอน 72.5
รวม 100
ตารางที่ 4 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแนวทางใช้จ่ายเงินที่ตั้งใจจะถอนออกมาจากธนาคาร ถ้าอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
ต่ำลงไปอีก (เฉพาะตัวอย่างที่ตั้งใจจะถอนเงินออกจากธนาคาร)
ลำดับที่ แนวทางใช้จ่ายเงินของตัวอย่างที่ตั้งใจจะถอนเงินออกจากธนาคาร ร้อยละ
1 ทำธุรกิจส่วนตัว/ ค้าขาย 65.1
2 ใช้จ่ายส่วนตัว 8.6
3 ปล่อยเงินกู้ 6.5
4 ซื้อที่ดินเก็งกำไร 4.8
5 เล่นหุ้น 3.2
6 ซื้อบ้าน/ทำบ้านเช่า 2.7
7 ฝากเงินไว้ที่อื่น เช่น สหกรณ์ 2.2
8 อื่นๆ เช่น ทำการเกษตร ใช้จ่ายในการศึกษาต่อ ซื้อทอง เล่นแชร์ 6.9
รวม 100
ประเด็นสำคัญสุดท้าย ที่น่าเป็นโจทย์ให้รัฐบาลพิจารณา คือ ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่กล้าใช้จ่ายเงินจำนวนมากภายใน 6 เดือน
ข้างหน้านี้ ซึ่งผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.1 ระบุยังไม่คิดจะซื้ออะไรที่ต้องใช้เงินจำนวนมากภายใน 6 เดือนข้าง
หน้านี้ ในขณะที่ร้อยละ 16.8 ตั้งใจซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น รองลงมาร้อย
ละ 11.4 ระบุตั้งใจใช้เงินเพื่อปรับปรุงที่พักอาศัยหรือซื้อบ้านหลังใหม่ ร้อยละ 10.0 จะใช้เงินซื้อรถยนต์ / รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 4.0
ตั้งใจซื้อโทรศัพท์มือถือ และ ร้อยละ 6.2 ระบุอื่นๆ อาทิ ซื้อคอมพิวเตอร์ / ทอง / ซื้อหุ้น / และประกันชีวิตเป็นต้น (ดูตารางที่ 5)
ตารางที่ 5 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุแผนการใช้จ่ายเงินจำนวนมากภายใน 6 เดือนข้างหน้านี้
ลำดับที่ แผนการใช้จ่ายเงินจำนวนมากของตัวอย่าง ร้อยละ
1 สิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ตู้เย็น โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น 16.8
2 ซื้อบ้านหลังใหม่ / ปรับปรุงที่พักอาศัย 11.4
3 ซื้อรถยนต์ / จักรยานยนต์ 10
4 โทรศัพท์มือถือ 4
5 อื่นๆ อาทิ คอมพิวเตอร์ / ทอง / หุ้น / ประกันชีวิต เป็นต้น 6.2
6 ไม่คิดจะซื้ออะไรเลยที่ต้องใช้เงินจำนวนมากภายใน 6 เดือนข้างหน้านี้ 71.1
บทสรุปข้ออภิปรายผลสำรวจ
จากการพิจารณาผลสำรวจโดยภาพรวม จะพบว่า ประชาชนจำนวนมากยังเชื่อมั่นในนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจโดยภาพรวม
ของรัฐบาลปัจจุบันภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แต่ประชาชนจำนวนมากอีกเช่นกันที่เป็นกลุ่มประชาชน
ให้รัฐบาลต้องหาแนวทางป้องกันและแก้ไข เพราะประชาชนร้อยละ 20.0ไม่มั่นใจในสถานภาพการจ้างงานว่าจะถูกเลิกจ้างหรือไม่ในปีนี้
และยังมีประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีถึงร้อยละ 8.3 ว่างงานอยู่ในตอนนี้
ประเด็นคำถามที่น่าพิจารณาคือ ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลส่งผลในทางปฏิบัติในการกระตุ้น
เศรษฐกิจเพื่อจับจ่ายใช้สอยจริงมากน้อยเพียงไร เพราะประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่กล้าใช้จ่ายเงินจำนวนมากภายใน 6 เดือนข้างหน้านี้
ทั้งๆ ที่ระบุว่ามีความเชื่อมั่นต่อนโยบายของรัฐบาล ดังนั้นระบบเศรษฐกิจโดยรวมจึงยังอยู่ในสภาวะที่ทรงตัว หรืออาจจะเลวร้ายลงไปได้อีก
เนื่องจากปัจจัยทางลบ อาทิ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ความไม่มีเสถียรภาพของค่าเงินบาท ดอกเบี้ยธนาคารที่ตกต่ำ และที่สำคัญ คื อธุรกิจ
การส่งออกที่กำลังถดถอยอยู่ในขณะนี้ ด้วยเหตุที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ หากรัฐบาลไม่เร่งรีบป้องกันและแก้ไขสถานการณ์อย่างจริงจังด้วยความ
ชัดเจนเป็นรูปธรรม ผลที่ตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ วิกฤตการณ์ที่เลวร้ายทางเศรษฐกิจของประเทศและการสูญเสียความเชื่อมั่นของ
ประชาชนต่อรัฐบาลจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ (เอแบคโพลล์) 7191549-50 www.abacpoll.com
--เอแบคโพลล์--