ภายหลังจากที่นายอุทัย พิมพ์ใจชน เคยขอเลื่อนการฟังคำพิพากษาของศาลฎีกาไปแล้วครั้งหนึ่ง ด้วยเหตุผลของการเข้ารักษาตัวที่ โรงพยาบาลจากอาการที่เกี่ยวข้องกับตา ล่าสุดนายอุทัยได้ขอเลื่อนการฟังคำพิพากษาของศาลฎีกาออกไปอีกด้วยเหตุผลการปฏิบัติราชการ ของสภาฯ การขอเลื่อนฟังคำพิพากษาของศาลฎีกาทั้งสองครั้งนี้สืบเนื่องมาจากคดีที่นายอุทัย เคยสั่งพักราชการปลัดกระทรวงพาณิชย์ เมื่อครั้งที่นายอุทัยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต่างมีคำพิพากษาให้นายอุทัยมีความผิด ในคดีดังกล่าวแต่ให้รอลงอาญา ซึ่งคดีดังกล่าวนี้อยู่ในความสนใจของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนผู้ติดตามข่าวสารทางการเมือง มาอย่างต่อเนื่อง ก่อให้การวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนถึงบรรทัดฐานที่ควรจะเป็นในการปฏิรูปการเมือง
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 27 - 28 กรกฎาคม 2544 พบว่ามีกลุ่มตัวอย่างที่รับรู้ข่าวนี้แล้ว ร้อยละ 81.9 โดยระบุความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมที่นายอุทัยไม่ไปฟังคำพิพากษาของศาลฎีกาว่า เหมาะสมเพียง ร้อยละ 9.7 ไม่เหมาะสม ร้อยละ 56.1 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 34.2 และให้เหตุผล ความไม่เหมาะสมว่า
1) ข้ออ้างไม่มีน้ำหนัก / เหตุผลเพียงพอ
2) เป็นแบบอย่างที่ไม่ดี
3) ไม่เป็นการให้เกียรติต่อศาล
4) ไม่ยอมรับความจริง / ความผิดที่เกิดขึ้น
5) แสดงอภิสิทธิ์เหนือประชาชนทั่วไป
6) เป็นการวางตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งประธานรัฐสภา
7) เป็นการใช้ช่องว่างทางกฎหมายเพื่อประโยชน์ของตน
คณะผู้วิจัยมีความเห็นว่าแกนนำของพรรคไทยรักไทยจำนวนมากกำลังสวมบท 2 หน้า กล่าวคือ ด้านหนึ่งในคดีของนายอุทัย ได้มีแกนนำของพรรคไทยรักไทยออกมาชี้ช่องทางกฎหมายตามหลักนิติศาสตร์ เพื่อประโยชน์ต่อคดีของนายอุทัย ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นคดีของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ หัวหน้าพรรคไทยรักไทย บรรดาแกนนำพรรคไทยรักไทยกลับพยายามใช้กระแสสังคมหรือหลักรัฐศาสตร์ เพื่อประโยชน์ต่อคดีของหัวหน้าพรรคที่กำลังตกอยู่ในการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ และเมื่อสำรวจความเห็นต่อทางออกของนายอุทัย ถ้าศาลฎีกาตัดสินว่ามีความผิด โดยให้รอลงอาญาไว้ พบว่า ร้อยละ 60.0 เห็นว่าควรจะลาออกจากตำแหน่งไป มีเพียง ร้อยละ 21.3 ที่ เห็นว่าไม่ต้องลาออก
ทั้งนี้ผลสำรวจยังระบุถึง ความนิยมต่อพรรคไทยรักไทย ถ้าศาลฎีกาตัดสินว่ามีความผิด โดยให้รอลงอาญาไว้ แต่นายอุทัยไม่ยอม ลาออก ร้อยละ 39.2 เห็นว่าจะทำให้ เสียความนิยมต่อพรรคไทยรักไทย ( ลดจากเดิมประมาณร้อยละ 10 เมื่อเปรียบเทียบผลสำรวจ เมื่อ กลางเดือนที่ผ่านมาซึ่งพบว่าประชาชนให้ความนิยมต่อพรรคไทยรักไทยร้อยละ 61.2 ของตัวอย่างทั้งหมด ) แต่อีก ร้อยละ 48.1 ยังเห็น ว่าไม่เสียความนิยม
--เอแบคโพลล์--
สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ดำเนินการสำรวจระหว่างวันที่ 27 - 28 กรกฎาคม 2544 พบว่ามีกลุ่มตัวอย่างที่รับรู้ข่าวนี้แล้ว ร้อยละ 81.9 โดยระบุความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมที่นายอุทัยไม่ไปฟังคำพิพากษาของศาลฎีกาว่า เหมาะสมเพียง ร้อยละ 9.7 ไม่เหมาะสม ร้อยละ 56.1 ไม่มีความเห็น ร้อยละ 34.2 และให้เหตุผล ความไม่เหมาะสมว่า
1) ข้ออ้างไม่มีน้ำหนัก / เหตุผลเพียงพอ
2) เป็นแบบอย่างที่ไม่ดี
3) ไม่เป็นการให้เกียรติต่อศาล
4) ไม่ยอมรับความจริง / ความผิดที่เกิดขึ้น
5) แสดงอภิสิทธิ์เหนือประชาชนทั่วไป
6) เป็นการวางตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่งประธานรัฐสภา
7) เป็นการใช้ช่องว่างทางกฎหมายเพื่อประโยชน์ของตน
คณะผู้วิจัยมีความเห็นว่าแกนนำของพรรคไทยรักไทยจำนวนมากกำลังสวมบท 2 หน้า กล่าวคือ ด้านหนึ่งในคดีของนายอุทัย ได้มีแกนนำของพรรคไทยรักไทยออกมาชี้ช่องทางกฎหมายตามหลักนิติศาสตร์ เพื่อประโยชน์ต่อคดีของนายอุทัย ในขณะที่อีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นคดีของ พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ หัวหน้าพรรคไทยรักไทย บรรดาแกนนำพรรคไทยรักไทยกลับพยายามใช้กระแสสังคมหรือหลักรัฐศาสตร์ เพื่อประโยชน์ต่อคดีของหัวหน้าพรรคที่กำลังตกอยู่ในการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ และเมื่อสำรวจความเห็นต่อทางออกของนายอุทัย ถ้าศาลฎีกาตัดสินว่ามีความผิด โดยให้รอลงอาญาไว้ พบว่า ร้อยละ 60.0 เห็นว่าควรจะลาออกจากตำแหน่งไป มีเพียง ร้อยละ 21.3 ที่ เห็นว่าไม่ต้องลาออก
ทั้งนี้ผลสำรวจยังระบุถึง ความนิยมต่อพรรคไทยรักไทย ถ้าศาลฎีกาตัดสินว่ามีความผิด โดยให้รอลงอาญาไว้ แต่นายอุทัยไม่ยอม ลาออก ร้อยละ 39.2 เห็นว่าจะทำให้ เสียความนิยมต่อพรรคไทยรักไทย ( ลดจากเดิมประมาณร้อยละ 10 เมื่อเปรียบเทียบผลสำรวจ เมื่อ กลางเดือนที่ผ่านมาซึ่งพบว่าประชาชนให้ความนิยมต่อพรรคไทยรักไทยร้อยละ 61.2 ของตัวอย่างทั้งหมด ) แต่อีก ร้อยละ 48.1 ยังเห็น ว่าไม่เสียความนิยม
--เอแบคโพลล์--