ที่มาของโครงการ
ภายหลังจากที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ภาพลักษณ์ของวุฒิสมาชิกจำนวนหนึ่งจนก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อภาพลักษณ์โดยรวมของวุฒิสภา
กลุ่มแกนนำชุมชนจึงตกเป็นกลุ่มประชากรเป้าหมายที่สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ สนใจศึกษาถึงแบบแผนทางความคิดและความพึงพอใจต่อภาพลักษณ์
โดยรวมของวุฒิสมาชิก และการเลือกประธานวุฒิสภาคนใหม่ ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองโดยรวมของประเทศใช้
ประกอบการพิจารณาตัดสินใจดำเนินการให้แนวทางปฏิรูปการเมืองของประเทศสำเร็จได้ด้วยดี
สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ (เอแบคโพลล์) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นของ
ผู้นำชุมชนในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศขึ้น โดยได้จัดอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูลในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ตาม
หลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจของกลุ่มผู้นำชุมชนต่อการทำหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา
เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้นำชุมชน ต่อกรณีการเลือกประธานวุฒิสภาคนใหม่
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ หรือเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ เรื่อง “แกนนำชุมชนคิด
อย่างไรต่อภาพลักษณ์ของวุฒิสภาและการเลือกประธานวุฒิสภาคนใหม่” ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 14 - 21 มีนาคม 2544
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ตัวอย่างกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิแบ่งกลุ่มมีระบบ (Systematic sampling) ในการเลือกตัวอย่าง
ตามบัญชีรายชื่อของกลุ่มผู้นำชุมชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
ขนาดของตัวอย่าง คือ 878 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล งบประมาณเป็นของ
มหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ากลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 82.2 ระบุเป็นชาย
ในขณะที่ ร้อยละ 17.8 ระบุเป็นหญิง
ซึ่งกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 52.1 ระบุอายุ 30 - 39 ปี
ร้อยละ 25.0 ระบุอายุ 40 - 49 ปี
ร้อยละ 14.2 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 8.7 ระบุอายุ 20 - 29 ปี
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 48.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ในขณะที่ร้อยละ 47.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
และร้อยละ 4.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป
ซึ่งร้อยละ 32.8 อยู่ในภาคกลาง
ร้อยละ 24.6 อยู่ในภาคเหนือ
ร้อยละ 22.6 อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และร้อยละ 20.0 อยู่ในภาคใต้
สำหรับประเด็นสำคัญที่ค้นพบพิจารณาได้จากตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจและไม่พอใจต่อการทำบทบาทหน้าที่ของวุฒิสมาชิก
ลำดับที่ ความพอใจและไม่พอใจของตัวอย่างต่อการทำบทบาทหน้าที่ของวุฒิสมาชิก ค่าร้อยละ
1 พอใจ 42.4
2 ไม่พอใจ 46.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 11.4
รวมทั้งสิ้น 100
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุผลที่ทำให้ไม่พอใจต่อการทำหน้าที่ของวุฒิสมาชิก
(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ไม่พอใจ)
ลำดับที่ เหตุผลของตัวอย่างที่ไม่พอใจการทำหน้าที่ของวุฒิสมาชิก ค่าร้อยละ
1 ไม่เป็นกลาง / ปกป้องพวกพ้อง 37
2 ไม่มีผลงานที่น่าพอใจชัดเจน 23.5
3 ภาพลักษณ์โดยรวมไม่ดี 15.6
4 มีปัญหาความวุ่นวาย 12.5
5 ไม่ตั้งใจทำงาน 8.9
6 อื่น ๆ เช่น ขาดคุณธรรม / ไม่น่าเชื่อถือ / มีข่าวอื้อฉาว 2.5
รวมทั้งสิ้น 100
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวุฒิสมาชิกที่เหมาะกับตำแหน่งประธานวุฒิสภาคนใหม่
ลำดับที่ วุฒิสมาชิกที่ตัวอย่างเห็นว่าเหมาะสมกับตำแหน่งประธานวุฒิสภาคนใหม่ ค่าร้อยละ
1 นายชุมพล ศิลปอาชา 30.7
2 นายปราโมทย์ ไม้กลัด 28.2
3 พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร 11.9
4 นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง 4.7
5 นายดำรง พุฒตาล 4.2
6 พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ 3.3
7 บุคคลอื่นๆ เช่น นายทองใบ ทองเปาด์ นายไสว พราหมณี นายแก้วสรร อติโพธิ 17
รวมทั้งสิ้น 100
--เอแบคโพลล์--
ภายหลังจากที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ภาพลักษณ์ของวุฒิสมาชิกจำนวนหนึ่งจนก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบต่อภาพลักษณ์โดยรวมของวุฒิสภา
กลุ่มแกนนำชุมชนจึงตกเป็นกลุ่มประชากรเป้าหมายที่สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ สนใจศึกษาถึงแบบแผนทางความคิดและความพึงพอใจต่อภาพลักษณ์
โดยรวมของวุฒิสมาชิก และการเลือกประธานวุฒิสภาคนใหม่ ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเมืองโดยรวมของประเทศใช้
ประกอบการพิจารณาตัดสินใจดำเนินการให้แนวทางปฏิรูปการเมืองของประเทศสำเร็จได้ด้วยดี
สำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ (เอแบคโพลล์) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นของ
ผู้นำชุมชนในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศขึ้น โดยได้จัดอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และพนักงานสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูลในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ตาม
หลักวิชาการด้านระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
เพื่อสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจของกลุ่มผู้นำชุมชนต่อการทำหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา
เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้นำชุมชน ต่อกรณีการเลือกประธานวุฒิสภาคนใหม่
ระเบียบวิธีวิจัย
โครงการสำรวจภาคสนามของสำนักวิจัยเอแบค-เคเอสซีอินเตอร์เนตโพลล์ หรือเอแบคโพลล์ในครั้งนี้ เรื่อง “แกนนำชุมชนคิด
อย่างไรต่อภาพลักษณ์ของวุฒิสภาและการเลือกประธานวุฒิสภาคนใหม่” ดำเนินโครงการสำรวจระหว่างวันที่ 14 - 21 มีนาคม 2544
ประเภทของการสำรวจวิจัยครั้งนี้คือ การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research)
กลุ่มประชากรเป้าหมาย คือ ตัวอย่างกรรมการองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิแบ่งกลุ่มมีระบบ (Systematic sampling) ในการเลือกตัวอย่าง
ตามบัญชีรายชื่อของกลุ่มผู้นำชุมชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ
ขนาดของตัวอย่าง คือ 878 ตัวอย่าง
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ การสัมภาษณ์
หลังจากนั้นคณะผู้วิจัยได้ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของแบบสอบถามทุกชุดก่อนนำเข้าวิเคราะห์ข้อมูล งบประมาณเป็นของ
มหาวิทยาลัย
ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง
จากการพิจารณาลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ากลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 82.2 ระบุเป็นชาย
ในขณะที่ ร้อยละ 17.8 ระบุเป็นหญิง
ซึ่งกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 52.1 ระบุอายุ 30 - 39 ปี
ร้อยละ 25.0 ระบุอายุ 40 - 49 ปี
ร้อยละ 14.2 ระบุอายุ 50 ปีขึ้นไป
และร้อยละ 8.7 ระบุอายุ 20 - 29 ปี
กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 48.2 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ในขณะที่ร้อยละ 47.3 สำเร็จการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
และร้อยละ 4.5 สำเร็จการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีขึ้นไป
ซึ่งร้อยละ 32.8 อยู่ในภาคกลาง
ร้อยละ 24.6 อยู่ในภาคเหนือ
ร้อยละ 22.6 อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
และร้อยละ 20.0 อยู่ในภาคใต้
สำหรับประเด็นสำคัญที่ค้นพบพิจารณาได้จากตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุความพอใจและไม่พอใจต่อการทำบทบาทหน้าที่ของวุฒิสมาชิก
ลำดับที่ ความพอใจและไม่พอใจของตัวอย่างต่อการทำบทบาทหน้าที่ของวุฒิสมาชิก ค่าร้อยละ
1 พอใจ 42.4
2 ไม่พอใจ 46.2
3 ไม่มีความคิดเห็น 11.4
รวมทั้งสิ้น 100
ตารางที่ 2 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุเหตุผลที่ทำให้ไม่พอใจต่อการทำหน้าที่ของวุฒิสมาชิก
(ค่าร้อยละเฉพาะผู้ที่ไม่พอใจ)
ลำดับที่ เหตุผลของตัวอย่างที่ไม่พอใจการทำหน้าที่ของวุฒิสมาชิก ค่าร้อยละ
1 ไม่เป็นกลาง / ปกป้องพวกพ้อง 37
2 ไม่มีผลงานที่น่าพอใจชัดเจน 23.5
3 ภาพลักษณ์โดยรวมไม่ดี 15.6
4 มีปัญหาความวุ่นวาย 12.5
5 ไม่ตั้งใจทำงาน 8.9
6 อื่น ๆ เช่น ขาดคุณธรรม / ไม่น่าเชื่อถือ / มีข่าวอื้อฉาว 2.5
รวมทั้งสิ้น 100
ตารางที่ 3 แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุวุฒิสมาชิกที่เหมาะกับตำแหน่งประธานวุฒิสภาคนใหม่
ลำดับที่ วุฒิสมาชิกที่ตัวอย่างเห็นว่าเหมาะสมกับตำแหน่งประธานวุฒิสภาคนใหม่ ค่าร้อยละ
1 นายชุมพล ศิลปอาชา 30.7
2 นายปราโมทย์ ไม้กลัด 28.2
3 พล.ต.มนูญกฤต รูปขจร 11.9
4 นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง 4.7
5 นายดำรง พุฒตาล 4.2
6 พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ 3.3
7 บุคคลอื่นๆ เช่น นายทองใบ ทองเปาด์ นายไสว พราหมณี นายแก้วสรร อติโพธิ 17
รวมทั้งสิ้น 100
--เอแบคโพลล์--